- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
ผอ. สศท. 3 เป็นประธานประชุมหารือ เรื่อง "แนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม กรณีศึกษา เนื้อโคขุนโพนยางคำ"
วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 (สศท. 3 อุดรธานี) เป็นประธานการประชุมหารือ เรื่อง “การศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม กรณีศึกษา เนื้อโคขุนโพนยางคำ” ณ ห้องประชุมสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยมีนางสาวเพ็ญศรี สาวัตถี ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจการเกษตร และนางสาวณรินทร์ภัทร เลขะพันท์รัชต์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ นำเสนอ(ร่าง) แนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม กรณีศึกษา เนื้อโคขุนโพนยางคำ (จังหวัดสกลนคร) ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป สถานการณ์การผลิตและการตลาด กลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการตลาดที่ใช้ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน และการวิเคราะห์ศักยภาพปัจจัยภายในและภายนอกของสินค้าเนื้อโคขุนโพนยางคำ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด โดยมีหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ และเกษตรกร ในจังหวัดสกลนคร อาทิ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สำนักงาน ธ.ก.ส. สำนักงานโครงการชลประทาน สำนักงานปฎิรูปที่ดินจังหวัด รองประธานกรรมการคนที่ 1 สหกรณ์ฯ โพนยางคำ จำกัด (นายสุชิน วันนาพ่อ) ผู้จัดการสหกรณ์ฯ (นายพรพิทักษ์ แก้วมะ) ประธานสภาเกษตรกร (สิบเอกวันชัย ราชชมภู) และรองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ดร.ประภากรณ์ แสงวิจิตร) ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ (GI) ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม : เนื้อโคขุนโพนยางคำ เช่น เครื่องสแกนพันธุกรรมของโคขุนมีชีวิตหรืออยู่ในระยะการขุน เพื่อตรวจสอบลักษณะความนุ่มของเนื้อและไขมันแทรก เพื่อวางแผนการผลิตให้ได้เนื้อไขมันแทรกในระดับ 3.5 (เกรดพรีเมี่ยม) การสนับสนุนและพัฒนาเครื่องเครื่องผสมอาหารสัตว์ (TMR) เทคโนโลยีคอกขุนแบบ real time เทคโนโลยีแยกน้ำเชื้อ เป็นต้น ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงร่างแนวทางดังกล่าวให้เกิดความสมบูรณ์และครบถ้วน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการกำหนดนโยบาย แผนงาน/โครงการพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์หรือสินค้า GI ที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน สามารถเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันทางการตลาด ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ที่มีความชัดเจนของจังหวัดต่อไป