- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 กันยายน 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกันยายน 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.212 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนกันยายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.017 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนตุลาคม 2567 อีก 0.003 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,500 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,472 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,693 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,743 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 36,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,510 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,790 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,110 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,625 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,052 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,160 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.51 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 1,465 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 575 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,972 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 578 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,318 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 346 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,170 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 248 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9955 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนกันยายน 2567 ผลผลิต 527.312 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 520.648 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.28
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนกันยายน 2567 มีปริมาณผลผลิต 527.312 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.28 การใช้ในประเทศ 527.455 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.85 การส่งออก/นำเข้า 54.019 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2566/67 ร้อยละ 2.65 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 177.238 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.08
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย จีน บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา กายานา ออสเตรเลีย และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ แอฟริกาใต้ อิหร่าน
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กานา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น โซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เม็กซิโก เคนยา โมซัมบิก และคาเมรูน
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวน เป็นอย่างมาก โดยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 33.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 19 เดือน เมื่อเทียบกับในช่วง 1 เดือนก่อนหน้า (เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567) ค่าเงินบาทอยู่ที่ 35.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 5.6 ทำให้ผู้ส่งออกข้าวไทยทำงานลำบากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถตั้งราคาขายได้ เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกจึงต้องเสนอราคาขายข้าวสารในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกข้าวไทยเสียเปรียบประเทศคู่แข่งที่ค่าเงินไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงประเทศคู่ค้าก็ไม่กล้าสั่งซื้อข้าวจากไทยและหันไปซื้อข้าวจากประเทศคู่แข่งที่มีราคาถูกกว่า ทั้งนี้ ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้นดังกล่าว จะทำให้ปริมาณการส่งออกในแต่ละเดือนปรับลดลง และจะส่งผลต่อราคาข้าวสารและข้าวเปลือกในประเทศด้วยเช่นกัน ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากไทยต้องการผลักดันการส่งออกข้าวทั้งปี 2567 ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 8.2 ล้านตัน จำเป็นต้องลดราคาข้าวในประเทศลง เพื่อให้ราคาข้าวไทยสามารถแข่งขันได้ เช่น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 10 ก็ต้องลดราคาข้าว ในประเทศลงมาร้อยละ 10 เป็นต้น
กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า การส่งออกข้าวไทยในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปริมาณ 604,579.6 ตัน มูลค่า 399.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 13,168.50 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีปริมาณ 606,143.5 ตัน มูลค่า 345.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 11,396.65 ล้านบาท) โดยปริมาณลดลง ร้อยละ 0.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 ขณะที่ในช่วง 7 เดือนของปี 2567 (มกราคม – กรกฎาคม) ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 5,684,843 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,702.91 ล้านดอลลาร์หรัฐฯ (ประมาณ 122,179.37 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีปริมาณ 4,661,327 ตัน มูลค่า 2,576.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 85,016.21 ล้านบาท) ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 และร้อยละ 51
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9955 บาท
2) บังกลาเทศ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา รายงานว่า เกษตรกรในบังกลาเทศจะปลูกข้าวในสามฤดู ได้แก 1) ฤดูโบโร (Boro) เริ่มปลูกในเดือนธันวาคม – มกราคม และเก็บเกี่ยวในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2) ฤดูออซ (Aus) เริ่มปลูกในเดือนเมษายน – พฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม – กันยายน และ 3) อามาน (Aman) เริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม – กันยายน และเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณว่า ปีการผลิต 2567/68 บังกลาเทศจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยว 71.8 ล้านไร่ ผลผลิต 36.8 ล้านตันข้าวสาร เมื่อเทียบกับปีการผลิต 2566/67 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 73.4 ล้านไร่ ผลผลิต 37.0 ล้านตันข้าวสาร ทั้งพื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 0.54 ตามลำดับ พื้นที่เก็บเกี่ยวคาดว่าลดลง เนื่องจากในฤดู Aus และ Aman มีฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ประกอบกับเกษตรกรหันไปปลูกมัสตาร์ดทดแทนการปลูกข้าวรวมถึง การขาดแคลนพันธุ์ข้าวในฤดู Aus ส่งผลให้ผลผลิตข้าวรวมของประเทศลดลง
ข้อมูลสำนักงานการค้าแห่งบังกลาเทศ (Trade Corporation of Bangladesh: TCB) รายงานว่า ราคาข้าวทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2567 โดยสัปดาห์ที่สองของเดือนสิงหาคม 2567 ราคาขายปลีกข้าวคุณภาพสูงเกรดทั่วไป เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71 ตากา (กิโลกรัมละ 19.67 บาท) และราคาขายปลีกข้าวหักเกรดต่ำ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52 ตากา (กิโลกรัมละ 14.40 บาท) สูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2567 ร้อยละ 2 และร้อยละ 4 ตามลำดับ ซึ่งราคาข้าวยังได้รับผลกระทบจากการประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษาทั่วประเทศ และเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานข้าวหยุดชะงัก ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้น และราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ TCB ยังคาดการณ์ว่า ราคาข้าวทุกประเภทจะยังคงสูงขึ้นจนกว่าจะถึงการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดู Aman ช่วงเดือนตุลาคม 2567 และคาดว่าบังกลาเทศจะยังไม่นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เนื่องจากมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติของอินเดียส่งผลให้ราคาข้าวจากประเทศผู้ส่งออกสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงกว่าราคาข้าวภายในประเทศ ทั้งนี้ จากการผลิตที่ลดลงและราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ จึงคาดการณว่าในปี 2567/68 การบริโภคข้าวของบังกลาเทศจะลดลงเหลือ 37.7 ล้านตัน ในขณะที่การบริโภคข้าวสาลีคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากแป้งสาลียังคงมีราคาถูกกว่าข้าว และในด้านสต็อกข้าวปลายปี คาดวาจะมีประมาณ 1.02 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 46.9
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ตากา เท่ากับ 0.2770 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกันยายน 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.212 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนกันยายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.017 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนตุลาคม 2567 อีก 0.003 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,500 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,472 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,693 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,743 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 36,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,510 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,790 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,110 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,625 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,052 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,160 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.51 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 1,465 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 575 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,972 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 578 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,318 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 346 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,170 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 248 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9955 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนกันยายน 2567 ผลผลิต 527.312 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 520.648 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.28
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนกันยายน 2567 มีปริมาณผลผลิต 527.312 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.28 การใช้ในประเทศ 527.455 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.85 การส่งออก/นำเข้า 54.019 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2566/67 ร้อยละ 2.65 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 177.238 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.08
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย จีน บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา กายานา ออสเตรเลีย และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย ไอเวอรี่โคสต์ แอฟริกาใต้ อิหร่าน
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กานา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น โซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เม็กซิโก เคนยา โมซัมบิก และคาเมรูน
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทมีความผันผวน เป็นอย่างมาก โดยเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 33.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 19 เดือน เมื่อเทียบกับในช่วง 1 เดือนก่อนหน้า (เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2567) ค่าเงินบาทอยู่ที่ 35.49 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 5.6 ทำให้ผู้ส่งออกข้าวไทยทำงานลำบากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถตั้งราคาขายได้ เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกจึงต้องเสนอราคาขายข้าวสารในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกข้าวไทยเสียเปรียบประเทศคู่แข่งที่ค่าเงินไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงประเทศคู่ค้าก็ไม่กล้าสั่งซื้อข้าวจากไทยและหันไปซื้อข้าวจากประเทศคู่แข่งที่มีราคาถูกกว่า ทั้งนี้ ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้นดังกล่าว จะทำให้ปริมาณการส่งออกในแต่ละเดือนปรับลดลง และจะส่งผลต่อราคาข้าวสารและข้าวเปลือกในประเทศด้วยเช่นกัน ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากไทยต้องการผลักดันการส่งออกข้าวทั้งปี 2567 ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 8.2 ล้านตัน จำเป็นต้องลดราคาข้าวในประเทศลง เพื่อให้ราคาข้าวไทยสามารถแข่งขันได้ เช่น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นร้อยละ 10 ก็ต้องลดราคาข้าว ในประเทศลงมาร้อยละ 10 เป็นต้น
กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า การส่งออกข้าวไทยในเดือนกรกฎาคม 2567 มีปริมาณ 604,579.6 ตัน มูลค่า 399.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 13,168.50 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีปริมาณ 606,143.5 ตัน มูลค่า 345.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 11,396.65 ล้านบาท) โดยปริมาณลดลง ร้อยละ 0.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 ขณะที่ในช่วง 7 เดือนของปี 2567 (มกราคม – กรกฎาคม) ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 5,684,843 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,702.91 ล้านดอลลาร์หรัฐฯ (ประมาณ 122,179.37 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่มีปริมาณ 4,661,327 ตัน มูลค่า 2,576.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 85,016.21 ล้านบาท) ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 และร้อยละ 51
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9955 บาท
2) บังกลาเทศ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา รายงานว่า เกษตรกรในบังกลาเทศจะปลูกข้าวในสามฤดู ได้แก 1) ฤดูโบโร (Boro) เริ่มปลูกในเดือนธันวาคม – มกราคม และเก็บเกี่ยวในเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2) ฤดูออซ (Aus) เริ่มปลูกในเดือนเมษายน – พฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม – กันยายน และ 3) อามาน (Aman) เริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม – กันยายน และเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม โดยกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดการณว่า ปีการผลิต 2567/68 บังกลาเทศจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยว 71.8 ล้านไร่ ผลผลิต 36.8 ล้านตันข้าวสาร เมื่อเทียบกับปีการผลิต 2566/67 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 73.4 ล้านไร่ ผลผลิต 37.0 ล้านตันข้าวสาร ทั้งพื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 0.54 ตามลำดับ พื้นที่เก็บเกี่ยวคาดว่าลดลง เนื่องจากในฤดู Aus และ Aman มีฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ประกอบกับเกษตรกรหันไปปลูกมัสตาร์ดทดแทนการปลูกข้าวรวมถึง การขาดแคลนพันธุ์ข้าวในฤดู Aus ส่งผลให้ผลผลิตข้าวรวมของประเทศลดลง
ข้อมูลสำนักงานการค้าแห่งบังกลาเทศ (Trade Corporation of Bangladesh: TCB) รายงานว่า ราคาข้าวทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2567 โดยสัปดาห์ที่สองของเดือนสิงหาคม 2567 ราคาขายปลีกข้าวคุณภาพสูงเกรดทั่วไป เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71 ตากา (กิโลกรัมละ 19.67 บาท) และราคาขายปลีกข้าวหักเกรดต่ำ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52 ตากา (กิโลกรัมละ 14.40 บาท) สูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2567 ร้อยละ 2 และร้อยละ 4 ตามลำดับ ซึ่งราคาข้าวยังได้รับผลกระทบจากการประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษาทั่วประเทศ และเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานข้าวหยุดชะงัก ต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้น และราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ TCB ยังคาดการณ์ว่า ราคาข้าวทุกประเภทจะยังคงสูงขึ้นจนกว่าจะถึงการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดู Aman ช่วงเดือนตุลาคม 2567 และคาดว่าบังกลาเทศจะยังไม่นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ เนื่องจากมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติของอินเดียส่งผลให้ราคาข้าวจากประเทศผู้ส่งออกสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงกว่าราคาข้าวภายในประเทศ ทั้งนี้ จากการผลิตที่ลดลงและราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ จึงคาดการณว่าในปี 2567/68 การบริโภคข้าวของบังกลาเทศจะลดลงเหลือ 37.7 ล้านตัน ในขณะที่การบริโภคข้าวสาลีคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากแป้งสาลียังคงมีราคาถูกกว่าข้าว และในด้านสต็อกข้าวปลายปี คาดวาจะมีประมาณ 1.02 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 46.9
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ตากา เท่ากับ 0.2770 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.06 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5%
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.99
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.60
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 321.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,605.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 331.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,063.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.02 และลดลงในรูปของเงินบาทที่ตันละ 458.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2567/68 มีปริมาณ 1,219.85 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,217.52 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 0.19 โดย สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย ญี่ปุ่น อียิปต์ เวียดนาม อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้
มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 192.79 ล้านตัน ลดลงจาก 198.67 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 2.96 โดย ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป ปารากวัย แคนาดา และเซอร์เบีย ส่งออกลดลง ประกอบกับ ผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก จีน สหภาพยุโรป
อิหร่าน อังกฤษ แคนาดา ชิลี ตุรกี ไทย และบราซิล มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 409.00 เซนต์ (5,375.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 407.00 เซนต์ (5,422.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 47.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือน กันยายน 2567
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.62 ล้านตัน (ร้อยละ 2.30 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับฝนตกในหลายพื้นที่
ทำให้หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากสิ่งเจือปนสูงและเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.03 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.48
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.01 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.17
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.48 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.47
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.08 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.28 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.16
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 242.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,070 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 242.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,180 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 511.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,010 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 516.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,420 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.06
ปาล์มน้ำมัน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.290 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.232 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.559 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.281 ล้านตัน
ของเดือนสิงหาคม คิดเป็นร้อยละ 17.25 และร้อยละ 17.44 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 6.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.38 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียคาดว่าในปี 2567 ปริมาณการส่งออกน้ำมันปาล์มจะลดลง เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ตามมาตรการเพิ่มอัตราผสมน้ำมันปาล์มในน้ำมันไบโอดีเซล และปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มลดลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,927.88 ริงกิตมาเลเซีย (31.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,985.95 ริงกิตมาเลเซีย (31.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,152.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.52 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,119.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.99
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- บริษัท Tereos ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ รายงานว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยกว่า 30,000 เฮกตาร์ของบริษัท หรือประมาณร้อยละ 10 ของประเทศบราซิลได้รับผลกระทบจากไฟไหม้ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย Tereos ได้แสดงความกังวลถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งที่ยืดออกไป อาจส่งผลให้ผลผลิตในปี 2568/69 แย่ลง ด้าน RPA และองค์กรสมาคมผู้ปลูกอ้อยแห่งบราซิล (Orplana) มีความเห็นว่า แม้อ้อยที่ถูกไฟไหม้ยังคงสามารถเก็บเกี่ยวได้ แต่อ้อยที่งอกใหม่จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจกลายเป็นปัจจัยเชิงลบต่อปริมาณผลผลิตอ้อยในปี 2568/69 โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจำเป็นต้องปลูกอ้อยใหม่ จะเก็บเกี่ยวได้ในปี 2569/70 เท่านั้น ทั้งนี้ จากการประเมินของ UNICA พบว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยอย่างน้อย 230,000 เฮกตาร์ ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 และสถาบันวิจัยด้านอวกาศแห่งชาติ (INPE) ของบราซิล กล่าวเสริมว่า ขณะนี้มีการบันทึกการเกิดเพลิงไหม้แล้วกว่า 1,000 ครั้ง ในช่วงเดือนกันยายน 2567 ซึ่งผลกระทบจากไฟไหม้ยังส่งผลต่อสารอาหารในดินที่ช่วยในการย่อยสลาย และอาจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานถึง 3 ปี (ที่มา: บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด, chinimandi.com)
- สำนักข่าวหลายแห่งของประเทศอินเดีย รายงานว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยในรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) ได้รับความเสียหายเนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในไร่อ้อย ในขณะที่ลมแรงทำให้ผลผลิตอ้อยหักงอ ส่งผลให้หลายฝ่ายเริ่มแสดงความกังวลต่อผลผลิตอ้อยที่อาจได้รับความเสียหายหากน้ำที่ขังในไร่อ้อยยังคงไม่ลดลง (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- บริษัท Tereos ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ รายงานว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยกว่า 30,000 เฮกตาร์ของบริษัท หรือประมาณร้อยละ 10 ของประเทศบราซิลได้รับผลกระทบจากไฟไหม้ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย Tereos ได้แสดงความกังวลถึงผลกระทบจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งที่ยืดออกไป อาจส่งผลให้ผลผลิตในปี 2568/69 แย่ลง ด้าน RPA และองค์กรสมาคมผู้ปลูกอ้อยแห่งบราซิล (Orplana) มีความเห็นว่า แม้อ้อยที่ถูกไฟไหม้ยังคงสามารถเก็บเกี่ยวได้ แต่อ้อยที่งอกใหม่จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจกลายเป็นปัจจัยเชิงลบต่อปริมาณผลผลิตอ้อยในปี 2568/69 โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจำเป็นต้องปลูกอ้อยใหม่ จะเก็บเกี่ยวได้ในปี 2569/70 เท่านั้น ทั้งนี้ จากการประเมินของ UNICA พบว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยอย่างน้อย 230,000 เฮกตาร์ ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 และสถาบันวิจัยด้านอวกาศแห่งชาติ (INPE) ของบราซิล กล่าวเสริมว่า ขณะนี้มีการบันทึกการเกิดเพลิงไหม้แล้วกว่า 1,000 ครั้ง ในช่วงเดือนกันยายน 2567 ซึ่งผลกระทบจากไฟไหม้ยังส่งผลต่อสารอาหารในดินที่ช่วยในการย่อยสลาย และอาจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานถึง 3 ปี (ที่มา: บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด, chinimandi.com)
- สำนักข่าวหลายแห่งของประเทศอินเดีย รายงานว่า พื้นที่เพาะปลูกอ้อยในรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) ได้รับความเสียหายเนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในไร่อ้อย ในขณะที่ลมแรงทำให้ผลผลิตอ้อยหักงอ ส่งผลให้หลายฝ่ายเริ่มแสดงความกังวลต่อผลผลิตอ้อยที่อาจได้รับความเสียหายหากน้ำที่ขังในไร่อ้อยยังคงไม่ลดลง (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,009.92 เซนต์ (12.40 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 987 เซนต์ (12.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.32
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 318.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.65 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 314.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.25
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.04 เซนต์ (30.23 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 40.86 เซนต์ (30.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.44
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,009.92 เซนต์ (12.40 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 987 เซนต์ (12.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.32
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 318.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.65 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 314.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.25
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.04 เซนต์ (30.23 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 40.86 เซนต์ (30.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.44
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.29
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1059.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.95 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ1048.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 907.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.93 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 898.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,576.40 ดอลลาร์สหรัฐ (52.01 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,560.80 ดอลลาร์สหรัฐ (52.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1181.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.97 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1168.80 ดอลลาร์สหรัฐ (39.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 931.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.73 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ ละ 922.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.30 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,039 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,975 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.24
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,499 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,476 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.56
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.27 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.85 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.27 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.92 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 75.51 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายราคาไก่เนื้อลดลงเล็กน้อย เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.96 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.58 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 378 บาท ลดลงจากร้อลฟองละ 379 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 364 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 423 บาท สูงขึ้นจากร้อลฟองละ 422 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 431 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 393 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 455 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 510 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.38 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 79.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.70 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.27 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.85 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.27 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.92 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 75.51 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายราคาไก่เนื้อลดลงเล็กน้อย เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.96 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.58 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 378 บาท ลดลงจากร้อลฟองละ 379 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 364 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 423 บาท สูงขึ้นจากร้อลฟองละ 422 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 445 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 431 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 393 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 455 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 510 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.38 บาท ลดลง จากกิโลกรัมละ 79.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.70 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 56.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 50.14 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 16 – 22 กันยายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.66 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.05 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 26.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 16 – 22 กันยายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.66 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 63.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.05 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 133.80 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.46 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 26.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา