สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 ก.ค. 61



ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2560/61
มติที่ประชุม ครม. เห็นชอบมาตรการฯ จำนวน 13 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 และวันที่ 12ธันวาคม 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 2) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่ หลักเกณฑ์ใหม่) 3) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์4) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 5) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 25616) โครงการขยายการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย ฤดูนาปรัง ปี 2561 7) โครงการขยายการปลูกพืชปุ๋ยสด ฤดูนาปรัง ปี 2561และ 8) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ ฤดูนาปรัง ปี 2561
(2) ด้านการตลาด มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2560 เห็นชอบโครงการฯ ได้แก่ 1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร 2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร 3) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกข้าวนาปี และ 4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) ด้านการเงิน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เห็นชอบ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ปีการผลิต 2560
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,026 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,053 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,724 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,802 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,690 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,970 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,120 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,896 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,124 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,929 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 33 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 398 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,111 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,208 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 97 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 390 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,848 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,945 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 97 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,012 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,011 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9428
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 425-430 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันจากระดับ 450-455 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มราคาข้าวของประเทศคู่แข่งที่ปรับลดลงท่ามกลางภาวะตลาดที่ค่อนข้างซบเซา ขณะที่ผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน-ใบไม้ร่วง (the summer-autumn crop) ในเขต
ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเริ่มออกสู่ตลาดในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม วงการค้าคาดว่าราคาข้าวในประเทศจะไม่ลดลงไปมาก เพราะต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในฤดูการผลิตฤดูร้อน-ใบไม้ร่วงในปีนี้สูงกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากค่าเงินดองอ่อนค่าลง
เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงการคลัง (Finance Ministry) ระบุว่าในปีนี้ต้นทุนการผลิตข้าวเปลือกของเกษตรกรในฤดูการผลิตนี้อยู่ที่ประมาณ 4,059 ดองต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 4
          กระทรวงการเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนามรายงานว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของ ปี 2561 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 และร้อยละ 42.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาคาดว่า เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 604,000 ตัน มูลค่า 317 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          ด้านราคาส่งออกเฉลี่ยในช่วง 5 เดือนแรกของปี (มกราคม-พฤษภาคม) อยู่ที่ตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
          ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกเวียดนามส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนมากที่สุดจำนวนประมาณ 844,000 ตัน มูลค่ากว่า 449.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดจีนมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีอีกหลาย ประเทศที่มีมูลค่านำเข้าข้าวจากเวียดนามเพิ่มขึ้น เช่น ประเทศอิรักเพิ่มขึ้น 25.7 เท่า มาเลเซีย 2.8 เท่า
สหรัฐฯ 2.4 เท่า ฮ่องกงเพิ่มขึ้นร้อยละ 49 ฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.9 และกาน่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 ขณะเดียวกันปริมาณการส่งออกไปยังประเทศอินโดนีเซียจำนวน 596,058 ตัน มูลค่า 280.04 ล้านดอลลาร์หสรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 290.8 เท่า และ 269.5 เท่า หรือคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 17.3 ของการส่งออกทั้งหมด
          กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคม 2561 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 754,757 ตัน ลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับจำนวน 791,210 ตัน ในเมษายนที่ผ่านมา โดยตลาดส่งออกที่สำคัญในเดือนพฤษภาคม 2561 ประกอบด้วย ตลาดเอเชียจำนวน 606,117 ตัน ตลาดแอฟริกาจำนวน 63,380 ตัน ตลาดอเมริกาจำนวน 78,122 ตัน ตลาดยุโรปและเครือรัฐเอกราช (Europe and CIS countries) จำนวน 4,049 ตัน และตลาดออสเตรเลียจำนวน 3,049 ตัน ซึ่งแบ่งเป็นการส่งออกข้าวขาว 5% จำนวน 108,105 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 525 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 224,220 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 49,277 ตัน ปลายข้าวขาว 100% จำนวน 1,120 ตัน
ข้าวหอม (Jasmine rice) 259,235 ตัน ข้าวเหนียว 77,247 ตัน และข้าวชนิดอื่นๆ จำนวน 35,078 ตัน
          วงการค้าข้าวของเวียดนาม ระบุว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงไปได้ด้วยดี โดยคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 4 ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2562 ตลาดหลักที่เวียดนามส่งออกไปยังคงเป็นฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย และมาเลเซียที่ยังคงมีความต้องการข้าวอย่างต่อเนื่อง ส่วนจีนก็จะยังมีความต้องการนำเข้า เช่นเดียวกับบังคลาเทศและประเทศในแถบแอฟริกา
          ขณะที่กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development) คาดว่า ในช่วงที่เหลือ
ของปี 2561 ผลผลิตข้าวเปลือกจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 23.3 ล้านตัน ส่งผลให้ในปีนี้มีผลผลิตข้าวเปลือกรวมประมาณ 43.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          อินเดีย
          ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือน ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะจากตลาดแอฟริกา ประกอบกับค่าเงินรูปียังคงอ่อนค่าลง นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงไปแล้วประมาณร้อยละ 8 ทั้งนี้ ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 388-392 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 392-396 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า
          องค์การพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป (the Agricultural and Processed Food Products Export Development Authority; APEDA) รายงานว่า ในช่วง 2 เดือนแรก (เมษายน-พฤษภาคม) ปีงบประมาณ 2561/62 (เมษายน 2561-มีนาคม 2562) อินเดียส่งออกข้าวประมาณ 2.19 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.86 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (2560/61) โดยเป็นการส่งออกข้าวบาสมาติ ประมาณ 754,892 ตัน ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับจำนวน 797,643 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวขาวที่ไม่ใช่
บาสมาติมีจำนวนประมาณ 1.435 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับจำนวน 1.067 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
          ทางด้านมูลค่าส่งออกในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561/62 มีประมาณ 1,417 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยข้าวบาสมาติมีมูลค่าส่งออกประมาณ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ มีมูลค่าส่งออกประมาณ 602 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาข้าวบาสมามาติและข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติปรับตัวสูงขึ้น โดยข้าวบาสมาติราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 1,080 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
          กระทรวงเกษตร (the Indian Agriculture Ministry) รายงานว่า ณ วันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา การเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-ธันวาคม) ของปีการผลิต 2561/62 มีการเพาะปลูกไปแล้วประมาณ 42.03 ล้านไร่ ลดลงประมาณร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากในปีนี้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าระดับปกติ
ในบางพื้นที
          ขณะที่สถานการณ์ฝนที่ตกลงมาหลังจากที่เริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุมนั้น กรมอุตุนิยมวิทยา (the Indian Meteorological Department; IMD) รายงานว่า ณ วันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา อินเดียมีปริมาณฝนตกน้อยกว่าระดับปกติประมาณ
ร้อยละ 8 โดยบริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีฝนตกในระดับที่สูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 4 และร้อยละ 6 ตามลำดับ ขณะที่ในตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีฝนตกในระดับที่ต่ำกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 23 และ
ร้อยละ 6 ตามลำดับ
          ทั้งนี้ ฤดูมรสุมของอินเดียจะอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายน ซึ่งฝนที่ตกในช่วงเวลานี้จำเป็นต่อการเพาะปลูกพืชของอินเดียในฤดูการผลิต Kharif
          ทางการอินเดียได้ปรับราคารับซื้อขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเปลือกขึ้น
อีกประมาณร้อยละ 11-13 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรก่อนที่จะถึงช่วงฤดูเลือกตั้งทั่วไปในต้นปีหน้า (2562)
          ทั้งนี้ รัฐบาลจะกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเปลือก
เกรดธรรมดา (common grade rice) เป็น 1,750 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 254 ดอลลาร์สหรัฐ
และข้าวเปลือกเกรด A (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,770 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 257 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการเพิ่มราคารับซื้อข้าวเปลือกขั้นต่ำนี้ทำให้คาดว่ารัฐบาลต้องมีงบประมาณในการการจัดหาเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          รัฐบาลอินเดียกำหนดนโยบายในการตั้งราคารับซื้อขั้นต่ำ โดยใช้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในการพิจารณา
ซึ่งจะตั้งราคาสูงกว่าต้นทุนประมาณ 1.5 เท่า โดยต้นทุนส่วนใหญ่ของเกษตรกรประมาณร้อยละ 53 จะเป็นค่าแรงงาน ส่วนที่เหลือจะเป็นค่าปุ๋ย ค่ายาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์และค่าใช้จ่ายด้านชลประทาน
          ปี 2560/61 รัฐบาลตั้งเป้าจัดหาข้าวไว้ที่ 37.5 ล้านตัน โดยได้กำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเปลือกเกรดธรรมดา (common grade rice) ไว้ที่ 1,550 รูปีต่อ100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 225 ดอลลาร์สหรัฐ และข้าวเปลือกเกรด A (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,590 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 231 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2559/60 รัฐบาลจัดหาข้าวได้ประมาณ 38.7 ล้าน ตัน ซึ่งสูงกว่าที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ 33 ล้านตัน
          องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า การจัดหาข้าวตามโครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในปีการตลาด 2560/61 (ตุลาคม 2560-กันยายน 2561) สำหรับฤดูการผลิตหลัก (Kharif marketing season) ณ วันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา สามารถจัดหาข้าวได้แล้วประมาณ 36.18 ล้านตัน โดยจัดหาจากแค้วน Punjab และ Haryana มากที่สุดประมาณ 11.833 และ 3.992 ล้านตัน ตามลำดับ
         
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


 
ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%


 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.06 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.31 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 349.48 เซนต์ (4,592 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 350.40 เซนต์ (4,598 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 6.00 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64, 10.69 และ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.15 ล้านตัน (ร้อยละ 4.21 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – มิถุนายน 2561) ปริมาณ 24.91 ล้านตัน (ร้อยละ 91.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย ลานมันส่วนใหญ่หยุดดำเนินการผลิตเพราะฝนตก ส่วนโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่หยุดเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักร แต่ผลผลิตก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงแป้งและลานมัน ปัจจุบันเชื้อแป้งเฉลี่ย 20-25%
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.39  บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.84  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.70 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.20 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.22 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.28  
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.47 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.67 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.28   
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 238 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,832 บาท ราคาทรงตัวในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 15 บาท
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 15,990 บาท ราคาลดลงในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯตันละ 30 ดอลลาร์สหรัฐฯและลดลงในรูปเงินบาทตันละ 958 บาท

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.121 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.191 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.281 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.218 ล้านตัน ของเดือนมิถุนายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 12.49  และร้อยละ 12.39 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.67 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.90 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.90                                             
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 22.44 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.63    

2.  ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนกันยายน 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,186 ริงกิตต่อตัน (541.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.8 ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี อยู่ที่ระดับ 2,176 ริงกิตต่อตัน ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2558 ลดลงร้อยละ 1.3 สำหรับช่วงที่ผ่านมาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันพืชถั่วเหลืองปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 2,187 – 2,212 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ  
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,170.00 ดอลลาร์มาเลเซีย  (18.11 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,289.28 ดอลลาร์มาเลเซีย  (19.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.21           
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 606.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (20.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 603.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (20.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.46  
                         
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล 
 
 
 


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
         
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 847.48 เซนต์ (10.39 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 846.55 เซนต์ (10.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.11
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 334.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.16 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 329.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.60 เซนต์ (21.04 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.75 เซนต์ (21.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.52


 


ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางยางพาราสงขลา สัปดาห์นี้ 43.39 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ

1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.61 บาท ลดลงจาก 43.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.14 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.11 บาท ลดลงจาก 42.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.15
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.61 บาท ลดลงจาก 42.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.16
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.31 บาท ลดลงจาก 19.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.61 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.06
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.38 บาท ลดลงจาก 17.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.92 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.32
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.74 บาท ลดลงจาก 39.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.88 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.75
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้า ส่งมอบเดือนสิงหาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.13 บาท ลดลงจาก 51.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.47
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.98 บาท ลดลงจาก 50.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.48
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.32 บาท ลดลงจาก 44.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.54 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.20
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.24 บาท ลดลงจาก 35.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.40
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.88 บาท ลดลงจาก 51.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.47
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.73 บาท ลดลงจาก 49.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.24 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.48
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.07 บาท ลดลงจาก 44.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.54 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.21
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.99 บาท ลดลงจาก 35.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.14 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.40
 
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.94 เซนต์สหรัฐฯ (48.41 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 146.72 เซนต์สหรัฐฯ (48.28 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.22 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.15
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 168.08 เยน (49.47 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 167.56 เยน (49.42 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.52 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.31
 
 

 
สับปะรด
 
     

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                                                                                                                                                                                                                                              
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.96 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 22.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 17.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 12.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.17
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 818.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 819.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 726.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 721.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.73 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.19 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 573.60 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 562.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.50 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.40 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 421.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13.87 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 409.40 ดอลลาร์สหรัฐ (13.47 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.83 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.40 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 811.50 ดอลลาร์สหรัฐ (26.73 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 794.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.14 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.59 บาท


 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.50 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.60
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด  สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.50 บาทของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.66
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 


ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 86.84 เซนต์(กิโลกรัมละ 63.83 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 83.86 เซนต์ (กิโลกรัมละ 61.63 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.55 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.20 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,634 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,660 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.57
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,272 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,146 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,151 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.43


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่เริ่มมีมากขึ้น ขณะที่ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดออกสู่ตลาดไม่มากนัก  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  57.54 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.23  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 56.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 58.57 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 58.80 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท (บวกลบ 58 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าในช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนจะมีอาหารและสัตว์น้ำตามธรรมชาติมากขึ้น แต่จากความต้องการบริโภคเนื้อไก่เริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.51 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.50  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.18 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.03 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้นเล็กน้อย  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  279 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 278 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ  0.36  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 288 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 276 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ  18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 331 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 332  บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.15 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ  93.24 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.99 บาท 

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.01 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.91 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
 


 
ประมง
 
1.สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 – 12 กรกฎาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.08 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.22 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.66 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 156.19 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 148.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.88 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (70 ตัว/กก.) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.33 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 153.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 10.00 บาท                                                                                                                                                                                        
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 86.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.19 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 170.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.43 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.42 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 6 – 12 ก.ค. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา