สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 ตุลาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนตุลาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.172 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.04 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน    ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.376 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 70.38 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,747 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,662 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,609 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,900 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.94
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 38,225 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 37,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,126 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,151 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,107 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,742 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 409 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,454 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,027 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.12 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 427 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 554 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,279 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 522 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,325 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.13 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 954 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9942 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          1) ไทย
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ คาดว่า
ในเดือนกันยายน 2567 การส่งออกข้าวของไทยจะไม่ต่ำกว่า 0.6 ล้านตัน เนื่องจากผู้ส่งออกยังมีสัญญาส่งมอบบางส่วนที่ค้างจากเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่จะส่งออกเป็นข้าวขาวไปยังตลาดหลักในเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น
ตลาดหลักในภูมิภาคแอฟริกา เช่น โมซัมบิก แคเมอรูน แองโกลา และตลาดตะวันออกกลาง เช่น อิรัก เป็นต้น ขณะที่ตลาดนําเข้าข้าวหอมมะลิที่สำคัญยังคงมีการนําเข้าอย่างต่อเนื่อง เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฮ่องกง สิงคโปร์ ฝรั่งเศส เป็นต้น ส่วนการส่งออกในเดือนตุลาคม 2567 สมาคมฯ คาดว่า มีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง และถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นจากช่วงต้นปี แต่เชื่อว่าในเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2567 จะสามารถส่งออกข้าวได้เฉลี่ยประมาณ 0.5 ล้านตันต่อเดือน ซึ่งจะทำให้การส่งออกข้าวในปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 8.5 ล้านตัน ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม – สิงหาคม 2567) มีปริมาณ 6.6 ล้านตัน มูลค่า 152,556 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่ส่งออกปริมาณ 5.3 ล้านตัน มูลค่า 100,717 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 และร้อยละ 51.5 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามคำสั่งซื้อใหม่ของอินเดียว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ประกอบกับสถานการณ์ผลผลิตข้าวที่จะออกสู่ตลาดในช่วงปลายปี 2567 โดยเฉพาะของไทยและเวียดนาม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกมีการปรับตัวลดลง
สำหรับการส่งออก ปี 2568 คาดว่าจะมีปริมาณ 6.5 ล้านตัน เนื่องจากอุปทานข้าวโลกเพิ่มขึ้น
จากการที่อินเดียกลับมาส่งออกอีกครั้ง ประกอบกับประเทศผู้นําเข้าข้าวอย่างอินโดนีเซียอาจลดการนำเข้าลง ดังนั้น การรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินไปยังเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งออก รวมถึงการผลิตข้าวที่ตรงกับความต้องการของตลาดจะช่วยให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
             2) อินโดนีเซีย
ข้อมูลจากสำนักงานสถิติอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ระบุว่า ในปี 2567 คาดว่า อินโดนีเซียจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 62.81 ล้านไร่ และมีผลผลิตข้าวประมาณ 30.34 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ทั้งพื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 1.64 และร้อยละ 2.43 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง
ในปี 2566 ทำให้การเพาะปลูกข้าวในปี 2567 ล่าช้ากว่ากำหนด ส่งผลกระทบต่อการผลิตในช่วงต้นปี 2567 โดยผลผลิตที่ลดลงส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2567 ซึ่งลดลงประมาณร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2566 ขณะที่ผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2567 มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น และคาดว่าผลผลิตจะดีขึ้นในช่วงปลายปี ในการนี้ อินโดนีเซียจึงตั้งเป้าหมายที่จะนำเข้าข้าว ในปี 2567 ไว้ที่ 3.6 ล้านตัน เพื่อเป็นการเสริมอุปทานและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ โดยสำนักงานด้านโลจิสติกส์แห่งชาติของอินโดนีเซีย (BULOG) รายงานว่า ขณะนี้ BULOG ได้นําเข้าข้าวแล้วประมาณ 2.77 ล้านตัน จากจำนวนที่ทำสัญญาไว้ประมาณ 3.56 ล้านตัน ซึ่งข้าวที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจากไทย เวียดนาม เมียนมา และปากีสถาน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย กล่าวว่า รัฐบาลมีแผนขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารประมาณ 18.75 ล้านไร่ ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพื่อที่จะลดการนําเข้าอาหาร โดยรัฐบาลพยายามหาพื้นที่ใหม่สำหรับเพาะปลูกข้าวนอกเกาะชวาและพื้นที่หนองบึง ซึ่งอาจมีการปลูกข้าว ถั่วเหลือง หรือข้าวโพด สลับกันในพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าว ขึ้นอยู่กับความต้องการในพื้นที่ นอกจากนี้ รักษาการรัฐมนตรีกระทรวงอาหารแห่งชาติ คาดว่า
ในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 การผลิตข้าวสารของอินโดนีเซียจะอยู่ที่ประมาณ 28.6 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ประมาณร้อยละ 4.54
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
              3) กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา รายงานว่า ในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2567 กัมพูชาส่งออกข้าวสาร 445,913 ตัน มูลค่า 335.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 11,066 ล้านบาท) ไปยัง 65 ประเทศและภูมิภาค โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญ ปริมาณ 81,423 ตัน มูลค่า 52.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1,736 ล้านบาท) ซึ่งข้าวสารที่กัมพูชาส่งออกมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวอินทรีย์ ขณะที่ปลัดและโฆษกกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของกัมพูชา เปิดเผยว่า จีนเป็นหนึ่งในตลาดหลักสินค้าเกษตรของกัมพูชา โดยคำสั่งซื้อสินค้าเกษตรจากจีนและประเทศอื่นๆ มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรของกัมพูชาอย่างมากและเป็นประโยชน์กับประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร และนอกเหนือจากข้าวสารแล้วจีนยังสั่งซื้อสินค้าเกษตรอื่นๆ จากกัมพูชา เช่น กล้วยเหลือง มะม่วง มันสำปะหลัง ลำไย และพริก
ที่มา xinhuathai
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9942 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.08 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ไม่มีรายงานราคาเฉลี่ยของสัปดาห์นี้
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 405.00 เซนต์ (5,328.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 420.00 เซนต์ (5,560.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.57 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 232.00 บาท



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.14 ร้อยละ 12.52 และร้อยละ 3.69 ตามลำดับ โดยเดือน กันยายน 2567
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.66 ล้านตัน (ร้อยละ 2.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.36 ล้านตัน (ร้อยละ 57.36 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มาก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสด มีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของผู้ประกอบการลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.03 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.48
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.76 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.69
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ6.61 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.81 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.94
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.99 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.35 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.20
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,950 บาทต่อตัน) ราคา ลดลงจาก ตันละ 240.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,020 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.52
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 482.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,070 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจาก ตันละ 494.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,500 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.33


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.113 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.200 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.291 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.233 ล้านตันของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 13.79 และร้อยละ 14.16 ตามลำดับ  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.85 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.86
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 39.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.83 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.00
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,357.64 ริงกิตมาเลเซีย (34.17 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,350.10 ริงกิตมาเลเซีย (34.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,192.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,303.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (43.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.55

หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอ้อยและน้ำตาลเวียดนาม (Vietnam Sugarcane and Sugar Association: VSSA) รายงานผลผลิตน้ำตาลของเวียดนาม ปี 2566/2567 อยู่ที่ 6.79 ตันต่อเฮกตาร์ (1.086 ตันต่อไร่) ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าผู้ผลิตหลักรายอื่นในภูมิภาค เช่น ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยเป็นผลจาการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรในหลายขั้นตอนการผลิต เช่น การเตรียมที่ดิน การเก็บเกี่ยว และการใช้สารเคมี รวมถึงการนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้ในการทำเกษตรกรรม โดย VSSA คาดการณ์กว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวอ้อยและผลผลิตน้ำตาลในปี 2567/2568 จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (ที่มา: chinimandi.com)
          - Wilmar International ปรับลดประมาณการผลผลิตน้ำตาลในบราซิลกลาง-ใต้ของบราซิล ปี 2567/68 ลดลงเหลือ 38.20 - 39.50 ล้านตัน จากประมาณการในเดือนกันยายนที่ 38.30 - 40.80 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตร และคุณภาพของอ้อยที่ลดลงอย่างรวดเร็วจากไฟไหม้และความแห้งแล้ง ทั้งนี้ ได้เผยแพร่ประมาณการเบื้องต้นสำหรับผลผลิตอ้อยในปี 2568/69 ของบราซิล ที่ 570 - 590 ล้านตัน โดยระบุว่า ขณะนี้สถานการณ์ผลผลิตอยู่ในระดับที่น่าวิตก จากปริมาณน้ำฝนที่ต่ำ อุณหภูมิที่สูง และการเกิดไฟไหม้ที่รุนแรง (ที่มา: Reuters,  worldenergynews.com)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 985.12 เซนต์ (12.10 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,018.08 เซนต์ (12.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.24
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 315.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.53 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 320.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.82
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 42.14 เซนต์ (31.04 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 43.70 เซนต์ (32.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.57


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1061.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1055.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 878.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 873.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,580.25 ดอลลาร์สหรัฐ (52.14 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,571.40 ดอลลาร์สหรัฐ (52.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1061.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1055.6 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 928.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.48 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.35 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,159 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,987 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.66
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,605 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,507 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.50
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  70.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.66 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.86 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.22 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.18 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.30 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.89 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 380 บาท  ลดลงจากร้อยฟองละ 381 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 368 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 420 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 424  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.94 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 448 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 397 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 510 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.97 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.26 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.06 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.22 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.74 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 – 20 ตุลาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.54 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.07 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.44 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.68 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.35 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.46 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 29.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 24.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท