- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 ธันวาคม 2563
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,205 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,059 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,432 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,387 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,490 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,375 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 893 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,617 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 898 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,732 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 115 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,767 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 525ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,628 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 139 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,648 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 522ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,539 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 109 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.8061 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนธันวาคม 2563 ผลผลิต 501.201 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 496.105 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.03
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2563/64
ณ เดือนธันวาคม 2563 มีปริมาณผลผลิต 501.201 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.03 การใช้ในประเทศ 500.439 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.14 การส่งออก/นำเข้า 44.793 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.05 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 178.983 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2562/63 ร้อยละ 0.43
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา อียู กายานา ปากีสถาน ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เมียนมา อินเดีย ปารากวัย ตุรกี อุรุกวัย และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย อียู กานา อิหร่าน อิรัก เคนย่า ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ เซเนกัล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล จีน กินี มาเลเซีย เม็กซิโก และเนปาล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 9 ปี นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลน
ตู้ขนสินค้าและค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจาก
ตันละ470 - 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า
วงการค้าข้าว รายงานว่าการขาดแคลนตู้ขนสินค้าทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถส่งมอบข้าวให้แก่ลูกค้าได้ตามกำหนด
ประกอบกับค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นมาก เช่น ค่าระวางเรือสำหรับตู้ขนสินค้าขนาด 20 ฟุต ปลายทางแอฟริการาคาสูงขึ้นถึง 5,000ดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่ 1,500ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อช่วง 2 - 3 เดือนก่อน
กลุ่มประเทศในสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union; EAEU) ได้ให้คำมั่นว่าจะให้โควตาภาษีสำหรับสินค้าข้าวจำนวน 10,000 ตัน แก่ประเทศเวียดนามในปีหน้า ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-EAEU
(the Vietnam-EAEU Free Trade Agreement)
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (the Ministry of Industry and Trade) ระบุว่าในการพิจารณาเกี่ยวกับ
การจัดสรรโควตาภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงการค้าเสรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563
สภาคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (the Council of the Eurasian Economic Commission; EEC)
ได้ออกคำวินิจฉัยที่ 110 เกี่ยวกับการจัดสรรโควตาการนำเข้าข้าวจากเวียดนามสำหรับประเทศสมาชิกในปี2564
โดยประเทศอาร์เมเนียได้โควตา 400 ตัน ขณะที่เบลารุสได้9,600 ตัน
ทั้งนี้ประเทศสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ประกอบด้วย รัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย และ
คีร์กีซสถาน ซึ่งได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับเวียดนามในเดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการทำข้อตกลง
กับพันธมิตรภายนอกกลุ่ม โดยข้อตกลงดังกล่าวจะมีการยกเลิกภาษีสินค้าประมาณร้อยละ90 ซึ่งเท่ากับร้อยละ90ของมูลค่าการซื้อขายแบบทวิภาคี
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงวันที่ 1-30 ธันวาคม 2563 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 10 ลำ เข้ามารอรับขนถ่ายสินค้าข้าว ณ ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 82,160 ตัน
ที่มา:Oryza.com
กัมพูชา
กระทรวงเกษตรฯ (the Minister of Agriculture , Forestry, and Fisheries) รายงานว่า ผลผลิตข้าวเปลือก
ในฤดูนาปี(The rain-fed paddy - rice) ของปี 2563 คาดว่ามีจำนวนประมาณ 8,596,877 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ
3.95 เมื่อเทียบกับจำนวน 8,269,480 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวจะได้รับผลกระทบ
จากอุทกภัย แต่เนื่องจากในปีนี้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น โดยผลผลิต
ต่อพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 499.5 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากจำนวน 495 กิโลกรัมต่อไร่ในปี 2562
กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า ภาวะน้ำท่วมเมื่อช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2563 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวได้รับผลกระทบประมาณ 1.905 ล้านไร่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 10.92 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งประเทศที่มีประมาณ 17.44 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่ประมาณ 1.12 ล้านไร่ที่ไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิงประมาณ 0.786 ล้านไร่ ซึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุด ได้แก่ Posat, Battambang, Banteay Meanchey และ Kampong Thom
ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวใน 19 จังหวัดที่ได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมคิดเป็นจำนวนประมาณ
401,119 ไร่ ซึ่งล่าสุดมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 89 ได้รับการฟื้นฟูและพร้อมที่จะเพาะปลูกในฤดูถัดไปในช่วงต้นปีหน้า
โดยกระทรวงเกษตรฯได้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวนกว่า 6,434 ตัน ให้กับชาวนาเพื่อนำไปเพาะปลูกในพื้นที่นาที่ได้รับ
การฟื้นฟูแล้ว
ที่มา:Oryza.com
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 ซึ่งสูงกว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้นในรอบกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่มีคำสั่งซื้อจากประเทศในแถบเอเชีย เช่น จีนและประเทศในแถบแอฟริกาเข้ามาเพราะราคาข้าวของอินเดียยังคงต่ำกว่าข้าวไทยมาก ประกอบกับรัฐบาลบังคลาเทศ
ตกลงซื้อข้าวนึ่งจากอินเดีย 100,000 ตัน จากที่มีการประมูลแล้ว 2 ครั้ง ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ตันละ380 - 385 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจากตันละ378 - 383 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ในช่วงนี้นอกจากปัญหาค่าเงินรูปีที่แข็งค่าแล้ว ผู้ส่งออกกำลังประสบกับปัญหาค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ผู้ส่งออกต้องปรับราคาส่งออกขึ้นด้วย
สำนักงานข่าวสารและสถิติเชิงพาณิชย์ (Directorate General of Commercial Intelligence and Statistics; DGCIS) รายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563อินเดียส่งออกข้าวได้ประมาณ 1.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ลดลงประมาณร้อยละ14 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ที่ส่งออกได้ประมาณ 1.4 ล้านตัน โดยในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ160เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย (All India Rice Exporters Association; AIREA) รายงานว่าผู้ส่งออกข้าวของอินเดียกำลังร้องขอให้รัฐบาลเข้ามาจัดการกับปัญหาอัตราค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการขาดแคลน
ตู้คอนเทนเนอร์ท่ามกลางสถานการณ์การนำเข้าและส่งออกที่ไม่สมดุลกัน ส่งผลให้อัตราค่าขนส่งได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ20 ถึง 1 เท่าตัว
ผู้ส่งออกระบุว่า ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณปัจจุบันเป็นช่วงที่มีการส่งออกข้าวบาสมาติจำนวนมาก
แต่ในปีนี้ผู้ส่งออกไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้เพราะเกรงว่าจะสูญเสียตลาดให้กับประเทศคู่แข่งทั้งนี้ ผู้ส่งออกรายงานว่าอัตราค่าระวางเรือ (freight rate) บางสายการเดินเรือปรับสูงขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของ Covid-19 โดยค่าระวางเรือไปยังแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ75 ของการส่งออกข้าว ปรับสูงขึ้นประมาณร้อยละ243 หลังจากรัฐบาลใช้มาตรการ Lockdown อัตราขึ้นมาอยู่ที่ 1,200 - 1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้ ขณะที่ค่าระวางเรือไปยังกลุ่มประเทศในเขตทะเลแคริเบียนปรับขึ้นประมาณร้อยละ344 โดยอัตราขึ้นมาอยู่ที่ 4,200-4,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ตัวแทนขนส่งสินค้า (Freight forwarding agents) ระบุว่า ขณะนี้เกิดปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ประมาณร้อยละ40-45 ต่อเดือน จากความต้องการใช้ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุข้าวบาสมาติและข้าวขาวที่ไม่ใช่
บาสมาติประมาณเดือนละ 30,000-35,000 ตู้
ทางด้านสมาคมผู้ส่งออกข้าว (The rice exporters association) ระบุว่า บริษัทเดินเรือไม่ได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ทำให้ความสามารถในการขนส่งสินค้าทางเรือของอินเดียลดลง ขณะที่นาย BV Krishna Rao ประธานสมาคม
ผู้ส่งออกข้าว (The rice exporters association) กล่าวว่า ความแออัดในท่าเรือขนส่งสินค้าของประเทศศรีลังกา สิงคโปร์และมาเลเซีย ส่งผลให้การขนส่งสินค้าของอินเดียล่าช้าด้วย
ทั้งนี้อัตราค่าระวางเรือไปยังแอฟริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของอินเดียเพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็น 2,400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 25 ตัน ขณะที่ผู้ส่งออกสามารถเพิ่มราคาข้าวขาวและข้าวนึ่งได้เพียง ร้อยละ8-10 เนื่องจากกังวลว่าผู้ซื้ออาจหันไปซื้อข้าวจากประเทศผู้ส่งออกรายอื่น
รายงานข่าวระบุว่า ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2563 ปริมาณการนำเข้าสินค้าของอินเดียลดลงประมาณร้อยละ22-24 ขณะที่ปริมาณส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ29 ซึ่งผู้เกี่ยวข้อง
ในภาคอุตสาหกรรมตั้งข้อสังเกตว่าความไม่สมดุลทางการค้าของตลาดภายในประเทศทำให้อัตราค่าระวางเรือสูงขึ้น
ทั้งนี้ผู้ส่งออกได้ขอให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาด้านการขนส่งสินค้า การทำตลาดรวมทั้งแผนการส่งเสริมการส่งออกด้วย
กระทรวงเกษตร (the Agriculture Ministry) รายงานว่า ข้อมูลการเพาะปลูกข้าวฤดูRabi (winter) ของ
ปีการผลิต 2563/64 (พฤศจิกายน 2563 - พฤษภาคม 2564) ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2563มีประมาณ 65.44 ล้านไร่ลดลงประมาณร้อยละ6 เมื่อเทียบกับจำนวน 69.56 ล้านไร่ในปี 2562
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) รายงานว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2563/64 (เริ่มตั้งแต่ 26-28 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2564) ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563 สามารถจัดหาข้าวแล้วประมาณ 39.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ22.88 เมื่อเทียบกับจำนวน 32.44 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยจัดหาจากแคว้น Punjab ประมาณ 20.277 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ50.86 ของข้าวที่จัดหาทั้งหมด ตามด้วยแคว้นHaryana ร้อยละ14.1 แคว้นUttar Pradesh ร้อยละ8.9 แคว้น Telangana ร้อยละ8 แคว้นChattisgarh ร้อยละ6.2 เป็นต้น และมีเกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้แล้วประมาณ 4.172 ล้านราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,235 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดจากราคาเฉลี่ยของข้าวที่รัฐบาลรับซื้อประมาณตันละ254 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
รัฐบาลอินเดียคาดว่าโครงการจัดหาข้าวในฤดู Kharif crop season ของปีการผลิต 2563/64 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2563 (เร็วกว่ากำหนดคือวันที่ 1 ตุลาคม) และจะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2564) สามารถจัดหาข้าวได้มากถึง 74.2 ล้านตันเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ18 เมื่อเทียบกับจำนวน 62.7 ล้านตัน ของปี 2562/63
ที่ผ่านมา (รัฐบาลตั้งเป้าหมายในการจัดหาข้าวของปี 2563/64 ไว้ที่ 49.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ19
เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 2562/63 ที่ 41.6 ล้านตัน) โดยรัฐบาลได้เพิ่มจุดรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้นจาก 30,709 จุด
เป็น 39,122 จุดทั่วประเทศ (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ27 จากปีที่ผ่านมา) โดยคาดว่าจะมีเกษตรกรได้รับประโยชน์
จากโครงการนี้จำนวนประมาณ 15.7 ล้านราย (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ26 จากปีที่ผ่านมา) และคาดว่าจะมีการจ่ายเงินให้เกษตรกรประมาณ 1,400,780 ล้านรูปีหรือประมาณ 18,786 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ21 จากปีที่ผ่านมา)
เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2563 รัฐบาลได้ประกาศราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-กันยายน) ปี 2563/64 (ตุลาคม 2563 - กันยายน 2564) โดยรัฐบาลได้ประเมินต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในปี 2563/64 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,245 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 166 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรมีผลกำไรประมาณร้อยละ50 จากการเพาะปลูกข้าว รัฐบาลจึง
กำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำสำหรับข้าวคุณภาพธรรมดาไว้ที่ 1,868 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ249 ดอลลาร์สหรัฐฯ)เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ2.4 จาก 1,815 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ242 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ในปี 2562/63 ขณะที่ข้าวคุณภาพดี(Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,888 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ251 ดอลลาร์สหรัฐฯ)เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ2.9 จาก 1,835 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ244 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี 2563/64
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.50 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,205 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,059 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.32
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,432 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,387 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,490 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,375 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 893 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,617 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 898 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,732 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 115 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 529 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,767 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 525ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,628 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 139 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,648 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 522ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,539 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 109 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 29.8061 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนธันวาคม 2563 ผลผลิต 501.201 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 496.105 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.03
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลก ปี 2563/64
ณ เดือนธันวาคม 2563 มีปริมาณผลผลิต 501.201 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.03 การใช้ในประเทศ 500.439 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.14 การส่งออก/นำเข้า 44.793 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.05 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 178.983 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2562/63 ร้อยละ 0.43
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กัมพูชา อียู กายานา ปากีสถาน ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เมียนมา อินเดีย ปารากวัย ตุรกี อุรุกวัย และเวียดนาม
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบนิน คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย อียู กานา อิหร่าน อิรัก เคนย่า ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ เซเนกัล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล จีน กินี มาเลเซีย เม็กซิโก และเนปาล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 9 ปี นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554 เนื่องจากเกิดภาวะขาดแคลน
ตู้ขนสินค้าและค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจาก
ตันละ470 - 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า
วงการค้าข้าว รายงานว่าการขาดแคลนตู้ขนสินค้าทำให้ผู้ส่งออกไม่สามารถส่งมอบข้าวให้แก่ลูกค้าได้ตามกำหนด
ประกอบกับค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นมาก เช่น ค่าระวางเรือสำหรับตู้ขนสินค้าขนาด 20 ฟุต ปลายทางแอฟริการาคาสูงขึ้นถึง 5,000ดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่ 1,500ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อช่วง 2 - 3 เดือนก่อน
กลุ่มประเทศในสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Union; EAEU) ได้ให้คำมั่นว่าจะให้โควตาภาษีสำหรับสินค้าข้าวจำนวน 10,000 ตัน แก่ประเทศเวียดนามในปีหน้า ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-EAEU
(the Vietnam-EAEU Free Trade Agreement)
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (the Ministry of Industry and Trade) ระบุว่าในการพิจารณาเกี่ยวกับ
การจัดสรรโควตาภาษีสำหรับผลิตภัณฑ์ข้าวตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงการค้าเสรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563
สภาคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (the Council of the Eurasian Economic Commission; EEC)
ได้ออกคำวินิจฉัยที่ 110 เกี่ยวกับการจัดสรรโควตาการนำเข้าข้าวจากเวียดนามสำหรับประเทศสมาชิกในปี2564
โดยประเทศอาร์เมเนียได้โควตา 400 ตัน ขณะที่เบลารุสได้9,600 ตัน
ทั้งนี้ประเทศสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ประกอบด้วย รัสเซีย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย และ
คีร์กีซสถาน ซึ่งได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับเวียดนามในเดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการทำข้อตกลง
กับพันธมิตรภายนอกกลุ่ม โดยข้อตกลงดังกล่าวจะมีการยกเลิกภาษีสินค้าประมาณร้อยละ90 ซึ่งเท่ากับร้อยละ90ของมูลค่าการซื้อขายแบบทวิภาคี
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงวันที่ 1-30 ธันวาคม 2563 จะมีเรือบรรทุกสินค้าอย่างน้อย 10 ลำ เข้ามารอรับขนถ่ายสินค้าข้าว ณ ท่าเรือ Ho Chi Minh City Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 82,160 ตัน
ที่มา:Oryza.com
กัมพูชา
กระทรวงเกษตรฯ (the Minister of Agriculture , Forestry, and Fisheries) รายงานว่า ผลผลิตข้าวเปลือก
ในฤดูนาปี(The rain-fed paddy - rice) ของปี 2563 คาดว่ามีจำนวนประมาณ 8,596,877 ตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ
3.95 เมื่อเทียบกับจำนวน 8,269,480 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวจะได้รับผลกระทบ
จากอุทกภัย แต่เนื่องจากในปีนี้ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น โดยผลผลิต
ต่อพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 499.5 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากจำนวน 495 กิโลกรัมต่อไร่ในปี 2562
กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า ภาวะน้ำท่วมเมื่อช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2563 มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวได้รับผลกระทบประมาณ 1.905 ล้านไร่ คิดเป็นประมาณร้อยละ 10.92 ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งประเทศที่มีประมาณ 17.44 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่ประมาณ 1.12 ล้านไร่ที่ไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิงประมาณ 0.786 ล้านไร่ ซึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงที่สุด ได้แก่ Posat, Battambang, Banteay Meanchey และ Kampong Thom
ทั้งนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวใน 19 จังหวัดที่ได้รับความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมคิดเป็นจำนวนประมาณ
401,119 ไร่ ซึ่งล่าสุดมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 89 ได้รับการฟื้นฟูและพร้อมที่จะเพาะปลูกในฤดูถัดไปในช่วงต้นปีหน้า
โดยกระทรวงเกษตรฯได้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวนกว่า 6,434 ตัน ให้กับชาวนาเพื่อนำไปเพาะปลูกในพื้นที่นาที่ได้รับ
การฟื้นฟูแล้ว
ที่มา:Oryza.com
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 4 ซึ่งสูงกว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้นในรอบกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่มีคำสั่งซื้อจากประเทศในแถบเอเชีย เช่น จีนและประเทศในแถบแอฟริกาเข้ามาเพราะราคาข้าวของอินเดียยังคงต่ำกว่าข้าวไทยมาก ประกอบกับรัฐบาลบังคลาเทศ
ตกลงซื้อข้าวนึ่งจากอินเดีย 100,000 ตัน จากที่มีการประมูลแล้ว 2 ครั้ง ส่งผลให้ราคาข้าวนึ่ง 5% ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ตันละ380 - 385 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจากตันละ378 - 383 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ในช่วงนี้นอกจากปัญหาค่าเงินรูปีที่แข็งค่าแล้ว ผู้ส่งออกกำลังประสบกับปัญหาค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้ผู้ส่งออกต้องปรับราคาส่งออกขึ้นด้วย
สำนักงานข่าวสารและสถิติเชิงพาณิชย์ (Directorate General of Commercial Intelligence and Statistics; DGCIS) รายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563อินเดียส่งออกข้าวได้ประมาณ 1.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ลดลงประมาณร้อยละ14 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ที่ส่งออกได้ประมาณ 1.4 ล้านตัน โดยในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ160เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย (All India Rice Exporters Association; AIREA) รายงานว่าผู้ส่งออกข้าวของอินเดียกำลังร้องขอให้รัฐบาลเข้ามาจัดการกับปัญหาอัตราค่าระวางเรือที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการขาดแคลน
ตู้คอนเทนเนอร์ท่ามกลางสถานการณ์การนำเข้าและส่งออกที่ไม่สมดุลกัน ส่งผลให้อัตราค่าขนส่งได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ20 ถึง 1 เท่าตัว
ผู้ส่งออกระบุว่า ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณปัจจุบันเป็นช่วงที่มีการส่งออกข้าวบาสมาติจำนวนมาก
แต่ในปีนี้ผู้ส่งออกไม่สามารถปรับราคาขึ้นได้เพราะเกรงว่าจะสูญเสียตลาดให้กับประเทศคู่แข่งทั้งนี้ ผู้ส่งออกรายงานว่าอัตราค่าระวางเรือ (freight rate) บางสายการเดินเรือปรับสูงขึ้นถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของ Covid-19 โดยค่าระวางเรือไปยังแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ75 ของการส่งออกข้าว ปรับสูงขึ้นประมาณร้อยละ243 หลังจากรัฐบาลใช้มาตรการ Lockdown อัตราขึ้นมาอยู่ที่ 1,200 - 1,500 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้ ขณะที่ค่าระวางเรือไปยังกลุ่มประเทศในเขตทะเลแคริเบียนปรับขึ้นประมาณร้อยละ344 โดยอัตราขึ้นมาอยู่ที่ 4,200-4,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ตัวแทนขนส่งสินค้า (Freight forwarding agents) ระบุว่า ขณะนี้เกิดปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ประมาณร้อยละ40-45 ต่อเดือน จากความต้องการใช้ตู้คอนเทนเนอร์สำหรับบรรจุข้าวบาสมาติและข้าวขาวที่ไม่ใช่
บาสมาติประมาณเดือนละ 30,000-35,000 ตู้
ทางด้านสมาคมผู้ส่งออกข้าว (The rice exporters association) ระบุว่า บริษัทเดินเรือไม่ได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ทำให้ความสามารถในการขนส่งสินค้าทางเรือของอินเดียลดลง ขณะที่นาย BV Krishna Rao ประธานสมาคม
ผู้ส่งออกข้าว (The rice exporters association) กล่าวว่า ความแออัดในท่าเรือขนส่งสินค้าของประเทศศรีลังกา สิงคโปร์และมาเลเซีย ส่งผลให้การขนส่งสินค้าของอินเดียล่าช้าด้วย
ทั้งนี้อัตราค่าระวางเรือไปยังแอฟริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของอินเดียเพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็น 2,400 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 25 ตัน ขณะที่ผู้ส่งออกสามารถเพิ่มราคาข้าวขาวและข้าวนึ่งได้เพียง ร้อยละ8-10 เนื่องจากกังวลว่าผู้ซื้ออาจหันไปซื้อข้าวจากประเทศผู้ส่งออกรายอื่น
รายงานข่าวระบุว่า ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤศจิกายน 2563 ปริมาณการนำเข้าสินค้าของอินเดียลดลงประมาณร้อยละ22-24 ขณะที่ปริมาณส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ29 ซึ่งผู้เกี่ยวข้อง
ในภาคอุตสาหกรรมตั้งข้อสังเกตว่าความไม่สมดุลทางการค้าของตลาดภายในประเทศทำให้อัตราค่าระวางเรือสูงขึ้น
ทั้งนี้ผู้ส่งออกได้ขอให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาด้านการขนส่งสินค้า การทำตลาดรวมทั้งแผนการส่งเสริมการส่งออกด้วย
กระทรวงเกษตร (the Agriculture Ministry) รายงานว่า ข้อมูลการเพาะปลูกข้าวฤดูRabi (winter) ของ
ปีการผลิต 2563/64 (พฤศจิกายน 2563 - พฤษภาคม 2564) ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2563มีประมาณ 65.44 ล้านไร่ลดลงประมาณร้อยละ6 เมื่อเทียบกับจำนวน 69.56 ล้านไร่ในปี 2562
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) รายงานว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2563/64 (เริ่มตั้งแต่ 26-28 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2564) ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2563 สามารถจัดหาข้าวแล้วประมาณ 39.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ22.88 เมื่อเทียบกับจำนวน 32.44 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยจัดหาจากแคว้น Punjab ประมาณ 20.277 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ50.86 ของข้าวที่จัดหาทั้งหมด ตามด้วยแคว้นHaryana ร้อยละ14.1 แคว้นUttar Pradesh ร้อยละ8.9 แคว้น Telangana ร้อยละ8 แคว้นChattisgarh ร้อยละ6.2 เป็นต้น และมีเกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้แล้วประมาณ 4.172 ล้านราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,235 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (คิดจากราคาเฉลี่ยของข้าวที่รัฐบาลรับซื้อประมาณตันละ254 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
รัฐบาลอินเดียคาดว่าโครงการจัดหาข้าวในฤดู Kharif crop season ของปีการผลิต 2563/64 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2563 (เร็วกว่ากำหนดคือวันที่ 1 ตุลาคม) และจะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2564) สามารถจัดหาข้าวได้มากถึง 74.2 ล้านตันเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ18 เมื่อเทียบกับจำนวน 62.7 ล้านตัน ของปี 2562/63
ที่ผ่านมา (รัฐบาลตั้งเป้าหมายในการจัดหาข้าวของปี 2563/64 ไว้ที่ 49.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ19
เมื่อเทียบกับเป้าหมายในปี 2562/63 ที่ 41.6 ล้านตัน) โดยรัฐบาลได้เพิ่มจุดรับซื้อข้าวเพิ่มขึ้นจาก 30,709 จุด
เป็น 39,122 จุดทั่วประเทศ (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ27 จากปีที่ผ่านมา) โดยคาดว่าจะมีเกษตรกรได้รับประโยชน์
จากโครงการนี้จำนวนประมาณ 15.7 ล้านราย (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ26 จากปีที่ผ่านมา) และคาดว่าจะมีการจ่ายเงินให้เกษตรกรประมาณ 1,400,780 ล้านรูปีหรือประมาณ 18,786 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ21 จากปีที่ผ่านมา)
เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2563 รัฐบาลได้ประกาศราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-กันยายน) ปี 2563/64 (ตุลาคม 2563 - กันยายน 2564) โดยรัฐบาลได้ประเมินต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในปี 2563/64 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,245 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 166 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรมีผลกำไรประมาณร้อยละ50 จากการเพาะปลูกข้าว รัฐบาลจึง
กำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำสำหรับข้าวคุณภาพธรรมดาไว้ที่ 1,868 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ249 ดอลลาร์สหรัฐฯ)เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ2.4 จาก 1,815 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ242 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ในปี 2562/63 ขณะที่ข้าวคุณภาพดี(Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,888 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ251 ดอลลาร์สหรัฐฯ)เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ2.9 จาก 1,835 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ244 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี 2563/64
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.00 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.50
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.76
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,139 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 304.75 ดอลลาร์สหรัฐ (9,087 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 52 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 443.81 เซนต์ (5,282 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 425.53 เซนต์ (5,069 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.30 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 213 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.09 ล้านไร่ ผลผลิต 29.883 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.29 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.92 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.25 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.91 ร้อยละ 3.05 และร้อยละ 1.23 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.6 ล้านตัน (ร้อยละ 8.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.47 ล้านตัน (ร้อยละ 61.81 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้นเปิดดำเนินการมากขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.96
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.20 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.58
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.02 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.29 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.70
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.45 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 277 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,256 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,037 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.59
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงาน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 0.846 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.152 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.914 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.165 ล้านตัน ของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 7.44 และร้อยละ 7.88 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 7.13 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.93
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 38.43 บาท ลดลงจาก กก.ละ 39.03 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.54
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียลดลงเล็กน้อยหลังจากที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 3 วัน โดยลดลงตามราคาน้ำมันถั่วเหลือง ตลาดชิคาโก แต่การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยบวกให้กับราคา โดยพบว่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ระหว่างวันที่ 1-20 ธ.ค. 63 จากช่วงเวลาเดียวกันในเดือน พ.ย. 63 ราคาอ้างอิงเดือนมีนาคม ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย ลดลงร้อยละ 0.1 อยู่ที่ 3,442 ริงกิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,727.99 ดอลลาร์มาเลเซีย (28.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,599.70 ดอลลาร์มาเลเซีย (27.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.56
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29.44 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 926.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.10
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
- สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ราคาน้ำตาลในตลาดนิวยอร์ก มีแนวโน้มที่จะซื้อขายในช่วง 14.20-15.00 เซนต์/ปอนด์ สถานการณ์
โคโรนาไวรัสที่มีการระบาดระลอกใหม่ นักวิเคราะห์คาดว่าจะทำให้มีการปรับลดจำนวนการบริโภคลง และจากการสำรวจโดย Tate & Lyle แสดงให้เห็นว่า คนทำขนมปังในสหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับการลดแคลอรี่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าสำหรับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยเหตุนี้นักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าวว่า ราคาน้ำตาลอาจลดลงต่ำกว่า 14.00 เซนต์/ปอนด์
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 18.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.75 บาท ในสัปดาห์
ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,246.48 เซนต์ (13.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,189.53 เซนต์ (13.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.79
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 414.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.55 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 393.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.24
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 40.75 เซนต์ (27.21 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.39 เซนต์ (26.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.45
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 18.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.75 บาท ในสัปดาห์
ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,246.48 เซนต์ (13.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,189.53 เซนต์ (13.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.79
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 414.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.55 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 393.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.24
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 40.75 เซนต์ (27.21 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 39.39 เซนต์ (26.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.45
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.89 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 29.26 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.52
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,244.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.08 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,244.50 ดอลลาร์สหรัฐ (37.05 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,109.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,109.50 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,379.20 ดอลลาร์สหรัฐ (41.11 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,379.75 ดอลลาร์สหรัฐ (41.07 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 669.40 ดอลลาร์สหรัฐ (19.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 669.75 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,271.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.89 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,271.75 ดอลลาร์สหรัฐ (37.86 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.32
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสดสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.33 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.32
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 75.82 เซนต์(กิโลกรัมละ 50.53 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 75.44 เซ็นต์ (กิโลกรัม 50.23 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.30 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,906 บาท สูงขึ้นจาก 1,893 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.68 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,906 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,528 บาท ลดลงจาก 1,515 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.86 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,528 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 967 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดยังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.99 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 71.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.64 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,400 บาท สูงขึ้นจาก 2,300 บาท ของจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.34
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.62
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อไก่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.63 บาท ลดลงจาก 34.65 บาท
ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.80 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 8.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 275 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 282 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 305 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 265 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 250 บาท ลดลงจากเฉลี่ยร้อยฟองละ 260 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.84
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 347 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 365 บาท
ภาคกลาง ร้อยฟองละ 321 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 363 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 99.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.13 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.97 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 ธันวาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.38 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.66 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 154.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.41 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา เนื่องจากตลาดปิดการซื้อขายระหว่างวันที่ 21 ธันวาคม 2563 – 3 มกราคม 2564
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 18 – 24 ธันวาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.38 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.06 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.66 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 154.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.41 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา เนื่องจากตลาดปิดการซื้อขายระหว่างวันที่ 21 ธันวาคม 2563 – 3 มกราคม 2564
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.23 บาท
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา