- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 มิถุนายน-3 กรกฎาคม 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,906 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,940 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,977 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,132 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,250 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,650 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,710 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 885 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,012 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 876 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,793 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 219 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,928 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,010 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 82 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,418 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 441 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,502 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 84 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.0418 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย: 10 ปี ส่งออกข้าวไทยพ่าย เวียดนาม-อินเดีย
ผู้ส่งออกข้าว ร่วมเสวนา “ข้าวไทย กับ ความต้องการของตลาดโลก” ย้อน 10 ปีที่ผ่านมา ไทยสูญเสียตลาดให้เวียดนาม อินเดีย เพิ่มขึ้น คู่แข่งเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าว ขยายตลาด ขณะที่ไทยยังคงปัญหาผลผลิตน้อย พันธุ์ข้าวไม่ตอบโจทย์ ราคาผันผวน หากไม่แก้ไข ตลาดส่งออกข้าวไทยจะลดลงแน่
วันที่ 28 มิถุนายน 2565 นายวันนิวัต กิติเรียงลาภ รองเลขาธิการ บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด เปิดเผยในงานเสวนาภายใต้หัวข้อ “ข้าวไทย กับ ความต้องการของตลาดโลก” ว่า การส่งออกข้าวไทยไปในตลาดโลกระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งตลาดข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวหอมมะลิ รับว่า ตลาดข้าวไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่งมากขึ้น ทั้งเวียดนามและอินเดีย แม้บางประเทศยังรักษาส่วนแบ่งตลาดได้ แต่หากในอนาคตไทยยังไม่มีการพัฒนาพันธุ์ข้าว คุณภาพข้าวให้คงที่ และราคาข้าวไม่ผันผวนเพื่อแข่งขันในตลาด มองว่าไทยมีโอกาสที่จะเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับคู่แข่ง โดยเฉพาะตลาดข้าวหอมมะลิในสหรัฐฯ เพราะที่ผ่านมาเวียดนามมีปัญหาเรื่องสารตกค้างในข้าว ทำให้ส่งออกข้าวไปยังสหรัฐฯ น้อยลง แต่หากเวียดนามสามารถปลดล็อกปัญหานี้ได้ ในอนาคตเวียดนามจะมีโอกาสขยายตลาดส่งออกข้าวในตลาดนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยเสียส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิได้ หากไทยยังไม่พัฒนาและทำให้ราคาข้าวไม่ผันผวนจนต่างกับคู่แข่งเกินไป ก็ยังเชื่อว่าจะรักษาตลาดนี้ไว้ได้ เพราะตลาดข้าวหอมมะลิมีความต้องการและเติบโตทุกปี “ต่างจากตลาดอื่น
ของไทย เช่น ตลาดมาเลเซีย ซึ่งจะดูในเรื่องของราคา หากราคาดีไม่แพงเกินไปตลาดก็จะหันมาซื้อกับไทย ต่างจากสหรัฐฯ ราคาข้าวแพงก็ยังซื้อหากข้าวมีคุณภาพ”
นายรวิสักก์ วนิชจักรวงศ์ กรรมการบริษัท นครหลวงค้าข้าว จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันเวียดนามมีการพัฒนาพันธุ์ข้าว เช่น Dai Thom 8, Jasmine และ ST21, ST24 ซึ่งขยายไปถึง ST 28 หรือที่เข้าใจว่าข้าวขาวพื้นนุ่ม โดยพบว่า
การส่งออกข้าวมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ST 21 ปี 2564 ส่งออกอยู่ที่ 154,000 ตัน สัดส่วนร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 16,000 ตัน สัดส่วนร้อยละ 0.7 สะท้อนให้เห็นการเติบโตการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น และครอง
ส่วนแบ่งตลาดข้าวไปในหลายประเทศ นอกจากนี้ ยังพบว่า ราคาข้าวของเวียดนามไม่มีความผันผวนเกินไปราคาข้าวยังคงที่ ทำให้สามารถทำตลาดค้าข้าวกับลูกค้าได้ง่าย ซึ่งต่างจากข้าวหอมมะลิของไทย ราคาในตลาดมีความผันผวนยากต่อการทำราคากับลูกค้า โดยราคาข้าวหอมเวียดนามอยู่ที่ 473 เหรียญสหรัฐฯ ไทยอยู่ที่ 962 เหรียญสหรัฐฯ
สำหรับตลาดหลักในการส่งออกข้าวของของเวียดนาม เช่น ฟิลิปปินส์ กานา ไอวอรีโคสต์ อิหร่าน มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน โดยฟิลิปปินส์ มีสัดส่วนส่งออกถึงร้อยละ 30 ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของเวียดนาม
นายกิติพันธุ์ เหล่าประภัสสร ผู้จัดการฝ่ายการขาย บริษัท สยามเกรนส์ จำกัด กล่าวว่า ผู้ส่งออกหลักในตลาดข้าวหอม มีอยู่ 3 ประเทศ คือ ไทย เวียดนาม และกัมพูชา โดยจะเห็นว่าในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา การส่งออกในตลาดข้าวหอมของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง หากเทียบกับเวียดนามและกัมพูชาที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น เช่น ปี 2008
(ปี 2551) ไทยส่งออกข้าวหอมอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านตัน กลับพบว่า ปัจจุบันส่งออกลดลงมา เมื่อปี 2020 (ปี 2563) ส่งออกอยู่ที่ 1.6 ล้านตัน ส่วนเวียดนาม ส่งออกเพิ่มขึ้น จาก 7.2 หมื่นตัน มาอยู่ที่ 2.1 ล้านตัน
สำหรับตลาดหลักข้าวหอมมะลิไทย คือ ตลาดสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 38 เมื่อปีที่ผ่านมาส่งออกอยู่ที่ 4.4 แสนตัน ฮ่องกง 1.33 แสนตัน จีน 1.30 แสนตัน แคนาดา 6 หมื่นตัน รวมตลาดอื่นๆ ด้วย
ไทยส่งออกข้าวหอมมะลิไปในตลาดโลกปี 2564 อยู่ที่ 1.1 ล้านตัน ทั้งนี้ จะเห็นว่าปริมาณการส่งออกข้าว
หอมมะลิของไทยลดลงเมื่อเทียบจาก 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากไทยสูญเสียตลาดข้าวหอมมะลิให้กับเวียดนาม โดยเฉพาะในตลาดกานา ไอวอรีโคสต์ กาบอง ซึ่งมีการส่งออกข้าวหอมมะลิลดลงหรือแม้กระทั่งฮ่องกงและจีน ปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกข้าวหอมมะลิไปในตลาดนี้ลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จากการที่เวียดนามเข้าไปตีตลาดข้าวหอมไทยได้
นายศรัณยู เจียมสินกุล รองกรรมการผู้จัดการบริษัท เอเชียโกลเด้น ไรซ์ จำกัด กล่าวว่า ราคาข้าวไทยใน
หลายปีที่ผ่านมา ข้าวไทยไม่เคยราคาถูก อีกทั้งราคาข้าวไทยยังไม่เสถียรและไม่คงที่ มีการปรับขึ้นลงอย่างมาก
เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างอินเดียหรือเวียดนาม บางครั้งราคาห่างตัดคู่แข่งถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เป็นผล
มาจากความไม่แน่นอนของผลผลิต ประกอบกับผลผลิตบางครั้งไม่ได้เป็นที่ต้องการ ส่งผลให้ลูกค้าทำตลาดได้ยากขึ้น หากสามารถดูแลไม่ให้ผันผวน ผลผลิตเป็นที่ต้องการ โอกาสที่ไทยยังแข่งขันได้ยังมีและการรักษาตลาดไว้ได้ก็สูงขึ้น
การค้าข้าวในตลาดโลกมีสัดส่วนประมาณ 40-45 ล้านตัน ในขณะที่ผลผลิตต่อปีทั่วโลกอยู่ที่ 500 ล้านตัน
ชนิดข้าวที่มีการทำตลาดมากที่สุดคือ ข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวหอมมะลิ คิดเป็นร้อยละ 75 ของข้าวทั่วโลก ซึ่งประเทศที่มีการส่งออกข้าวมากที่สุด คือ อินเดีย ไทย และเวียดนาม โดยข้าวขาวมีปริมาณซื้อขายทั่วโลกอยู่ที่ 21 ล้านตัน ราคาเฉลี่ยที่มีการซื้อขายอยู่ที่ 350-450 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวนึ่ง ปริมาณซื้อขายอยู่ที่ 7 ล้านตัน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 380-450 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวหอมมะลิ ปริมาณซื้อขายอยู่ที่ 3.5 ล้านตัน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 500-1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวปรับลดลงเนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดเพิ่มขึ้นเพราะกําลังมีการเก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (the summer-autumn crop) ขณะที่ความต้องการข้าวจากประเทศ
ในแถบเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ จีน และจากประเทศในแอฟริกาชะลอตัวลง ส่งผลให้ราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ระดับ 418-423 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากระดับ 420-425 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
วงการค้าระบุว่า ในช่วงนี้ผู้ซื้อข้าวเข้ามาในตลาดเพื่อสอบถามราคาข้าวเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีการซื้อ ขณะที่ บางส่วนมีสต็อกข้าวจากฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring crop) เก็บตุนไว้เพียงพอแล้ว โดยในปีนี้ประเทศจีนและฟิลิปปินส์ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสําหรับข้าวเวียดนาม
ตามรายงานในเบื้องต้น ในช่วงระหว่างวันที่ 1-26 มิถุนายน 2565 มีเรือบรรทุกสินค้าจํานวน 48 ลํา ที่เข้ามารอรับมอบสินค้าขึ้นเรือ โดยมาจอดรอที่ท่าเรือ Ho Chi Minh port จํานวน 38 ลํา และที่ท่าเรือ My Thoi port จํานวน 10 ลํา โดยมีข้าวที่ส่งมอบขึ้นเรือรวมประมาณ 354,050 ตัน โดยมีปลายทางไปยังฟิลิปปินส์ประมาณ 210,550 ตัน ประเทศในแถบแอฟริกาประมาณ 85,000 ตัน คิวบา 30,000 ตัน เกาหลีใต้ 21,000 และมาเลเซีย 7,500 ตัน
Vietnam Net รายงานว่ากระทรวงเกษตรของเวียดนาม (Vietnam's Agriculture Ministry) ตั้งข้อสังเกตว่าเวียดนามอาจจะอยู่ในฐานะที่จะช่วยชดเชยอุปทานข้าวในตลาดโลก หากอินเดียมีการสั่งห้ามหรือจํากัดการส่งออกข้าว
กรมการผลิตพืชผล กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (The Department of Crop Production at Vietnam's Ministry of Agriculture and Rural Development) ระบุว่า เวียดนามสามารถผลิต ข้าวได้ประมาณปีละ 26-28 ล้านตัน และสามารถส่งออกได้มากถึง 7 ล้านตัน โดยในปีนี้การเพาะปลูกข้าวเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งหากไม่มีเหตุที่ไม่คาดคิดที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าว เช่น ภัยธรรมชาติ เวียดนามสามารถรับประกันความมั่นคงด้านอาหารได้
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
บังคลาเทศ
Financial Express รายงานว่า รัฐบาลบังคลาเทศอนุมัติให้มีการนําเข้าข้าวโดยภาคเอกชน จํานวน 1 ล้านตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาเสถียรภาพราคาในตลาดภายในประเทศ โดยเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลประกาศลดภาษีนําเข้าข้าวเหลือร้อยละ 25 จากเดิมที่ร้อยละ 62.5 โดยรัฐมนตรีกระทรวงการอาหารกล่าวว่า
จะมีการออกหนังสือเวียนในเรื่องนี้ในไม่ชา้ และรัฐบาลอาจอนุมัติให้มีการนําเข้าเพิ่มเติมหากจําเป็น
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณที่แล้ว รัฐบาลอนุญาตให้ผู้นําเข้าเอกชนสามารถนําเข้าข้าวได้ประมาณ 1.7 ล้านตัน ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม 2564 และยังลดภาษีนําเข้าข้าวลงเหลือร้อยละ 15 แต่ปรากฏว่าผู้นําเข้า สามารถนําเข้าได้เพียง 300,000 ตัน และการนําเข้าข้าวเมื่อปีที่แล้วไม่ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวในประเทศมากนัก ต่อมารัฐบาลได้ปรับเพิ่มภาษีนําเข้าเป็นร้อยละ 62.5 ตามเดิม
ตามรายงานขององค์การการค้าแห่งบังคลาเทศ (Trading Corporation of Bangladesh) และร้านค้าปลีก
ในเมือง พบว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ราคาข้าวพุ่งขึ้นประมาณร้อยละ 10-22 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่บีบบังคับให้ รัฐบาลต้องหาทางแก้ไขโดยการลดภาษีนําเข้าข้าวลง และอนุมัติให้เอกชนสามารถนําเข้าข้าวได้
ขณะที่ the Economic Times รายงานว่า บังคลาเทศเริ่มนําเข้าข้าวจากอินเดียแล้ว ท่ามกลางความกังวลว่าทางการอินเดียอาจจะสั่งห้ามหรือจํากัดการส่งออกข้าว
ตามปกติแล้วบังคลาเทศจะเริ่มนําเข้าข้าวจากอินเดียในช่วงระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี แต่ในปีนี้บังคลาเทศเริ่มนําเข้าข้าวจากอินเดียเร็วขึ้นกว่าเดิม เพื่อจัดการกับปัญหาการขาดแคลนอุปทานข้าวในประเทศ ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่นําไปสู่การขาดแคลนข้าวสาลีและราคาข้าวสาลีและแป้งสาลีปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลมาถึงสินค้าข้าวด้วย นอกจากนี้จากสถานการณ์น้ำท่วมตั้งแต่ช่วงต้นฤดูพายุลมฝน และฝนที่ตกหนักยังเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดภาวะผลผลิตตกต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวพุ่งสูงขึ้น
ทั้งนี้ ตามปกติแล้ว บังคลาเทศจะซื้อข้าวจากรัฐเบงกอลตะวันตก อุตตรประเทศ และพิหาร ซึ่งหลังจากที่มี กระแสข่าวว่าบังคลาเทศจะนําเข้าข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวในสามรัฐนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ขณะที่ราคาส่งออกข้าวในอินเดียปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากระดับ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เป็น 360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งผู้ค้าข้าวตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีสําหรับการส่งออกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ
ของอินเดียในปีงบประมาณ 2022/23 (เมษายน 2565/มีนาคม 2566)
ข้อมูลของทางการระบุว่า ในปีงบประมาณ 2021/22 (ปี 2564/65) บังคลาเทศนําเข้าข้าวประมาณ 1.359 ล้านตัน
ก่อนหน้านี้สํานักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา รายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการสรรพากรแห่งชาติบังคลาเทศ (National Board of Revenue; NBR) ได้ออกประกาศลดหย่อนภาษี นําเข้าและอากรนําเข้าข้าวพิกัด 1003.30.99 ชนิดข้าวนึ่ง (ที่ไม่ใช่ข้าวหอม) ให้แก่ภาคเอกชนผู้นําเข้าข้าวที่ต้องการ นําเข้าเหลือร้อยละ 25 จากอัตราภาษีและอากรนําเข้าเต็มร้อยละ 62.5 (ลดลงร้อยละ 37.5) โดยมีผลตั้งแต่บัดนี้ (วันที่ 23 มิถุนายน 2565) ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ตามข้อเสนอของกระทรวงการอาหาร ซึ่งสาเหตุการลดภาษีนําเข้าและ อากรนําเข้าข้าวในครั้งนี้ เนื่องจากบังคลาเทศประสบปัญหาเงินเฟ้อต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2565 โดยในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.42 ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี ส่งผลให้ราคาสินค้าหมวดอาหารเพิ่มขึ้นจนกระทบผู้มีรายได้ น้อย นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตข้าวจากฤดูการผลิต Boro ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งพื้นที่เก็บเกี่ยวบางส่วน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้รับการประเมินผลผลิตที่ได้รับความเสียหาย
ตามประกาศของ NBR กําหนดเงื่อนไขรายละเอียดให้ผู้นําเข้าแต่ละรายสมัครเข้าร่วมโครงการ แจ้งปริมาณนําเข้าและช่วงเวลานําเข้า การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดหรือรายชื่อผู้นําเข้าข้าวที่เข้าร่วมมาตรการลดหย่อนภาษีในครั้งนี้ โดยกระบวนการรับสมัครขึ้นทะเบียนผู้นําเข้าและรายชื่อผู้นําเข้าที่ได้รับสิทธิลดหย่อน คาดว่าจะประกาศในลําดับถัดไป
ทั้งนี้ หลังจากที่อินเดียประกาศห้ามส่งออกสินค้าข้าวสาลีบังคลาเทศได้แสวงหาแหล่งนําเข้าใหม่ โดยได้ติดต่อขอซื้อจากแคนาดา บัลเกเรีย เพื่อทดแทนการนําเข้าจากอินเดีย รวมทั้งพยายามติดต่อเจรจาขอซื้อข้าวสาลี และปุ๋ยจากรัสเซียด้วย
สํานักข่าวต่างประเทศรายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวในรัฐบาลบังคลาเทศว่า กําลังมีความพยายามเจรจาระดับรัฐต่อรัฐกับรัสเซียเพื่อการนําเข้าข้าวสาลีอย่างน้อย 200,000 ตัน แม้สหรัฐและพันธมิตรตะวันตกจะใช้มาตรการกดดันเศรษฐกิจของรัสเซียอย่างหนักก็ตาม แม้บังคลาเทศสามารถบรรลุข้อตกลงกับรัสเซียได้ แต่การชําระเงินยังคงเป็นความท้าทาย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลบังคลาเทศเชื่อมั่นว่าจะสามารถหาทางออกในเรื่องนี้ได้ เพื่อเพิ่มปริมาณข้าวสาลี
ในคลังอาหารให้ได้มากและเร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้มีข้าวสาลีเหลืออยู่ในคลังอาหารของประเทศเพียง 166,000 ตันเท่านั้น ซึ่งถือเป็นสถิติต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี
ปัจจุบัน บังคลาเทศนําเข้าข้าวสาลีประมาณ 7 ล้านตัน โดยเมื่อปีที่แล้วปริมาณนําเข้ามากกว่าสองในสาม
เป็นการสั่งซื้อจากอินเดีย อย่างไรก็ตาม หลังจากอินเดียระงับส่งออกข้าวสาลีอย่างไม่มีกําหนดตั้งแต่กลางเดือนที่แล้ว และมาตรการดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้อย่างไม่มีกําหนด
สํานักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรว่า ความเสียหายของพื้นที่การเกษตร
หลังเกิดภาวะน้ำท่วมได้ทําลายนาข้าวในบังคลาเทศไปประมาณ 468,750 ไร่ ซึ่งคาดว่าพืชผลอาจได้รับความเสียหายมากขึ้น เนื่องจากมีพื้นที่หลายแห่งยังคงถูกน้ำท่วม
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.21 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.60
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 372.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,043.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 384.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,491.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 448.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 754.00 เซนต์ (10,536.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 756.00 เซนต์ (10,594.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 58.00 บาท
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.21 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.60
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 372.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,043.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 384.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,491.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 448.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 754.00 เซนต์ (10,536.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 756.00 เซนต์ (10,594.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 58.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนมิถุนายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.663 ล้านตัน (ร้อยละ 1.91 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.64 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.56 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.13
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.98 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.97 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,210 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 289 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,220 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.35
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 535 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,990 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (18,920 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.716 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.309 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 2.082 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.375 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 17.55 และร้อยละ 17.55 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 7.72 บาท ลดลงจาก กก.ละ 9.10 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 15.16
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 43.70 บาท ลดลงจาก กก.ละ 48.95 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.73
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายน้ำมันปาล์มล่วงหน้าลดลงร้อยละ 4.00 ในวันที่ 1 ก.ค. 65 ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่สี่ โดยสัญญาซื้อขายรอบส่งเดือนกันยายน ลดลงร้อยละ 6.86 อยู่ที่ตันละ 4,573 ริงกิต ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น และปริมาณการส่งออกที่ลดลง โดยมาเลเซียมีการส่งออกลดลงร้อยละ 10.00 – 13.40 จากเดือนพฤษภาคม
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,065.26 ดอลลาร์มาเลเซีย (41.18 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,968.01 ดอลลาร์มาเลเซีย (40.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.86
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,486 ดอลลาร์สหรัฐฯ (52.72 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,435 ดอลลาร์สหรัฐฯ (51.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.55
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ราคาขายส่งน้ำตาลในอินเดียลดลงเล็กน้อยในวันที่ 28 มิถุนายน เนื่องจาก โรงงานต่างๆ พยายามใช้โควตาการขายรายเดือนของตนให้หมด นอกจากนี้อุปสงค์ยังต่ำและคาดว่าจะยังคงต่ำไปตลอดเดือนกรกฎาคม Traders กล่าวเสริมว่า การตัดสินใจของรัฐบาลอินเดียที่จะไม่ประกาศนโยบายการส่งออกในปีหน้าช่วยให้ราคาน้ำตาลทรงตัว
สมาคมคนทำขนมปังอิสระขอให้กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ USDA เพิ่มปริมาณน้ำตาลในประเทศโดยอนุญาตให้นำเข้าได้มากขึ้น ท่ามกลางแนวทางแก้ไขที่เสนอไว้หลายประการ โดยระบุว่าราคาน้ำตาลจากอ้อยพุ่งสูงขึ้นแตะ 68 เซนต์/ปอนด์ ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 50 ปี
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ราคาขายส่งน้ำตาลในอินเดียลดลงเล็กน้อยในวันที่ 28 มิถุนายน เนื่องจาก โรงงานต่างๆ พยายามใช้โควตาการขายรายเดือนของตนให้หมด นอกจากนี้อุปสงค์ยังต่ำและคาดว่าจะยังคงต่ำไปตลอดเดือนกรกฎาคม Traders กล่าวเสริมว่า การตัดสินใจของรัฐบาลอินเดียที่จะไม่ประกาศนโยบายการส่งออกในปีหน้าช่วยให้ราคาน้ำตาลทรงตัว
สมาคมคนทำขนมปังอิสระขอให้กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ USDA เพิ่มปริมาณน้ำตาลในประเทศโดยอนุญาตให้นำเข้าได้มากขึ้น ท่ามกลางแนวทางแก้ไขที่เสนอไว้หลายประการ โดยระบุว่าราคาน้ำตาลจากอ้อยพุ่งสูงขึ้นแตะ 68 เซนต์/ปอนด์ ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 50 ปี
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,653.84 เซนต์ (21.56 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,634.35 เซนต์ (21.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 456.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.21 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 430.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.22 เซนต์ (54.91 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 70.37 เซนต์ (55.18บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.21
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,653.84 เซนต์ (21.56 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,634.35 เซนต์ (21.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 456.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.21 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 430.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.22 เซนต์ (54.91 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 70.37 เซนต์ (55.18บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.21
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.42 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.91
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.13
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 940.25 ดอลลาร์สหรัฐ (32.95 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 938.67 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 682.25 ดอลลาร์สหรัฐ (23.91 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 681.00 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.18 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,215.50 ดอลลาร์สหรัฐ (42.49 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,196.33 ดอลลาร์สหรัฐ (42.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.44 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 757.25 ดอลลาร์สหรัฐ (26.54 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 752.67 ดอลลาร์สหรัฐ (26.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,200.00 ดอลลาร์สหรัฐ (42.05 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,162.33 ดอลลาร์สหรัฐ (40.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.19 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.89 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.53
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.20 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.85
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 104.11 เซนต์(กิโลกรัมละ 81.43 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 141.05 เซนต์ (กิโลกรัมละ 110.63 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 26.19 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 29.20 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,708 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,835 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,383 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,450 บาทคิดเป็นร้อยละ 4.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,019 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 102.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.79 คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 93.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.20 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 107.56 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.56 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.03 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 46.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 326 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 328 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 314 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 315 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 333 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 330 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.32 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 370 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 372 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 397 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 379 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 346 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 365 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.97 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 104.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 83.26 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 82.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.65 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 102.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.79 คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 93.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.20 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 107.56 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.56 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.03 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 46.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 326 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 328 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 314 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 315 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 333 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 330 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.32 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.42 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 370 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 372 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 397 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 379 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 346 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 365 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.97 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 104.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.07 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 83.26 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 82.41 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.65 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.70 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 46.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคสูงขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.21 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 82.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 149.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.90 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 67.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.71 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่นชนิด
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.70 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 46.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคสูงขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.21 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 82.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 149.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.90 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 153.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 150.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 67.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.71 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่นชนิด