- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สศก. ร่วมเวที คณะมนตรีขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 ครั้งที่ 11 ร่วมยกระดับการดำเนินงาน APTERR เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียน +3
ข่าวที่ 47/2566 วันที่ 2 พฤษภาคม 2566
สศก. ร่วมเวที คณะมนตรีขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียน+3 ครั้งที่ 11
ร่วมยกระดับการดำเนินงาน APTERR เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียน +3
ร่วมยกระดับการดำเนินงาน APTERR เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคอาเซียน +3
นายวินิต อธิสุข รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีขององค์กรสำรองข้าวฉุกเฉินของอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 11 [The 11th Meeting of ASEAN Plus Three Emergency Rice Reserve (APTERR) Council] เมื่อวันที่ 25-26 เมษายน 2566 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยทำหน้าที่ประธานการประชุมร่วมกับ Mr. Sang Moon BYUN, Director, Food Grain Policy Division, Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs พร้อมนี้ นางสาวหิรัญญา สระสม ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้แก่ คณะมนตรีจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประเทศบวกสาม คือ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี รวมทั้งผู้แทนจากสำนักเลขานุการ AFSRB (ASEAN Food Security Reserve Board) และ AFSIS (ASEAN Food Security Information System) โดยครั้งนี้ ไทยทำหน้าที่เป็นประธานร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลี
สำหรับการประชุมคณะมนตรี APTERR จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของสำนักเลขานุการ APTERR รับทราบแผนงานการดำเนินงานและงบประมาณสำหรับปี 2566 รวมถึงรายงานสถานะทางการเงินของกองทุน APTERR ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือแนวทางการยกระดับการดำเนินงาน APTERR ให้เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยพิจารณาความเป็นไปได้ในการขยายสินค้าอาหารอื่น (ข้าวสาลี) เพื่อสำรองนอกจากข้าว และการเพิ่มจำนวนสมาชิก APTERR นอกเหนือจาก ASEAN+3 รวมถึงข้อเสนอที่จะรวม AFSIS เข้ากับ APTERR
โอกาสนี้ รองเลขาธิการ สศก. ในฐานะประธานร่วมของการประชุมฯ ได้เน้นย้ำกับประเทศสมาชิกว่าการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ และเป็นการพบกันครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังจากโควิด-19 และยังคงเป็นปีที่ประเทศสมาชิกต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งความไม่แน่นอนของความมั่นคงทางอาหารรวมถึงภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา APTERR มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความมั่นคงอาหารในภูมิภาค และได้รับการกล่าวถึงในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลกว่าเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญสำหรับการช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน โดยเฉพาะภัยธรรมชาติ รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ทั้งนี้ ประเทศไทย ยินดีสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้ประโยชน์จาก APTERR เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ด้านอาหารและลดความยากจนในภูมิภาค พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาการบริหารจัดการสำรองข้าวและเสริมสร้างกลไกการดำเนินงาน รวมถึงการบริหารจัดการกองทุน APTERR อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของ APTERR ให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินจากธรรมชาติและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมร่วมกัน
“การประชุมฯ ครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีของไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพ (Host Country) ของสำนักเลขานุการ APTERR และประเทศสมาชิกที่จะหารือร่วมกันในระดับนโยบายถึงแนวทางการยกระดับการดำเนินงานของ APTERR ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาวและเกิดประโยชน์สูงสุดกับภูมิภาค เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายใหม่ในอนาคต” รองเลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับการประชุมคณะมนตรี APTERR จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของสำนักเลขานุการ APTERR รับทราบแผนงานการดำเนินงานและงบประมาณสำหรับปี 2566 รวมถึงรายงานสถานะทางการเงินของกองทุน APTERR ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ ได้มีการหารือแนวทางการยกระดับการดำเนินงาน APTERR ให้เป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยพิจารณาความเป็นไปได้ในการขยายสินค้าอาหารอื่น (ข้าวสาลี) เพื่อสำรองนอกจากข้าว และการเพิ่มจำนวนสมาชิก APTERR นอกเหนือจาก ASEAN+3 รวมถึงข้อเสนอที่จะรวม AFSIS เข้ากับ APTERR
โอกาสนี้ รองเลขาธิการ สศก. ในฐานะประธานร่วมของการประชุมฯ ได้เน้นย้ำกับประเทศสมาชิกว่าการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญ และเป็นการพบกันครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังจากโควิด-19 และยังคงเป็นปีที่ประเทศสมาชิกต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งความไม่แน่นอนของความมั่นคงทางอาหารรวมถึงภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา APTERR มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความมั่นคงอาหารในภูมิภาค และได้รับการกล่าวถึงในเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลกว่าเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญสำหรับการช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน โดยเฉพาะภัยธรรมชาติ รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ทั้งนี้ ประเทศไทย ยินดีสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้ประโยชน์จาก APTERR เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ด้านอาหารและลดความยากจนในภูมิภาค พร้อมเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาการบริหารจัดการสำรองข้าวและเสริมสร้างกลไกการดำเนินงาน รวมถึงการบริหารจัดการกองทุน APTERR อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของ APTERR ให้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินจากธรรมชาติและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมร่วมกัน
“การประชุมฯ ครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีของไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพ (Host Country) ของสำนักเลขานุการ APTERR และประเทศสมาชิกที่จะหารือร่วมกันในระดับนโยบายถึงแนวทางการยกระดับการดำเนินงานของ APTERR ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับความมั่นคงด้านอาหารในระยะยาวและเกิดประโยชน์สูงสุดกับภูมิภาค เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายใหม่ในอนาคต” รองเลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้าย
**************************************
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ
ข้อมูล : กองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ