- หน้าแรก
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- รายละเอียดข่าว
ผอ.สศท.2 ร่วมประชุมผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เขตตรวจราชการที่ 16 ในพื้นที่จังหวัดน่าน
ผอ.สศท.2 ร่วมประชุมผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เขตตรวจราชการที่ 16 และการขับเคลื่อนพัฒนา Soft power ภาคการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดน่าน
วันที่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2568 นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (ผอ.สศท.2 พิษณุโลก) พร้อมด้วยนางสุธาทิพย์ ศรีสรรพกิจ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมประชุมผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2568 เขตตรวจราชการที่ 16 ณ ห้องประชุมเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดน่าน เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานตามนโยบาย 9 เรื่อง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนางสาวนนทิชา วรรณสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 16 เป็นประธานการประชุม
ในการนี้ ผอ.สศท.2 ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปี 2567 ตามนโยบายที่ 9 การอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร ให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งท่านผู้ตรวจฯ ได้ เสนอแนะประเด็นพัฒนาเพื่อปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ และเป็นแนวทางขับเคลื่อนโครงการปี 2568 ดังนี้
1) คณะทำงานออกแบบประกันภัยพืชผล ควรเร่งพิจารณาจัดทำรายละเอียดเงื่อนไขในโครงการเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนประกันภัยภาคเกษตรพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีระยะเวลาเพียงพอในการประชาสัมพันธ์ และขายกรมธรรม์ได้ทันก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด
2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน-นอกสังกัด กษ. ควรสร้างการรับรู้ และให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการปรับปรุงทะเบียนเกษตรให้เป็นปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการ
3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโฉนด/นส.3 ควรเร่งดำเนินการ เพื่อให้เกษตรกรมีคุณสมบัติในการเข้าร่วมโครงการได้
4) ประชาสัมพันธ์โครงการด้วยสื่อที่หลากหลายให้ครอบคลุมและเข้าถึงเกษตรกรให้มากที่สุด อาทิ
- การจัดทำสื่อ Infographic / แผ่นพับ นำเสนอเป็นวาระประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือนเป็นรายอำเภอ
- การจัดทำสื่อ Infographic / แผ่นพับ เผยแพร่ให้กลุ่มเกษตรกรรับทราบ ผ่านสื่อโซเชียล (line/facebook)
- การประกาศเสียงตามสายในชุมชน
- การประชาสัมพันธ์ข่าว ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ในท้องถิ่น และระดับประเทศ
5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธ.ก.ส. และ คปภ.ควรบูรณาการทำสื่อที่บอกถีงประโยชน์ของโครงการที่ชัดเจน โดดเด่น สะดุดตา สะกดใจ อาทิ การใช้คำว่า “ได้แล้วได้อีก” และ “ประกันภัยพืชผลอนุมัติเร็ว/เคลมไว ภายใน 15 วัน ” ฯลฯ
6) ควรทยอยลดการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อให้เกษตรกรปรับตัวหากภาครัฐลดการช่วยเหลือ
นอกจากนี้ ได้ร่วมลงพื้นที่ศึกษาดูงานกลุ่มแปลงใหญ่กาแฟมณีพฤกษ์ โดยเยี่ยมชมแปลงปลูก โรงคั่วกาแฟ และจุดจำหน่ายกาแฟ เพื่อขับเคลื่อนพัฒนา Soft power ภาคการเกษตร เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ร่วมกับคณะตรวจราชการฯ และ สศก.ส่วนกลางนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายพัฒนาการเกษตรชนบท (นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ) และเจ้าหน้าที่ จากนั้นได้เยี่ยมชมโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางแกในพื้นที่ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ภาพ/ข่าว: คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก
วันที่ 3 - 4 กุมภาพันธ์ 2568 นางธัญญ์พิชชา เถระรัชชานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 2 (ผอ.สศท.2 พิษณุโลก) พร้อมด้วยนางสุธาทิพย์ ศรีสรรพกิจ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร เข้าร่วมประชุมผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2568 เขตตรวจราชการที่ 16 ณ ห้องประชุมเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดน่าน เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานตามนโยบาย 9 เรื่อง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีนางสาวนนทิชา วรรณสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 16 เป็นประธานการประชุม
ในการนี้ ผอ.สศท.2 ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปี 2567 ตามนโยบายที่ 9 การอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร ให้ที่ประชุมรับทราบ ซึ่งท่านผู้ตรวจฯ ได้ เสนอแนะประเด็นพัฒนาเพื่อปรับปรุงรายละเอียดโครงการฯ และเป็นแนวทางขับเคลื่อนโครงการปี 2568 ดังนี้
1) คณะทำงานออกแบบประกันภัยพืชผล ควรเร่งพิจารณาจัดทำรายละเอียดเงื่อนไขในโครงการเสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนประกันภัยภาคเกษตรพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีระยะเวลาเพียงพอในการประชาสัมพันธ์ และขายกรมธรรม์ได้ทันก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกพืชแต่ละชนิด
2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน-นอกสังกัด กษ. ควรสร้างการรับรู้ และให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการปรับปรุงทะเบียนเกษตรให้เป็นปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการ
3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโฉนด/นส.3 ควรเร่งดำเนินการ เพื่อให้เกษตรกรมีคุณสมบัติในการเข้าร่วมโครงการได้
4) ประชาสัมพันธ์โครงการด้วยสื่อที่หลากหลายให้ครอบคลุมและเข้าถึงเกษตรกรให้มากที่สุด อาทิ
- การจัดทำสื่อ Infographic / แผ่นพับ นำเสนอเป็นวาระประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประจำเดือนเป็นรายอำเภอ
- การจัดทำสื่อ Infographic / แผ่นพับ เผยแพร่ให้กลุ่มเกษตรกรรับทราบ ผ่านสื่อโซเชียล (line/facebook)
- การประกาศเสียงตามสายในชุมชน
- การประชาสัมพันธ์ข่าว ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ในท้องถิ่น และระดับประเทศ
5) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธ.ก.ส. และ คปภ.ควรบูรณาการทำสื่อที่บอกถีงประโยชน์ของโครงการที่ชัดเจน โดดเด่น สะดุดตา สะกดใจ อาทิ การใช้คำว่า “ได้แล้วได้อีก” และ “ประกันภัยพืชผลอนุมัติเร็ว/เคลมไว ภายใน 15 วัน ” ฯลฯ
6) ควรทยอยลดการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกรตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อให้เกษตรกรปรับตัวหากภาครัฐลดการช่วยเหลือ
นอกจากนี้ ได้ร่วมลงพื้นที่ศึกษาดูงานกลุ่มแปลงใหญ่กาแฟมณีพฤกษ์ โดยเยี่ยมชมแปลงปลูก โรงคั่วกาแฟ และจุดจำหน่ายกาแฟ เพื่อขับเคลื่อนพัฒนา Soft power ภาคการเกษตร เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ร่วมกับคณะตรวจราชการฯ และ สศก.ส่วนกลางนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายพัฒนาการเกษตรชนบท (นางสาวพรชาตา บุสสุวัณโณ) และเจ้าหน้าที่ จากนั้นได้เยี่ยมชมโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางแกในพื้นที่ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
ภาพ/ข่าว: คณะทำงานประชาสัมพันธ์ สศท.2 พิษณุโลก