- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 28 สิงหาคม-3 กันยายน 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566 จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของ
ต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 4.279 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 16.61 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.721 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.99 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,948 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,824 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,662 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,973 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.75
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 33,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 20,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,039 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 926 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,549 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 510 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 646 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,497 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 612 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,512 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.56 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 985 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 644 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,428 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,406 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,022 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.8254 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เมียนมา
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า สหพันธ์ข้าวเมียนมากำลังวางแผนจำกัดการส่งออกข้าวเป็นการชั่วคราว
เพื่อควบคุมราคาข้าวในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับอินเดียที่เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของโลกได้ประกาศระงับการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ส่งผลให้อุปทานข้าวในตลาดโลกลดลงประมาณ 10 ล้านตัน หรือลดลง
ร้อยละ 20 ของปริมาณข้าวโลก โดยเมียนมาจะจำกัดการส่งออกข้าวเป็นการชั่วคราวระยะเวลา 45 วัน นับตั้งแต่
ต้นเดือนกันยายน 2566 เป็นต้นไป
ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุว่า เมียนมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 5 ของโลก ส่งออกข้าว
ได้ปีละไม่น้อยกว่า 2 ล้านตัน แม้ว่าเมียนมาจะไม่ใช่ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่เหมือนอินเดียหรือไทยก็ตาม แต่ในช่วงนี้อุปทานข้าวโลกตึงตัวจึงเกิดข้อจำกัดต่างๆ ขึ้น ซึ่งการที่เมียนมามีความเคลื่อนไหวด้านมาตรการจำกัดการส่งออกข้าว
ในครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณไปยังตลาดข้าวโลกทำให้ประเทศผู้ซื้อมีความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นจากเดิม
ทั้งนี้ ราคาข้าวทั่วโลกที่เสนอขายโดยประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่รวมทั้งไทยและเวียดนามมีการปรับราคาสูงขึ้น นับตั้งแต่อินเดียตัดสินใจควบคุมอุปทานข้าว ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงสูงที่สุดในเอเชีย
โดยข้าวหัก 5% ของเวียดนามราคาตันละ 650-660 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 22,637-22,985 บาท) ขณะที่ข้าวหัก 5% ของไทยราคาตันละ 630 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 21,940 บาท) อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้นำเข้าข้าวทั่วโลกรวมถึงฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียกำลังเร่งซื้อข้าว เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ อาจจะส่งผลให้ผลผลิตข้าว
ในประเทศลดลง
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.8254 บาท
2) อินเดีย
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานโดยอ้างแถลงการณ์ของกระทรวงการคลังอินเดีย ที่ประกาศขึ้นภาษีส่งออกข้าวนึ่งร้อยละ 20 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2566 เพื่อรักษาเสถียรภาพ
ของราคาข้าวภายในประเทศ ซึ่งมาตรการขึ้นภาษีส่งออกข้าวนึ่งดังกล่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลอินเดียประกาศระงับ
การส่งออกข้าวขาวทุกชนิดยกเว้นข้าวบาสมาติ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566 เนื่องจากราคาข้าวในประเทศ
ปรับสูงขึ้น รวมทั้งมีความกังวลว่าในปี 2566 ปริมาณผลผลิตข้าวของอินเดียอาจจะลดลงจากปัญหาภัยแล้ง
ขณะที่ผู้ประกอบการค้าข้าวในนครมุมไบของอินเดียกล่าวว่า มาตรการภาษีดังกล่าว จะทำให้ราคาข้าวนึ่ง
ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์
ที่มา สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.61 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,701.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 345.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,015.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.61 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 314.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 467.00 เซนต์ (6,481.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 471.00 เซนต์ (6,532.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 51.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.61 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,701.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 345.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,015.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.61 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 314.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 467.00 เซนต์ (6,481.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 471.00 เซนต์ (6,532.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 51.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ
โดยเดือนสิงหาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.648 ล้านตัน (ร้อยละ 1.98 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น ทำให้ราคาสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.81 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.44
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.90 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.58
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.59 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.58 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.12
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.50 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 273 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,590 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 272.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,570 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.37
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,750 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,760 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.389 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.250 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.383 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 0.43 และร้อยละ 0.40 ตามลำดับ
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 0.43 และร้อยละ 0.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.38 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.32 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.13
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.05 บาท ลดลงจาก กก.ละ 30.68 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.05
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินเดียมีการนำเข้าน้ำมันพืชบริโภค ในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากเดือนก่อน รวม 1.85 ล้านตัน เพื่อเตรียมสำหรับงานเทศกาล แรงซื้อนี้จะช่วยลดสต็อกน้ำมันปาล์มในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย
ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมันปาล์ม รวมถึงแรงซื้อน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยความแตกต่างด้านราคาน้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันทานตะวันที่กว้างขึ้น
ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมันปาล์ม รวมถึงแรงซื้อน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้นจากปัจจัยความแตกต่างด้านราคาน้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันทานตะวันที่กว้างขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,818.47 ริงกิตมาเลเซีย (29.27 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,847.76 ริงกิตมาเลเซีย (29.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.76
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 961.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.89 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 947.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.53
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- คณะกรรมการน้ำตาล (The Sugar Commissionerate) ของประเทศอินเดีย รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) จะลดลงเหลือ 9.4 ล้านตัน ในปี 2566/2567 และปริมาณน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ อาจลดต่ำกว่า 9 ล้านตัน หากฝนยังคงลดลง โดยเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลประมาณ 1.5 ล้านตัน จะถูกนำไปผลิตเป็นเอทานอล ในทำนองเดียวกันกรรมาธิการอ้อยของรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) กล่าวว่า ผลผลิตน้ำตาลของรัฐ อาจลดลงประมาณ 20 % เนื่องจากมีฝนตกไม่เพียงพอ และเสริมว่าโรงงานน้ำตาลควรชะลอการเริ่มต้นเปิดหีบเพื่อให้อ้อยมีเวลาเติบโตมากขึ้น ด้านประธานสมาพันธ์สหกรณ์โรงงานน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ กล่าวว่า หากมีฝนที่ดีในเดือนกันยายนจะช่วยให้ผลผลิตฟื้นตัวได้ และสมาพันธ์สหกรณ์โรงงานน้ำตาลแห่งชาติ (The National Federation of Cooperative Sugar Factories) ของอินเดีย กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าการผลิตของรัฐมหาราษฏระ และกรณาฏกะจะลดลง แต่อินเดียยังมีปริมาณน้ำตาลที่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 24.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,374.92 เซนต์ (17.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,365.48 เซนต์ (17.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.69
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 419.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.81 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 418.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.77 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.21 เซนต์ (51.48 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 66.32 เซนต์ (51.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 24.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,374.92 เซนต์ (17.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,365.48 เซนต์ (17.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.69
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 419.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.81 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 418.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.77 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.21 เซนต์ (51.48 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 66.32 เซนต์ (51.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.17
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,007.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,006.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 861.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,383.20 ดอลลาร์สหรัฐ (48.18 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,382.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 949.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 948.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.04 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,145.80 ดอลลาร์สหรัฐ (39.91 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,145.60 ดอลลาร์สหรัฐ (39.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.72 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.59
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.01 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.90
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,921 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,880 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,361 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,392 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 932 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.44 คิดเป็นร้อยละ 1.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 77.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.61 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.68 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.00 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 368 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 367 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 380 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 403 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 401 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 418 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 414 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.03 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.59 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.96 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.96 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.87 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.36 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.44 คิดเป็นร้อยละ 1.32 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 77.46 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.61 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.68 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.00 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 368 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 367 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 352 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 380 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 403 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 401 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 418 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 414 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.03 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.59 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.96 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.96 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.87 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 104.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 98.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.73 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.25 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 104.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 98.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 73.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.73 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา