- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 28 ตุลาคม-3 พฤศจิกายน 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.704 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 24.037 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 89.01 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 2.970 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 10.99 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,610 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,723 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,406 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,552 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 38,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,210 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,110 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,208 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,126 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,151 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 57 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 507 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,995 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,454 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.16 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 454 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,196 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 554 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,279 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.40 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,083 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.5204 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) อินโดนีเซีย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินโดนีเซีย คาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ว่า ในปี 2567 ผลผลิตข้าวของอินโดนีเซียจะลดลงเหลือ 30.34 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 2.43 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งยาวนานในปี 2566 ส่งผลให้ฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวล่าช้า ด้านการนำเข้า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณสูงถึง 3 ล้านตันต่อปี และในปี 2567 อินโดนีเซียตั้งเป้าหมายนำเข้าข้าวประมาณ 3.6 ล้านตัน
สำหรับปี 2568 อินโดนีเซียมีแผนจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 0.75 - 1 ล้านเฮกตาร์ (4.69 –
6.25 ล้านไร่) เพื่อบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองด้านอาหารของนาย Prabowo Subianto ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ทั้งนี้ นาย Zulkifli Hasan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า รัฐบาลฯ กำลังพิจารณานำเข้าข้าวปริมาณ 1 ล้านตัน จากประเทศอินเดียในปี 2568
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
หมายเหตุ : 1 เฮกตาร์ เท่ากับ 6.25 ไร่
2) บังกลาเทศ
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2567 ราชกิจจานุเบกษาบังกลาเทศ โดยกระทรวงการคลังบังกลาเทศ ได้เผยแพร่ประกาศเลขที่ S.R.O. No-364-AIN/2024/93/Customs ว่าด้วยการลดหย่อนอัตราภาษีนำเข้าชั่วคราว สินค้าพิกัด 1006.30.99 ชนิดสินค้าข้าวนึ่งและข้าวขาว (ข้าวธรรมดาที่มิใช่ข้าวหอม) โดยลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร (Custom Duty) เหลือร้อยละ 15 จากอัตราปกติร้อยละ 25 และอากรควบคุมสินค้านำเข้า (Regulatory Duty) เหลือร้อยละ 5 จากอัตราปกติร้อยละ 25 ส่งผลให้อัตราภาษีรวม (Total Tax Incidence) ของสินค้าพิกัดดังกล่าวลดลงเหลือร้อยละ 25 จากอัตราภาษีรวมปกติร้อยละ 62.50 ซึ่งการลดหย่อนอัตราภาษีใหม่นี้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป สาเหตุการลดภาษีนำเข้า เนื่องจากบังกลาเทศต้องการกระตุ้นให้ภาคเอกชนนำเข้าข้าวจากต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในตลาดภายในประเทศ ทั้งนี้ ราชกิจจานุเบกษาบังกลาเทศฉบับดังกล่าว ได้กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดให้ผู้นำเข้าแต่ละรายที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต้องสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อแจ้งขอใช้สิทธิ
ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องแจ้งปริมาณนำเข้า ช่วงเวลานำเข้า และบังกลาเทศจะมีการประกาศลดหย่อนภาษีนำเข้าข้าวเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ในประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.704 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 24.037 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 89.01 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 2.970 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 10.99 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,610 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,723 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,406 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,552 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 38,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,210 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,110 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,208 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,126 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,151 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 57 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 507 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,995 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,454 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.16 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 454 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,196 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 554 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,279 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.40 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,083 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.5204 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) อินโดนีเซีย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินโดนีเซีย คาดการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2567 ว่า ในปี 2567 ผลผลิตข้าวของอินโดนีเซียจะลดลงเหลือ 30.34 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 2.43 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งยาวนานในปี 2566 ส่งผลให้ฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวล่าช้า ด้านการนำเข้า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณสูงถึง 3 ล้านตันต่อปี และในปี 2567 อินโดนีเซียตั้งเป้าหมายนำเข้าข้าวประมาณ 3.6 ล้านตัน
สำหรับปี 2568 อินโดนีเซียมีแผนจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 0.75 - 1 ล้านเฮกตาร์ (4.69 –
6.25 ล้านไร่) เพื่อบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองด้านอาหารของนาย Prabowo Subianto ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ทั้งนี้ นาย Zulkifli Hasan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า รัฐบาลฯ กำลังพิจารณานำเข้าข้าวปริมาณ 1 ล้านตัน จากประเทศอินเดียในปี 2568
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
หมายเหตุ : 1 เฮกตาร์ เท่ากับ 6.25 ไร่
2) บังกลาเทศ
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2567 ราชกิจจานุเบกษาบังกลาเทศ โดยกระทรวงการคลังบังกลาเทศ ได้เผยแพร่ประกาศเลขที่ S.R.O. No-364-AIN/2024/93/Customs ว่าด้วยการลดหย่อนอัตราภาษีนำเข้าชั่วคราว สินค้าพิกัด 1006.30.99 ชนิดสินค้าข้าวนึ่งและข้าวขาว (ข้าวธรรมดาที่มิใช่ข้าวหอม) โดยลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร (Custom Duty) เหลือร้อยละ 15 จากอัตราปกติร้อยละ 25 และอากรควบคุมสินค้านำเข้า (Regulatory Duty) เหลือร้อยละ 5 จากอัตราปกติร้อยละ 25 ส่งผลให้อัตราภาษีรวม (Total Tax Incidence) ของสินค้าพิกัดดังกล่าวลดลงเหลือร้อยละ 25 จากอัตราภาษีรวมปกติร้อยละ 62.50 ซึ่งการลดหย่อนอัตราภาษีใหม่นี้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป สาเหตุการลดภาษีนำเข้า เนื่องจากบังกลาเทศต้องการกระตุ้นให้ภาคเอกชนนำเข้าข้าวจากต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวในตลาดภายในประเทศ ทั้งนี้ ราชกิจจานุเบกษาบังกลาเทศฉบับดังกล่าว ได้กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดให้ผู้นำเข้าแต่ละรายที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต้องสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อแจ้งขอใช้สิทธิ
ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องแจ้งปริมาณนำเข้า ช่วงเวลานำเข้า และบังกลาเทศจะมีการประกาศลดหย่อนภาษีนำเข้าข้าวเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ในประเทศ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 294.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,848.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 295.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,809.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 39.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 412.00 เซนต์ (5,506.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 416.00 เซนต์ (5,528.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 22.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91 โดยเดือน ตุลาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.29 ล้านตัน (ร้อยละ 4.74 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจาก มันสำปะหลังมีคุณภาพ ส่งผลให้ความต้องการของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.01 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.99 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.01
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.04
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ6.53 บาท ราคาทรงตัวกับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.39
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,770 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 233.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,810 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.60
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 480.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,210 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 480.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,040 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.113 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.200 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.291 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.233 ล้านตันของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 13.79 และร้อยละ 14.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 8.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.75 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 46.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.53 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.05
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,755.31 ริงกิตมาเลเซีย (37.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,561.54 ริงกิตมาเลเซีย (35.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.25
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,295.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (43.94 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,236.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (41.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.72
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- Wilmar คาดการณ์ว่าในปี 2567/2568 อินเดียจะนำน้ำตาลจำนวน 5 ล้านตัน ไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลของอินเดียลดลงเหลือเพียง 27.50 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าความต้องการน้ำตาล
ในประเทศและไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก โดยสต๊อกน้ำตาลของอินเดียจะลดลงจำนวน 2 ล้านตัน เหลือ 3.30 ล้านตัน ในช่วงสิ้นสุดฤดูการผลิตนี้ ด้านแหล่งข่าวรายงานว่า ราคาน้ำตาลทรายดิบ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567
ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ดีของบราซิลและการคาดการณ์ของ Climatempo ว่าจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม การปิดหีบที่ยาวนานขึ้นในภาคกลาง-ใต้ของบราซิล และผลกระทบจากภัยแล้งที่อาจส่งผลต่อปริมาณการผลิตน้ำตาลในปี 2568/2569 เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามต่อไปในอนาคต
- แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาลของอินเดียคาดการณ์ว่า การปรับเปลี่ยนนำอ้อยไปผลิตเอทานอลอาจเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าอินเดียจะไม่มีการส่งออกน้ำตาล โดยสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตกกล่าวว่า โรงงานในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) อาจเลื่อนการเปิดหีบออกไป หากรัฐบาลยังคงไม่ปรับขึ้นราคาน้ำตาลและเอทานอล
- Czarnikow ปรับเพิ่มการคาดการณ์ภาวะน้ำตาลโลกส่วนเกิน (Surplus) ในฤดูการผลิตปี 2567/2568 เป็น 4.70 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 4.50 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้ำตาลที่ดีในโคลอมเบีย
- สื่อท้องถิ่นของประเทศจีนรายงานว่า โรงงานน้ำตาลในมณฑลกว่างซี (Guangxi) คาดว่าจะเริ่มเปิดหีบ
ปี 2567/2568 ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2567 ซึ่งเร็วกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ดี โดยคาดว่าคุณภาพและปริมาณของอ้อยในปีนี้จะสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- Wilmar คาดการณ์ว่าในปี 2567/2568 อินเดียจะนำน้ำตาลจำนวน 5 ล้านตัน ไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณผลผลิตน้ำตาลของอินเดียลดลงเหลือเพียง 27.50 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าความต้องการน้ำตาล
ในประเทศและไม่เพียงพอสำหรับการส่งออก โดยสต๊อกน้ำตาลของอินเดียจะลดลงจำนวน 2 ล้านตัน เหลือ 3.30 ล้านตัน ในช่วงสิ้นสุดฤดูการผลิตนี้ ด้านแหล่งข่าวรายงานว่า ราคาน้ำตาลทรายดิบ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567
ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่ดีของบราซิลและการคาดการณ์ของ Climatempo ว่าจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม การปิดหีบที่ยาวนานขึ้นในภาคกลาง-ใต้ของบราซิล และผลกระทบจากภัยแล้งที่อาจส่งผลต่อปริมาณการผลิตน้ำตาลในปี 2568/2569 เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามต่อไปในอนาคต
- แหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาลของอินเดียคาดการณ์ว่า การปรับเปลี่ยนนำอ้อยไปผลิตเอทานอลอาจเพิ่มมากขึ้น และคาดว่าอินเดียจะไม่มีการส่งออกน้ำตาล โดยสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตกกล่าวว่า โรงงานในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) อาจเลื่อนการเปิดหีบออกไป หากรัฐบาลยังคงไม่ปรับขึ้นราคาน้ำตาลและเอทานอล
- Czarnikow ปรับเพิ่มการคาดการณ์ภาวะน้ำตาลโลกส่วนเกิน (Surplus) ในฤดูการผลิตปี 2567/2568 เป็น 4.70 ล้านตัน จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 4.50 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้ำตาลที่ดีในโคลอมเบีย
- สื่อท้องถิ่นของประเทศจีนรายงานว่า โรงงานน้ำตาลในมณฑลกว่างซี (Guangxi) คาดว่าจะเริ่มเปิดหีบ
ปี 2567/2568 ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2567 ซึ่งเร็วกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ดี โดยคาดว่าคุณภาพและปริมาณของอ้อยในปีนี้จะสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 976.08 เซนต์ (12.17 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 990.76 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.48
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.20 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 313.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.10
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 44.15 เซนต์ (33.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 43.59 เซนต์ (32.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.28
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 976.08 เซนต์ (12.17 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 990.76 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.48
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 300.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.20 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 313.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.10
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 44.15 เซนต์ (33.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 43.59 เซนต์ (32.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.28
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.08 บาท บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.60 บาท บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1046.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1053.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 859.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.81 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 872.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.23 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,550.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,567.50 ดอลลาร์สหรัฐ (52.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.23 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1034.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.66 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.42 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 919.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 926.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.28 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,122 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,184 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.84
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,697 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,634 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.86
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.33 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.42 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.64 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.40 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.85 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.83 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 375 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 377 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 412 ลดลงจากร้อยฟองละ 432 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 413 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 414 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 428 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 377 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 520 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 510 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.96 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.49 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.06 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.29 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.33 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.42 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.64 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.40 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.85 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.83 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 375 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 377 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 362 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 387 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 412 ลดลงจากร้อยฟองละ 432 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.63 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 413 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 414 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 428 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 377 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 520 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 510 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.96 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 79.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.49 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.06 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.29 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.61 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.18 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 81.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.91 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.61 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.18 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 81.28 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 9.91 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา