- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 30 กันยายน-6 ตุลาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนตุลาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.172 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.04 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.376 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 70.38 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,612 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,585 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,328 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,555 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 37,750 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 37,570 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,110 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,810 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.11
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,132 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,714 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,129 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,671 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 43 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,508 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 570 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,514 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,006 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,703 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,709 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.59 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,006 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4329 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอิสระด้านการเกษตรและผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากอินเดียได้เปิดเสรีส่งออกข้าวจากเดิมที่เคยมีคำสั่งห้ามส่งออกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ การยกเลิกมาตรการดังกล่าว รวมถึงการยกเลิกการกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ที่ตันละ 490 ดอลลาร์ (ประมาณตันละ 15,892 บาท) ในข้าวขาวและข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ทำให้อินเดียสามารถส่งออกข้าวสู่ตลาดโลกเพิ่มขึ้น และหากอินเดียกำหนดราคาส่งออกต่ำกว่าราคาตลาดก็จะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวไทยที่จะออกสู่ตลาดในช่วงปลายปีนี้ และคาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตประมาณ 32 ล้านตัน ทั้งนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการปลูกข้าวที่มุ่งเน้นการปลูกข้าวคุณภาพสูง และมีมาตรฐานสูง เช่น การปลูกข้าวที่สอดคล้องกับมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และข้าวที่มีสารอาหารสูง เป็นต้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนให้กับชาวนาไทย นอกจากนั้น รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โดยการพัฒนาผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรให้เพิ่มขึ้น เช่น จาก 500 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มเป็น 800 - 1000 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับสถานการณ์ข้าวในตลาดโลกจะมีการปรับไปในทิศทางใดนั้น ยังคงต้องพิจารณาตัวแปรเรื่องปริมาณความต้องการจากประเทศผู้นำเข้าข้าวในตลาดโลก เช่น แอฟริกา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในปีที่ผ่านมาฟิลิปปินส์มีการนำเข้าข้าวมากถึง 4 ล้านตัน ส่วนแอฟริกาใต้และอินโดนีเซียมีการนำเข้าประเทศละ 2 ล้านตัน ซึ่งหากมีความต้องการนำเข้าข้าวน้อยลง ปริมาณข้าวในตลาดโลกก็จะล้นตลาดและทำให้ราคาข้าวลดลง
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4329 บาท
2) อินเดีย
อินเดียอนุญาตให้ส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติได้อีกครั้ง หลังจากประกาศลดภาษีการส่งออกข้าวนึ่ง จากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เนื่องจากเกษตรกรกำลังเตรียมเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูกาลใหม่ ทำให้สต็อกข้าวของรัฐบาลมีเพิ่มขึ้น ในการนี้ นาย Himanshu Agarwal กรรมการบริหาร Satyam Balajee หนึ่งในบริษัทส่งออกข้าวรายใหญ่ของอินเดีย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของอินเดียส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย เวียดนาม และปากีสถาน ปรับลดราคาข้าวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ขณะที่สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ก่อนหน้านี้ราคาข้าวทั่วโลกปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 15 ปี หลังจากเมื่อปีที่แล้วอินเดียประกาศมาตรการห้ามส่งออกข้าวขาว และกำหนดอัตราภาษีส่งออกข้าวนึ่งร้อยละ 20 ซึ่งมาตรการดังกล่าว ทำให้ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ไทย ปากีสถาน และเมียนมา สามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และควบคุมราคาในตลาดโลกให้สูงขึ้นได้
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ราคาข้าวนึ่งหัก 5% ของอินเดียราคาตันละ 500 - 510 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ16,216 – 16,541บาท) ลดลงจากตันละ 530 - 536 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,189 – 17,384 บาท) ในสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาข้าวขาวหัก 5% ของอินเดียราคาตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 15,892 บาท) ทั้งนี้ ปี 2566 อินเดียครองสัดส่วนการส่งออกข้าวมากกว่าร้อยละ 40 ของการส่งออกทั่วโลก โดยมีปริมาณ 22.2 ล้านตัน จากการค้าทั่วโลกทั้งหมด 55.4 ล้านตัน ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4329 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนําเข้าข้าว ณ กลางเดือนกันยายน 2567 มีปริมาณ 3.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 2.63 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 87.37 ของการนําเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย 3.94 แสนตัน ปากีสถาน 1.57 แสนตัน เมียนมา 6.80 หมื่นตัน และอินเดีย 2.20 หมื่นตัน ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 นาย Martin Romualdez ประธานสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ ได้เยี่ยมชมตลาด Guadalupe ในเมืองมากาติ รวมถึงตลาดนัดเกษตรกรและ Nepa Q-Mart ในเมืองเกซอน ซิตี้ พบว่า ราคาขายปลีกข้าวสีคุณภาพดีกิโลกรัมละ 45 เปโซ (ประมาณ 25บาท) และข้าวหักกิโลกรัมละ 42 เปโซ (ประมาณ 23 บาท) ทั้งนี้ ราคาข้าวในท้องตลาดที่ลดลง เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว โดยการปรับลดภาษีข้าวจากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 15 รวมทั้งการดำเนินการแก้ปัญหา/ป้องกันการขาดแคลนข้าวในระยะยาว เช่น การเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ การปรับปรุงกฎระเบียบการนําเข้า และบทลงโทษสำหรับผู้ค้าที่ผิดกฎหมาย โดยมีการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและปรับราคาข้าว เพื่อให้ผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ทุกคนสามารถซื้อข้าวในราคาที่เอื้อมถึงได้
นอกจากนี้ สำนักงานสำรวจบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration: PAGASA) คาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์ลานีญามีโอกาสที่จะเกิดในช่วงกันยายน - พฤศจิกายน 2567 ถึงร้อยละ 66 และมีแนวโน้มจะคงอยู่ถึงไตรมาสแรกของปี 2568 ซึ่งอาจประสบกับฝนตกหนักและน้ำท่วมรุนแรง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวของฟิลิปปินส์ลดลง ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงเกษตร ระบุว่า ความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดจากผลกระทบของสภาพอากาศ รวมถึงเอลนีโญ มรสุม ไต้ฝุ่น และพายุต่างๆ ในช่วง 9 เดือน (มกราคม - กันยายน) ที่ผ่านมา อยู่ที่ 23.19 พันล้านเปโซ (12.77 พันล้านบาท) เป็นผลผลิตข้าว 3.73 แสนตัน และคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวจะได้รับผลกระทบประมาณ 5 – 6 แสนตันของทุกปี
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5505 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนตุลาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.172 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.04 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.376 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 70.38 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,612 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,585 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,328 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,555 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 37,750 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 37,570 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,110 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,810 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.11
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,132 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,714 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,129 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,671 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 43 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,508 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 570 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,514 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,006 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,703 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,709 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.59 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,006 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4329 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอิสระด้านการเกษตรและผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากอินเดียได้เปิดเสรีส่งออกข้าวจากเดิมที่เคยมีคำสั่งห้ามส่งออกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ การยกเลิกมาตรการดังกล่าว รวมถึงการยกเลิกการกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ที่ตันละ 490 ดอลลาร์ (ประมาณตันละ 15,892 บาท) ในข้าวขาวและข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ทำให้อินเดียสามารถส่งออกข้าวสู่ตลาดโลกเพิ่มขึ้น และหากอินเดียกำหนดราคาส่งออกต่ำกว่าราคาตลาดก็จะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาข้าวไทยที่จะออกสู่ตลาดในช่วงปลายปีนี้ และคาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตประมาณ 32 ล้านตัน ทั้งนี้ รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการปลูกข้าวที่มุ่งเน้นการปลูกข้าวคุณภาพสูง และมีมาตรฐานสูง เช่น การปลูกข้าวที่สอดคล้องกับมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และข้าวที่มีสารอาหารสูง เป็นต้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนให้กับชาวนาไทย นอกจากนั้น รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โดยการพัฒนาผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรให้เพิ่มขึ้น เช่น จาก 500 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มเป็น 800 - 1000 กิโลกรัมต่อไร่
สำหรับสถานการณ์ข้าวในตลาดโลกจะมีการปรับไปในทิศทางใดนั้น ยังคงต้องพิจารณาตัวแปรเรื่องปริมาณความต้องการจากประเทศผู้นำเข้าข้าวในตลาดโลก เช่น แอฟริกา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในปีที่ผ่านมาฟิลิปปินส์มีการนำเข้าข้าวมากถึง 4 ล้านตัน ส่วนแอฟริกาใต้และอินโดนีเซียมีการนำเข้าประเทศละ 2 ล้านตัน ซึ่งหากมีความต้องการนำเข้าข้าวน้อยลง ปริมาณข้าวในตลาดโลกก็จะล้นตลาดและทำให้ราคาข้าวลดลง
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4329 บาท
2) อินเดีย
อินเดียอนุญาตให้ส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติได้อีกครั้ง หลังจากประกาศลดภาษีการส่งออกข้าวนึ่ง จากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 เนื่องจากเกษตรกรกำลังเตรียมเก็บเกี่ยวผลผลิตในฤดูกาลใหม่ ทำให้สต็อกข้าวของรัฐบาลมีเพิ่มขึ้น ในการนี้ นาย Himanshu Agarwal กรรมการบริหาร Satyam Balajee หนึ่งในบริษัทส่งออกข้าวรายใหญ่ของอินเดีย กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของอินเดียส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย เวียดนาม และปากีสถาน ปรับลดราคาข้าวเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ขณะที่สำนักข่าว Reuters รายงานว่า ก่อนหน้านี้ราคาข้าวทั่วโลกปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 15 ปี หลังจากเมื่อปีที่แล้วอินเดียประกาศมาตรการห้ามส่งออกข้าวขาว และกำหนดอัตราภาษีส่งออกข้าวนึ่งร้อยละ 20 ซึ่งมาตรการดังกล่าว ทำให้ประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ไทย ปากีสถาน และเมียนมา สามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด และควบคุมราคาในตลาดโลกให้สูงขึ้นได้
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ราคาข้าวนึ่งหัก 5% ของอินเดียราคาตันละ 500 - 510 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ16,216 – 16,541บาท) ลดลงจากตันละ 530 - 536 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,189 – 17,384 บาท) ในสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาข้าวขาวหัก 5% ของอินเดียราคาตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 15,892 บาท) ทั้งนี้ ปี 2566 อินเดียครองสัดส่วนการส่งออกข้าวมากกว่าร้อยละ 40 ของการส่งออกทั่วโลก โดยมีปริมาณ 22.2 ล้านตัน จากการค้าทั่วโลกทั้งหมด 55.4 ล้านตัน ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4329 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนําเข้าข้าว ณ กลางเดือนกันยายน 2567 มีปริมาณ 3.01 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยนําเข้าจากเวียดนามมากเป็นอันดับ 1 ปริมาณ 2.63 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 87.37 ของการนําเข้าทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ ไทย 3.94 แสนตัน ปากีสถาน 1.57 แสนตัน เมียนมา 6.80 หมื่นตัน และอินเดีย 2.20 หมื่นตัน ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 นาย Martin Romualdez ประธานสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ ได้เยี่ยมชมตลาด Guadalupe ในเมืองมากาติ รวมถึงตลาดนัดเกษตรกรและ Nepa Q-Mart ในเมืองเกซอน ซิตี้ พบว่า ราคาขายปลีกข้าวสีคุณภาพดีกิโลกรัมละ 45 เปโซ (ประมาณ 25บาท) และข้าวหักกิโลกรัมละ 42 เปโซ (ประมาณ 23 บาท) ทั้งนี้ ราคาข้าวในท้องตลาดที่ลดลง เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว โดยการปรับลดภาษีข้าวจากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 15 รวมทั้งการดำเนินการแก้ปัญหา/ป้องกันการขาดแคลนข้าวในระยะยาว เช่น การเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ การปรับปรุงกฎระเบียบการนําเข้า และบทลงโทษสำหรับผู้ค้าที่ผิดกฎหมาย โดยมีการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและปรับราคาข้าว เพื่อให้ผู้บริโภคชาวฟิลิปปินส์ทุกคนสามารถซื้อข้าวในราคาที่เอื้อมถึงได้
นอกจากนี้ สำนักงานสำรวจบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของฟิลิปปินส์ (Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration: PAGASA) คาดการณ์ว่า ปรากฏการณ์ลานีญามีโอกาสที่จะเกิดในช่วงกันยายน - พฤศจิกายน 2567 ถึงร้อยละ 66 และมีแนวโน้มจะคงอยู่ถึงไตรมาสแรกของปี 2568 ซึ่งอาจประสบกับฝนตกหนักและน้ำท่วมรุนแรง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวของฟิลิปปินส์ลดลง ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงเกษตร ระบุว่า ความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดจากผลกระทบของสภาพอากาศ รวมถึงเอลนีโญ มรสุม ไต้ฝุ่น และพายุต่างๆ ในช่วง 9 เดือน (มกราคม - กันยายน) ที่ผ่านมา อยู่ที่ 23.19 พันล้านเปโซ (12.77 พันล้านบาท) เป็นผลผลิตข้าว 3.73 แสนตัน และคาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวจะได้รับผลกระทบประมาณ 5 – 6 แสนตันของทุกปี
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5505 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.25 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.40
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.24
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 312.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,127.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 320.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,381.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.50 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 254.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 428.00 เซนต์ (5,533.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 414.00 เซนต์ (5,366.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.38 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 167.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือน กันยายน 2567
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.62 ล้านตัน (ร้อยละ 2.30 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.07 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.47
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.73
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ6.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.09 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.40
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.60 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.85 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.48
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 241.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,850 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 242.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,970 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.62
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 502.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,350 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจาก ตันละ 507.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,660 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.99
ปาล์มน้ำมัน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.290 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.232 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.559 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.281 ล้านตันของเดือนสิงหาคม คิดเป็นร้อยละ 17.25 และร้อยละ 17.44 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 6.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.18 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 35.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.33 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.68
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียปรับเพิ่มราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์มดิบ (CPO reference price) ของเดือนตุลาคมเป็นตันละ 893.64 ดอลลาร์สหรัฐ จากเดิมตันละ 839.53 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกันยายน ทำให้ภาษีส่งออกเพิ่มเป็นตันละ 74 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนตุลาคม
ทั้งนี้อินโดนีเซียยังคงภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ร้อยละ 7.5 และภาษีส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ อยู่ที่ร้อยละ 3 – 6
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,226.24 ริงกิตมาเลเซีย (33.56 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,123.43 ริงกิตมาเลเซีย (32.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.98
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,280.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (42.05 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,212.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.61
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- นักวิเคราะห์ชาวบราซิล คาดการณ์ปริมาณอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลในภาคกลาง-ใต้ของบราซิลในช่วงครึ่งแรกของเดือนกันยายน 2567 ที่ร้อยละ 47.86 และจะลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ฤดูหีบยังคงดำเนินต่อไป โดยบริษัทที่ปรึกษา Hedgepoint ประมาณการว่า บราซิลจะสูญเสียน้ำตาลประมาณ 80,000 ตัน ทุกครั้งที่สัดส่วนของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 1 ในขณะที่ StoneX คาดการณ์ว่า ผลผลิตอ้อยในภาคกลาง-ใต้
ของบราซิล ฤดูกาล 2568/2569 จะอยู่ที่ 593.20 ล้านตัน โดยมีสัดส่วนอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลอยู่ที่ร้อยละ 51 ส่งผลให้มีปริมาณการผลิตน้ำตาลที่ 40.60 ล้านตัน และการผลิตเอทานอลจากอ้อยที่ 24,000 ล้านลิตร
- บริษัทส่งออก Shree Renuka Sugar คาดการณ์ว่า รัฐบาลอินเดียจะประกาศเพิ่มราคาสนับสนุนขั้นต่ำ (Minimum Support Price: MSP) สำหรับเอทานอลและน้ำตาลก่อนการเก็บเกี่ยวจะเริ่มขึ้น และคาดว่า
การทบทวนนโยบายส่งออกน้ำตาลจะมีขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรโควตาการส่งออกน้ำตาลสำหรับปี 2567/2568 ให้กับสหภาพยุโรปที่ 5,841 ตัน
- กระทรวงความร่วมมือของอินเดีย คาดการณ์ว่า ผลผลิตน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra)
ในปี 2567/2568 มีปริมาณ 10.20 ล้านตัน ซึ่งลดลงจาก 11 ล้านตันในฤดูกาลก่อนหน้า สอดคล้องกับคาดการณ์ของคณะกรรมการน้ำตาลของรัฐที่ 9.00 - 10.20 ล้านตัน อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาลระบุว่า ปริมาณผลผลิตน้ำตาลน่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- นักวิเคราะห์ชาวบราซิล คาดการณ์ปริมาณอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลในภาคกลาง-ใต้ของบราซิลในช่วงครึ่งแรกของเดือนกันยายน 2567 ที่ร้อยละ 47.86 และจะลดลงอย่างต่อเนื่องในขณะที่ฤดูหีบยังคงดำเนินต่อไป โดยบริษัทที่ปรึกษา Hedgepoint ประมาณการว่า บราซิลจะสูญเสียน้ำตาลประมาณ 80,000 ตัน ทุกครั้งที่สัดส่วนของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 1 ในขณะที่ StoneX คาดการณ์ว่า ผลผลิตอ้อยในภาคกลาง-ใต้
ของบราซิล ฤดูกาล 2568/2569 จะอยู่ที่ 593.20 ล้านตัน โดยมีสัดส่วนอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลอยู่ที่ร้อยละ 51 ส่งผลให้มีปริมาณการผลิตน้ำตาลที่ 40.60 ล้านตัน และการผลิตเอทานอลจากอ้อยที่ 24,000 ล้านลิตร
- บริษัทส่งออก Shree Renuka Sugar คาดการณ์ว่า รัฐบาลอินเดียจะประกาศเพิ่มราคาสนับสนุนขั้นต่ำ (Minimum Support Price: MSP) สำหรับเอทานอลและน้ำตาลก่อนการเก็บเกี่ยวจะเริ่มขึ้น และคาดว่า
การทบทวนนโยบายส่งออกน้ำตาลจะมีขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม นอกจากนี้ รัฐบาลอินเดียได้จัดสรรโควตาการส่งออกน้ำตาลสำหรับปี 2567/2568 ให้กับสหภาพยุโรปที่ 5,841 ตัน
- กระทรวงความร่วมมือของอินเดีย คาดการณ์ว่า ผลผลิตน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra)
ในปี 2567/2568 มีปริมาณ 10.20 ล้านตัน ซึ่งลดลงจาก 11 ล้านตันในฤดูกาลก่อนหน้า สอดคล้องกับคาดการณ์ของคณะกรรมการน้ำตาลของรัฐที่ 9.00 - 10.20 ล้านตัน อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมน้ำตาลระบุว่า ปริมาณผลผลิตน้ำตาลน่าจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,050.76 เซนต์ (12.68 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,048.24 เซนต์ (12.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 339.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.16 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 328.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.34
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.77 เซนต์ (31.69 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 43.21 เซนต์ (31.33 บาท/กก. ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.30
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,050.76 เซนต์ (12.68 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,048.24 เซนต์ (12.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.24
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 339.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.16 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 328.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.34
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.77 เซนต์ (31.69 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 43.21 เซนต์ (31.33 บาท/กก. ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.30
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.20 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.76.
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.80 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.42
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1081.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ1078.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 901.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.24 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 923.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.40 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.76 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,610.00 ดอลลาร์สหรัฐ (52.22 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,605.40 ดอลลาร์สหรัฐ (52.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.84 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1106.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.90 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1202.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.95 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 3.15 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 951.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.85 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 948.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.83 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,989 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,037 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.36
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,507 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,499 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.22 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.71 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.84 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.91 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 379 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 420 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 419 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 448 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 426 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 510 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.36 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 55.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.52 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 49.94 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศีลกินเจ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.22 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.71 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.84 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.91 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 379 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 420 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 419 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 448 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 426 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 510 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.42 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.36 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 55.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.52 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 49.94 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 6 ตุลาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.42 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.65 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 26.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 6 ตุลาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.42 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.65 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.30 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.33 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 26.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา