ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร เดือนพฤษภาคม 2567


         
1. ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร
      ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนพฤษภาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 115.98 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.38 จากเดือนพฤษภาคม 2566
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 108.01 เนื่องจากสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ทุเรียน ลำไย เงาะ มังคุด และปาล์มน้ำมัน
ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดมีผลผลิตลดลง ได้แก่ ยางพารา ข้าวเปลือกเจ้า สับปะรด และไข่ไก่
       ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2567 (ที่อยู่ระดับ 109.87) ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.56
โดยสินค้าเกษตรสำคัญบางชนิดที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ลองกอง ไก่เนื้อ และกุ้งขาวแวนนาไม ขณะที่สินค้าเกษตรสำคัญ
บางชนิดมีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 
 
  

 
2. ดัชนีราคาสินค้าเกษตร
      ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นา ณ เดือนพฤษภาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 164.15 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.40
จากเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 155.73
        เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2567 (ที่อยู่ระดับ 173.75) ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลง ร้อยละ 5.52


  
 
2.1 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566
•  สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
    - ยางพารา ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการใช้จากทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการผลิตล้อรถยนต์และเครื่องบิน
ประกอบกับราคาน้ำมันดิบยังเคลื่อนไหวในเกณฑ์สูง
    - ข้าวเปลือกเจ้า ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความต้องการจากตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ขณะที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด
    - สับปะรด ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแปรรูปที่มีความต้องการ
อย่างต่อเนื่อง

•  สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
    - ปาล์มน้ำมัน ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ ขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศทรงตัว
ทั้งการบริโภค อุตสาหกรรม และพลังงาน ประกอบกับสภาพอากาศร้อนจัด เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ส่งผลต่อคุณภาพผลผลิต
(เปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลง)


2.2 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายนที่ผ่านมา
•  สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น
    - ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการผลิตอาหารสัตว์
โดยเฉพาะจีน บราซิล และสหรัฐ ขณะที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย

•  สินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง
   - กุ้งขาวแวนนาไม ราคาลดลง เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความต้องการบริโภคภายในประเทศยังคงทรงตัว
ประกอบกับอยู่ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว อีกทั้งการส่งออกยังคงชะลอตัวจากคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญลดลง



 
3. ดัชนีรายได้เกษตรกร
      ดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือนพฤษภาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 190.39 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.18 จากเดือนพฤษภาคม 2566
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 168.21 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.38 และดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.40






 4. สรุป

       ดัชนีเศรษฐกิจการเกษตรในเดือนพฤษภาคม 2567 มีอัตราการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัว
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.38 และดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.40 ส่งผลทำให้ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.18 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566


ตารางแสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร (%YoY)
  2565 2566 2567
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 พฤษภาคม
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร 2.23 6.48 -0.95 0.17 2.25 1.22 0.59 1.54 -4.69 7.38
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร 4.46 10.03 20.09 12.93 -1.21 -5.26 -1.63 0.08 5.54 5.40
ดัชนีรายได้เกษตรกร 6.79 17.17 18.95 13.12 1.01 -4.10 -1.05 1.62 0.59 13.18
  หมายเหตุ: %YoY คือ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา                                                                             
  ที่มา: ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2567

 


 
 
 
♦ ♦ ดาวน์โหลดเอกสาร ♦ ♦

  รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร

  
Infographic TH / EN
 


รายงานดัชนีเศรษฐกิจการเกษตร จะเผยแพร่ภายในวันที่ 20 ของทุกเดือน ••