สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 31 กรกฎาคม-6 สิงหาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.977 ล้านไร่ ผลผลิต 26.632 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 423 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566
จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 0.038 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 ปริมาณรวม 4.728 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 61.23 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.659 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.19 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,112 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,004 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,813 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,701 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,883 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 32,200 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,783 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,825 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.37                                         
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 ไทย
นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงพาณิชย์ ติดตามสถานการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิดหลังจากที่อินเดียประกาศห้ามส่งออกข้าวขาว ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2566
โดยมอบหมายให้ 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ ติดตามแนวโน้มการส่งออกข้าว ปริมาณความต้องการข้าวจากต่างประเทศ และสถานการณ์ด้านราคาส่งออก กรมการค้าภายใน ติดตามสถานการณ์สต็อกข้าว และราคาข้าวเปลือกในประเทศ และสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศหรือทูตพาณิชย์ ติดตามนโยบายและมาตรการในเรื่องข้าว
ของแต่ละประเทศ เพื่อกระทรวงพาณิชย์จะได้นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนและมาตรการในเรื่องข้าวของไทยต่อไป
โดยเบื้องต้นคาดว่าไทยจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนข้าว เพราะเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวที่สำคัญ และมีผลผลิตเพียงพอสามารถส่งออกได้ โดยในปี 2566 อาจจะส่งออกข้าวได้มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 8 ล้านตัน และราคาข้าวในประเทศจะปรับสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อเกษตรกร ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามสถานการณ์จากที่มีการประเมินว่าภัยแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ
จะส่งผลกระทบต่อเนื่อง 1-3 ปี ซึ่งอาจจะกระทบต่อการเพาะปลูกข้าวของไทย ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง โดยล่าสุด
ได้มีการหารือกับปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อร่วมกันจัดทำแผนการป้องกันปัญหาจากการลดลงของผลผลิต
ที่มา ไทยโพสต์ 
2.2 เวียดนาม
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เวียดนามไม่มีแผนที่จะจำกัดการส่งออกข้าว หลังจากที่อินเดียควบคุมการส่งออก
ข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวในประเทศที่ปรับสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดจากเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนกระทบต่อปริมาณผลผลิตจนทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานข้าวไปทั่วโลก
นายเหวียน หง็อก นาม ประธานสมาคมอาหารเวียดนาม ตัวแทนผู้แปรรูปและส่งออกข้าวของประเทศ กล่าวว่า บริษัทส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงส่งออกข้าวตามปกติ และการเก็บเกี่ยวพืชผลในฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วงยังคงดำเนินต่อไปในเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย และไทย โดยราคาข้าวเวียดนามปรับสูงขึ้นนับตั้งแต่อินเดียระงับส่งออกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ทำให้ราคาข้าว 5% อยู่ที่ตันละ 550-575 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 18,804-19,659 บาท) เป็นราคาสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2554 ที่ตันละ 515-525 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,607-17,949 บาท)
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม ได้สั่งการให้สมาคมอาหารเวียดนามตรวจสอบให้มั่นใจว่า
มีข้าวในประเทศเพียงพอสำหรับความมั่นคงทางอาหาร และขอให้ผู้ค้าข้าวรักษาสมดุลระหว่างการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาข้าวในประเทศ สำหรับการส่งออกข้าวของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2566 ปริมาณ 4.84 ล้านตัน มูลค่า 2,580 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (88,207 ล้านบาท) ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 18.7 และร้อยละ 29.6 ตามลำดับ
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.1888 บาท
2.3 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
กระทรวงเศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ออกคำสั่งห้ามส่งออกข้าว และห้ามส่งข้าวกลับไปนอกประเทศ (Re-export) ระยะเวลา 4 เดือน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งคำสั่งดังกล่าวครอบคลุมเขตปลอดอากรในประเทศ และบังคับใช้กับข้าวทุกชนิด ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวขาว ข้าวซ้อมมือ และปลายข้าว
ทั้งนี้ บริษัทที่ต้องการจะส่งออกข้าวหรือส่งข้าวกลับไปนอกประเทศ จะต้องขอใบอนุญาตส่งออกในแต่ละครั้งจากกระทรวงเศรษฐกิจ ซึ่งคำสั่งห้ามดังกล่าวจะขยายระยะเวลาออกไปโดยอัตโนมัติ ยกเว้นว่าจะมีมติยกเลิกการบังคับใช้ คำสั่งนี้จัดทำขึ้นหลังจากที่รัฐบาลอินเดียมีมติระงับการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ เนื่องจากราคาข้าวในประเทศปรับสูงขึ้น และผลผลิตได้รับความเสียหายจากฝนที่ตกหนักในฤดูมรสุม
ที่มา ซินหัวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.51 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 334.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,419.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 335.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,438.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 19.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 491.00 เซนต์ (6,687.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 542.00 เซนต์ (7,375.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.41 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 688.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.501 ล้านตัน (ร้อยละ 1.53 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.76 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 2.76 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.82 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.74
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.49 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.12
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.50 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,270 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 265 ดอลลาร์สหรัฐ (9,120 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.89
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,310 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,370 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.458 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.262 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.517  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.273 ล้านตันของเดือนมิถุนายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 3.89 และร้อยละ 4.03 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.27 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.56 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.22
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.50 บาท ลดลงจาก กก.ละ 32.38 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.72
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สายการบินอินโดนีเซีย Garuda Indonesia อยู่ในระหว่างการทดสอบการผสมน้ำมันอากาศยาน (Jet fuel) กับน้ำมันปาล์มในเครื่องยนต์เจ็ทของเครื่องบิน Boeing เพื่อมุ่งลดการปล่อยมลภาวะของภาคการบิน และเป็นสายการบินแรกในอินโดนีเซียที่เริ่มทดสอบการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยสัดส่วนการผสมน้ำมันปาล์มที่ใช้ทดสอบอยู่ที่ ร้อยละ 2.40
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,728.14 ริงกิตมาเลเซีย (29.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,992.49 ริงกิตมาเลเซีย (30.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.62
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 957.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.12 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,009.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.20
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         - สมาคมโรงงานน้ำตาลของอินเดีย (ISMA) คาดการณ์ว่า อินเดียมีแนวโน้มที่จะผลิตน้ำตาลได้ 31.68 ล้านตัน ในปี 2566/2567 ซึ่งลดลงร้อยละ 3.41 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 2565/2566 อยู่ที่ 32.8 ล้านตัน โดยอินเดียจะเหลือน้ำตาลในสต็อกปลายปีอยู่ที่ประมาณ 4.2 ล้านตัน ด้านผู้ค้า รายงานว่า ปริมาณ ฝนในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) และรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) ในปีนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 39 ในขณะที่อัตราการนำน้ำตาลไปผลิตเป็นเอทานอลอาจสูงถึง 5.1 ล้านตัน เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำตาลของฤดูกาลใหม่ที่ดีขึ้น
         - นักวิเคราะห์ท้องถิ่นของประเทศจีน กล่าวว่า ในช่วงก่อนหน้านี้ไร่อ้อยในเขตกว่างซี (Guangxi) และมณฑลยูนนาน (Yunnan) ประสบปัญหาขาดน้ำ แต่ปริมาณฝนที่ดีขึ้นในช่วงนี้ช่วยให้ อ้อยฟื้นตัวได้ดีขึ้นส่งผลให้น้ำตาลในปี 2566/2567 ของจีนสามารถกลับสู่ระดับปกติมากขึ้นที่ประมาณ 10 ล้านตัน หลังจากที่ลดลงในปี 2565/2566 ด้านนักวิเคราะห์อีกรายหนึ่ง กล่าวว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) น่าจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อปริมาณผลผลิตน้ำตาลของจีน อย่างไรก็ตาม เอลนีโญที่มีกำลังรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดสภาพอากาศที่แห้งแล้งในเขตกว่างซีและในมณฑลยูนนาน ด้าน Meierya Futures ตั้งข้อสังเกตว่าการเกินปรากฏการณ์เอลนีโญทั้ง 11 ครั้งที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณอ้อยของจีนลดลง 5 ครั้ง และส่งผลให้ปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้น 6 ครั้ง




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,437.2 เซนต์ (18.31 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,509.3 เซนต์ (19.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.3
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 450.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.63 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 459.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.6
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.34 เซนต์ (51.46 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 68.10 เซนต์ (51.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.1


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.00 บาท
ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.70 ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,023.00 ดอลลาร์สหรัฐ (34.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,026.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 846.50 ดอลลาร์สหรัฐ (28.94 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 850.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,405.50 ดอลลาร์สหรัฐ (48.05 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,410.50 ดอลลาร์สหรัฐ (48.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 964.50 ดอลลาร์สหรัฐ (32.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 967.50 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,164.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.80 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,168.25 ดอลลาร์สหรัฐ (39.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.76 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.01 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.77
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,091 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,935 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,495 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,396 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 958 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 942 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณการบริโภคทรงตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  70.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.81 คิดเป็นร้อยละ 0.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 80.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.66 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.23 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.81 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.08 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ลดลงจากตัวละ 15.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท  ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 363 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 361 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 378 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 401 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 399 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 409 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.35 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100. 27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.31 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.68 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.39 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.68 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.79 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.24 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.82 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.39 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท