- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 12-18 มิถุนายน 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์เบื้องต้น ณ เดือนพฤศจิกายน 2565
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.898 ล้านไร่ ผลผลิต 27.013 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 429 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับ
ปีการผลิต 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.917 ล้านไร่ ผลผลิต 26.703 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 424 กิโลกรัม พบว่าเนื้อที่เพาะปลูก ลดลงร้อยละ 0.03 ส่วนผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.16 และร้อยละ 1.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าเกษตรกรปรับเปลี่ยนที่นาบางส่วนไปปลูกพืชอื่นที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า
เช่น มันสำปะหลัง แต่เนื้อที่ลดลงไม่มาก เพราะเกษตรกรยังคงคาดหวังว่ารัฐบาลจะมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหมือนที่ผ่านมา สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ คาดว่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว จึงส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตข้าวทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ เดือนมิถุนายน 2566 คาดว่ามีการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2566/67 จำนวน 22.924 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 36.45 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด และตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 คาดว่ามีการเพาะปลูกข้าวนาปี จำนวน 43.913 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 69.82 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.746 ล้านไร่ ผลผลิต 7.614 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.547 ล้านไร่ ผลผลิต 6.171 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 646 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.03 ร้อยละ 23.39 และร้อยละ 0.31 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีมากกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนักและปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยาย
เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอ
ต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เดือนมิถุนายน 2566 คาดว่ามีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2566 ปริมาณ 0.542 ล้านตัน หรือคิดเป็น
ร้อยละ 7.12 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 2566 คาดว่ามีการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ปริมาณ 7.300 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 95.88 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,818 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,790 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,887 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,030 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.50
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 874 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,074 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 871 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,043 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 31 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,514 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 507 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,488 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,721 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,695 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.4091 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 อินเดีย
กระทรวงเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร (the Ministry of Agriculture & Farmers Welfare) รายงานว่า รัฐบาลอินเดียได้ปรับราคาอุดหนุนข้าวเปลือกขั้นต่ำ (the Minimum Support Price: MSP) ในปี 2566/67 (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567) โดยคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (the Cabinet Committee on Economic Affairs: CCEA) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติให้เพิ่มราคาอุดหนุนข้าวเปลือกขั้นต่ำ (MSP) สำหรับฤดูการผลิต Kharif Crops เพื่อให้เกษตรกรได้รับราคาข้าวและค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม โดยรัฐบาลได้ปรับราคาอุดหนุนขั้นต่ำสำหรับข้าวเปลือกเกรดทั่วไป (common-grade paddy) ปี 2566/67 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.0 เป็น 2,183 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 264 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) จากเดิม 2,040 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 247 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) เมื่อปี 2565/66 ข้าวเปลือกเกรด A (Grade A paddy) ปรับราคาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.9 เป็น 2,203 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 267 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) จากเดิม 2,060 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม (ประมาณ 250 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ทั้งนี้ รัฐบาลได้ประเมินต้นทุนการผลิตข้าว ในปี 2566/67 ที่ราคา 1,455 รูปี ต่อ 100 กิโลกรัม รวมทั้งกำหนดราคาอุดหนุนขั้นต่ำที่เหมาะสมเพื่อให้เกษตรกรมีกําไร (Margin over cost in percent) ประมาณร้อยละ 50
กระทรวงกิจการผู้บริโภคอาหารและการแบ่งสรรสาธารณะ (the Ministry of Consumer Affairs, Food & Public Distribution) รายงานว่า รัฐบาลอินเดียได้พิจารณาให้มีการจําหน่ายข้าวจากสต็อกส่วนกลาง (central pool stock) ภายใต้แผนโครงการเปิดตลาดขาย (Open Market Sale Scheme: OMSS) ปี 2566 ให้กับโรงงานแป้ง (flour mills) ผู้ค้าเอกชน (private traders) ผู้ซื้อปริมาณมาก (bulk buyers) และโรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าว (manufacturers of rice products) เพื่อช่วยให้ราคาข้าวในประเทศปรับลดลง โดยคาดว่าปริมาณข้าวที่จะมีการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-auction) จะเริ่มพิจารณาในระยะเวลาอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้พิจารณาที่จะระบายข้าวสาลีจากสต็อกส่วนกลางภายใต้แผน OMSS ในระยะแรกจำนวน 1.5 ล้านตัน เพื่อควบคุมราคาภายในประเทศ โดยข้าวสาลี
จะจําหน่ายเป็นล็อตขนาด 10-100 ตัน ซึ่งจะเปิดให้ลงทะเบียนบนแพลตฟอร์มการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การอาหารแห่งชาติ (the Food Corporation of India: FCI)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2.2 อิรัก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานว่า ในปี 2566 คาดว่าอิรักจะนําเข้าข้าวประมาณ 2.2 ล้านตัน ซึ่งหากเป็นไปตามที่คาดการณ์ อิรักจะเป็นผู้นําเข้าข้าวรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคในประเทศ เพราะคาดว่าในปี 2566 จะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่เพาะปลูกข้าว โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566
อิรักนําเข้าข้าวประมาณ 815,000 ตัน เป็นการนําเข้าข้าวจากประเทศไทย อินเดีย และสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ รัฐบาลอิรักได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) กับสหรัฐฯ
ที่ขอความร่วมมือให้อิรักซื้อข้าวจากสหรัฐไม่น้อยกว่า 200,000 ตัน ในปี 2565 – 2566 โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2566 อิรักนำเข้าข้าวจากสหรัฐฯ แล้วประมาณ 88,000 ตัน แม้ว่าราคาข้าวของสหรัฐจะสูงกว่าประเทศผู้ส่งออกรายอื่นก็ตาม ซึ่งจากรายงานการส่งออกรายสัปดาห์ของสหรัฐ (the weekly U.S. Export Sales) พบว่า ในเดือนพฤษภาคม 2566
สหรัฐส่งออกข้าวไปยังอิรัก จำนวน 44,000 ตัน และยังมียอดคงค้างอีกประมาณ 80,000 ตัน ที่มีกำหนดส่งมอบ
ภายในปี 2566/67
ปี 2566 ในช่วง 4 เดือนแรก (มกราคม - เมษายน) ไทยและอินเดียส่งออกข้าวไปยังอิรักประมาณ 470,000 ตัน และประมาณ 225,000 ตัน ตามลำดับ รวมคิดเป็นร้อยละ 57 ของส่วนแบ่งตลาดข้าวในอิรัก ซึ่งการส่งออกข้าวของไทยและอินเดียยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากราคาแข่งขันได้ และมีอุปทานข้าวจำนวนมาก และตั้งแต่ปี 2565 ไทยสามารถเป็น
ผู้จัดหาข้าวหลักให้กับอิรัก หลังจากที่ต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศอินเดียและเวียดนามตั้งแต่ปี 2557 ยกเว้นการส่งออกข้าวบาสมาติที่อินเดียยังคงเป็นผู้ส่งออกหลัก อย่างไรก็ตาม อิรักได้ลดการซื้อข้าวจากอินเดีย เนื่องจากผู้บริโภคชอบข้าวขาวที่ไม่มีกลิ่นหอมจากประเทศไทยมากกว่า และคาดการณ์ว่าในปี 2567 อิรักจะนําเข้าข้าวจากต่างประเทศลดลง เนื่องจากคาดว่าผลผลิตในประเทศจะกลับมาเพิ่มขึ้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 372.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,807.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 366.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,633.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 174.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1,206.35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,163.06 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 3.72 โดย สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ ญี่ปุ่น แคนนาดา และอาร์เจนตินา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 193.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 179.36 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 7.81 โดย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน สหภาพยุโรป เซอร์เบีย รัสเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และปารากวัย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น จีน สหภาพยุโรป เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน อียิปต์ โคลัมเบีย และแอลจีเรีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 620.00 เซนต์ (8,502.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 605.00 เซนต์ (8,315.00 บาท/ตัน ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 187.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.65 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.51 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 372.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,807.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 366.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,633.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 174.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1,206.35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,163.06 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 3.72 โดย สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ ญี่ปุ่น แคนนาดา และอาร์เจนตินา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 193.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 179.36 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 7.81 โดย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน สหภาพยุโรป เซอร์เบีย รัสเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และปารากวัย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น จีน สหภาพยุโรป เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน อียิปต์ โคลัมเบีย และแอลจีเรีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 620.00 เซนต์ (8,502.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 605.00 เซนต์ (8,315.00 บาท/ตัน ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 187.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.815 ล้านตัน (ร้อยละ 2.49 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังเป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.76 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.87 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.83
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.93 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.09 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.26
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.35 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.24
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.40 บาท ราคาคงตัวที่กิโลกรัมละ 18.40 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,100 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ 264 ดอลลาร์สหรัฐ (9,180 บาทต่อตัน) คิดเป็นร้อยละ 0.57
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,500 บาทต่อตัน) ราคาคงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,550 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.548 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.279 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.704 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.307 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 9.15 และร้อยละ 9.12 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.86 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 4.83 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.62
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.33 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.06 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้ามาเลเซียปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 6 ในวันที่ 16 มิ.ย. 2566 เนื่องจากสภาพอากาศแล้งทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริการลดลง โดยสัญญาซื้อขายน้ำมันปาล์มล่วงหน้า สำหรับการส่งมอบเดือนกันยายนจาก Bursa Malaysia Derivative Exchange เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.13 ไปอยู่ที่ตันละ 3,723 ริงกิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,425.85 ริงกิตมาเลเซีย (26.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 3,406.28 ริงกิตมาเลเซีย (26.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 908.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31.63 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 883.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.83
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- สำนักงานเลขาธิการกระทรวงการค้าต่างประเทศ (SECEX) ของประเทศบราซิล รายงานข้อมูลว่า ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน บราซิลได้มีการส่งออกน้ำตาลอยู่ที่ 739,000 ตัน ซึ่งเป็นอัตราการนำน้ำตาลลงเรือเฉลี่ยต่อวันที่สูงกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 11 %
- ประธานสหภาพแรงงานอ้อยแห่งชาติของประเทศเม็กซิโก รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลของเม็กซิโกน่าจะฟื้นตัวขึ้นเป็น 5.8 - 6.0 ล้านตัน ในปี 2566/2567 จากจำนวน 5.3 ล้านตัน ในฤดูกาลนี้ด้านตัวแทนสหภาพแรงงานอ้อยอีกรายหนึ่ง เตือนว่า เม็กซิโกอาจจะประสบปัญหาการขาดแคลน น้ำตาลในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ด้านราคาน้ำตาลหน้าโรงงานของเม็กซิโกสูงถึง 18,000 เปโซเม็กซิโก/ตัน (1,041 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน) ในขณะที่ราคาน้ำตาลขายปลีกอยู่ที่ประมาณ 25 เปโซเม็กซิโก/กิโลกรัม (1.45 ดอลลาร์สหรัฐฯ/กิโลกรัม)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,410.9 เซนต์ (18.04 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,362.6 เซนต์ (17.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.59
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 399.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 400.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.69 เซนต์ (41.93 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 51.54 เซนต์ (39.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.23
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,410.9 เซนต์ (18.04 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,362.6 เซนต์ (17.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.59
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 399.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 400.86 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.69 เซนต์ (41.93 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 51.54 เซนต์ (39.52 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.23
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท
ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 12.28
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,017.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,016.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 871.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 869.75 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,309.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,307.75 ดอลลาร์สหรัฐ (45.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 898.75 ดอลลาร์สหรัฐ (31.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,157.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.83 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,155.50 ดอลลาร์สหรัฐ (39.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.76 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 14.95
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.73 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 18.42
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,882 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,107 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,398 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,470 บาทคิดเป็นร้อยละ 4.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 79.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.04 คิดเป็นร้อยละ 0.85 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 84.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.43 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 79.21 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.81 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 357 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 352 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 397 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 393 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 404 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 376 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 430 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 445 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 90.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.21 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.78 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 79.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.04 คิดเป็นร้อยละ 0.85 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 84.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.43 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 79.21 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อเกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.81 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 357 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 352 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 397 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 393 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 404 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 376 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 430 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 445 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.80 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 90.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.21 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.45 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.89 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.78 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 12 – 18 มิถุนายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.29 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.46 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.39 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.26 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.92 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 12 – 18 มิถุนายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.29 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.46 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.39 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.26 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.92 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา