ข่าวที่ 32/2566 วันที่ 24 มีนาคม 2566
สศก. แถลง จีดีพีเกษตร ไตรมาส 1 ระบุ น้ำดี อากาศอำนวย บวกเศรษฐกิจฟื้นตัว ดันจีดีพีโต 5.5%
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิ
จการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง
ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2566 (มกราคม – มีนาคม 2566) ว่า ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 เนื่องจากปริมาณฝนตกสะสมตลอดปี
ที่ผ่านมา ทำให้มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ
และตามแหล่งน้ำธรรมชาติเพี
ยงพอสำหรับการเพาะปลูกและเลี้
ยงสัตว์ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิ
ดที่อยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่
เพาะปลูกและเพิ่มการผลิต ประกอบกับการสนับสนุนการนำแนวคิ
ดโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาใช้ในการพัฒนา อาทิ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและปั
จจัยการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้
นที่และชนิดสินค้า การบริหารจัดการน้ำและให้ความช่
วยเหลือแก่เกษตรกรที่ประสบภัยพิ
บัติอย่างทันท่วงที การเฝ้าระวังโรคพืชและสัตว์ การยกระดับการผลิตสินค้
าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐานสอดคล้
องกับความต้องการของผู้บริโภค และการขยายช่องทางการตลาดที่
หลากหลาย ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจั
ดการการผลิตได้อย่างต่อเนื่
องและจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าเกษตรที่เพิ่
มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากกิจกรรมการผลิต การค้า และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การผลิ
ตทางการเกษตรปรับตัวดีขึ้น โดยสาขาพืช ยังคงเป็นสาขาหลักที่ขับเคลื่
อนให้เศรษฐกิ
จการเกษตรในไตรมาสนี้ขยายตัวได้
ดี โดยเฉพาะข้าวนาปรังและอ้
อยโรงงาน ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญ ในไตรมาส 1 ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเช่นกัน ส่วนสาขาประมง หดตัวเล็กน้อย เนื่องจากต้นทุนด้านราคาน้ำมั
นเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้ผู้
ประกอบการประมงออกเรือจับสัตว์
น้ำลดลง
สำหรับรายละเอียดในแต่ละสาขา
สาขาพืช ขยายตัวร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565
พืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ทุเรียน มังคุด และ เงาะ ภาพรวมเนื่องจากปริมาณน้ำในอ่
างเก็บน้ำและตามแหล่งน้ำ
ธรรมชาติเพิ่มขึ้นเพียงพอสำหรั
บการเพาะปลูก ประกอบกับราคาที่ผ่านมาอยู่
ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงดูแล อีกทั้งการระบาดของโรคใบร่วงยาง
พาราลดลง ส่งผลให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มไม้ผล นอกจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่
อการติดดอกออกผลแล้ว ทุเรียนที่ปลูกแทนในพื้นที่
ยางพาราและไม้ผลอื่น เมื่อปี 2561 และลำไยที่ปลูกแทนในพื้นที่ลิ้
นจี่ มะนาว และไม้ผลอื่น เมื่อปี 2563 เริ่มให้ผลผลิตในปีนี้ อย่างไรก็ตาม
พืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่
ข้าวนาปี เนื่องจากเกษตรกรบางส่
วนลดการบำรุงดูแลรักษาจากต้นทุ
นด้านราคาปุ๋ยและสารเคมี
ทางการเกษตรที่สูงขึ้น
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนการปลู
กข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปปลูกพื
ชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดี
กว่า เช่น อ้อยโรงงาน ขณะที่
มันสำปะหลัง ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน 2565 บางพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉี
ยงเหนือและภาคเหนือตอนบนมี
ฝนตกหนักและประสบอุทกภัย ทำให้น้ำท่วมขังพื้นที่ปลูกมั
นสำปะหลังบางส่วนได้รับความเสี
ยหาย ทำให้ผลผลิตในไตรมาสนี้ลดลง
สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 0.8 สินค้าปศุสัตว์ที่มีแนวโน้มเพิ่
มขึ้น ได้แก่
ไก่เนื้อ มีการขยายการผลิตเพื่อรองรั
บความต้องการของตลาดทั้
งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่
มขึ้นตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐ
กิจ และประเทศผู้ผลิ
ตหลายประเทศประสบปัญหาโรคไข้หวั
ดนก
สุกร ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากการป้องกั
นและควบคุมความปลอดภัยทางชี
วภาพภายในฟาร์มสุกรมากขึ้น ทำให้มีจำนวนแม่พันธุ์สุกรเพิ่
มขึ้น รวมทั้งความต้องการบริโภคที่เพิ่
มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
ไข่ไก่ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรมีการบริหารจั
ดการปริมาณการผลิตที่เหมาะสมกั
บความต้องการบริโภค และ
น้ำนมดิบ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรมีการดู
แลโคนมที่ดีขึ้น ประกอบกับการควบคุมโรคลัมปีสกิ
นที่ดี ส่งผลให้มีจำนวนแม่โคให้นมเพิ่
มขึ้น
สาขาประมง หดตัวร้อยละ 0.5 โดย
สัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือมีปริมาณลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิ
งซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตหลั
กของการทำประมงทะเลปรับตัวสูงขึ้
น
ปลานิลและปลาดุก ผลผลิตลดลง เนื่องจากภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าอาหารสัตว์ ทำให้เกษตรกรชะลอการเลี้ยง และลดปริมาณการปล่อยลูกปลา ส่วน
กุ้งขาวแวนนาไม เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรมีการขยายเนื้
อที่เพาะเลี้ยง และปรับเพิ่มจำนวนลูกพันธุ์
และลงลูกกุ้งมากกว่าช่วงที่ผ่
านมา
สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.0 ของปี 2565 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้
ออำนวยและปริมาณน้ำฝนที่เพี
ยงพอสำหรับการเพาะปลู
กและการเจริญเติบโตของพืช ประกอบกับในปีที่ผ่านมาราคาสิ
นค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เกษตรกรขยายเนื้อที่
เพาะปลูกและดูแลเอาใจใส่การผลิ
ตมากขึ้น ส่งผลให้มีกิจกรรมการจ้างบริ
การเตรียมดินและเก็บเกี่ยวผลผลิ
ตเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวนาปรัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 0.7 โดย
ไม้ยูคาลิปตัส เพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้เพื่
อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเยื่
อกระดาษ โดยเฉพาะในตลาดญี่ปุ่นและจีน
ครั่ง เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้
ออำนวย รวมถึงมีการส่งเสริมการเลี้
ยงภายในประเทศเพิ่มขึ้น
รังนก เพิ่มขึ้นตามความต้องการเพื่
อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรู
ปรังนก และยังมีการส่งออกไปยังจีนอย่
างต่อเนื่อง
ถ่านไม้ เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตั
วของภาคบริการ ทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร และมีการส่งออกไปยังจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.0 – 3.0 เมื่อเทียบกับปี 2565 โดยทุกสาขาการผลิต มีแนวโน้มขยายตัว จากปัจจัยสนับสนุนด้
านสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยมากขึ้
น ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ
และตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่มี
เพียงพอสำหรับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และทำประมง การดำเนินนโยบายของภาครั
ฐและความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี
การผลิต ยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้
าเกษตรและผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่
ยอมรับ ส่งเสริมการรวมกลุ่มในการผลิ
ตและแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้
กับสินค้าและตอบโจทย์ความต้
องการของผู้บริโภค เพิ่มช่องทางให้เกษตรกรเข้าถึ
งและใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ และบริหารจัดการสินค้าให้สอดคล้
องกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มี
แนวโน้มที่ดี ช่วยสนับสนุนให้ความต้องการสิ
นค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่
ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศที่
อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตร การระบาดของโรคพืชและสัตว์ที่ต้
องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้
นจากราคาปัจจัยการผลิตทั้
งราคาน้ำมัน ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช และอาหารสัตว์ อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ความขัดแย้งทางระหว่างรัสเซี
ยและยูเครนที่ยืดเยื้อ สงครามทางการค้า และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่
อาจชะลอตัว
หน่วย: ร้อยละ
สาขา |
ไตรมาส 1/2566 (มกราคม – มีนาคม 2566) |
ภาคเกษตร |
5.5 |
พืช |
7.9 |
ปศุสัตว์ |
0.8 |
ประมง |
-0.5 |
บริการทางการเกษตร |
4.0 |
ป่าไม้ |
0.7 |
ที่มา: กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ประมาณการ ณ เดือนมีนาคม 2566)
******************************************************
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร