- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
เจาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีนี้ให้ผลผลิต 5 ล้านตัน สิงหาคม รุ่น 1 เริ่มทยอยออกตลาด
ข่าวที่ 89/2561 วันที่ 24 สิงหาคม 2561
เจาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีนี้ให้ผลผลิต 5 ล้านตัน สิงหาคม รุ่น 1 เริ่มทยอยออกตลาด
สศก. เกาะติดสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ ปีนี้ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 5 ล้านตัน เผย ผลผลิตรุ่น 1 เริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้วเดือนสิงหาคมนี้ ด้าน นบขพ. ได้กำหนดมาตรการกำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และขอความร่วมมือโรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ ณ ความชื้น 14.5% ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561 (ปีเพาะปลูก 2561/62) ข้อมูลผลพยากรณ์ ณ เดือนมิถุนายน 2561 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศอยู่ที่ 6.708 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้วที่จำนวน 6.716 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 0.12) เนื้อที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งประเทศ 6.668 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 6.673 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 0.08) ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 5.003 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 4.957 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92) ผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 746 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้วที่ให้ผลผลิต 738 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08)
สำหรับเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1(ปลูกระหว่าง มีนาคม – ตุลาคม) คาดว่าลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง เช่น ราคาเมล็ดพันธุ์ และสารเคมี เป็นต้น เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกมันสำปะหลังโรงงานและอ้อยโรงงานเพราะราคาจูงใจ และจากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ สศก. ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว นครราชสีมา เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากฝนไม่ทิ้งช่วง ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุดของประเทศ (ร้อยละ 12.5) มีเนื้อที่เพาะปลูก 845,258 ไร่ ลดลงจากปีก่อนซึ่งมีเนื้อที่ 851,132 ไร่ (ลดลงร้อยละ 0.69)มีผลผลิต 655,448 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่จำนวน 654,018 ตัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.22) ผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูก 775 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ให้ผลผลิต768 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.91) ทั้งนี้จังหวัดเพชรบูรณ์มีแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 แปลง เนื้อที่ 14,973 ไร่ ผลผลิตประมาณ 11,140 ตัน
ด้านราคาที่เกษตรกรขายได้ความชื้น 14.5 % ในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2561 อยู่ที่กิโลกรัมละ 8.23 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.26 บาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 31.47 โดยผลผลิตรุ่น 1 เริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้วในเดือนสิงหาคมนี้ และจะออกมากช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) กำหนดให้คงสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศในอัตราส่วน 1 : 3 ยกเว้นเฉพาะช่วงระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม กำหนดสัดส่วนในอัตรา 1 : 2 เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และเพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยมาตรการดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และตามความเหมาะสม ทั้งยังได้ขอความร่วมมือให้โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ความชื้น 14.5% ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย
สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ ปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบทดแทน เช่น ข้าวสาลี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนาปี 2561 หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ปลูกระหว่าง พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ในพื้นที่ 32 จังหวัด บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมหารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ สมาคมเมล็ดพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ภาคเอกชนร่วมมือในการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในราคาขั้นต่ำ ณ ความชื้น 30% ที่ราคา 5 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมนี้ได้มีการหารือแนวทางการดำเนินการประกันภัยให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในพื้นที่ 2 ล้านไร่ ระยะเวลาคุ้มครองเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561- เมษายน 2562 ดำเนินการผ่านสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยแนวทางและมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกันยายนนี้
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561 (ปีเพาะปลูก 2561/62) ข้อมูลผลพยากรณ์ ณ เดือนมิถุนายน 2561 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศอยู่ที่ 6.708 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้วที่จำนวน 6.716 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 0.12) เนื้อที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งประเทศ 6.668 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 6.673 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 0.08) ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 5.003 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 4.957 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92) ผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 746 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่แล้วที่ให้ผลผลิต 738 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08)
สำหรับเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1(ปลูกระหว่าง มีนาคม – ตุลาคม) คาดว่าลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง เช่น ราคาเมล็ดพันธุ์ และสารเคมี เป็นต้น เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกมันสำปะหลังโรงงานและอ้อยโรงงานเพราะราคาจูงใจ และจากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ สศก. ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว นครราชสีมา เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากฝนไม่ทิ้งช่วง ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุดของประเทศ (ร้อยละ 12.5) มีเนื้อที่เพาะปลูก 845,258 ไร่ ลดลงจากปีก่อนซึ่งมีเนื้อที่ 851,132 ไร่ (ลดลงร้อยละ 0.69)มีผลผลิต 655,448 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่จำนวน 654,018 ตัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.22) ผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูก 775 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ให้ผลผลิต768 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.91) ทั้งนี้จังหวัดเพชรบูรณ์มีแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 แปลง เนื้อที่ 14,973 ไร่ ผลผลิตประมาณ 11,140 ตัน
ด้านราคาที่เกษตรกรขายได้ความชื้น 14.5 % ในช่วงเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2561 อยู่ที่กิโลกรัมละ 8.23 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.26 บาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 31.47 โดยผลผลิตรุ่น 1 เริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้วในเดือนสิงหาคมนี้ และจะออกมากช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) กำหนดให้คงสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศในอัตราส่วน 1 : 3 ยกเว้นเฉพาะช่วงระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม กำหนดสัดส่วนในอัตรา 1 : 2 เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และเพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยมาตรการดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และตามความเหมาะสม ทั้งยังได้ขอความร่วมมือให้โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ความชื้น 14.5% ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย
สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ ปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบทดแทน เช่น ข้าวสาลี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนาปี 2561 หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ปลูกระหว่าง พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์) ในพื้นที่ 32 จังหวัด บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมหารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ สมาคมเมล็ดพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ภาคเอกชนร่วมมือในการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในราคาขั้นต่ำ ณ ความชื้น 30% ที่ราคา 5 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมนี้ได้มีการหารือแนวทางการดำเนินการประกันภัยให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในพื้นที่ 2 ล้านไร่ ระยะเวลาคุ้มครองเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561- เมษายน 2562 ดำเนินการผ่านสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยแนวทางและมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกันยายนนี้
***********************************
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร / ศูนย์สารสนเทศการเกษตร/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 จังหวัดนครสวรรค์
ข้อมูล : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร / ศูนย์สารสนเทศการเกษตร/ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 จังหวัดนครสวรรค์