- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 พฤษภาคม 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,381 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,418 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,920 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,869 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,517 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,570 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 870 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,169 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 859 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,083 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 86 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,066 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 503 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,030 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 36 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,267 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,233 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.5278 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
สหประชาชาติ
สหประชาชาติ (United Nations : UN) คาดผลผลิตข้าวในเอเชียรวมทั้งประเทศไทยเพิ่มขึ้นในปีนี้ เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูก
นางเชอร์ลีย์ มุสตาฟา นักเศรษฐศาสตร์จากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่า ในปีนี้ผลผลิตข้าวในภูมิภาคเอเชียจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้เกษตรกรขยายพื้นที่การเพาะปลูกและใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานข้าว หลังจากการผลิตข้าวในเอเชียปรับตัวลงในปี 2565 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี
เมื่อไม่นานมานี้ ผลผลิตข้าวนาปรัง (off-season rice) ในประเทศไทย และอินเดีย ซึ่งเป็น 2 ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก มีผลผลิตอยู่ในระดับสูงกว่าปี 2565 ขณะที่เกษตรกรจะเร่งเพาะปลูกข้าวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากราคาข้าวพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปี
นางมุสตาฟากล่าวว่า กลุ่มผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ในซีกโลกเหนือ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย อินเดีย และปากีสถาน จะเริ่ม
ทําการเพาะปลูกข้าวนาปี (main crops) ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2566 โดยคาดว่าผู้ผลิตเหล่านี้จะเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าว เพื่อตอบสนองต่อราคาข้าวที่ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ การที่ผู้ผลิตใช้ปุ๋ยมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นด้วย
การที่อินเดียได้ออกมาตรการควบคุมการส่งออกในปีที่ผ่านมา ประกอบกับผลผลิตข้าวทั่วโลกที่ลดลงหลังจาก คลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมในจีน และเกิดอุทกภัยในปากีสถานนั้น ได้ส่งผลให้ราคาข้าวพุ่งขึ้น ซึ่งสร้างความวิตกกังวลว่า จะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่มีสาเหตุมาจากราคาอาหาร
อย่างไรก็ดี ราคาข้าวปรับตัวลดลงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยราคาข้าว 5% ในอินเดีย และไทย ต่ำกว่าระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี หลังจากที่ราคาพุ่งขึ้นไปถึงระดับดังกล่าวในช่วงต้นปี 2566
ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 การผลิตข้าวฤดูหนาว (winter-sown rice) ในอินเดียพุ่งขึ้นแตะระดับ 22.8 ล้านตัน จากระดับ 18.5 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่สูงกว่าระดับเฉลี่ย และเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกษตรกรเพิ่มการเพาะปลูก และสามารถชดเชยการลดลงของผลผลิตข้าวฤดูร้อน (summersown rice)
สำหรับประเทศไทยนั้น FAO คาดการณ์ว่า การผลิตข้าวนาปรังในปี 2566 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับตลอดทั้งปีที่ระดับ 5.1 ล้านตัน
ข้อมูลจากสภาธัญพืชระหว่างประเทศ (IGC) คาดการณ์ว่า พื้นที่การผลิตข้าวทั่วโลกในปี 2566/67 จะเพิ่มขึ้นเป็น 165.70 ล้านเฮกตาร์ จากระดับ 163.74 ล้านเฮกตาร์ และคาดว่าการผลิตข้าวทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 521.49 ล้านตัน จากระดับ 509.30 ล้านตัน
ปีเตอร์คลับบ์ นักวิเคราะห์ด้านการตลาดของ IGC กล่าวว่า “เราคาดว่าราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในปี 2566/67 โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่”
ขณะเดียวกัน ราคาปุ๋ยปรับลดลงในไตรมาสเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 เนื่องจากซัพพลายจากเบลารุสซึ่งเป็นผู้ส่งออกโปแตช (potash) รายใหญ่อันดับ 2 ของโลกนั้น เริ่มกลับสู่ภาวะปกติอีกครั้ง และต้นทุนวัตถุดิบหลักซึ่งรวมถึงไนโตรเจน ปรับลดลงจากระดับสูงสุดเมื่อปี 2565
อย่างไรก็ดี สภาพอากาศยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการผลิตข้าวในเอเชีย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์อากาศ คาดการณ์ว่า เอเชียจะเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในเอเชียแห้งแล้ง
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า หลังจากก่อนหน้านี้ราคาทรงตัวในระดับสูง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาวที่ภาวะการค้าชะลอลง
โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ 485-495 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากระดับ 495-500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในสัปดาห์ก่อนหน้า
ขณะที่ตัวเลขส่งออกของทางการระบุว่า ในเดือนเมษายน 2566 คาดว่าจะมีการส่งออกข้าวปริมาณมากถึง
1.1 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม-เมษายน 2566) เวียดนามสามารถส่งออกคิดเป็นมูลค่าถึง 1.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สํานักข่าว The Saigon Times รายงานว่า เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (the Ministry of Industry and Trade ) ได้จัดการประชุมที่นครโฮจิมินห์ เพื่อประเมินการส่งออกข้าวในไตรมาสแรก และกําหนดทิศทางการจัดการการค้าข้าวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งการประชุมดังกล่าว มีเจ้าหน้าที่ของจังหวัดในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง และผู้ส่งออกข้าวชั้นนําเข้าร่วมการประชุม
จากข้อมูลของนาย Nguyen Ngoc Nam ประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (The Vietnam Food Association (VFA)) รายงานว่า ณ วันที่ 15 เมษายน 2566 เวียดนามส่งออกข้าวไปแล้วเกือบ 2.4 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565
ประธานสมาคมอาหารเวียดนาม ระบุว่าประเทศฟิลิปปินส์หนึ่งในผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ได้ปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่า พวกเขาจะนําเข้าข้าวราว 330,000 ตัน ขณะที่ประเทศอินเดียซึ่งเป็นคู่แข่งของเวียดนามในการส่งออกข้าว ได้ยกเลิกการเก็บภาษีร้อยละ 20 สำหรับการส่งออกข้าวบางส่วน (ข้าวเปลือกที่เหมาะสำหรับทำพันธุ์ข้าว) อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวในท้องถิ่นหลายรายกล่าวว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามในปี 2566 จะไม่ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์ดังกล่าว
ทางด้านนาย Nguyen Van Thanh ประธานคณะกรรมการและผู้อํานวยการทั่วไปของบริษัท Phuoc Thanh IV Trading - Production Company Limited กล่าวว่า ส่วนแบ่งการตลาดของทั้งสองประเทศ (อินเดีย และเวียดนาม) แตกต่างกัน ซึ่งฝ่ายหนึ่งเน้นข้าวคุณภาพต่ำ ส่วนอีกฝ่ายเป็นตลาดระดับกลาง โดยเวียดนามมีผู้ซื้อข้าวจำนวนมากจากประเทศจีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่เน้นนําเข้าข้าวเมล็ดยาวและหอมคุณภาพสูง ในทางตรงกันข้าม อินเดียส่งออกข้าวนึ่ง และข้าวบาสมาติเป็นหลัก
นอกจากนี้ บางประเทศในเอเชีย คาดว่าจะประสบปัญหาการขาดแคลนข้าว เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออํานวยในปี 2566 ดังนั้นหลายประเทศจะพิจารณาเพิ่มการนําเข้าข้าวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
นาย Huynh Van Khoe ผู้อํานวยการบริษัท Blue Ocean Export-Import กล่าวว่า ขณะนี้ข้าวเวียดนามมีโอกาส
ที่จะปรับตำแหน่งในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกข้าวในท้องถิ่นยังขาดข้าวคุณภาพที่จะขายไปยังตลาด สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป
ประธานสมาคมอาหารเวียดนามกล่าวว่า การส่งออกข้าวของเวียดนามมีเงื่อนไขที่ดีในปี 2566 เนื่องจากอุปสงค์สูงกว่าอุปทาน อย่างไรก็ตาม เวียดนามจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการผลิต การเชื่อมโยง และการปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อคว้าโอกาสทางการตลาดมากขึ้น
นาย Ngo Ngoc Yen ผู้อํานวยการบริษัท Hoa Phat Tan Chau Export-Import กล่าวว่า ข้าวคุณภาพต่ำ เช่น พันธุ์ IR 50404 หรือ OM 380 มีราคาอยู่ที่ 6,500-6,600 ดองเวียดนามต่อกิโลกรัม ในขณะเดียวกัน ข้าวคุณภาพสูงอื่นๆ เช่น OM 5451 และ OM 18 ราคา 6,800-6,850 ดองเวียดนามต่อกิโลกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้น 500-600 ดองเวียดนาม เมื่อเทียบกับราคาเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน
ทั้งนี้ จากภาวะการค้าในตลาดโลกและสถานการณ์ปัจจุบันของอุปทานข้าวในท้องถิ่น เขาคาดการณ์ว่า ตลาดข้าวจะคึกคักต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี โดยรัฐวิสาหกิจหลายแห่งติดต่อขอซื้อข้าวจากผู้ค้า แต่ข้าวมีปริมาณจํากัด โดยจะเห็นได้จาก ในช่วงนี้เหลือเวลาอีกประมาณ 1 เดือนก่อนที่ผลผลิตข้าวในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (the summer-autumn rice) ในจังหวัด Tien Giang และ Long An จะออกสู่ตลาด แต่ผู้ค้าข้าวจำนวนมากยังคงต้องใช้เงินซื้อข้าวในราคาสูง
นาย Nguyen Van Hai พ่อค้าข้าวในเขต Cai Lay จังหวัด Tien Giang กล่าวว่า จนถึงตอนนี้เขาต้องจ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อซื้อข้าวจากชาวนาในราคาตั้งแต่ 0.32-0.48 ล้านดองต่อพื้นที่เก็บเกี่ยว 1 ไร่ และต้องใช้เงินซื้อข้าว IR 500404 และ OM 380 ที่ประมาณ 6,500-6,000 ดองเวียดนามต่อตัน
ขณะที่ชาวนาในชุมชน Phu Cuong อําเภอ Cai Lay จังหวัด Tien Giang กล่าวว่า หากสามารถผลิตข้าวได้มากถึง 1.12 ตันต่อไร่ หลังจากหักต้นทุนการผลิตแล้ว ชาวนาจะได้รับกําไรประมาณ 2.5 ล้านดองต่อ 1,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 4 ล้านดองต่อไร่
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา รายงานว่า กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์เปิดเผยว่า ภายใต้โครงการระยะเวลา 5 ปีที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ ของรัฐบาลภายใต้การนําของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ได้กําหนดกลยุทธ์หลักเพื่อปรับปรุงการผลิต รวมถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อหาทางปลูกข้าวให้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศให้ได้ภายในปี 2570 หรือหนึ่งปีก่อนที่ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร จะครบวาระ 6 ปี
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าภายใต้โครงการดังกล่าว อุปทานข้าวในประเทศจะมีปริมาณอยู่ที่ 24.99-26.86 ล้านตัน นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าให้ราคาข้าวเฉลี่ยในแต่ละปีเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 1 และรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 54 รวมทั้งรักษาสต็อกข้าวให้เพียงพอต่อการบริโภค ทั้งนี้ คํามั่นสัญญาดังกล่าวมีขึ้นหลังจากรัฐบาลชุดก่อนล้มเหลว
ในการบรรลุเป้าหมายที่จะพึ่งพาตนเองในการปลูกข้าว เนื่องจากการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด และผลกระทบจากสภาพอากาศที่เลวร้าย ได้บั่นทอนผลผลิตข้าวในท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันฟิลิปปินส์มีการนําเข้าข้าวปริมาณมากกว่า 3 ล้านตันต่อปี และส่วนใหญ่นําเข้ามาจากประเทศเวียดนาม เพื่อเสริมอุปทานในท้องถิ่น และรักษาเสถียรราคา
กระทรวงเกษตรกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันอุปทานข้าวในประเทศยังคงเพียงพอ และพยายามบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์สภาพอากาศเอลนีโญ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้รัฐบาลกําลังมองหาแหล่งอุปทานข้าวเพิ่มเติม โดยหน่วยงาน National Food Authority (NFA) ซึ่งทำหน้าที่ดูแลสต็อกข้าวภายในประเทศ ได้เสนอให้นําเข้าข้าวปริมาณ 330,000 ตัน เพื่อให้เพียงพอกับภาวะขาดดุลอุปทานที่คาดการณ์ไว้ในคลังสํารอง อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ประธานาธิบดีมาร์กอส จูเนียร์ ยังไม่ได้อนุมัติข้อเสนอดังกล่าว
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.59 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.87 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 383.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,834.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 374.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,648.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 186.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฏาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 642.00 เซนต์ (8,579.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 644.00 เซนต์ (8,698.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 119.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.400 ล้านตัน (ร้อยละ 4.28 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยวแต่พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกหนัก ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่ยังเปิดดำเนินการตามปกติ และมีเชื้อแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 19-24%
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.17 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.63
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.48 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.44 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.54
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.54 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.62 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.94
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.30 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.23 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.38
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,130 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,220 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 555 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,770 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,780 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.91
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.704 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.307 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.621 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.292 ล้านตันของเดือนเมษายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 5.12 และร้อยละ 5.14 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.64 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.19 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.67
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.23 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 31.79 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.53
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มของมาเลเซียบางรายยกเลิกการจ้างแรงงานจากบังกลาเทศ หลังจากที่ได้รับผลกระทบจากที่สหรัฐอเมริกาแบนการนำเข้า เนื่องจากข้อกล่าวหาเรื่องการบังคับใช้แรงงาน โดยภาครัฐของมาเลเซียได้ระงับการจ้างงานจากบังกลาเทศตั้งแต่ปี 2561 เนื่องจากมีข้อกล่าวหาเรื่องกระบวนการมีความทุจริต และถึงแม้ว่าเมื่อปี 2565 มาเลเซียและบังกลาเทศได้มีการบังคับใช้ข้อตกลงเรื่องแรงงานใหม่ ผู้ผลิตในมาเลเซียก็ไม่ได้รับแรงงานจากบังกลาเทศเพิ่มขึ้น เพราะแรงงานบังกลาเทศมีอัตราการหลบหนีสูง อีกทั้งแรงงานจากเอเชียใต้หลายรายพบปัญหาไม่ได้รับการจ้างงานหลังจากจ่ายเงินค่าจัดหางานไปแล้ว แล้ว ซึ่ง RSPO จะเป็นองค์กรหนึ่งที่พยายามให้อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของแรงงาน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,994.82 ริงกิตมาเลเซีย (30.75 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 4,041.22 ริงกิตมาเลเซีย (31.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.15
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 981.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.30 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 962.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.92
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ประเทศจีนในเขตกว่างซี(Guangxi) ราคาซื้อขายน้ำตาลหน้าโรงงาน ณ ขณะนี้อยู่ที่ราคาสูงกว่า 7,000 หยวนจีน/ตัน (1,012 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน) ด้านสื่อท้องถิ่นรายงานว่า น้ำตาลของบริษัทเอกชน Shandong Xingguang Sugar Industry ที่ผลิตจากน้ำตาลทรายดิบที่มีการนำเข้าราคาอยู่ที่ 7,350 หยวนจีน/ตัน(1,063 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน) โดยเมื่อเปรียบเทียบกันต้นทุนของราคาในการนำเข้าน้ำตาลจากบราซิล และไทยอยู่ที่สูงกว่า 8,000 หยวนจีน/ตัน (1,157 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน) ซึ่งน่าจะส่งผลให้การนำเข้าน้ำตาลในเดือนเมษายนลดลง
ถั่วเหลือง
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 21.88
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,046.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,035.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 895.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 887.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 แต่ไม่เปลี่ยนแปลงในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,316.80 ดอลลาร์สหรัฐ (44.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,303.50 ดอลลาร์สหรัฐ (44.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 895.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 887.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 แต่ไม่เปลี่ยนแปลงในรูปเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,190.60 ดอลลาร์สหรัฐ (39.92 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,178.50 ดอลลาร์สหรัฐ (39.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 47.41 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.63 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.96
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,926 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,099 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,341 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,485 บาทคิดเป็นร้อยละ 9.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 83.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.34 คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 88.63 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.43 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 80.91 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ลดลงจากตัวละ 2,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.06 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.71 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 14.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 346 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.58 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 388 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 416 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.27 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.84 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.42บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.80 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 83.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.34 คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 88.63 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.43 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 80.91 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ลดลงจากตัวละ 2,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.06 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.71 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 14.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 346 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.58 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 388 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 416 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.27 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.84 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.42บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.80 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
(สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 – 14 พฤษภาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.44 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.01 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.06 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 127.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.89 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 71.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.95 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 – 14 พฤษภาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.44 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.01 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.06 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 127.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.89 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 71.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.95 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา