ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร เดือนตุลาคม 2567


         
1. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร
      ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 138.53 ลดลง ร้อยละ 2.90 จากเดือนตุลาคม 2566
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 142.67 เนื่องจากสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตลดลง ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไข่ไก่
ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ลำไย และไก่เนื้อ
     ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2567 (ที่อยู่ระดับ 130.18) ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.41
โดยสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสุกร
ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตลดลง ได้แก่ กุ้งขาวแวนนาไม

 
 
  

 
2. ดัชนีราคาสินค้าเกษตร
      ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 168.38 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.32 จากเดือนตุลาคม 2566
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 155.45
      เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2567 (ที่อยู่ระดับ 166.83) ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.93


  
 
2.1 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2566
•  สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
   - ยางพารา ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จากมีฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ผลิตสำคัญ
ขณะที่มีความต้องการใช้ทั้งจากภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
   - ปาล์มน้ำมัน ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ผลผลิตในการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ จากราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก
ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีความต้องการจากภาคการบริโภค อุตสาหกรรม และภาคพลังงาน ขณะที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย


•  สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
    - มันสำปะหลัง ราคาลดลง เนื่องจากการส่งออกไปจีนที่เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยลดลง จากการที่จีนปรับเปลี่ยนไปใช้ข้าวโพดแทน
มันเส้นในการผลิตแอลกอฮอล์ อีกทั้งปัญหาของโรคใบด่างที่ทำให้คุณภาพผลผลิตลดลง
    - ข้าวเปลือกเจ้า ราคาลดลง เนื่องจากความต้องการข้าวขาวไทยในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง จากราคาข้าวของไทยสูงกว่าคู่แข่ง
โดยเฉพาะอินเดียและปากีสถาน ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกต้องปรับลดราคา เพื่อให้สามารถแข่งขันได้



2.2 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายนที่ผ่านมา
•  สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
    - กุ้งขาวแวนนาไม ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศจากการที่มีมาตรการ
ดิจิทัลวอลเลตที่ช่วยเพิ่มกำลังซื้อของประชาชนกลุ่มเปราะบาง ตลอดจนเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว


•  สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
    - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ผู้รวบรวมผลผลิตชะลอการรับซื้อ
จากการมีปริมาณสต็อกสะสมจำนวนมาก และต้นทุนเพิ่มขึ้น (เพิ่มระยะเวลาอบมากขึ้น) จากผลกระทบฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่
ส่งผลให้ผลผลิตมีความชื้นสูง คุณภาพลดลง



 
3. ดัชนีรายได้เกษตรกร
      ดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 233.26 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.18 จากเดือนตุลาคม 2566 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 221.78
เป็นผลมาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.32 ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.90 






 4. สรุป

       ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตรในเดือนตุลาคม 2567 มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ร้อยละ 2.90
และดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.32 ส่งผลทำให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.18
เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2566


ตารางแสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร (%YoY)
  2565 2566 2567
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1   Q2   Q3 ตุลาคม
ดัชนีผลผลิต
สินค้าเกษตร
2.22 6.54 -0.94 0.17 1.92 2.34 2.40 1.73 -3.21 -1.71 -0.84 -2.90
ดัชนีราคา
สินค้าเกษตร
4.04 10.42 20.20 13.09 -1.07 -5.22 -1.69 -0.18 5.29 11.04 7.36 8.32
ดัชนีรายได้
เกษตรกร
6.35 17.64 19.07 13.29 0.83 -3.00 0.67 1.55 1.91 9.14 6.46 5.18
  หมายเหตุ: %YoY คือ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา                                                                             
  ที่มา: ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  ข้อมูล ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567

 


 
 
 
♦ ♦ ดาวน์โหลดเอกสาร ♦ ♦

  รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร

  
Infographic TH / EN
 


รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร จะเผยแพร่ภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน ••