- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 24-30 เมษายน 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,339 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,408 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,993 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,923 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,130 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,300 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.98
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,011 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 834 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,454 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.28 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 557 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 499 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,971 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 498 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,991 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 20 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,175 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 503 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,161 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.0104 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
นักวิเคราะห์มอง ‘ตลาดข้าว’ ทั่วโลกกําลังเข้าสู่ “สภาวะขาดแคลนหนักสุดในรอบ 20 ปี”
เนื่องจากภาวะสงครามและปัญหาสภาพอากาศที่กําลังส่งผลให้กําลังการผลิตข้าวทั่วโลกลดลง และกําลังเข้าสู่ สภาวะขาดแคลนหนักสุดในรอบ 20 ปี และอาจผลักดันราคาข้าวให้ปรับสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศผู้นําเข้า
ปัจจุบันมีผู้คนกว่า 3.5 พันล้านคนทั่วโลกที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ที่บริโภคถึงร้อยละ 90 ของข้าวทั่วโลก อย่างไรก็ตาม Fitch Solutions กล่าวว่า ตลาดข้าวทั่วโลกคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะ ขาดแคลนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบสองทศวรรษ และส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงในรอบ 10 ปี โดยราคาข้าวคาดว่าจะสูง
ไปจนถึงปี 2567 ซึ่งปัจจุบันราคาข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 17.30 ดอลลาร์ต่อตัน แต่ปรับลดลงเหลือ 14.50 ดอลลาร์ต่อตัน
ในปี 2567 “เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าอาหารหลักในหลายตลาดในเอเชีย ราคาจึงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ ของราคาอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่ยากจน” Charles Hart นักวิเคราะห์สินค้าโภคภัณฑ์ของ Fitch Solutions กล่าว
ปริมาณการขาดแคลนข้าวทั่วโลกในปี 2565/66 จะอยู่ที่ 8.7 ล้านตัน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณข้าวในตลาด คือ สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่กําลังดำเนินอยู่ รวมถึงสภาพอากาศเลวร้ายในประเทศผู้ผลิตข้าวอย่างเช่น จีน และ ปากีสถาน โดยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 พื้นที่การเกษตรในจีนซึ่งถือเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกได้รับผลกระทบจากมรสุมฤดูร้อนและน้ำท่วมอย่างหนัก ขณะเดียวกันผลผลิตของปากีสถานคิดเป็นร้อยละ 7.6 ของการค้าข้าวทั่วโลกลดลงร้อยละ 31 เนื่องจากน้ำท่วมรุนแรงเมื่อปีที่แล้ว
Oscar Tjakra นักวิเคราะห์อาวุโสจาก Rabobank ธนาคารอาหารและการเกษตรระดับโลก กล่าวว่า ประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวมากที่สุด คือ ประเทศผู้นําเข้าข้าวรายใหญ่ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และประเทศในแอฟริกา อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนจะกลับไปสู่ภาวะปกติในปีหน้า ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาข้าว
ในอนาคตต่ำกว่าระดับในปี 2565 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่มากกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนโควิด (2558 - 2562) โดยราคาข้าวอาจลดลงเกือบร้อยละ 10 ในปี 2567 อย่างไรก็ตาม การผลิตข้าวยังคงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ “การผลิตข้าวทั่วโลก
จะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2023/24 (ปี 2566/67) โดยคาดว่าผลผลิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบเป็นรายปีโดยอินเดียจะเป็นผู้ผลิตข้าวหลักของโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า”
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวใต้ราคาพุ่งหมื่นบาท/ตัน “ราคาดี” กว่าทุกภาคของประเทศ
ข้าวภาคใต้ “ราคาดี” กว่าทุกภาคของประเทศ กข.กว่า 10,000 บาท ข้าวพื้นเมืองทะยานขึ้น 30,000 บาท/ตัน เหตุพื้นที่ทำนาน้อย ความต้องการข้าวสูง ชี้หน้าร้อนแล้งจัด ชาวนาสงขลาผวา ส่งสัญญาณ “น้ำเค็ม” ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แหล่งทำนาจะประสบปัญหา
นายสุทธิพร กาฬสุวรรณ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ราคาข้าวเปลือกของชาวนาภาคใต้ตอนนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ประมาณ 10,500 บาท/ตัน และหากเป็นข้าวสารประมาณ 15,500 บาท/ตัน ส่วนข้าวพื้นเมือง เช่น ข้าวเฉี้ยง เล็บนก และสังข์หยด ที่สีเป็นข้าวสารแล้วราคาประมาณ 25,000-30,000 บาท/ตัน โดยปรับตัวสูงถึงร้อยละ 20-30 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นมาจากพื้นที่ทำนาลดลง แต่ความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจภาคใต้หลายจังหวัดมีการขยายตัวเติบโตขึ้น เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเริ่มทยอยเข้ามาจำนวนมาก ทั้งนี้ ทิศทางแนวโน้มราคาข้าวภาคใต้จะดีต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ ซึ่งราคาข้าวระดับนี้จะเป็นแรงดึงดูดให้ชาวนาหันกลับมาทำนาเพิ่มขึ้น ชาวนาจะอยู่ได้ในระดับราคานี้ “ปัจจุบันพื้นที่ทำนารายใหญ่ของภาคใต้ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช 179,333 ไร่ สงขลา 122,070 ไร่ และพัทลุง 110,944 ไร่ ภาพรวมกว่า 412,000 ไร่ และราคาข้าวทางภาคใต้ ขณะนี้ราคาดีที่สุดเมื่อเทียบกับจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ส่วนภาวะภัยแล้งอาจไม่ส่งผลกระทบต่อการทำนาข้าว เพราะยังมีแหล่งน้ำเพียงพอในฤดูกาลนาปรัง ซึ่งฤดูกาลทำนาปีจะสิ้นสุดกลางเดือนพฤษภาคม 2566 และจะมีการทำนาปรังต่อ”
นายนัด อ่อนแก้ว ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง ตำบลพันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ทำนาข้าวสังข์หยด และข้าว กข. โดยปีนี้ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงราคายังคงที่ 14,000 - 15,000 บาท/ตัน ส่วนการปลูกข้าวขาว กข. ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 9,000 บาท/ตัน ทั้งนี้ การทำนาข้าวสังข์หยดเดิมมีพื้นที่ปลูก 15,000 ไร่ แต่ลดจำนวนลงโดยเฉพาะอำเภอควนขนุนเหลือพื้นที่ประมาณร้อยละ 50 เนื่องจากชาวนาหันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน “แนวโน้มราคาข้าวจะดีขึ้นอีก เพราะเกิดฝนทิ้งช่วง แต่พื้นที่ปลูกรายใหญ่ที่อำเภอควนขนุน มักเกิดอุปสรรคเรื่องบริหารจัดการน้ำ เช่นปี 2566 ปริมาณน้ำเต็มเขื่อนมีการปล่อยออกมาทำให้กระทบกับชาวนา แต่ถึงฤดู
ทำนาปรังน้ำไม่พอ ฉะนั้นชาวนาไม่ควรขยายพื้นที่ปลูกมากเกิน เพราะจะได้รับความเสียหาย”
นายสมศักดิ์ พานิชย์ เจ้าของนาข้าวและโรงสีทิพย์พานิช ในฐานะประธานชมรมโรงสีข้าวระโนด จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ราคาข้าวเปลือกในปี 2566 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าเดิมประมาณร้อยละ 10 - 20 ขณะนี้ราคาอยู่ที่ 9,200 บาท/ตัน และเดือนพฤษภาคม 2566 เริ่มทำนาปรัง อยากส่งสัญญาณให้รัฐบาลช่วยดูแลบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งอาจเกิดปัญหาน้ำเค็มส่งผลให้ชาวนาอาจประสบกับการขาดทุน
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
TRC 2023 ย้ำไทยเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวสู้เวียดนาม ส่งออกปีนี้เป้า 8 ล้านตัน
กรมการค้าต่างประเทศจัดงาน Thailand Rice Convention (TRC) 2023 สัญจรครั้งแรก ย้ำการพัฒนาพันธ์ุข้าวไทยจะช่วยยกระดับการส่งออก เป้าปี 2566 อยู่ที่ 8 ล้านตัน
วันที่ 24 เมษายน 2566 นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้จัดงาน TRC 2023 สัญจรขึ้นเป็นครั้งแรก ณ จังหวัดเชียงราย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน โรงสีข้าว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมข้าว
ในส่วนภูมิภาคได้รับทราบแนวนโยบายและทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวไทย รวมถึงการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดข้าว และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศด้วย พร้อมกันนี้ประเทศไทยตั้งเป้าหมายส่งออกข้าวในปี 2566 โดยกระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ส่งออกข้าวไว้ที่ 7.5 - 8 ล้านตัน
ทั้งนี้ การจัดงานครั้งนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในระยะยาว อีกทั้งช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมพันธุ์ข้าวของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ รวมไปถึงการเพิ่มขีดความสามารถ เพราะต้องยอมรับว่าหลายประเทศมีการยกระดับและพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อการส่งออกมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 ขั้นตอนการส่งออกและมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย และกิจกรรมเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย และโรงสีสิริอินเตอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกรอย่างครบวงจร
งาน TRC 2023 สัญจร ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานกว่า 150 ราย โดยกิจกรรมดังกล่าวเป็นหนึ่งในการดำเนินงานสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563 - 2567 ซึ่งมีเป้าหมายให้ไทยเป็นผู้นำ
การผลิตการตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก
กรมฯ ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบยุทธศาสตร์ข้าวไทยด้านการตลาดต่างประเทศ ได้เร่งดำเนินการเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ข้าวดังกล่าวตามหลักการ “ตลาดนำการผลิต” ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สำหรับกิจกรรม TRC 2023 สัญจร ในครั้งต่อไป กรมฯ มีแผนจัดกิจกรรมในภาคกลางช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2566
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.97 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.31 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 375.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,768.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 384.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,084.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.34 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 316.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 640.00 เซนต์ (8,681.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชล ละ 671.00 เซนต์ (9,117.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.62 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 436.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.406 ล้านตัน (ร้อยละ 7.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว แต่เกษตรกรทยอยขุดหัวมันและมีหัวมันเน่าในหลายพื้นที่ตั้งแต่ช่วง
ต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตในปัจจุบันน้อยกว่าปกติ และมีเชื้อแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 22 – 27% สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการตามปกติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.14 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.32
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.36 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.77
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.61 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.68 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.81
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.95 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.95
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,270 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,280 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 545 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,680 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,560 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.93
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.621 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.292 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.678 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.302 ล้านตันของเดือนมีนาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 3.40 และร้อยละ 3.31 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.49 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.52 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.30 บาท ลดลงจาก กก.ละ 34.59 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.73
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียจะผ่อนคลายมาตรการ Domestic market obligation ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยลดปริมาณน้ำมันปาล์มที่บังคับให้ขายในประเทศก่อนส่งออกจากเดิม 1:6 เป็น 1:4 (ขายในประเทศ 4 ส่วน โควต้าส่งออก 1 ส่วน) แต่ก่อนหน้านี้อินโดนีเซียระงับใบอนุญาติการส่งออกน้ำมันปาล์มประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งอาจส่งผลให้อินโดนีเซียยังเข้มงวดเรื่องการส่งออกในระยะเวลาอันใกล้นี้
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,059.91 ริงกิตมาเลเซีย (31.70 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 4,098.95 ริงกิตมาเลเซีย (32.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 989.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,023.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.31
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย (ISMA) ปรับลดคาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลของประเทศอินเดียในปี 2565/2566 ลงเหลือ 32.8 ล้านตัน เทียบกับ 34 ล้านตัน ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ ด้านการคาดการณ์สำหรับน้ำตาลที่นำไปใช้ในการผลิตเป็นเอทานอลลดลง 11 % ซึ่งน่าจะเหลือน้ำตาลคงค้างในสต็อกที่ 6.2 ล้านตัน เทียบกับ 7 ล้านตันในปีที่แล้ว โดย ISMA กล่าวว่า ด้วยปัจจัยเหล่านี้ที่รายงานมานั้นส่งผลให้ไม่มีน้ำตาลเพียงพอสำหรับการที่จะส่งออกเพิ่มเติม
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.68 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,443.44 เซนต์ (18.26 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,504.68 เซนต์ (19.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.07
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 432.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.90 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 455.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.03
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 51.75 เซนต์ (39.27 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 54.56 เซนต์ (41.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.15
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.68 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,443.44 เซนต์ (18.26 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,504.68 เซนต์ (19.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.07
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 432.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.90 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 455.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.03
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 51.75 เซนต์ (39.27 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 54.56 เซนต์ (41.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.15
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.89 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,029.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,027.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 911.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.99 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 909.50 ดอลลาร์สหรัฐ (31.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,295.80 ดอลลาร์สหรัฐ (44.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,293.00 ดอลลาร์สหรัฐ (44.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 850.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,171.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.84 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,169.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.51 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 31.47
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.54 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 17.84
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,078 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,107 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,489 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,501 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 950 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 85.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.40 คิดเป็นร้อยละ 2.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.37 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.11 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 83.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 81.94 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ลดลงจากตัวละ 2,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.50 บาท คิดเป็นร้อยละ3.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.54 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 11.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.39 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 343 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 328 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 391 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 387 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 409 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 402 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 362 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.99 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.95 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 75.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.29 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 85.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.40 คิดเป็นร้อยละ 2.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.37 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.11 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 83.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 81.94 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท ลดลงจากตัวละ 2,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.70 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 84.50 บาท คิดเป็นร้อยละ3.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.54 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 11.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.39 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 344 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 343 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 328 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 391 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 387 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 409 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 402 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 362 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.99 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.95 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.95 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 75.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.48 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.29 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 24 – 30 เมษายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.44 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 62.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.57 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 133.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.98 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.79 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.84 บาท เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 24 – 30 เมษายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.44 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 62.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.57 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 133.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.98 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.79 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.84 บาท เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.07 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา