- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ดัชนีราคาและผลผลิต






ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร เดือนเมษายน 2566
1. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ระดับ 120.38 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.97จากเดือนเมษายน 2565
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 107.51 เนื่องจากสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ทุเรียน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม
ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง และสับปะรด
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (ที่อยู่ระดับ 143.51) ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 16.12
โดยสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ลำไย และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น
ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 107.51 เนื่องจากสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ทุเรียน สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม
ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง และสับปะรด
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (ที่อยู่ระดับ 143.51) ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 16.12
โดยสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ลำไย และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น
ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
2. ดัชนีราคาสินค้าเกษตร
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา ณเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ระดับ 152.23 ลดลง ร้อยละ 7.26
จากเดือนเมษายน 2565 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 164.15
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (ที่อยู่ระดับ 155.15) ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 1.88

2.1 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2565
จากเดือนเมษายน 2565 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 164.15
เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2566 (ที่อยู่ระดับ 155.15) ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 1.88
2.1 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2565
• สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
- มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้จากตลาดในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
อาทิ ความต้องการจากอุตสาหกรรม อีกทั้งการนำไปทดแทนธัญพืชชนิดอื่นที่ประสบปัญหาขาดแคลน
• สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
- ยางพารา ราคาลดลง เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว จากระดับสต๊อกสินค้าของตลาดสำคัญปรับตัว
เพิ่มสูงขึ้น
- ทุเรียน ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตจากภาคตะวันออกออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ
ยังคงทรงตัว
- สุกร ราคาลดลง เนื่องจากเกษตรกรเร่งจับสุกรก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม ด้วยความกังวลเรื่องผลตอบแทนที่จะลดลง จากต้นทุน
(ค่าอาหารสัตว์ และค่าไฟ) ที่ปรับตัวสูงขึ้น
2.2 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
- มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้จากตลาดในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
อาทิ ความต้องการจากอุตสาหกรรม อีกทั้งการนำไปทดแทนธัญพืชชนิดอื่นที่ประสบปัญหาขาดแคลน
• สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
- ยางพารา ราคาลดลง เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว จากระดับสต๊อกสินค้าของตลาดสำคัญปรับตัว
เพิ่มสูงขึ้น
- ทุเรียน ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตจากภาคตะวันออกออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ
ยังคงทรงตัว
- สุกร ราคาลดลง เนื่องจากเกษตรกรเร่งจับสุกรก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม ด้วยความกังวลเรื่องผลตอบแทนที่จะลดลง จากต้นทุน
(ค่าอาหารสัตว์ และค่าไฟ) ที่ปรับตัวสูงขึ้น
2.2 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
• สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
- ปาล์มน้ำมัน ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านการบริโภคและด้านพลังงาน
ประกอบกับปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้มีการแข่งขันราคารับซื้อ
- ไข่ไก่ ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง จากภาวะอากาศที่ร้อนมาก ประกอบกับการดำเนินการของกรมปศุสัตว์
ที่ขอความร่วมมือผู้ประกอบการปลดไก่ตามช่วงอายุ
• สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ของโรงงานยังคงชะลอตัว
- ปาล์มน้ำมัน ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านการบริโภคและด้านพลังงาน
ประกอบกับปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้มีการแข่งขันราคารับซื้อ
- ไข่ไก่ ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง จากภาวะอากาศที่ร้อนมาก ประกอบกับการดำเนินการของกรมปศุสัตว์
ที่ขอความร่วมมือผู้ประกอบการปลดไก่ตามช่วงอายุ
• สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ของโรงงานยังคงชะลอตัว
3. ดัชนีรายได้เกษตรกร
ดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ระดับ 183.25 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.85 จากเดือนเมษายน 2565
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 176.47 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.97 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง
ร้อยละ 7.26

4. สรุป
ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตรในเดือนเมษายน 2566 มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.97 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.26 ส่งผลทำให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.85
เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2565
ตารางแสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร (%YoY)
หมายเหตุ: %YoY คือ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2566

ดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ระดับ 183.25 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.85 จากเดือนเมษายน 2565
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 176.47 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.97 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง
ร้อยละ 7.26
4. สรุป
ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตรในเดือนเมษายน 2566 มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.97 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ร้อยละ 7.26 ส่งผลทำให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.85
เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2565
ตารางแสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร (%YoY)
2564 | 2565 | 2566 | ||||
Q1 | Q2 | Q1 | Q2 | Q1 | เมษายน | |
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร | 2.34 | 3.34 | 3.09 | 4.15 | 8.05 | 11.97 |
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร | 9.09 | 12.62 | 4.53 | 10.14 | -1.32 | -7.26 |
ดัชนีรายได้เกษตรกร | 11.64 | 16.38 | 7.76 | 14.71 | 6.62 | 3.85 |
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูล ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2566
♦ ♦ ดาวน์โหลดเอกสาร ♦ ♦
♦ รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร
♦ Infographic TH / EN
♦ รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร
♦ Infographic TH / EN
•• รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร เดือนพฤษภาคม 2566 ••
จะเผยแพร่ภายใน วันที่ 25 มิถุนายน 2566