- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 24-30 มกราคม 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,120 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,921 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,932 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,870 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,850 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 25,370 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 756 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,816 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 750 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,618 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 198 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,377 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,983 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.82 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 394 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,279 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,885 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.84 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 394 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.8252 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
กัมพูชา
ประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (the president of the Cambodian Rice Federation; CRF) ค่าดว่า
การส่งออกข้าวสารของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปในปี 2565 นี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังจากมีการเพิกถอนมาตราการ
ทางภาษีนําเข้าข้าวจากกัมพูชา ซึ่งคาดว่าการส่งออกข้าวสารไปยังสหภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้นแต่อาจจะไม่สูงมากนัก เนื่องจากกัมพูชามุ่งเน้นการส่งออกข้าวหอมและข้าวคุณภาพสูงระดับพรีเมียม (fragrant rice and premium high-quality rice) มากกว่า
ในปี 2561 สหภาพยุโรปกําหนดอัตราภาษีนําเข้าภายใต้มาตรการป้องกัน (the safeguard scheme)
เป็นการชั่วคราวเพื่อปกป้องเกษตรกรของสหภาพยุโรป หลังจากการที่มีการนําเข้าข้าวเมล็ดยาวที่มีราคาถูกจากกัมพูชาและเมียนมาร์เพิ่มมากขึ้น ภายใต้โครงการสิทธิพิเศษทางภาษี Everything But Arms (EBA) ของสหภาพยุโรป
โดยสหภาพยุโรปได้กําหนดอัตราภาษีนําเข้าข้าวจากกัมพูชาและเมียนมาร์ที่อัตรา 198 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในปีแรก (2561) และในปีต่อมา (2562) ที่อัตรา 170 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และ 142 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในปีที่ 3 (2563) ตามลําดับ
ในปี 2016 (2559) ตลาดสหภาพยุโรปคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของ กัมพูชา แต่ในปี 2021 (2564) สัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 20 ซึ่งเป็นผลจากมาตรการภาษีนําเข้าข้าวจากกัมพูชา
ทั้งนี้ ก่อนมีมาตรการทางภาษีนําเข้าข้าว กัมพูชาเคยส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปปีละประมาณ 300,000 ตัน แต่หลังจากที่มีมาตรการทางภาษีศุลกากร ทําให้การส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปลดลงเหลือประมาณ 140,000 ตัน โดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชามีความกระตือรือร้นที่จะเพิ่มการส่งออกข้าวให้กลับไปสู่ระดับก่อนที่จะมีมาตรการทางภาษีอย่างช้าๆ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับตัวสูงขึ้นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564) เนื่องจากมีปัญหาด้านการขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟภายในประเทศ ซึ่งส่งผลให้อุปทานข้าวในตลาดค่อนข้างตึงตัว ประกอบกับค่าเงินรูปีมีทิศทางแข็งค่าขึ้น โดยราคาข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 375-382 ดอลลาร์สหรัฐฯ (เป็นราคาสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2564) เพิ่มขึ้นจากตันละ 367-375 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อน
สํานักข่าว Bloomberg รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ของอินเดีย (the Commerce Ministry) คาดว่า
ในปีงบประมาณ 2021/22 (เมษายน 2564-มีนาคม 2565) อินเดียจะสามารถส่งออกข้าวได้ประมาณ 21-22 ล้านตัน และคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรจะมีมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นมูลค่าส่งออกที่มากเป็นประวัติการณ์ของอินเดีย และมากกว่ามูลค่าส่งออกในปีงบประมาณ 2020/21 ที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าประมาณ 41,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ไนจีเรีย
หนังสือพิมพ์ the Leadership ของประเทศไนจีเรียรายงานโดยอ้างถึงกรมศุลกากรไนจีเรีย (the Nigeria Customs Service; NCS) ว่า รัฐบาลไนจีเรียได้สั่งห้ามการนําเข้าข้าวนึ่งผ่านทางท่าเรือของประเทศ (the seaports)
ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2016 (2559) รัฐบาลไนจีเรียสั่งห้ามการนําเข้าข้าวผ่านพรมแดน (land borders)
ของประเทศที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน หลังจากที่ธนาคารกลางของไนจีเรีย (the Central Bank of Nigeria; CBN)
หยุดทําธุรกรรมที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราสําหรับการนําเข้าข้าวผ่านทางท่าเรือ
ทั้งนี้ มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรไนจีเรีย (NCS) ได้สกัดกั้นตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกข้าวนึ่งที่มาจากต่างประเทศ โดยผู้บริหารระดับสูงของ NCS กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า รัฐบาลได้สั่งห้ามการนําเข้าข้าวจากต่างประเทศซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการส่งเสริมการผลิตข้าวในประเทศ
นอกจากนี้ TVC News ยังรายงานว่า การผลิตข้าวในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 5.4 ล้านตัน ในปี 2015 (2558) เป็นมากกว่า 9 ล้านตัน ในปี 2021 (2564) ซึ่งเป็นมาจากการดําเนินการตามโครงการ Anchor Borrower's Program (ABP)
จนถึงขณะนี้โครงการดังกล่าว (ABP) ได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยกว่า 4.8 ล้านคน ทั่วประเทศ สําหรับการผลิตสินค้าเกษตร 23 รายการ เช่น ข้าวโพด ข้าว ปาล์มน้ำมัน โกโก้ ฝ้าย มันสําปะหลัง มะเขือเทศ ปศุสัตว์และอื่นๆ ซึ่งก่อนการดําเนินการของโครงการ ABP ประเทศไนจีเรียมีโรงสีข้าวมาตรฐานในประเทศเพียง 15 แห่ง
แต่ขณะนี้จํานวนโรงสีข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 50 แห่ง แล้ว ซึ่งคาดว่าจะทําให้มีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากมีนักลงทุน
รายใหม่จํานวนมากกระตือรือร้นที่จะลงทุนในธุรกิจการเกษตรของประเทศเนื่องจากคาดหวังว่าจะสร้างผลกําไรมากขึ้น
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.08 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.68 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 335.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,009.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 334.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,957.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 52.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 626.00 เซนต์ (8,195.00 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 609.00 เซนต์ (7,974.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.80 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 221.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ลดลงร้อยละ 1.35 แต่ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 และร้อยละ 2.08 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.48 ล้านตัน (ร้อยละ 19.81 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน (ร้อยละ 62.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.29 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.75
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.38 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.46 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.24
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.45 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.38 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.95
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 245 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,042 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,042 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,019 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,018 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.986 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.177 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.929 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.167 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2564 คิดเป็นร้อยละ 6.14 และร้อยละ 5.99 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 11.26 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 10.77 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 55.53 บาท ลดลงจาก กก.ละ 56.03 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.89
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
GAPKI คาดการณ์ว่าปี 2565 อินโดนีเซียจะส่งออกลดลงร้อยละ 3 เนื่องจากปริมาณการบริโภคในภาคอุปโภคและบริโภคและไบโอดีเซลคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 20.60 ล้านตัน แต่อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์นี้ไม่ได้คำนึงถึงนโยบายล่าสุดจากภาครัฐที่กำหนดให้ผู้ส่งออกต้องแบ่งสัดส่วนปริมาณสินค้าส่งออกร้อยละ 20 ไปให้ตลาดท้องถิ่น GAPKI กล่าวว่านโยบายนี้จะกระทบการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์เพียงเล็กน้อย แต่ผู้ส่งออกจะปรับตัวได้ในเดือนมีนาคม และคาดการณ์ว่าในปี 2565 ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบจะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4.50 ไปอยู่ที่ 49 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,518.34 ดอลลาร์มาเลเซีย (44.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 5,399.14 ดอลลาร์มาเลเซีย (43.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.21
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,378.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (45.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,344.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.59
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ตามข้อมูลของ Archer Consulting พบว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 โรงงานน้ำตาลในบราซิลทำการขายน้ำตาลสำหรับการส่งออกล่วงหน้าปี 2565/2566 ได้ประมาณ 13.4 ล้านตัน คิดเป็น 52.5% ของการส่งออกที่คาดการณ์ไว้ทั้งหมด ซึ่งต่ำกว่าการขายล่วงหน้า 69% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ด้านที่ปรึกษาประเมินราคาขายล่วงหน้าเฉลี่ยที่ 16.55 เซนต์/ปอนด์ ไม่รวมโพลพรีเมียม
ที่ปรึกษาของ Canaplan กล่าวว่า อ้อยในพื้นที่ภาคกลาง-ใต้ของบราซิลต้องการปริมาณน้ำฝนที่ดีตลอดจนถึงเดือนมิถุนายนเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตจะฟื้นตัวและสามารถผลิตต้นกล้าที่เพียงพอสำหรับปี 2566 ทั้งนี้ยังกล่าวเสริมว่าโรงงานน้ำตาลต้องชะลอการเริ่มเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้มีผลผลิตอ้อยจำนวนมากในช่วงกลางปี
สำนักงานคณะกรรมการน้ำตาลของอินเดีย รายงานว่า ขณะนี้มีโรงงาน 194 โรงงาน ที่เปิดดำเนินการ ในรัฐมหาราษฏะ เทียบกับ 190 โรงงาน เมื่อฤดูกาลที่แล้ว ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย คาดการณ์ว่าจะเกิดคลื่นลมหนาวในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ตามข้อมูลของ Archer Consulting พบว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 โรงงานน้ำตาลในบราซิลทำการขายน้ำตาลสำหรับการส่งออกล่วงหน้าปี 2565/2566 ได้ประมาณ 13.4 ล้านตัน คิดเป็น 52.5% ของการส่งออกที่คาดการณ์ไว้ทั้งหมด ซึ่งต่ำกว่าการขายล่วงหน้า 69% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ด้านที่ปรึกษาประเมินราคาขายล่วงหน้าเฉลี่ยที่ 16.55 เซนต์/ปอนด์ ไม่รวมโพลพรีเมียม
ที่ปรึกษาของ Canaplan กล่าวว่า อ้อยในพื้นที่ภาคกลาง-ใต้ของบราซิลต้องการปริมาณน้ำฝนที่ดีตลอดจนถึงเดือนมิถุนายนเพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตจะฟื้นตัวและสามารถผลิตต้นกล้าที่เพียงพอสำหรับปี 2566 ทั้งนี้ยังกล่าวเสริมว่าโรงงานน้ำตาลต้องชะลอการเริ่มเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้มีผลผลิตอ้อยจำนวนมากในช่วงกลางปี
สำนักงานคณะกรรมการน้ำตาลของอินเดีย รายงานว่า ขณะนี้มีโรงงาน 194 โรงงาน ที่เปิดดำเนินการ ในรัฐมหาราษฏะ เทียบกับ 190 โรงงาน เมื่อฤดูกาลที่แล้ว ด้านกรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย คาดการณ์ว่าจะเกิดคลื่นลมหนาวในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,433.7 เซนต์ (17.52 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,398.05 เซนต์ (17.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 400.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.32 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 395.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.26
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.60 เซนต์ (46.62 บาท/กก.)สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.43 เซนต์ (45.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.53
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,433.7 เซนต์ (17.52 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,398.05 เซนต์ (17.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 400.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.32 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 395.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.26
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.60 เซนต์ (46.62 บาท/กก.)สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.43 เซนต์ (45.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.53
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.25 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.31
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 913.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 914.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 790.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 791.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,281.40 ดอลลาร์สหรัฐ (42.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,282.60 ดอลลาร์สหรัฐ (42.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 699.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.94 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 699.60 ดอลลาร์สหรัฐ (22.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,152.60 ดอลลาร์สหรัฐ (37.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,154.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.94
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.89 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 121.80 เซนต์(กิโลกรัมละ 89.31 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 122.16 เซนต์ (กิโลกรัมละ 89.54 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.23 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,756 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,473 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,005 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 102.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 102.20 คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 94.16 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 110.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 100.20 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.29 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 109.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.71 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 41.08 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.95 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล้กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 302 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 301 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 314 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 300 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 300 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 366 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 363 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 379 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 382 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 335 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 379 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.11 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.52 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.96 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.70 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 102.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 102.20 คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.87 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 94.16 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 110.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 100.20 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.29 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 109.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.71 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 41.08 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.95 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล้กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 302 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 301 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 314 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 300 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 300 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 366 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 363 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 379 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 382 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 335 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 379 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.11 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.52 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.45 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.96 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.70 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 24 – 30 มกราคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.10 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 49.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.65 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.21 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 184.46 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 178.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.57 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 185.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 192.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.57 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 24 – 30 มกราคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.10 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 49.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.65 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.21 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 184.46 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 178.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.57 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 185.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 192.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.57 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา