- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 20-26 พฤศจิกายน 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.838 ล้านไร่ ผลผลิต 26.712 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 425 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.555 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.75 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 22.938 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 89.71 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต 7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08
ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,028 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,246 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,179 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,485 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.92
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,150 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 28,770 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.80
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,350 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 18,870 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 846 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,851 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 824 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,194 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 657 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 602 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,049 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,655 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.26 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 394 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 597 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,874 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,443 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.47 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 431 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.9654 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) กัมพูชา
สำนักข่าว Khmer Times รายงานว่า รัฐบาลติมอร์-เลสเตได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ว่าด้วยการค้าข้าวกับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อนำเข้าข้าวสาร จำนวน 4,000 ตัน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานสถานการณ์ข้าวของกัมพูชา โดยคาดการณ์ว่าในปี 2566/67 มีพื้นที่ปลูกข้าว 18.8 ล้านไร่ และผลผลิต 10.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 เนื่องจากคาดว่าราคาปัจจัยการผลิตลดลง และคาดการณ์การบริโภคข้าวของกัมพูชาในปี 2566/67 จำนวน 4 ล้านตัน ลดลงจากปี 2565/66 เนื่องจากการอพยพของชาวกัมพูชาไปยังประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นในฐานะแรงงานอพยพ ขณะที่กระทรวงเกษตรกัมพูชา รายงานปริมาณสต็อกข้าวที่เก็บสำรองไว้มีประมาณ 433,000 ตัน เนื่องจากการบริโภคลดลง สำหรับการส่งออกข้าวของกัมพูชาในปี 2566/67 คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 2.1 ล้านตัน เนื่องจากสถานการณ์ด้านโลจิสติกส์และการส่งออกข้าวไปยังตลาดสหภาพยุโรปดีขึ้น หลังจากที่สหภาพยุโรปได้ยกเลิกมาตรการปกป้อง (Safeguard Measures) ที่เรียกเก็บภาษีนำเข้าข้าวจากกัมพูชาในอัตรานำเข้าปกติ รวมทั้งสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (The Cambodia Rice Federation: CRF) ได้กำหนดเป้าหมายที่จะลงนามในสัญญากับผู้ซื้อข้าวหลายราย เพื่อให้การส่งออกข้าวสารเป็นไปตามเป้าหมาย 1 ล้านตัน ภายในปี 2568
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2) เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวยังคงทรงตัวในระดับสูง โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ระดับ 650-655 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (ประมาณ 22,728 - 22,902 บาทต่อตัน) ส่งผลให้ผู้ซื้อยังคงชะลอการซื้อข้าวในช่วงนี้ ขณะที่อุปทานข้าวในประเทศ มีปริมาณลดลงหลังจากที่การเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (The summer-autumn crop) สิ้นสุดลง ขณะที่การเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (The winter-spring crop) คาดว่าจะเริ่มต้นในช่วงต้นปี 2567 และผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2567
สำหรับการส่งออกข้าวในช่วงเดือนมกราคม – ตุลาคม 2566 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 7,053,132 ตัน มูลค่าประมาณ 3,946.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 137,977 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 6,084,769 ตัน มูลค่าประมาณ 2,945.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 102,991 ล้านบาท) โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 และร้อยละ 34.0 ตามลำดับ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.9654 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 287.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,035.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 283.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,019.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 16.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 467.00 เซนต์ (6,508.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 474.00 เซนต์ (6,682.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 174.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.84 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 287.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,035.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 283.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,019.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 16.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 467.00 เซนต์ (6,508.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 474.00 เซนต์ (6,682.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 174.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.80 ล้านตัน (ร้อยละ 6.45 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.45 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.93 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 2.93 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.29 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.28 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.73 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.81 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.91
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.96 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.53
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 279.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,820 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 280.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,030 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,960 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,320 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.403 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.507 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.271 ล้านตันของเดือนตุลาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 6.90 และร้อยละ 6.64 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.23 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 6.04 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.15
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.48 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 33.25 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.69
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินเดียชะลอการซื้อน้ำมันปาล์มในเดือนธันวาคม 2566 และมกราคม 2567 เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มที่ปรับตัวสูงขึ้น และโรงกลั่นน้ำมันปาล์มที่มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มมากขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาเริ่มมีปัญหาอัตรากำไรติดลบ การนำเข้าที่ลดลงของอินเดียอาจส่งผลกระทบให้สต็อกน้ำมันในประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อย่างอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นของอินเดียในช่วงที่ผ่านมา ทำให้สต็อกน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 3.3 ล้านตัน (ณ วันที่ 1 พ.ย. 66)
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,823.65 ริงกิตมาเลเซีย (29.23 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,853.48 ริงกิตมาเลเซีย (29.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 955.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.83
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่า ผลผลิตน้ำตาลของยุโรปในปี 2566/2567 จะอยู่ที่ 15.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งอาจส่งผลให้การนำเข้าน้ำตาลของสหภาพยุโรปลดลงประมาณ 500,000 ตัน เหลือ 2.5 ล้านตัน โดย USDA คาดว่า ผลผลิตน้ำตาลของอินเดียจะมีปริมาณอยู่ที่ 36 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ขององค์กรอื่นๆ และคาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลทั่วโลกที่ 183.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8.2 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และสูงกว่าการคาดการณ์ขององค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ (ISO) ซึ่งคาดการณ์ไว้ที่ 179.9 ล้านตัน
- แหล่งข่าวในตลาดน้ำตาลของประเทศบราซิล กล่าวว่า คาดว่าจะมีฝนตกในพื้นที่ภาคกลาง – ใต้ของบราซิล ในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งอาจผลักดันให้โรงงานน้ำตาลต้องยุติการดำเนินงานในปีนี้ และเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำตาลดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ด้านบริษัทน้ำตาล Jalles ของบราซิล กล่าวว่า ฤดูกาลหีบได้สิ้นสุดลง โดยบริษัทหีบอ้อยได้ที่ 7.35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อยที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.3 เพียงพอที่จะชดเชยพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่ลดลงไปร้อยละ 0.9 ได้
- ประธาน Paragon Global Markets รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ราคาซื้อขายน้ำตาลในตลาดล่วงหน้าพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากฝนตกหนักในบราซิลทำให้การเก็บเกี่ยวและการส่งออกล่าช้า รวมถึงฝนตกในสหภาพยุโรป
ที่อาจทำให้ผลผลิตลดลง ต่างเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ด้านผู้ค้า Louis Dreyfus กล่าวเสริมว่า ราคาน้ำตาลในตลาดซื้อขายล่วงหน้าจะเพิ่มขึ้นต่อไป จนอุปสงค์ลดลงและอุปทานน้ำตาลในตลาดโลกมีความสมดุลมากขึ้น ซึ่งราคาอาจสูงกว่า 30 เซนต์/ปอนด์ โดยตลาดโลกยังคงพึ่งพาการส่งออกน้ำตาลจำนวน 3.5 ล้านตันต่อเดือน
จากบราซิล แต่บราซิลสามารถส่งออกน้ำตาลได้เพียง 3 ล้านตันต่อเดือน และจะลดลงเหลือ 2 ล้านตันในเดือนมกราคม 2567 เนื่องจากมีการปิดท่าเรือ และการแข่งขันจากสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดอื่น
- แหล่งข่าวในตลาดน้ำตาลของประเทศบราซิล กล่าวว่า คาดว่าจะมีฝนตกในพื้นที่ภาคกลาง – ใต้ของบราซิล ในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า ซึ่งอาจผลักดันให้โรงงานน้ำตาลต้องยุติการดำเนินงานในปีนี้ และเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำตาลดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ด้านบริษัทน้ำตาล Jalles ของบราซิล กล่าวว่า ฤดูกาลหีบได้สิ้นสุดลง โดยบริษัทหีบอ้อยได้ที่ 7.35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อยที่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.3 เพียงพอที่จะชดเชยพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่ลดลงไปร้อยละ 0.9 ได้
- ประธาน Paragon Global Markets รายงานว่า เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ราคาซื้อขายน้ำตาลในตลาดล่วงหน้าพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากฝนตกหนักในบราซิลทำให้การเก็บเกี่ยวและการส่งออกล่าช้า รวมถึงฝนตกในสหภาพยุโรป
ที่อาจทำให้ผลผลิตลดลง ต่างเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ด้านผู้ค้า Louis Dreyfus กล่าวเสริมว่า ราคาน้ำตาลในตลาดซื้อขายล่วงหน้าจะเพิ่มขึ้นต่อไป จนอุปสงค์ลดลงและอุปทานน้ำตาลในตลาดโลกมีความสมดุลมากขึ้น ซึ่งราคาอาจสูงกว่า 30 เซนต์/ปอนด์ โดยตลาดโลกยังคงพึ่งพาการส่งออกน้ำตาลจำนวน 3.5 ล้านตันต่อเดือน
จากบราซิล แต่บราซิลสามารถส่งออกน้ำตาลได้เพียง 3 ล้านตันต่อเดือน และจะลดลงเหลือ 2 ล้านตันในเดือนมกราคม 2567 เนื่องจากมีการปิดท่าเรือ และการแข่งขันจากสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดอื่น
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.13 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,357.85 เซนต์ (17.35 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,364.40 เซนต์ (17.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.48
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 458.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.95 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 446.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 53.11 เซนต์ (40.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 52.20 เซนต์ (40.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.74
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.13 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,357.85 เซนต์ (17.35 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,364.40 เซนต์ (17.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.48
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 458.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.95 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 446.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.76
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 53.11 เซนต์ (40.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 52.20 เซนต์ (40.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.74
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.37 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 14.51
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 988.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 990.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 818.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 819.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,443.20 ดอลลาร์สหรัฐ (51.13 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,445.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 931.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 933.40 ดอลลาร์สหรัฐ (32.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,011.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.83 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,013.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.77 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.52
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,003.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.10 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 988.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 830.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.05 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 818.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,465.20 ดอลลาร์สหรัฐ (51.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,443.20 ดอลลาร์สหรัฐ (51.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 946.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.08 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 931.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,026.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.90 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,011.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,918 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,040 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,382 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,446 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 933 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 921 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.18 คิดเป็นร้อยละ 0.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 61.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 65.60 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.24 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.50 คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.69 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.58 คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.27 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 11.50 คิดเป็นร้อยละ 8.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.20 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.00 คิดเป็นร้อยละ 3.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.00 คิดเป็นร้อยละ 0.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเมื่อเทียบสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 372 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 371 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 385 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 431 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 405 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 406 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 410 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 416 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 384 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 426 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 465 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.20 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.73 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.65 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 66.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.12 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.17 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.92 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 126.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.40 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 69.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 40.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.20 บาท
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.92 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 126.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.40 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 69.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.08 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 40.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.20 บาท