สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 กันยายน 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกันยายน 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.212 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน    ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนกันยายน 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.017 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนตุลาคม 2567 อีก 0.003 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.06 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,585 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,500 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,555 บาท ราคาลดลงจากตันละ 10,693 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 37,570 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 36,850 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.95   
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,810 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,510 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,129 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,671 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,110 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,625 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 46 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 570 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,514 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 575 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,972 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 458 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,709 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 581 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,170 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 461 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4809 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
นาย Do Ha Nam รองประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association: VFA) เปิดเผยว่า ภาพรวมข้าวของเวียดนาม ในช่วงปี 2565 – 2566 มีการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแดงเพื่อใช้สำหรับการบริโภคในประเทศ และในพื้นที่สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำโขงใช้สำหรับการส่งออกร้อยละ 50 ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตข้าวยังมีประมาณคงเดิม แต่ด้านการส่งออกกลับมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไป โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อาเซียนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71 รองลงมา คือ แอฟริการ้อยละ 20 และสหรัฐร้อยละ 11.25 เมื่อพิจารณาจากประเทศผู้นําเข้าข้าวของเวียดนาม พบว่า ฟิลิปปินส์นําเข้ามากที่สุดในสัดส่วนร้อยละ 38.55 รองลงมา คือ อินโดนีเซียร้อยละ 14.34 สำหรับประเภทข้าวที่มีการส่งออกส่วนใหญ่เป็นข้าวหอม ข้าวพันธุ์OM ข้าวขาว และข้าวหัก
ในปี 2567 พื้นที่เพาะปลูกข้าวของเวียดนามปรับลดลง เนื่องจากมีการปลูกพืชอื่นทดแทน และการเพิ่มขึ้นของพื้นที่เมือง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เช่น ภัยแล้ง ภาวะน้ำเค็ม และพายุ สำหรับด้านการส่งออก ในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคม 2567 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 6.150 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 6 โดยส่งออกไปยังอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกข้าวอีก 4 เดือนสุดท้ายของปี 2567 อาจได้รับผลกระทบจากภาวะเอลนีโญ ลานีญา และพายุไต้ฝุ่นยางิ ทำให้ปริมาณและคุณภาพข้าวลดลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเวียดนามให้ความสำคัญกับการเพิ่มคุณภาพข้าวมากกว่าการเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวในประเทศ โดยเฉพาะข้าวหอมและข้าวเหนียวที่ทำให้การส่งออกข้าวประสบความสำเร็จมากในปีที่ผ่านมา และพยายามปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
นอกจากนี้ สมาคมอาหารของเวียดนาม รายงานว่า ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามปรับสูงขึ้นระดับสูงสุดตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม เนื่องจากพื้นที่บางส่วนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ขณะที่ตลาดนําเข้าข้าวของเวียดนาม เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ยังคงมีความต้องการนําเข้าอย่างต่อเนื่อง
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2) มาเลเซีย
สำนักข่าว Associate Press (AP) รายงานว่า หน่วยงานของจีนได้มอบข้าวพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงแก่เกษตรกรมาเลเซีย เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตและลดการพึ่งพาการนําข้าวจากต่างประเทศ ซึ่งข้าวพันธุ์ดังกล่าวได้รับ การพัฒนาขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์จีน ณ ศูนย์เพาะพันธุ์หนานฟาน เมืองซานย่า เกาะไหหลำ ทางตอนใต้ของจีน โดยมีการทดลองปลูกข้าวพันธุ์สองฤดู ได้ผลผลิตประมาณ 22.5 ตันต่อเฮกตาร์ (ประมาณ 3.60 ตันต่อไร่) นับเป็นปริมาณผลผลิตที่สูงมาก และให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์ทั่วไปถึงร้อยละ 20 – 30 ทั้งนี้ มาเลเซียได้เริ่มปลูกข้าวสายพันธุ์นี้แล้ว ซึ่งสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ จากเดิม 8 ตันต่อเฮกตาร์ (ประมาณ 1.28 ตันต่อไร่) เป็น 12 ตันต่อเฮกตาร์ (ประมาณ 1.92 ตันต่อไร่) ส่งผลให้ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่หันมาปลูกข้าวพันธุ์ลูกผสมของจีนมากขึ้น
นายโมฮัมหมัด ซาบาวีอับดุล กานี ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรแห่งมาเลเซีย (Malaysian Agricultural Research and Development Institute: MARDI) กล่าวว่า ปัจจุบันมาเลเซียมีการผลิตข้าวโดยพึ่งตนเองได้เพียงร้อยละ 65 เท่านั้น การสนับสนันพันธุ์ข้าวดังกล่าวจึงเป็นโอกาสที่จะได้ร่วมมือกับจีน และจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมข้าวของมาเลเซียเป็นอย่างมาก เนื่องจากมาเลเซียประสบปัญหาการขาดแคลนข้าว สามารถผลิตข้าวได้เพียงร้อยละ 70 ของความต้องการบริโภคภายในประเทศ จึงจำเป็นต้องนําเข้าข้าวจากต่างประเทศปีละประมาณ 0.9 – 10.0 ล้านตัน ซึ่งรวมถึงจากประเทศไทย เวียดนาม อินเดีย ปากีสถาน และกัมพูชา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5%
สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.25 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.43 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.80
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  10.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 320.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,381.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 321.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,605.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 224.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 414.00 เซนต์ (5,366.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 409.00 เซนต์ (5,375.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 9.00 บาท



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ
โดยเดือน กันยายน 2567   คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.62 ล้านตัน (ร้อยละ 2.30 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับฝนตกในหลายพื้นที่
ทำให้หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากสิ่งเจือปนสูงและเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.04 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.00
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.83
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.09 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.37 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.80
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.35
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 242.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,970 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 242.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,070 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 507.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,660 บาทต่อตัน)  ราคาลดลงจาก ตันละ 511.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,010 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.78


 


ปาล์มน้ำมัน
 

 


อ้อยและน้ำตาล
 
 1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - บริษัท Raizen ของบราซิล รายงานว่า บริษัทอาจต้องปรับลดคาดการณ์ปริมาณอ้อยในฤดูกาลนี้
ลงเล็กน้อย เนื่องจากไฟป่าและสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และหากในฤดูกาล 2568/2569 สภาพอากาศที่แห้งแล้งยังคงดำเนินต่อไป ปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อยในพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้อาจลดลง ขณะที่สถาบัน Pecege ได้ประกาศปรับลดประมาณการสัดส่วนของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลสำหรับภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในฤดูกาลนี้ จากร้อยละ 52.00 เหลือร้อยละ 50.40 และอาจลดลงมากกว่านี้หากสภาพอากาศยังคงแห้งแล้ง สอดคล้องกับบริษัท SCA Brasil ที่คาดการณ์ว่า สัดส่วนของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลในฤดูหีบนี้จะลดลง โดย SCA Brasil ได้ปรับลดประมาณการอ้อยเข้าหีบในฤดูกาลนี้จาก 620 ล้านตัน เหลือ 600 - 605 ล้านตัน และกล่าวว่า หากมีปริมาณฝนที่ดีจะสามารถบรรเทาความเสียหายจากความแห้งแล้ง และไฟไหม้ในฤดูกาล 2568/2569 ได้ ด้านชาวไร่อ้อยในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) กล่าวว่า อ้อยที่ได้รับผลกระทบจากไฟไหม้อาจเติบโตล่าช้าถึง 3 เดือน และมีต้นทุนการฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 135 ดอลลาร์สหรัฐฯ/เฮกตาร์
           - บริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting รายงานว่า การปิดหีบอ้อยในภาคกลาง - ใต้ของบราซิลในปีนี้
จะใช้เวลาประมาณหกเดือน โดยจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2567 ถึงกลางเดือนเมษายน 2568 หรืออาจยาวนานถึงต้นเดือนพฤษภาคม 2568 ซึ่งเป็นการปิดหีบอ้อยที่ยาวนานที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ด้านบริษัท
ที่ปรึกษา Covrig Analytics กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาคกลาง – ใต้ของบราซิลจะมีน้ำตาลในสต็อกขั้นสุดท้ายเมื่อสิ้นสุด
ไตรมาสแรกเพียง 790,000 ตัน โดยบริษัท McDougall Global View ประเมินว่า ผลผลิตที่ย่ำแย่ในบราซิลจะทำให้ตั๋วซื้อน้ำตาลสุทธิ (Net long) ของกองทุนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 60,000 สัญญา
(ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,048.24 เซนต์ (12.67 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,009.92 เซนต์ (12.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.79
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 328.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.82 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 318.66 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.19
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 43.21 เซนต์ (31.33 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 41.04 เซนต์ (30.23 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.29


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1078.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ1059.20 ดอลลาร์สหรัฐ (34.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 923.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 907.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,605.40 ดอลลาร์สหรัฐ (52.14 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,576.40 ดอลลาร์สหรัฐ (52.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.84 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1202.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.06 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1181.00 ดอลลาร์สหรัฐ (38.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 948.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.81 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ ละ 931.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.83 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.03 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.42
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,037 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,039 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.10
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,499 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.22 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.24 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.91 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.83 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.45 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายราคาไก่เนื้อทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.91 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.58 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.00 บาท บาท คิดเป็นร้อยละ 2.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 379 บาท  สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 378 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 367 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 419 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 423  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 447 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 424 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 395 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 434 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 510 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 78.80 บาท สูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 78.38 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.36 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.11 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.82 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 กันยายน 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.55 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.11 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.95 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 133.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.53 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.45 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.50 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 26.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา