- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 11-17 กันยายน 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566 เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของ
ต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 4.279 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 16.61 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.721 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.99 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,030 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,958 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,232 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,996 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,490 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 890 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,503 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 911 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,044 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.31 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 541 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 621 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,982 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 640 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,512 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.97 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 530 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 618 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,875 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 623 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,914 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 39 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3970 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
สำนักข่าวซินหัว รายงานข้อมูลจากสำนักงานศุลกากรของเวียดนาม ระบุว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม – สิงหาคม) เวียดนามส่งออกข้าวสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์คิดเป็นร้อยละ 89 ของเป้าหมายส่งออกตลอดทั้งปี โดยส่งออกปริมาณ 6 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือส่งออกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 20 และร้อยละ 34 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อุปทานข้าวในตลาดเวียดนามค่อนข้างคงที่ช่วงไตรมาสที่ 4 ขณะที่หลายประเทศมีความต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ ในปี 2566 กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าว 7.5 - 7.8 ล้านตัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในประเทศเอื้ออำนวย นอกจากนี้ สมาคมอาหารเวียดนาม ระบุว่า ราคาส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงสูงที่สุดในโลก โดยราคาข้าวหัก 5% ตันละ 638 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 22,583 บาท) และข้าวหัก 25% ตันละ 623 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 22,052 บาท)
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3970 บาท
2) ฟิลิปปินส์
นายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนีย ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ ได้กำหนดราคาข้าวขั้นสูงเมื่อช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน 2566 เพื่อควบคุมต้นทุนการค้าปลีกที่ปรับราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีรายงานว่า มีผู้ประกอบการค้าข้าวบางรายได้กักตุนข้าว
นายอัลเฟรโด ปาสควาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์อาจจะมีการยกเลิกการกำหนดราคาข้าวขั้นสูงภายใน 2 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงที่เกษตรกรเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตทั่วประเทศ ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้มีการหารือเรื่องการนำเข้าข้าวกับเวียดนาม
ซึ่งเป็นประเทศส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
นอกจากนี้ นายลีโอ เซบาสเตียน ปลัดกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 คาดว่า
จะมีผลผลิตข้าวในประเทศไม่น้อยกว่า 11 ล้านตัน และหากไม่มีพายุไต้ฝุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว คาดว่าผลผลิตข้าวในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านตัน ทั้งนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวใกล้เคียงกับปี 2565 ที่มีผลผลิต 19.76 ล้านตัน โดยในช่วง
ครึ่งแรกของปี 2566 มีผลผลิต 9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 3
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 323.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,433.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,488.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 55.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 467.40 เซนต์ (6,589.57 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 470.35 เซนต์ (6,589.58 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 0.01 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.72 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 323.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,433.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,488.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 55.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 467.40 เซนต์ (6,589.57 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 470.35 เซนต์ (6,589.58 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 0.01 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.851 ล้านตัน (ร้อยละ 2.60 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 ออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น ส่งผลให้มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังราคาปรับสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.01 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.87 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.88
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.03 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.28
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.88 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.65 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.66
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.56 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.22
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 277.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,880 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,720 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.91
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,120 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 564 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,930 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.383 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.388 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.250 ล้านตันของเดือนสิงหาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 0.36 และร้อยละ 0.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.23 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.27
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 28.65 บาท ลดลงจาก กก.ละ 29.56 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.08
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.50 อยู่ที่ 2.12 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มที่สูงสุดในปี 2566 ของมาเลเซีย โดยสต็อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมาจากปริมาณการส่งออกที่ลดลงถึงร้อยละ 9.78 อยู่ที่ 1.22 ล้านตัน ในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ ปริมาณส่งออกของมาเลเซียยังคงมีแนวโน้มลดลงในเดือนกันยายน เนื่องจากปริมาณสต็อกของประเทศคู่ค้าที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นและราคาน้ำมันพืชคู่แข่งที่ปรับตัวลดลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,646.44 ริงกิตมาเลเซีย (28.18 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,776.97 ริงกิตมาเลเซีย (29.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.46
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.45 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,005.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.77 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.28
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- สำนักงานกำกับดูแลน้ำตาลแห่งฟิลิปปินส์ (SRA) ได้ดำเนินการจัดสรรน้ำตาลทั้งหมดของประเทศในปี 2566/2567 โดยมีการจัดสรรน้ำตาลจำนวน 1.85 ล้านตัน สำหรับตลาดในประเทศ ซึ่งความต้องการน้ำตาลภายในประเทศคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.2 ล้านตัน เป็นปีที่สามติดต่อกันที่ฟิลิปปินส์ไม่มีการจัดสรรน้ำตาลสำหรับโควตาส่งออกสหรัฐฯ (US quota) โดย SRA เตือนว่า สภาพอากาศเลวร้ายอาจทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 10 – 15
- บริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting รายงานว่า ราคาน้ำตาลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับสูงขึ้น ได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อของกลุ่มกองทุน ในขณะที่ผู้ผลิตชาวบราซิลใช้ประโยชน์จากการขายน้ำตาลล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงประมาณร้อยละ 35 ของการส่งออกปี 2567/2568 และเตือนว่า ตลาดน้ำตาลมีความเสี่ยงจากแรงเทขายของกลุ่มกองทุน ในทางกลับกัน JM Financial Institutional Securities ยังคงเชื่อว่า การผลิตน้ำตาลของอินเดียในปี 2566/2567 อยู่ที่ 30 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าที่ ISMA คาดการณ์ไว้ที่ 31.7 ล้านตัน และเสริมว่า รัฐบาลอินเดียจะไม่ตัดสินใจเรื่องการส่งออกจนกระทั่งหลังเดือนพฤษภาคม 2567 ซึ่งอินเดียปิดหีบแล้ว
- สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก ระบุว่า ผลผลิตน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ในปี 2566/2567 มีปริมาณอยู่ที่ 9 ล้านตัน ลดลงจาก 10.5 ล้านตัน ในฤดูกาลที่ผ่านมา เนื่องจากขาดฝน ด้านสื่อท้องถิ่น รายงานว่า สภาพอากาศที่แห้งแล้งกระตุ้นให้เกษตรกรขายอ้อยสำหรับเป็นอาหารสัตว์มากขึ้น ส่งผลให้อุปทานน้ำตาลลดลง และรายงานเพิ่มเติมว่า การเปิดหีบควรเริ่มดำเนินการโดยเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียอ้อยที่จะนำไปเป็นอาหารสัตว์ และส่งให้กับโรงงานในรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) ที่อยู่ใกล้เคียง
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.54 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,340.7 เซนต์ (17.64 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,350.9 เซนต์ (17.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.7
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 402.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.43 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 407.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.6 เซนต์ (50.21 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 64.5 เซนต์ (51.48 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.0
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.54 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,340.7 เซนต์ (17.64 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,350.9 เซนต์ (17.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.7
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 402.9 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.43 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 407.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.6 เซนต์ (50.21 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 64.5 เซนต์ (51.48 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.0
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 989.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 996.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 847.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,359.20 ดอลลาร์สหรัฐ (48.12 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,368.00 ดอลลาร์สหรัฐ (48.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 932.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 938.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,126.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.86 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,133.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.67 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 14.24
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.90 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.52
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,088 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,930 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,464 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,388 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 899 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 69.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.09 คิดเป็นร้อยละ 0.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 75.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.60 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.35 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.50 คิดเป็นร้อยละ 1.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.65 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.31 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 368 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 369 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 381 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 409 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 406 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 421 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 391 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 423 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 81.03 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.35 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 69.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 70.09 คิดเป็นร้อยละ 0.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 75.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.60 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.35 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.50 คิดเป็นร้อยละ 1.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.65 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.31 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ลดลงจากตัวละ 13.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 368 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 369 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 381 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 409 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 406 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 421 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 391 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 423 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 81.03 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.35 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 11 - 17 กันยายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.22 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.32 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 11 - 17 กันยายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.28 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.22 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 101.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.32 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.31 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา