- หน้าแรก
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- รายละเอียดข่าว
สศท.2 ร่วมประชุม ผบห. สศก. และประชุม คทง. ลดใช้พลังงาน สศก. ครั้งที่ 11/2567
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (ผอ.สศท.2 พิษณุโลก) พร้อมด้วยผู้อำนวยการส่วนฯ และหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป เข้าร่วมประชุมผู้บริหารสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ครั้งที่ 11/2567 และคณะทำงานลดใช้พลังงาน สศก. ครั้งที่ 11/2567 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (จากห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารนวัตกรรม) โดยมีนายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธานการประชุม
ในครั้งนี้ ผอ.สศท.2 ได้นำเสนอผลงานเด่น ซึ่งเป็นผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนหมอนทอง 3 จังหวัดในแหล่งผลิตสำคัญของเขตพื้นที่ภาคเหนือ (อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก) เพราะเห็นว่ามีความสอดคล้องกับแผนฏิบัติการ Climate Change ในด้านการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อลดผลกระทบจาก Climate Change ในระยะยาว โดยเนื้อหาจะนำเสนอถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมการผลิตตลอดวัฎจักรชีวิต ด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ
ผลงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณากำหนดเป็นนโยบาย มาตรการ แผนงานโครงการ หรือกิจกรรมทางด้านการจัดการผลิต ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้านการลดต้นทุนการผลิต ที่จะนำไปสู่ระบบการผลิตทุเรียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถนำผลวิจัยไปใช้เป็นฐานข้อมูล เพื่อนำไปต่อยอดในกิจกรรมส่งเสริมการผลิตสินค้าทุเรียนคาร์บอนต่ำ การติดฉลาก Carbon Footprint ในทุเรียนผลสดเพื่อส่งออก ซึ่งนับเป็นอีกมาตรการปรับตัวของเกษตรกรในการผลิตแบบเกษตรเท่าทันภูมิอากาศ (CSA)ในพื้นที่ภาคเหนือ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก
ในครั้งนี้ ผอ.สศท.2 ได้นำเสนอผลงานเด่น ซึ่งเป็นผลการศึกษาวิจัยเรื่อง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนหมอนทอง 3 จังหวัดในแหล่งผลิตสำคัญของเขตพื้นที่ภาคเหนือ (อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก) เพราะเห็นว่ามีความสอดคล้องกับแผนฏิบัติการ Climate Change ในด้านการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อลดผลกระทบจาก Climate Change ในระยะยาว โดยเนื้อหาจะนำเสนอถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมการผลิตตลอดวัฎจักรชีวิต ด้วยการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ
ผลงานวิจัยชิ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณากำหนดเป็นนโยบาย มาตรการ แผนงานโครงการ หรือกิจกรรมทางด้านการจัดการผลิต ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้านการลดต้นทุนการผลิต ที่จะนำไปสู่ระบบการผลิตทุเรียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังสามารถนำผลวิจัยไปใช้เป็นฐานข้อมูล เพื่อนำไปต่อยอดในกิจกรรมส่งเสริมการผลิตสินค้าทุเรียนคาร์บอนต่ำ การติดฉลาก Carbon Footprint ในทุเรียนผลสดเพื่อส่งออก ซึ่งนับเป็นอีกมาตรการปรับตัวของเกษตรกรในการผลิตแบบเกษตรเท่าทันภูมิอากาศ (CSA)ในพื้นที่ภาคเหนือ
ภาพ/ข่าว : คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก