สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 2-8 พ.ย. 61

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,192 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,921 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,768 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,774 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,116 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,444 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,104 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,304 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 140 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,128 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,252 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 124 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,769 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 392 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,891 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 122 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 402 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,128 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,055 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 73 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.6562
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ตันละ 410-415 ดอลลาร์สหรัฐ
เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้ผู้ส่งออกไม่ทำสัญญาขายข้าว เพราะราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่าประเทศ
ผู้ส่งออกรายใหญ่รายอื่นๆ ประกอบกับมีอุปทานข้าวในประเทศจำกัดหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูนาปรังสิ้นสุดลง
          สมาคมอาหารเวียดนาม (the Vietnam Food Association; VFA) รายงาน การส่งออกข้าวในเดือนกันยายน
ที่ผ่านมา มีประมาณ 400,000 ตัน มูลค่าประมาณ 199.631 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 22.2 และร้อยละ 10.7 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนกันยายนของปีที่ผ่านมาที่ส่งออก 514,398 ตัน มูลค่า 223.663 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปริมาณและมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 41.9 และร้อยละ 20.4 ตามลำดับ โดยในเดือนสิงหาคมมีการส่งออกประมาณ 588,000 ตัน มูลค่าประมาณ 250.882 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          สำหรับการส่งออกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม – กันยายน) เวียดนามส่งออกข้าวแล้วประมาณ 4.686 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.239 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และร้อยละ 18.5 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับในช่วง 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมาที่ส่งออก 4.388 ล้านตัน มูลค่า 1.889 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          สำหรับในเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีรายงานว่า เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 264,000 ตัน มูลค่าประมาณ 136 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 (มกราคม – ตุลาคม) เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 5.2 ล้านตัน มูลค่าส่งออกประมาณ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และร้อยละ 14.1 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามยังคงเป็นประเทศจีน
ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณร้อยละ 24 ของปริมาณการส่งออกข้าวทั้งหมดของเวียดนาม ส่วนตลาดอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย อิรัก ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เป็นต้น
          ทั้งนี้ ราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี อยู่ที่ประมาณตันละ 503 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยราคาส่งออกข้าวหอมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 575 ดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเป็นราคาที่สูงที่สุดในบรรดาชนิดข้าวชนิดต่างๆ ที่เวียดนามส่งออก ขณะที่ราคาส่งออกข้าวญี่ปุ่นเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐ
          สำหรับตลาดส่งออกข้าวหอมที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามคือประเทศจีน คิดเป็นร้อยละ 25 ของการส่งออกข้าวหอมทั้งหมดของเวียดนาม รองลงมาคือ กาน่า มีการส่งออกประมาณร้อยละ 21 นอกจากนี้ ประเทศจีนยังเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของข้าวเหนียวเวียดนามที่ส่งออกประมาณร้อยละ 80 ของการส่งออกข้าวเหนียวของเวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผู้ส่งออกต้องเร่งซื้อข้าวเพื่อส่งมอบให้ประเทศผู้ซื้อที่ได้มีการทำสัญญาไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ขณะที่การเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูการผลิต summer – autumn rice crop เสร็จสิ้นแล้ว และบางพื้นที่กำลังเริ่มต้นเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูถัดไปคือฤดู autumn-winter crop ซึ่งคาดว่าราคาข้าวยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากคาดว่าปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้มีจำกัด
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          อินเดีย
          ในช่วงระหว่างการเดินทางเยือนประเทศจีนของนายกรัฐมนตรี Narendra Modi ของอินเดียเมื่อเร็วๆ นี้
เป็นโอกาสของผู้ส่งออกข้าวของอินเดียที่พยายามจะเจรจาขายข้าวเพื่อเปิดตลาดค้าข้าวที่มีมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในระหว่างการพบปะหารือกันของสองประเทศมีผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย 6 ราย จาก ทั้งหมด 24 รายที่ได้รับการอนุญาตให้ส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติไปยังประเทศจีนเข้าร่วมหารือด้วย และมีผู้ประกอบการของจีนเข้าร่วมประมาณ
44 ราย รวมทั้งหน่วยงาน COFCO (China National Cereals, Oils and Foodstuffs Corporation) ของจีนด้วย
          ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว โดยข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 361 – 367 ดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 เนื่องจากความ ต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลงในช่วงนี้
          ขณะที่วงการค้าคาดว่าอุปทานข้าวในประเทศจะเพิ่มขึ้นเมื่อเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูที่กำลังจะมาถึง แต่เนื่องจากในปี้นี้รัฐบาลได้กำหนดราคารับซื้อข้าวเปลือกสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา จึงทำให้ผู้ส่งออกที่ต้องการข้าวจะต้องแย่งซื้อข้าวในราคาที่สูงขึ้น ดังนั้นราคาข้าวของอินเดียจึงไม่น่าจะลดลงกว่านี้
          ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลได้ปรับราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับข้าวเกรดธรรมดา (common-grade paddy) ขึ้นมาที่ 1,750 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณตันละ 255 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกมีต้นทุนในการซื้อข้าวจากเกษตรกรสูงขึ้น เพราะต้องแย่งซื้อข้าวกับรัฐบาล แต่วงการค้าคาดว่าจะไม่มีผลต่อราคาข้าวส่งออกมากนักเพราะค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง โดยล่าสุดค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 74.48 รูปีต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
          กระทรวงทรัพยากรน้ำ (the Ministry of Water Resources) รายงานว่า ปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำหลักทั่วประเทศ 91 แห่ง ณ วันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำกักเก็บประมาณ 109.24 พันล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงประมาณร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีปริมาณกักเก็บที่ 114.48 พันล้านลูกบาศก์เมตร และลดลงประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับ 112.67 พันล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปริมาณน้ำที่กักเก็บ
ในขณะนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 67 ของความจุของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำได้เต็มที่ประมาณ 161.993 พันล้านลูกบาศก์เมตร
          องค์การพัฒนาการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูป (the Agricultural and Processed Food Products Export Development Authority; APEDA) รายงานว่า จากการออกสำรวจผลผลิตข้าวทั่วประเทศคาดว่า
ในปีการผลิต 2561/62 อินเดียจะมีผลผลิตข้าวเปลือกบาสมาติประมาณ 5.31 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 6
เมื่อเทียบกับจำนวน 5.64 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกมีจำนวนลดลงเพราะเกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกธัญพืชชนิดอื่น ทำให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวบาสมาติลดลงประมาณร้อยละ 2.45 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งตามปกติข้าวบาสมาติจะมีการเพาะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปี
          กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดว่าในปีการตลาด 2561/62 (ตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) อินเดีย
มีผลผลิตข้าวประมาณ 111 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2560/61 ที่คาดว่ามีประมาณ 112.91 ล้านตัน ผลผลิตลดลงแม้ว่าจะมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากคาดว่าในปี 2561 นี้ มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าระดับปกติ
          จากข้อมูลที่กระทรวงเกษตรอินเดีย (the Indian Agriculture Ministry) ได้พยากรณ์สำหรับปีการผลิต 2561/62 (กรกฎาคม – มิถุนายน)  คาดว่าในฤดูการผลิต kharif (มิถุนายน – ธันวาคม) จะมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 240 ล้านไร่ ลดลงจากจำนวน 246 ล้านไร่ ในปีก่อน สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดู kharif เริ่มขึ้นเมื่อกลางเดือนที่แล้ว
ในแคว้นทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เนื่องจากฤดูมรสุมของปีนี้มาล่าช้ากว่า
กำหนด ทำให้การเพาะปลูกต้องเลื่อนจากช่วงเวลาปกติ ส่วนการเก็บเกี่ยวข้าวในแคว้นอื่นๆ นั้น คาดว่าจะเริ่มขึ้นในไม่ช้านี้ และจะเสร็จสิ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคมนี้
          ทางด้านการจัดหาข้าวในปีการผลิต 2561/62 (ตุลาคม – กันยายน) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมมาจนถึง
วันที่ 26 ตุลาคมที่ผ่านมา สามารถจัดหาข้าวได้ประมาณ 7.7 ล้านตัน ลดลงจากจำนวน 9.96 ล้านตัน ในช่วงเดียวของปีที่ผ่านมา เนื่องจากในปีนี้การเก็บเกี่ยวข้าวล่าช้ากว่ากำหนด
          สำหรับการส่งออกข้าวในปีการตลาด 2561/62 นั้น คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 12.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน 12.2 ล้านตัน ที่คาดว่าส่งออกได้ในปี 2560/61 ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 มาจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561 อินเดียส่งออกข้าวแล้วประมาณ 11.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 10.6 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งการส่งออกข้าวยังคงมีทิศทางที่ดีจากการที่ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง ส่งผลให้ราคาข้าวของอินเดียสามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.57 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.02 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.44
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ10.03 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.92 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.53 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 315.80 ดอลลาร์สหรัฐ (10,322 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 315.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,240 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 82 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 
สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 365.72 เซนต์ (4,768 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 366.43 เซนต์ (4,748 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 20.00 บาท

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.98 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.53 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.71 ล้านตัน (ร้อยละ 5.72 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.52 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.60 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.08  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.10 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.39 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 5.38
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.58
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.13 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 15.37 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.56
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 230 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,662 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,511 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.29
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,328 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (16,442 บาทต่อตัน) เท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.450   
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.246 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.325 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.225 ล้านตัน ของเดือนตุลาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 9.43  และร้อยละ 9.33  ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.91 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.00 บาท ลดลงจาก กก.ละ 17.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.86    
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนมกราคม 2562 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,120 ริงกิตต่อตัน (508.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.1 เนื่องจากผลกระทบราคาน้ำมันและน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง และผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 รวมทั้งราคาแข่งขันตลาดซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันพืชอื่นและน้ำมันดิบ ขณะเดียวสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันพืชถั่วเหลืองส่งมอบในเดือนมกราคม 2562 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 2,099 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,971.98 ดอลลาร์มาเลเซีย  (15.78 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,038.12 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.38 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.25                 
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (16.85 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 512.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49                 
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล 
 
 

 
ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 871.04 เซนต์ (10.58 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก
บุชเชลละ 845.08 เซนต์ (10.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.07
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 309.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 308.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.43
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.04 เซนต์ (20.44 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 28.08 เซนต์ (20.61 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.14


 

 
ยางพารา
 

 

 
สับปะรด
 

 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                                                                                                                                                                                             
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.33 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 21.67 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 6.18
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 22.80 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.51
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 794.60 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 788.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 702.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.92 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 721.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.72 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.80 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 578.80 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 574.60 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 424.80 ดอลลาร์สหรัฐ (13.87 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 422.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 788.20 ดอลลาร์สหรัฐ (25.74 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 777.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.56 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.18 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.58
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 78.61 เซนต์(กิโลกรัมละ 57.32 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 77.70 เซนต์ (กิโลกรัมละ 57.07 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.25 บาท


 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,676 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,690 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.83
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,349 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,437 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 6.12
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 838 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 966 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.25

 
 


ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้เริ่มขยับสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยว ประกอบกับสถานศึกษาเปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเริ่มมีมากขึ้น   แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  60.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.86 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.36 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.89  บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.44 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 64 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 62 บาท)  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 3.05

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลท่องเที่ยว อีกทั้งสถานศึกษาต่างๆเปิดภาคเรียน ทำให้ภาวะตลาดไก่เนื้อเริ่มคึกคัก ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเริ่มมีมากขึ้น  แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.27บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.56  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.07 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.98 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยสัปดาห์ที่ผ่านมา   เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่ สถานศึกษาต่างๆเปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเริ่มมีมากขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  240 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 239 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 268 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 276 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 229 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261  บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 327 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.61 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 299 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 82.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.87 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.04 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 


 
ประมง
 
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 2 – 8 พฤศจิกายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 25.70 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.95
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 128.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.97 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 127.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.11 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 88.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.22 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.12 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 2 – 8 พ.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท