- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 4-10 กรกฎาคม 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,817 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,906 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,084 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,977 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,250 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,030 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.78
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,732 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 885 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,012 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.60 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 280 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 429 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,295 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,928 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 367 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,687 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ที่ตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,418 บาท/ตัน) แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 269 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.6524 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
ปี 2565 ไทยอาจมีความเสี่ยงต้องเผชิญอุปทาน (supply) ข้าวในประเทศที่ตึงตัวมากขึ้น จากจุดเปลี่ยนสำคัญคือ ราคาปุ๋ยที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ขณะที่อุปสงค์ (demand) คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นตามการส่งออกข้าวที่ดีขึ้น จะยิ่งกดดันอุปทานข้าวที่เหลือในประเทศให้ลดลง ซึ่งภาพอุปทานที่ตึงตัวมากขึ้นนี้ คงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
ไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตข้าวจำนวนมากในปี 2562-2564 โดยเฉลี่ยประมาณ 21 ล้านตันข้าวสารต่อปี
ซึ่งเป็นปริมาณที่เหลือเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ หลังจากหักส่งออกแล้วและหากรวมสต็อกด้วย ประเทศไทย
จะมีอุปทานข้าวเหลือในประเทศประมาณ 6 ล้านตันข้าวสาร
แม้ในบางปีที่เกิดภาวะภัยแล้ง (ปี 2558-2559) จนทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอยู่ที่ประมาณ 19 ล้านตันข้าวสาร แต่ไทยก็ยังมีอุปทานข้าวเหลือในประเทศในระดับที่ไม่น่ากังวล แต่ปัจจุบันสถานการณ์โลกได้เปลี่ยนไปอย่างมาก และ
จุดเปลี่ยนสำคัญคือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่สร้างผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสำคัญอย่างปุ๋ยเคมี ให้มีราคาพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ปุ๋ยและทำให้ผลผลิตข้าวลดลง
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จึงนำมาสู่คำถามว่า ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นนี้ที่ทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ไทยจะมีความเสี่ยงต่ออุปทานข้าวในประเทศที่ตึงตัวขึ้นหรือไม่ในปี 2565
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ปี 2565 ด้วยเหตุการณ์ไม่ปกติที่มีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ดันราคาปุ๋ยเคมีพุ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ไปอยู่ที่ประมาณ 950-1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่งผลกดดันให้ผลผลิตข้าวไทย “ลดลง” โดยเฉพาะ “ข้าวนาปี” ที่ได้รับผลกระทบจากราคาปุ๋ยแพง ทำให้ผลผลิตลดลงประมาณ 1.2-1.8 ล้านตันข้าวสาร เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือลดลงประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตข้าวนาปี
จากสมมติฐานการใช้ปุ๋ยเคมีที่ลดลงร้อยละ 10 จะทำให้ผลผลิตข้าวลดลง 1.2 ล้านตันข้าวสาร
แม้ข้าวนาปรังจะไม่ได้รับผลกระทบจากปุ๋ยแพง เพราะเป็นช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ทำให้มีผลผลิตข้าวรวมสต็อกอยู่ที่ประมาณ 24.3 ล้านตันข้าวสาร และเมื่อรวมกับอุปสงค์จากต่างประเทศ สะท้อนผ่านการส่งออกข้าวไทยที่แม้จะกระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อยไปอยู่ที่ประมาณ 7 ล้านตันข้าวสาร และการบริโภคข้าวในประเทศที่ประมาณ 13 ล้านตันข้าวสาร จะทำให้ไทยเหลืออุปทานข้าวในประเทศที่ประมาณ 4.3 ล้านตันข้าวสาร นับเป็นระดับที่ “ตึงตัวขึ้น”
เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่ประมาณ 6 ล้านตันข้าวสาร และที่สำคัญอุปทานข้าวในประเทศที่ตึงตัวดังกล่าวนี้
น่าจะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น
ทั้งนี้ หากพิจารณาในฝั่งของอุปสงค์ที่จะกระเตื้องขึ้นในปีนี้ ซึ่งอาจไปซ้ำเติมอุปทานที่ลดลงจากราคาปุ๋ยแพง เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงทำให้อุปทานข้าวเหลือในประเทศตึงตัวมากยิ่งขึ้น
โดยพบว่าการส่งออกข้าวไทยปีนี้คาดอยู่ที่เป้าหมายประมาณ 7 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 (YOY) เนื่องจากมี pent up demand ในตลาดโลกรองรับ ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์คลี่คลายมากขึ้น และเงินบาท
ที่มีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จะช่วยหนุนการส่งออกข้าวไทย แต่ยังคงอยู่บนฐานที่ต่ำจากการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรง
โดยเฉพาะจากเวียดนามและอินเดียที่ยังไม่มีแนวโน้มที่จะจำกัดการส่งออกข้าวในปีนี้ เนื่องจากต่างก็มีผลผลิตข้าวที่อยู่ในระดับสูงจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย แต่ด้วยข้าวไทยมีราคาและต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าคู่แข่ง ทำให้ไทย
ยังมีความท้าทายในการแข่งขันด้านราคาอยู่มาก
ดังนั้น ในปี 2565 ท่ามกลางภาวะที่ผลผลิตข้าวลดลง แม้จะมีการส่งออกข้าวที่กระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ก็นับว่าเป็นปัจจัยซ้ำเติมความเสี่ยงที่ไทยอาจต้องเผชิญภาวะอุปทานข้าวในประเทศที่ตึงตัวขึ้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้คงไม่ใช่เป็นการเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
มองในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ในปี 2566 ภาพของความเสี่ยงอุปทานข้าวในประเทศที่ตึงตัวน่าจะยังคงอยู่ตามสถานการณ์โลกที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่อาจลากยาว และยังคาดการณ์ระยะเวลาสิ้นสุดได้ยาก จะส่งผลกระทบต่อราคาปุ๋ยเคมีที่น่าจะยืนสูงต่อเนื่องและกดดันผลผลิตข้าว
ทั้งนาปรังและนาปี
รวมถึงภาวะ climate change ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น รวมไปถึงราคาข้าวที่แม้จะปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่บนฐานที่ต่ำ อาจไม่จูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิตมากนัก ล้วนกดดันต่อผลผลิตข้าวให้มีแนวโน้มลดลงอยู่ในกรอบ 18-19.5 ล้านตันข้าวสาร และน่าจะยังไม่สามารถกลับไปสู่ระดับการผลิตในปริมาณสูงเช่นเดิมได้ในระยะเวลาอันสั้น ผนวกกับสต็อกข้าวที่มีแนวโน้มลดลง ขณะที่ในฝั่งของอุปสงค์แม้จะให้ภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก คือ
ไทยยังต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลกที่รุนแรง ทำให้ไทยน่าจะยังคงส่งออกข้าวได้บนฐานที่ต่ำประมาณ 7.5 ล้านตันข้าวสาร แต่ก็ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่จะกดดันให้เหลืออุปทานข้าวในประเทศตึงตัวขึ้น
อยู่ที่ประมาณ 0.9-2.4 ล้านตันข้าวสาร อีกทั้งจากต้นทุนที่สูงต่อเนื่อง จะดันให้ราคาข้าวในประเทศขยับขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ในระดับทรงตัวท่ามกลางภาวะที่อุปสงค์ข้าวยังคงแข็งแกร่ง ขณะที่ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง ซึ่งทำให้ข้าวอินเดียเป็นที่ดึงดูดใจของผู้ซื้อจากต่างประเทศ โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ ระดับ 355-360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน เท่ากับเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยผู้ส่งออกรายหนึ่งจากเมือง Kakinada ในรัฐอานธรประเทศ
ทางตอนใต้ของอินเดีย กล่าวว่า ผู้ซื้อข้าวจะเลือกข้าวอินเดียมากกว่าข้าวจากแหล่งอื่นเพราะมีราคาที่ต่ำกว่า โดยผู้ซื้อข้าวส่วนใหญ่มีความต้องการข้าวขาวหัก 25% และข้าวหัก 100%
สํานักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (the India Meteorological Department) ว่า ในเดือนกรกฎาคม 2565 คาดว่าค่าปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย (average or normal rainfall) จะอยู่ในช่วงร้อยละ 94 - 106 ของค่าเฉลี่ย 50 ปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน ที่มีค่าอยู่ระหว่างระหว่างร้อยละ 90 - 96
โดยคาดว่า ปริมาณฝนจะอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ยในบางพื้นที่ของภาคเหนือของอินเดีย ภาคกลาง และพื้นที่ส่วนใหญ่ของอินเดียตอนใต้ ขณะที่ ในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ จะอยู่ในระดับ
ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
สํานักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) ว่า ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เกษตรกรได้เพาะปลูกข้าวฤดูการผลิตฤดูร้อน (summer - sown rice) หรือฤดูการผลิต Kharif (กรกฎาคม - กันยายน) ปีการผลิต 2565/66 แล้วประมาณ 27.156 ล้านไร่ ลดลงประมาณร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 37.225 ล้านไร่ เนื่องจาก ในช่วงเริ่มต้นฤดูฝนนับตั้งแต่วันที่ 1 - 30 มิถุนายน 2565 อินเดียได้รับน้ำฝนที่ตกลงมาในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณร้อยละ 10 โดย ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2565 พื้นที่ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
มีปริมาณน้ำฝนในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ประมาณร้อยละ 14 ร้อยละ 33 และร้อยละ 20 ตามลำดับ ขณะที่
ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำฝนในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 21
อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเพาะปลูกข้าวจะมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากมรสุมมีกําลังแรงขึ้น ส่งผลให้มีฝนตกปกคลุมมากกว่าครึ่งของประเทศ ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา (IMD) คาดการณ์ปริมาณฝนในปี 2565 จะอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ยปกติที่ระดับ
1.3 เท่า โดยจะมีการกระจายตัวทั่วประเทศในระดับที่ดี ซึ่งการพยากรณ์ว่าปริมาณฝนจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้น มีแนวโน้ม
ที่ช่วยให้ผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา (IMD) ได้กำหนดปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปกติ (average or normal rainfall) ในช่วงร้อยละ 96 - 104 ของค่าเฉลี่ย 50 ปี ที่ระดับ 88 เซนติเมตร (ประมาณ 34 นิ้ว) สำหรับฤดูกาลในช่วง 4 เดือน (มิถุนายน - กันยายน 2565) ซึ่งฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้นในทุกปีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภาคการเกษตรของอินเดีย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.10
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 356.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,707.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 372.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,043.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.30 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 336.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 751.00 เซนต์ (10,673.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 754.00 เซนต์ (10,536.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 137.00 บาท
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.53 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.30 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.10
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 356.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,707.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 372.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,043.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.30 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 336.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 751.00 เซนต์ (10,673.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 754.00 เซนต์ (10,536.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 137.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนกรกฎาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.673 ล้านตัน (ร้อยละ 1.94 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.64 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.14
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.49 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.98 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 7.02
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.16 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.22
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 283 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,270 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 290 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,210 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.41
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,900 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 535 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,990 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.31
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.565 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.282 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.665 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.300 ล้านตันของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 6.01 และร้อยละ 6.00 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 7.72 บาท เท่ากับราคาในสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 41.70 บาท ลดลงจาก กก.ละ 43.70 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.58
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียมีกำลังพิจารณาการลดภาษีส่งออกเพื่อกระตุ้นการส่งออก หลังจากที่ได้ลดภาษีส่งออกจากตันละ 375 ดอลลาร์สหรัฐเหลือตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมิถุนายน อีกทั้งอินโดนีเซียจะพิจารณาปรับราคาส่งออกอ้างอิง (export reference price) ทุก ๆ สองอาทิตย์ เพื่อให้สะท้อนถึงราคาในตลาดโลกที่มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าจะพิจารณาราคาอ้างอิงในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป เพื่อใช้กำหนดอัตราภาษี (ราคาอ้างอิงในปัจจุบันเท่ากับ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,273.54 ริงกิตมาเลเซีย (35.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 5,065.26 ริงกิตมาเลเซีย (41.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 15.63
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,365 ดอลลาร์สหรัฐฯ (49.25 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,486 ดอลลาร์สหรัฐฯ (52.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 8.15
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ราคาน้ำตาลตลาดโลกควรจะวิ่งอยู่ที่ประมาณ 18-20 เซนต์ ในช่วงฤดูการผลิต 2565/2566 ของภาคกลาง-ใต้ของบราซิล ก่อนที่จะเคลื่อนไหวลงไปต่ำกว่านี้ในฤดูการผลิตถัดไป ถ้าหากสภาพอากาศกลับมาเป็นปกติ ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จาก S&P Global Commodity Insights และยังกล่าวอีกว่ามูลค่าหุ้นของ Coca-Cola ได้เพิ่มขึ้น 20% นับตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งใกล้เคียงกับมูลค่าน้ำตาล
ประเทศอินเดียมีฝนที่ตกลงมามากขึ้นในช่วงนี้ช่วยให้ปริมาณน้ำฝนทั้งปีต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 2% จากที่เคยต่ำกว่า 25% ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน ตามการรายงานของ India Meteorological Department และข้อมูลจากกระทรวงเกษตรได้รายงานว่าพื้นที่เพาะปลูกพืชพันธุ์ในฤดูฝนนั้นมีการเพาะปลูก ตามหลังปีที่แล้วประมาณ 5% ตามตัวเลขวันที่ 1 กรกฎาคม แต่พื้นที่ปลูกอ้อยยังคงเท่ากับปีที่แล้ว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ราคาน้ำตาลตลาดโลกควรจะวิ่งอยู่ที่ประมาณ 18-20 เซนต์ ในช่วงฤดูการผลิต 2565/2566 ของภาคกลาง-ใต้ของบราซิล ก่อนที่จะเคลื่อนไหวลงไปต่ำกว่านี้ในฤดูการผลิตถัดไป ถ้าหากสภาพอากาศกลับมาเป็นปกติ ตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์จาก S&P Global Commodity Insights และยังกล่าวอีกว่ามูลค่าหุ้นของ Coca-Cola ได้เพิ่มขึ้น 20% นับตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งใกล้เคียงกับมูลค่าน้ำตาล
ประเทศอินเดียมีฝนที่ตกลงมามากขึ้นในช่วงนี้ช่วยให้ปริมาณน้ำฝนทั้งปีต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 2% จากที่เคยต่ำกว่า 25% ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน ตามการรายงานของ India Meteorological Department และข้อมูลจากกระทรวงเกษตรได้รายงานว่าพื้นที่เพาะปลูกพืชพันธุ์ในฤดูฝนนั้นมีการเพาะปลูก ตามหลังปีที่แล้วประมาณ 5% ตามตัวเลขวันที่ 1 กรกฎาคม แต่พื้นที่ปลูกอ้อยยังคงเท่ากับปีที่แล้ว
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,594.20 เซนต์ (21.13 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,653.84 เซนต์ (21.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.61
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 454.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.39 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 456.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 62.00 เซนต์ (49.30 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 70.22 เซนต์ (54.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.71
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,594.20 เซนต์ (21.13 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,653.84 เซนต์ (21.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.61
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 454.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.39 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 456.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.21 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 62.00 เซนต์ (49.30 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 70.22 เซนต์ (54.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.71
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.84 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 25.48
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.61
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.63 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.25 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.09
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 926.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 940.25 ดอลลาร์สหรัฐ (32.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 672.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.97 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 682.25 ดอลลาร์สหรัฐ (23.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,237.20 ดอลลาร์สหรัฐ (44.11 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,215.50 ดอลลาร์สหรัฐ (42.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.04 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.62 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 757.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 757.25 ดอลลาร์สหรัฐ (26.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.45 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,288.00 ดอลลาร์สหรัฐ (45.92 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,200.00 ดอลลาร์สหรัฐ (42.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 3.87 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.88 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.61 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 100.05 เซนต์(กิโลกรัมละ 79.58 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 104.11 เซนต์ (กิโลกรัมละ 81.43 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.90 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.85 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,859 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,708 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.86 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,478 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,383 บาทคิดเป็นร้อยละ 6.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 963 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,019 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 102.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 102.43 คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 107.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.03 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 46.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 326 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 317 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 316 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 332 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 328 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.46 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 371 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 370 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 391 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 383 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 350 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 351 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.54 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 83.26 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.59 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 102.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 102.43 คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.96 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 93.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 107.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.03 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 46.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 326 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 317 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 316 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 332 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 328 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.46 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 371 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 370 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 391 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 383 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 350 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 351 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.54 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 83.26 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.59 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 - 10 กรกฎาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.35 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.65 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.30 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 82.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.91 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 146.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.68 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 153.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.06 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิด
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 - 10 กรกฎาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.35 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 46.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.65 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.30 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 82.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.91 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 146.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.68 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 153.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.29 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.06 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิด