- หน้าแรก
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- รายละเอียดข่าว
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน
วันที่ 23-24 มิถุนายน 2561 นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประธานคณะทำงานติดตามประเมินผลแผนงานยุทธศาสตร์การปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร พร้อมเจ้าหน้าที่ สศท.1 ลงพื้นที่ติดตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แผนงานยุทธศาสตร์ปฏิรูปโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน ผลการติดตาม พบว่า
1. โครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการจำนวน 6 สหกรณ์ โดยได้ติดตามโครงการ ณ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด มีสมาชิกและสมาชิกสมทบรวม 187 ราย จัดตั้งเพื่อดูแลคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนให้สมาชิก และขายไข่ไก่ ซึ่งสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากโครงการ จำนวน 1,655,200 บาท เพื่อจัดชื้อเครื่องล้างถาดไข่ 1,209,300 บาท และเครื่องทำเต้าหู้ไข่ 445,900 บาท และสหกรณ์สมทบอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (184,022 บาท) สามารถดำเนินการได้ตามแผน ขณะนี้ได้ทำสัญญาชื้อขายเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอการส่งมอบ ซึ่งสหกรณ์จะสามารถลดต้นทุนค่าแรงการคัดไข่ไก่ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงเพิ่มรายได้จากธุรกิจแปรรูปเต้าหู้ไข่ไก่ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรสมาชิกต่อไป ทั้งนี้ประธานคณะทำงานติดตามฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับการขยายตลาด และการทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากไข่ไก่ เช่น การแยกขายไข่ขาว จำหน่ายให้กับกลุ่มผู้รักสุขภาพ และไข่แดง เพื่อจำหน่ายไปเป็นวัตถุดิบให้กับกลุ่มร้านเบเกอรี่ เป็นต้น
2. โครงการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ จังหวัดลำพูน ดำเนินการโครงการสร้างฝายฯ จำนวน 90 ฝาย มีผลการดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 5 ฝาย อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างจำนวน 4 ฝาย และยังไม่ได้ดำเนินการจำนวน 81 ฝาย จากการติดตามโครงการ ณ พื้นที่ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน พบว่า 1) การก่อสร้างอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ในพื้นที่ก่อสร้างบางจุดมีปริมาณน้ำมากต้องชะลอการก่อสร้างไปจนกว่าปริมาณน้ำจะลดลง 2) การขาดแคลนแรงงาน เพราะมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการน้อย เนื่องจาก ค่าจ้างแรงงานไม่จูงใจเมื่อเทียบกับค่าจ้างแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยที่มีการจ้างแรงงานในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งแนวทางแก้ไขเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ได้หารือกับคณะกรรมการชุมชน ในการประชาสัมพันธ์จูงใจให้เกษตรกรในชุมชนเห็นถึงประโยชน์ระยะยาว และการใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน 3) แรงงานที่เข้าร่วมโครงการขาดทักษะ ความชำนาญเกี่ยวกับการสร้างฝาย 4) งบประมาณยังไม่สามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้ เนื่องจากตามระเบียบคู่มือไทยนิยมฯ ของกรมพัฒนาที่ดิน ต้องดำเนินการเบิกจ่ายพร้อมกันเป็นรายตำบล ส่งผลให้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และร้านค้าวัสดุก่อสร้างยังไม่ได้รับเงินจากการจ้างงานและจากการจำหน่ายวัสดุในการก่อสร้าง ทั้งนี้ประธานคณะทำงานติดตามฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น วิธีการแก้ไขปัญหาแรงงานขาดทักษะความเชี่ยวชาญ โดยการจัดทำคลิปวิดีโอให้เกษตรกร ได้ศึกษาวิธีการสร้างฝาย เป็นต้น
3. โครงการเสริมสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กิจกรรมอาสาปศุสัตว์เพื่อการพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรรายย่อย จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานอบรมเกษตรกรในกิจกรรมอาสาปศุสัตว์ หลักสูตรพนักงานผสมเทียม (อาสาปศุสัตว์ผสมเทียม) โดยมีเป้าหมายในการฝึกอบรมเกษตรกรในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน จำนวน 5 รุ่น รวม 230 ราย มีระยะเวลาในการอบรม 16 วันต่อรุ่น ผลการดำเนินงาน พบว่า ดำเนินการอบรมแล้วเสร็จจำนวน 1 รุ่น เกษตรกร 49 ราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการอบรม รุ่นที่ 2 เกษตรกร จำนวน 50 ราย จากการติดตาม พบว่า เกษตรกรมีความตั้งใจจริง ในการเข้ารับการอบรมที่มีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้เกษตรกรได้ฝึกการผสมเทียมในโคตามสถานการณ์จริง เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ ทั้งนี้ประธานคณะทำงานติดตามฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับอาสาปศุสัตว์ว่าเป็นบุคคลากรที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวนโคที่มีสายพันธุ์คุณภาพ รวมทั้ง สามารถสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเชื่อมโยงการตลาดโคในพื้นที่ได้ ต่อไป
1. โครงการสนับสนุนอุปกรณ์แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่มีสหกรณ์เข้าร่วมโครงการจำนวน 6 สหกรณ์ โดยได้ติดตามโครงการ ณ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด มีสมาชิกและสมาชิกสมทบรวม 187 ราย จัดตั้งเพื่อดูแลคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนให้สมาชิก และขายไข่ไก่ ซึ่งสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด ได้รับงบประมาณอุดหนุนจากโครงการ จำนวน 1,655,200 บาท เพื่อจัดชื้อเครื่องล้างถาดไข่ 1,209,300 บาท และเครื่องทำเต้าหู้ไข่ 445,900 บาท และสหกรณ์สมทบอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (184,022 บาท) สามารถดำเนินการได้ตามแผน ขณะนี้ได้ทำสัญญาชื้อขายเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอการส่งมอบ ซึ่งสหกรณ์จะสามารถลดต้นทุนค่าแรงการคัดไข่ไก่ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงเพิ่มรายได้จากธุรกิจแปรรูปเต้าหู้ไข่ไก่ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรสมาชิกต่อไป ทั้งนี้ประธานคณะทำงานติดตามฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับการขยายตลาด และการทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากไข่ไก่ เช่น การแยกขายไข่ขาว จำหน่ายให้กับกลุ่มผู้รักสุขภาพ และไข่แดง เพื่อจำหน่ายไปเป็นวัตถุดิบให้กับกลุ่มร้านเบเกอรี่ เป็นต้น
2. โครงการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ จังหวัดลำพูน ดำเนินการโครงการสร้างฝายฯ จำนวน 90 ฝาย มีผลการดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 5 ฝาย อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างจำนวน 4 ฝาย และยังไม่ได้ดำเนินการจำนวน 81 ฝาย จากการติดตามโครงการ ณ พื้นที่ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน พบว่า 1) การก่อสร้างอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้ในพื้นที่ก่อสร้างบางจุดมีปริมาณน้ำมากต้องชะลอการก่อสร้างไปจนกว่าปริมาณน้ำจะลดลง 2) การขาดแคลนแรงงาน เพราะมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการน้อย เนื่องจาก ค่าจ้างแรงงานไม่จูงใจเมื่อเทียบกับค่าจ้างแรงงานเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยที่มีการจ้างแรงงานในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งแนวทางแก้ไขเบื้องต้น เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ได้หารือกับคณะกรรมการชุมชน ในการประชาสัมพันธ์จูงใจให้เกษตรกรในชุมชนเห็นถึงประโยชน์ระยะยาว และการใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชน 3) แรงงานที่เข้าร่วมโครงการขาดทักษะ ความชำนาญเกี่ยวกับการสร้างฝาย 4) งบประมาณยังไม่สามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้ เนื่องจากตามระเบียบคู่มือไทยนิยมฯ ของกรมพัฒนาที่ดิน ต้องดำเนินการเบิกจ่ายพร้อมกันเป็นรายตำบล ส่งผลให้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ และร้านค้าวัสดุก่อสร้างยังไม่ได้รับเงินจากการจ้างงานและจากการจำหน่ายวัสดุในการก่อสร้าง ทั้งนี้ประธานคณะทำงานติดตามฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น วิธีการแก้ไขปัญหาแรงงานขาดทักษะความเชี่ยวชาญ โดยการจัดทำคลิปวิดีโอให้เกษตรกร ได้ศึกษาวิธีการสร้างฝาย เป็นต้น
3. โครงการเสริมสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กิจกรรมอาสาปศุสัตว์เพื่อการพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรรายย่อย จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานอบรมเกษตรกรในกิจกรรมอาสาปศุสัตว์ หลักสูตรพนักงานผสมเทียม (อาสาปศุสัตว์ผสมเทียม) โดยมีเป้าหมายในการฝึกอบรมเกษตรกรในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แม่ฮ่องสอน แพร่ และน่าน จำนวน 5 รุ่น รวม 230 ราย มีระยะเวลาในการอบรม 16 วันต่อรุ่น ผลการดำเนินงาน พบว่า ดำเนินการอบรมแล้วเสร็จจำนวน 1 รุ่น เกษตรกร 49 ราย และอยู่ระหว่างการดำเนินการอบรม รุ่นที่ 2 เกษตรกร จำนวน 50 ราย จากการติดตาม พบว่า เกษตรกรมีความตั้งใจจริง ในการเข้ารับการอบรมที่มีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้เกษตรกรได้ฝึกการผสมเทียมในโคตามสถานการณ์จริง เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพได้ ทั้งนี้ประธานคณะทำงานติดตามฯ ได้ให้ข้อคิดเห็น เกี่ยวกับอาสาปศุสัตว์ว่าเป็นบุคคลากรที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มจำนวนโคที่มีสายพันธุ์คุณภาพ รวมทั้ง สามารถสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเชื่อมโยงการตลาดโคในพื้นที่ได้ ต่อไป
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/pg/zone1chm/photos/?tab=album&album_id=1764730900287140