สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 พฤศจิกายน 2564

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,357 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,586 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,733 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,667 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,150 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,670 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.46
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 665 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,692 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 669 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,125 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 433 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,950 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ ตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,097  บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 147 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 397 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,950 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 396 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,097 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 147 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.6190 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          ฟิลิปปินส์
          กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (the Agriculture Department) ระบุว่า ทางการตั้งเป้าผลิตข้าวในปี 2564 ไว้ที่ 20.6 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นจากเป้าจำนวน 20.3 ล้านตันข้าวเปลือก ในปี 2563 ทั้งนี้ ผลผลิตข้าวเปลือกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 มีจำนวนประมาณ 8.799 ล้านตัน โดยรัฐบาลคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 11.23 ล้านตัน สำหรับผลผลิตข้าวเปลือกในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ (กรกฎาคม-กันยายน) อยู่ที่ประมาณ 3.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
          สำนักงานอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) รายงานว่า ในช่วง 10 เดือนของปีนี้ (มกราคม-ตุลาคม 2564) มีการนำเข้าข้าวประมาณ 2.242 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 16.24 เมื่อเทียบกับจำนวนประมาณ 1.929 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และมากกว่าการนำเข้าทั้งหมดในปีที่ผ่านมา (ปี 2563 มีการนำเข้าข้าวประมาณ 2.099 ล้านตัน) โดยในช่วง 10 เดือนของปีนี้ (มกราคม-ตุลาคม 2564) สำนักงานอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (sanitary and phytosanitary import clearances; SPS-ICs) ให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตนำเข้าข้าวจำนวน 5,484 ใบ เพื่อนำเข้าข้าวจำนวนประมาณ 4.876 ล้านตัน
          ข้อมูลการนำเข้าข้าวล่าสุดจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการนำเข้าข้าวประมาณ 2.29 ล้านตัน
โดยใช้ใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS-ICs) จำนวน 2,722 ใบที่ผู้นำเข้าได้ยื่นขอต่อหน่วยงานราชการของฟิลิปปินส์โดยผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดได้แก่ บริษัท Nan Stu Agri Traders ซึ่งนับจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
มีการนำเข้าข้าวประมาณ 128,668 ตัน ตามด้วยบริษัท Lucky Buy and Sell ที่นำเข้าประมาณ 110,152 ตัน โดย
ในปัจจุบันมีผู้ขออนุญาตนำเข้าข้าวจำนวน 145 ราย
          ทั้งนี้ ประเทศเวียดนามยังคงเป็นแหล่งนำเข้าข้าวที่สำคัญของฟิลิปปินส์ ซึ่งนับจนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการนำเข้าข้าวจากเวียดนามประมาณ 1.959 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 85.5 ของปริมาณนำเข้าข้าวทั้งหมดประมาณ 2.29 ล้านตัน ตามด้วยประเทศเมียนมาร์ และไทยที่จำนวน 158,268.9 ตัน และ 114,515 ตัน ตามลำดับ
          ที่มา : Oryza.com
 
          จีน
          ศูนย์การค้าธัญพืชแห่งชาติ (China’s National Grain Trade Center; NGTC) รายงานว่า ในเดือนตุลาคม 2021 ที่ผ่านมา มีการจำหน่ายข้าวเปลือก (old crop paddy) จากสต็อกรัฐบาลเพียง 52 ตัน (คิดเป็นร้อยละ 0.01 ของจำนวน
ที่นำออกประมูล) จากจำนวนข้าวเปลือกเก่าในสต็อกรัฐบาลที่นำออกประมูลขาย 1 ครั้ง จำนวนประมาณ 1.8 ล้านตัน
ลดลงร้อยละ 99.8 เมื่อเทียบกับจำนวน 22,827 ตัน ที่จำหน่ายได้ในเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา
          สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อคืนวันที่ 1 พฤศจิกายน กระทรวงพาณิชย์ของจีนออกประกาศผ่านเว็บไซต์เรียกร้องให้ประชาชนเร่งกักตุนสิ่งของเครื่องใช้และอาหารที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันในปริมาณที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินระยะหนึ่ง ประกาศดังกล่าวยังสั่งการให้มณฑลต่างๆ ดำเนินขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีสินค้าอาหารและสิ่งของจำเป็นจำหน่ายให้ประชาชนได้เพียงพอ ในขณะที่คลังอาหารสำรองประจำภูมิภาคเองก็มีมากพอต่อการรักษาระดับราคาให้คงที่
          คำสั่งไม่ได้ระบุว่าเป็นเพราะสาเหตุใด โดยไม่ได้ชี้ว่าเป็นเพราะอาจเกิดภาวะขาดแคลนอาหารขึ้นหรือจะมี
การประกาศมาตรการล็อกดาวน์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและจำหน่ายอาหารกับของใช้จำเป็น และทำให้ผู้ที่ถูกล็อกดาวน์ต้องเผชิญกับความอดอยากแต่อย่างใด
          อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 ในจีนแม้จะยังอยู่ในระดับต่ำแต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในเดือนสิงหาคม
พบผู้ป่วยรายวันสูงถึง 143 ราย และเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ตัวเลขป่วยรายวันขยับเพิ่มเป็น 92 ราย ทำให้รัฐบาลออกมาประกาศว่าเกิดการระบาดร้ายแรงในกว่า 10 มณฑล ขณะที่จีนเตรียมการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในเดือนกุมภาพันธ์นี้
          ทั้งนี้ คำสั่งที่ไม่ระบุสาเหตุครั้งนี้ส่งผลให้เกิดข่าวลือสะพัดในสื่อสังคมออนไลน์ของจีน โดยระบุว่ารัฐบาลเตรียมการทำศึกยึดคืนไต้หวัน จนหนังสือพิมพ์อีโคโนมิคเดลีของทางการต้องออกมาสยบข่าวด้วยการระบุว่าเป้าหมายของคำสั่ง
เป็นเพราะรัฐบาลต้องการให้แน่ใจว่าชาวจีนมีการเตรียมพร้อมหากมีการล็อกดาวน์เกิดขึ้นเท่านั้น
          อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าผลผลิตพืชผักในประเทศยังอยู่ในภาวะปกติและมีเพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชาชนมากถึง 1 ปีครึ่ง ในความพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศว่าไม่ต้องวิตกกังวลว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนอาหารในประเทศขึ้น
          หลังจากก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ของจีนออกประกาศผ่านเว็บไซต์ให้ประชาชนเร่งกักตุนสิ่งของเครื่องใช้และอาหารที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันในปริมาณที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินระยะหนึ่ง ส่งผลให้ชาวจีนแห่ไปซื้อหาอาหารกักตุนเอาไว้ส่งผลให้แป้ง ข้าว และอาหารหลักอื่นๆ หายจากชั้นวางขายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตในเมืองต่างๆ อย่างรวดเร็ว
          นายถัง เค่อ อธิบดีกรมตลาดและสารสนเทศ หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและกิจการชนบทของจีน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า แม้ราคาผักขม ผักกาด และผักมีใบอื่นๆ จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากปัญหาสภาพอากาศ
แต่ผลผลิตพืชผักสำคัญชนิดอื่นๆ ยังมีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น ผลผลิตทั้งหมดจึงยังมีเพียงพอที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเป็นกังวลใดๆ และคาดว่าในปีนี้จีนจะมีผลผลิตจากพืชผักถึง 750 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ร้อยละ 1 ขณะที่เป็นไปได้ว่าการบริโภคผักเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 1.5 กิโลกรัม
          อย่างไรก็ตาม นายถังกล่าวว่า ยังมีความพยายามเพิ่มเติมที่จะเป็นเครื่องการันตีว่าจะเพาะปลูกพืชผักได้มากเพียงพอ โดยรัฐบาลได้ชี้แนะให้ผู้ผลิตรายใหญ่ขยายกำลังผลผลิตและเตรียมโรงเรือนในพื้นที่ทางตอนเหนือเพื่อการเพาะปลูกเพิ่มเติมต่อไป
          ด้านนางหลิว หลี่หัว รองอธิบดีกรมจัดการเพาะปลูก กล่าวว่า ผลผลิตข้าวและข้าวสาลีในปีนี้ของจีนมีเพิ่มขึ้น
และผลผลิตทั้งสองอย่างดังกล่าวยังมีมากกว่าการบริโภคในประเทศด้วย โดยสต็อกข้าวสาลียังมีเพียงพอสำหรับการบริโภคไปถึงปีครึ่ง นอกจากนี้กำลังการผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยวในแต่ละวันของจีนยังมากเพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชาชนทั้งประเทศไปถึง 2 วัน และแม้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เลวร้ายที่สุดในปีที่ผ่านมา ข้าวก็ยังคงมีวางขายอย่างเหลือเฟือในซุปเปอร์มาร์เก็ต
          ที่มา Oryza.com และมติชนออนไลน์
 
          อินเดีย
          ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับตัวสูงขึ้น และสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับอุปทานข้าวในประเทศมีปริมาณจำกัด เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งอุปทานข้าวมักจะมีปริมาณจำกัด ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศยังคงมีอยู่ ทำให้ข้าวนึ่ง 5% ราคาขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 364-369 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงขึ้นจากตันละ 363-367 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่วงการค้ารายงานว่า อุปทานข้าวฤดูใหม่เพิ่งจะทยอยออกสู่ตลาด จึงทำให้อุปทานข้าวในตลาดยังมีจำกัด โดยคาดว่าอุปทานข้าวฤดูใหม่จะออกสู่ตลาดสูงที่สุดในช่วงเดือนนี้
          กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (the U.S. Department of Agriculture's Foreign Agricultural Service; USDA) รายงานว่า ผลผลิตข้าวในปีการผลิต 2564/65 คาดว่าจะลดลงเหลือ 124 ล้านตัน เนื่องจากคาดว่าผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหายจากภาวะฝนที่ตกหนักเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังมีการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใหม่ของอินเดีย
โดยคาดว่าผลผลิตต่อพื้นที่จะมีจำนวนลดลง
          ขณะที่สต็อกข้าวสิ้นปี 2564/65 คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 27.85 ล้านตัน เนื่องจากรัฐบาลมีการระบายสต็อกบางส่วนออกสู่ตลาดเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีอุปทานเพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมโรงสีข้าวในประเทศ
          กรมการอาหารและการกระจายสินค้าสาธารณะ สังกัดกระทรวงกิจการผู้บริโภค อาหาร และการกระจายสินค้าสาธารณะ (The Department of Food and Public Distribution under the Ministry of Consumer Affairs, Food and Public Distribution) แถลงว่า โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2564/65 (1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565) ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 สามารถจัดหาข้าวได้ประมาณ 20.952 ล้านตัน โดยมีเกษตรกรที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้แล้วประมาณ 1.157 ล้านราย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,541.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นราคาเฉลี่ยของข้าวที่รัฐบาลรับซื้อประมาณ 264 เหรียญสหรัฐต่อตัน)
          โครงการจัดหาข้าวของรัฐบาลในฤดูการผลิต Kharif (Kharif marketing season; KMS) ของปี 2563/64
(1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) ที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถจัดหาข้าวได้ประมาณ 89.24 ล้านตันข้าวเปลือก ประกอบด้วยข้าวจากฤดูการผลิต Kharif crop ประมาณ 71.81 ล้านตัน และ จากฤดูการผลิต Rabi crop ประมาณ 17.615 ล้านตัน
          เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) รายงานว่า รัฐบาลได้ประกาศราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) สำหรับฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-กันยายน) สำหรับปี 2564/65 (ตุลาคม 2564-กันยายน 2565) โดยรัฐบาลได้ประเมินต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในปี 2564/65 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,293 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 177 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรมีผลกำไรประมาณร้อยละ 50 จากการเพาะปลูกข้าว รัฐบาลจึงกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำสำหรับข้าวคุณภาพธรรมดาไว้ที่ 1,940 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 266 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.85 จาก 1,868 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 256 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี 2563/64 ขณะที่ข้าวคุณภาพดี (Grade ‘A’ paddy) กำหนดไว้ที่ 1,960 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 269 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.8 จาก 1,888 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณตันละ 258 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ในปี 2563/64
          ที่มา Oryza.com

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.29 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 332.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,823.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,796.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 27.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 564.00 เซนต์ (7,342.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล 562.00 เซนต์ (7,417.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 75.00 บาท

 


มันสำปะหลัง

 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
           ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 All India Sugar Trade Association (AISTA) รายงานว่า อินเดียส่งออกน้ำตาล 276,000 ตัน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 9 พฤศจิกายน โรงงานต่าง ๆ ได้ลงนามสัญญาส่งออก 1.8 ล้านตัน โดยไม่ได้รับเงินอุดหนุนจนถึงขณะนี้ แต่การขนส่งจะล่าช้าเนื่องจากการเก็บเกี่ยวล่าช้าในบางภูมิภาค ด้านสมาคมเสริมว่าแทบไม่มีการส่งออกมาจากอินเดียตอนเหนือ เนื่องจากราคาสูงถึง 35,500 - 37,500 รูปี/ตัน (492.5 เหรียญสหรัฐ/ตัน)
          ทั้งนี้ตามการคาดการณ์ของโรงงาน Balrampur Chini Mills คาดว่าตัวเลขการบริโภคน้ำตาลของอินเดียน่าจะอยู่ที่ 27 ล้านตัน ในปี 2564/2565 เพิ่มขึ้นจาก 26.5 ล้านตันเมื่อปีที่แล้ว โดยบริษัทคาดว่าสัดส่วนการผลิต
เอทานอลจะคิดเป็น 35% ของรายได้ทั้งหมด จาก 20% ในปัจจุบัน
          วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 กระทรวงเกษตรของจีนได้เพิ่มประมาณการของการนำเข้าในปี 2563/2564 เพิ่มขึ้น 740,000 ตัน เป็น 6.34 ล้านตัน และลดการส่งออกลง 50,000 ตัน เหลือ 130,000 ตัน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับปีประมาณการปี 2564/2565 แต่สมาคมน้ำตาลแห่งประเทศจีนเตือนว่าสภาพอากาศที่เลวร้ายส่งผลกระทบในทางลบต่อการเติบโตอ้อย และจากข้อมูล ณ สิ้นเดือนตุลาคม มีการผลิตน้ำตาล 292,000 ตันจาก 141,000 และยอดขายน้ำตาล 47,000 ตัน จาก 103,000 ตัน เมื่อเทียบปีที่แล้วตามลำดับ




 

 
ถั่วเหลือง

 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
     ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 118.17 เซนต์ (กิโลกรัมละ 86.09 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 117.85 เซนต์ (กิโลกรัมละ 87.07 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.27 (แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.98 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,855 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 1,712 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,495 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 1,398 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.94 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 996 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 985 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจำนวนมาก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  72.59 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.14  คิดเป็นร้อยละ 2.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 66.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.66 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.76 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,400 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.35 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดยังคงสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.01 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 30.73 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.91 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 273 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 304 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 286 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 260 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.04 บาท  สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 2.95 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 356 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 352 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 372 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 333 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 358 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 94.94 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.68 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.16 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.84 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.83 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.69 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

 


ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี