- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะการเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร
- การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล
ประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ ร้อยละ 46.54 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 5.91 ล้านครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วยเกษตรกรรายย่อยที่ผลิตเพื่อพึ่งพาตนเอง เกษตรกรที่ผลิตเชิงพาณิชย์ และเกษตรกรที่แปรรูปผลิตผลเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศยังขาดหลักประกันที่มั่นคงด้านอาชีพและรายได้ มีความสามารถในการชำระหนี้สินต่ำ รวมทั้งการขาดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่จะเข้าสู่ภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ครัวเรือนเกษตรไม่สามารถพึ่งพาตนเองทางอาหารจากไร่นาได้เพียงพอ รวมทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคได้รับอาหารที่ไม่ปลอดภัย และยังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในลักษณะที่มุ่งเน้นเพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรจำเป็นต้องคัดเลือกตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตร เพื่อให้สมการสามารถคาดการณ์ตัวแปรที่สนใจได้ ดังนั้นจึงได้มีระเบียบและวิธีวิจัยที่สำคัญคือ
1) วิธีการคำนวณอาศัยเครื่องมือทางสถิติคือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปกับตัวแปรตาม การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณนั้นจะต้องหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระหลายตัวกับตัวแปรตามว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร สำหรับการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณจะต้องหาสมการถดถอยเพื่อใช้ในการพยากรณ์ตัวแปรตาม จะมีการประมาณค่าพารามิเตอร์แตกต่างกันได้หลายวิธี เช่น วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS) วิธีกำลังสองน้อยที่สุด 2 ขั้น (Two-Stage Least Squares: 2SLS) เป็นต้น
2) การวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองโลจิสติก (Logistic Model) หลักการของการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ตัวแปรตามจะเป็นตัวแปรเชิงปริมาณในขณะที่ตัวแปรอิสระจะเป็นตัวแปรเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว หรืออาจมีตัวแปรบางตัวที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณและตัวแปรบางตัวเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มหรือเชิงคุณภาพ แต่ถ้าตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มหรือเชิงคุณภาพ จะต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ซึ่งยังคงมีวัตถุประสงค์และแนวคิดเหมือนกับการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ และนำสมการที่ได้ไปประมาณหรือพยากรณ์ตัวแปรตาม เมื่อกำหนดค่าตัวแปรอิสระ แบบจำลองโลจิสติก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Binary Logistic จะใช้เมื่อตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มที่มีค่าได้เพียง 2 ค่า เท่านั้น (มีค่า 0 หรือ 1) และ Multinomial Logistic จะใช้เมื่อตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มที่มีค่ามากกว่า 2 ค่า
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้ และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร สรุปได้ดังนี้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งของครัวเรือน รายได้เงินสดจากหัตถกรรมของครัวเรือน เนื้อที่เพาะปลูกทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน สมาชิกครัวเรือนที่พึ่งพิง ภูมิภาคของครัวเรือน การได้รับการอบรมของหัวหน้าครัวเรือน และรายได้เงินสดจากเงินโอนของครัวเรือน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายจ่ายของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย รายได้เงินสดของครัวเรือน ความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหนี้สินทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน การศึกษาชองหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ภูมิภาคของครัวเรือน และการปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจของหัวหน้าครัวเรือน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย รายได้เงินสดของครัวเรือน ความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิของครัวเรือน มูลค่าหนี้สินทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ภูมิภาคของครัวเรือน หัวหน้าครัวเรือนปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ และสมาชิกครัวเรือนที่พึ่งพิง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย รายได้เงินสดทั้งสิ้นของครัวเรือน รายจ่ายของครัวเรือนเกษตร มูลค่าหนี้สินทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ภูมิภาคของครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกของครัวเรือนอยู่ในเขตชลประทาน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าหนี้ของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย รายได้เงินสดของครัวเรือน ทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน สมาชิกครัวเรือนที่พึ่งพิง และภูมิภาคของครัวเรือน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือกำหนดการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตร มีจำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ ภาค เขตชลประทาน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่กำลังเรียนหนังสือ และจำนวนสมาชิกที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่ทำงานหารายได้
ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร มีจำนวน 11 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปร ภาค เขตชลประทาน เขตหมู่บ้านปลูกข้าว เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรส การปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่กำลังเรียนหนังสือ รายได้ทั้งสิ้นของครัวเรือน ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือน และการเป็นหนี้ของครัวเรือน
จากผลการศึกษาจะพบว่า รายได้เงินสดจากหัตถกรรมของครัวเรือน หรือรายได้นอกภาคเกษตร เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของรายได้ของครัวเรือนเกษตร ดังนั้นภาครัฐจึงควรพัฒนาและส่งเสริมการผลิตนอกภาคเกษตรให้กับครัวเรือนเกษตรควบคู่ไปกับกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลาที่ครัวเรือนเกษตรไม่ได้ทำการผลิตทางการเกษตรเพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นในการประกอบอาชีพเสริม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเพิ่มการออม และความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิของครัวเรือนเกษตรไปพร้อมกัน
การศึกษาและการได้รับการอบรมของหัวหน้าครัวเรือนเกษตร เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเกษตร ภาครัฐจึงควรส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอบรมในชนบทเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้ให้กับครัวเรือนเกษตร รวมทั้งเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิให้กับครัวเรือนด้วย
ครัวเรือนเกษตรที่เพาะปลูกในเขตชลประทานมีโอกาสที่จะมีรายได้มากกว่าครัวเรือนที่อยู่นอกเขตชลประทาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ครัวเรือนเกษตรที่มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกจะมีรายได้มากกว่าครัวเรือนที่มีน้ำในการเพาะปลูกไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงควรพัฒนาแหล่งน้ำ เสริมสร้างระบบบริหารการจัดการแหล่งน้ำ เพื่อให้เกิดการจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนกับรัฐในการดูแลรักษาให้เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การสนับสนุนในการพัฒนาแหล่งน้ำของชุมชน จะเป็นการเพิ่มรายได้รวมทั้งทรัพย์สินสุทธิให้กับครัวเรือนเกษตร
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในลักษณะที่มุ่งเน้นเพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร แนวทางการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตรจำเป็นต้องคัดเลือกตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนเกษตร เพื่อให้สมการสามารถคาดการณ์ตัวแปรที่สนใจได้ ดังนั้นจึงได้มีระเบียบและวิธีวิจัยที่สำคัญคือ
1) วิธีการคำนวณอาศัยเครื่องมือทางสถิติคือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไปกับตัวแปรตาม การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณนั้นจะต้องหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เพื่อให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระหลายตัวกับตัวแปรตามว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร สำหรับการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณจะต้องหาสมการถดถอยเพื่อใช้ในการพยากรณ์ตัวแปรตาม จะมีการประมาณค่าพารามิเตอร์แตกต่างกันได้หลายวิธี เช่น วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary Least Squares: OLS) วิธีกำลังสองน้อยที่สุด 2 ขั้น (Two-Stage Least Squares: 2SLS) เป็นต้น
2) การวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองโลจิสติก (Logistic Model) หลักการของการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ตัวแปรตามจะเป็นตัวแปรเชิงปริมาณในขณะที่ตัวแปรอิสระจะเป็นตัวแปรเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว หรืออาจมีตัวแปรบางตัวที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณและตัวแปรบางตัวเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มหรือเชิงคุณภาพ แต่ถ้าตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มหรือเชิงคุณภาพ จะต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ซึ่งยังคงมีวัตถุประสงค์และแนวคิดเหมือนกับการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ และนำสมการที่ได้ไปประมาณหรือพยากรณ์ตัวแปรตาม เมื่อกำหนดค่าตัวแปรอิสระ แบบจำลองโลจิสติก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Binary Logistic จะใช้เมื่อตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มที่มีค่าได้เพียง 2 ค่า เท่านั้น (มีค่า 0 หรือ 1) และ Multinomial Logistic จะใช้เมื่อตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มที่มีค่ามากกว่า 2 ค่า
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ รายจ่าย การออม หนี้สิน ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจก่อหนี้ และความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร สรุปได้ดังนี้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายได้ของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย ทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งของครัวเรือน รายได้เงินสดจากหัตถกรรมของครัวเรือน เนื้อที่เพาะปลูกทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน สมาชิกครัวเรือนที่พึ่งพิง ภูมิภาคของครัวเรือน การได้รับการอบรมของหัวหน้าครัวเรือน และรายได้เงินสดจากเงินโอนของครัวเรือน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อรายจ่ายของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย รายได้เงินสดของครัวเรือน ความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหนี้สินทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน การศึกษาชองหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ภูมิภาคของครัวเรือน และการปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจของหัวหน้าครัวเรือน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย รายได้เงินสดของครัวเรือน ความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิของครัวเรือน มูลค่าหนี้สินทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ภูมิภาคของครัวเรือน หัวหน้าครัวเรือนปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจ และสมาชิกครัวเรือนที่พึ่งพิง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย รายได้เงินสดทั้งสิ้นของครัวเรือน รายจ่ายของครัวเรือนเกษตร มูลค่าหนี้สินทั้งสิ้นของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน ภูมิภาคของครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกของครัวเรือนอยู่ในเขตชลประทาน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าหนี้ของครัวเรือนเกษตร ประกอบด้วย รายได้เงินสดของครัวเรือน ทรัพย์สินหรือความมั่งคั่งของครัวเรือน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือน สมาชิกครัวเรือนที่พึ่งพิง และภูมิภาคของครัวเรือน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือกำหนดการเป็นหนี้ของครัวเรือนเกษตร มีจำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ ภาค เขตชลประทาน อายุของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่กำลังเรียนหนังสือ และจำนวนสมาชิกที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่ทำงานหารายได้
ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการกู้ของครัวเรือนเกษตร มีจำนวน 11 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปร ภาค เขตชลประทาน เขตหมู่บ้านปลูกข้าว เพศของหัวหน้าครัวเรือน ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพสมรส การปฏิบัติงานในเชิงเศรษฐกิจของหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่กำลังเรียนหนังสือ รายได้ทั้งสิ้นของครัวเรือน ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของครัวเรือน และการเป็นหนี้ของครัวเรือน
จากผลการศึกษาจะพบว่า รายได้เงินสดจากหัตถกรรมของครัวเรือน หรือรายได้นอกภาคเกษตร เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของรายได้ของครัวเรือนเกษตร ดังนั้นภาครัฐจึงควรพัฒนาและส่งเสริมการผลิตนอกภาคเกษตรให้กับครัวเรือนเกษตรควบคู่ไปกับกิจกรรมการผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลาที่ครัวเรือนเกษตรไม่ได้ทำการผลิตทางการเกษตรเพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นในการประกอบอาชีพเสริม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการเพิ่มการออม และความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิของครัวเรือนเกษตรไปพร้อมกัน
การศึกษาและการได้รับการอบรมของหัวหน้าครัวเรือนเกษตร เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเกษตร ภาครัฐจึงควรส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอบรมในชนบทเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการหารายได้ให้กับครัวเรือนเกษตร รวมทั้งเป็นการเพิ่มความมั่งคั่งหรือทรัพย์สินสุทธิให้กับครัวเรือนด้วย
ครัวเรือนเกษตรที่เพาะปลูกในเขตชลประทานมีโอกาสที่จะมีรายได้มากกว่าครัวเรือนที่อยู่นอกเขตชลประทาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ครัวเรือนเกษตรที่มีน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกจะมีรายได้มากกว่าครัวเรือนที่มีน้ำในการเพาะปลูกไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงควรพัฒนาแหล่งน้ำ เสริมสร้างระบบบริหารการจัดการแหล่งน้ำ เพื่อให้เกิดการจัดการร่วมกันระหว่างชุมชนกับรัฐในการดูแลรักษาให้เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การสนับสนุนในการพัฒนาแหล่งน้ำของชุมชน จะเป็นการเพิ่มรายได้รวมทั้งทรัพย์สินสุทธิให้กับครัวเรือนเกษตร