สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 สิงหาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนสิงหาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 1.911 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 7.07 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน    ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนสิงหาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.016 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.020 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของผลผลิต      ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,231 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,189 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,778 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,715 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 35,070 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,450 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80   
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน   
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 988 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,671 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 969 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,729 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.96 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 58 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 589 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,073 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 586 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,397 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 324 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 592 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,176 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 589 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,502 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 326 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.0803 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนสิงหาคม 2567 ผลผลิต 527.709 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 520.419 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.40
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนสิงหาคม 2567 มีปริมาณผลผลิต 527.709 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.40 การใช้ในประเทศ 526.963 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.67 การส่งออก/นำเข้า 54.139 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.99 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 177.434 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.42
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย กัมพูชา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา กายานา และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ เซเนกัล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น โซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เคนยา โมซัมบิก กานา และคาเมรูน
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ไทย บังกลาเทศ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ฟิลิปปินส์  
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ซึ่งมีการบริโภคเฉลี่ยมากถึง 16 ล้านตันต่อปี
แม้จะมีการเพาะปลูกเพื่อการบริโภคภายในประเทศ แต่ก็ไม่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยสามารถผลิตได้เพียงประมาณ 12 ล้านตันต่อปี จึงจำเป็นต้องพึ่งพาการนําเข้าข้าวประมาณ 3 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์ยังเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มเสี่ยงที่สุดในเอเชียด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประเทศที่มีความท้าทายหลายประการในการผลิตข้าวให้เพียงพอกับความต้องการ และการขยายตัวของจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี นอกจากนี้ ฟิลิปปินส์ยังต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และพายุไต้ฝุ่น ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรทุกปี รวมทั้งการขาดแคลนเทคโนโลยีทางการเกษตรที่ทันสมัยและการเปลี่ยนแปลงของแรงงานในภาคเกษตร ประกอบกับมีความกังวล    จากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวในประเทศ ในการนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์จึงจำเป็นต้อง เร่งหามาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมีอุปทานและสต็อกข้าวที่เพียงพอในการรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ฟิลิปปินส์จะต้องนําเข้าข้าวมากถึง 4.1 ล้านตัน
ปัจจุบันฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้นําเข้าข้าวอันดับ 1 ของโลก และเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกข้าวที่สำคัญของไทย โดยในปี 2566 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวปริมาณ 3.61 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 6.65 จากปี 2565 ที่นําเข้าปริมาณ 3.87 ล้านตัน ซึ่งได้นําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ที่ปริมาณ 2.97 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 82.23 รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 3.42 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 9.46 และเมียนมา ปริมาณ 1.56 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 4.33 ตามลำดับ
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
2) ไนจีเรีย
กรมศุลกากรไนจีเรียประกาศใช้มาตรการยกเว้นอากรศุลกากร (อัตราภาษีร้อยละศูนย์) และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการนำเข้าอาหารจำเป็น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567 เพื่อช่วยลดต้นทุนอาหารในไนจีเรียทำให้สินค้าอาหารจำเป็นมีราคาถูกลง โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลกลางได้อนุมัติช่วงเวลาปลอดอากรศุลกากร 150 วัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าข้าวโพด ข้าวกล้อง และข้าวสาลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อด้านอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจและเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร ทั้งนี้ ได้ระบุเกณฑ์คุณสมบัติสำหรับบริษัทที่ต้องการเข้าร่วมนโยบายภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ โดยทางบริษัทจะต้องจดทะเบียนในไนจีเรียและดำเนินกิจการมาอย่างน้อย 5 ปี ยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปีและงบการเงินอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งชำระภาษีและภาระผูกพันด้านภาษีหักจากค่าจ้างเงินเดือนตามกฎหมายทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว
ในการนี้ กระทรวงการคลังของรัฐบาลกลางจะจัดส่งรายชื่อผู้นำเข้าที่ได้รับอนุมัติและโควตาให้กับ
กรมศุลกากรเป็นระยะๆ เพื่อให้การนำเข้าสินค้าอาหารจำเป็นเหล่านี้เป็นไปอย่างราบรื่นภายใต้กรอบนโยบายฯ นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าวยังกำหนดให้สินค้าที่นำเข้าอย่างน้อยร้อยละ 75 ต้องจำหน่ายผ่านตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ได้รับการยอมรับ โดยต้องมีการบันทึกธุรกรรมและการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดอย่างละเอียด ซึ่งทางบริษัทจะต้องรักษาบันทึกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ครบถ้วน ซึ่งรัฐบาลอาจขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติตามภาระผูกพันภายใต้หลักเกณฑ์ฯ บริษัทจะไม่ได้รับการยกเว้นทั้งหมดและต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียม และอากรนำเข้าที่เกี่ยวข้องสำหรับรายการสินค้าอาหารจำเป็น 6 ประเภทที่เข้าเงื่อนไขอัตราภาษีร้อยละศูนย์ ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวฟ่าง ข้าวฟ่างเมล็ด ข้าวโพด ข้าวสาลี และถั่ว 
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.18 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5%
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  12.08 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 359.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,235.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 352.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,235.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 แต่ทรงตัวในรูปของเงินบาทที่ตันละ 12,235.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2567/68 มีปริมาณ 1,218.17 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,218.11 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 0.01 โดย สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย ญี่ปุ่น อียิปต์ เวียดนาม
อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 193.09 ล้านตัน ลดลงจาก 199.26 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 3.10 โดย ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป ปารากวัย แคนาดา และเซอร์เบีย ส่งออกลดลง
ประกอบกับ ผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก สหภาพยุโรป อิหร่าน แคนาดา อังกฤษ ชิลี ตุรกี ไทย บราซิล และอินโดนีเซีย มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 374.00 เซนต์ (5,072.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 377.00 เซนต์ (5,236.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 164.00 บาท




มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือน สิงหาคม 2567   คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.53 ล้านตัน (ร้อยละ 1.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพเพิ่มขึ้นเนื่องจากเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งสูง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.85 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.82 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.65
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.09 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.70 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.94 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.02
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.79 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.22
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 242.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,360 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 242.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,520 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 520.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,940 บาทต่อตัน)  ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 517.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,170 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.58


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.524 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.274 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.893 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.341 ล้านตัน ของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 19.49 และร้อยละ 19.65 ตามลำดับ   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 5.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.07 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.06
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.22 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,000.95 ริงกิตมาเลเซีย (31.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,015.02 ริงกิตมาเลเซีย (31.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,064.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,014.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.93           
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
 1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          -  สหพันธ์ผู้ผลิตน้ำตาลแห่งชาติฟิลิปปินส์ (UNIFED) กำลังผลักดันให้ชะลอการเปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2567/68 จากปกติที่จะเริ่มต้นในเดือนกันยายน เพื่อเป็นการชดเชยสภาพอากาศที่ขาดฝน อย่างไรก็ตาม สมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งชาติ (NFSP) ของฟิลิปปินส์กล่าวแย้งว่า การเปิดหีบอ้อยสามารถดำเนินการตามปกติได้ เนื่องจากมีฝนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ด้านสมาพันธ์สมาคมน้ำตาล (CONFED) ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับสภาแห่งชาติของสหภาพแรงงานในอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งฟิลิปปินส์ (NACUSIP) เพื่อผลักดันให้มีการปฏิรูปนโยบายเกี่ยวกับน้ำตาล
          -  กระทรวงเกษตรประเทศอินเดีย รายงานข้อมูลอย่างเป็นทางการว่า ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2567
อินเดียมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยอยู่ที่ 5.768 ล้านเฮกตาร์ เพิ่มขึ้นจาก 5.711 ล้านเฮกตาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันของปี
ที่ผ่านมา ด้านเจ้าหน้าที่ในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) ได้สั่งการให้โรงงานน้ำตาลเริ่มต้นเปิดหีบในวันที่
1 ตุลาคม 2567 เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองต่อคำร้องขอของชาวไร่อ้อย
           -  ธนาคาร Itau BBA ปรับลดคาดการณ์ภาวะน้ำตาลโลกส่วนเกินในปี 2567/68 จาก 3.00 ล้านตัน
เหลือ 1.50 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าอินเดียจะนำน้ำตาลไปผลิตเป็นเอทานอลที่ 5.10 ล้านตัน ส่งผลให้มีผลผลิตน้ำตาลเหลือที่ 30.70 ล้านตัน โดย Itau BBA คาดการณ์เพิ่มเติมว่า ความต้องการเอทานอลของอินเดียจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.67 พันล้านลิตร เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลอินเดียในการเพิ่มสัดส่วนผสมเอทานอลร้อยละ 2 โดยให้เพิ่มขึ้นจาก 6.75 พันล้านลิตรในปีนี้ ด้านรัฐบาลอินเดียรายงานว่า จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 รัฐกรณาฏกะ (Karnataka) มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยลดลงเหลือ 645,000 เฮกตาร์ จาก 656,000 เฮกตาร์ ในปีที่ก่อนหน้า ทั้งนี้ ในช่วงฤดูมรสุมรัฐกรณาฏกะมีปริมาณฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึงร้อยละ 23

 


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 833.92 เซนต์ (10.57 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 974.12 เซนต์ (12.61 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 14.39
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 309.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.69 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 311.36 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 40.82 เซนต์ (31.04 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 40.35 เซนต์ (31.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.16


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20.00
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1028.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ1006.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.13 และเคงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 880.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 862.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.10 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,530.20 ดอลลาร์สหรัฐ (52.15 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,498.50 ดอลลาร์สหรัฐ (52.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1146.20 ดอลลาร์สหรัฐ (39.06 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1122.75 ดอลลาร์สหรัฐ (39.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 903.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 885.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.10 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.71 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.72
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,149 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,147 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,611 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  70.31 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.86 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.85 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.81 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 73.82 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.04 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50  บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 378 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 364 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 417  คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 439 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 427 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 396 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.25 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 81.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.90 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.46 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 58.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 52.40 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 19 – 25 สิงหาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพาน
ปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.97 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.12 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา         
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.51 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา         
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 129.26 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 134.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.95 บาท ราคาลดลง
จากกิโลกรัมละ 71.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.07 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 33.25 บาท
ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 26.80 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 28.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.45 บาท