- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25 กันยายน-1 ตุลาคม 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566 เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของ
ต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 4.279 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 16.61 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูลเบื้องต้น ณ เดือนกันยายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 7.760 ล้านไร่ ผลผลิต 4.787 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 617 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 34.72 ร้อยละ 38.01 และร้อยละ 5.08 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่า ปี 2566 ทำให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 3.039 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 63.49 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,078 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,069 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,268 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,222 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,490 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 870 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,465 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 877 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,362 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 103 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 608 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,989 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 612 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,886 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 103 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 605 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,880 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 609 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,778 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 102 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.1661 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ฟิลิปปินส์
สำนักข่าวฟิลิปปินส์ (The Philippine News Agency : PNA) รายงานว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์กําลังวางแผนที่จะลดภาษีนําเข้าข้าว ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะดำเนินการแทนมาตรการกำหนดเพดานราคาข้าว (the price ceiling on rice) โดยเมื่อต้นเดือนกันยายน 2566 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้กำหนดเพดานราคาข้าวสารเกรดธรรมดา (regular milled rice) กิโลกรัมละ 41 เปโซ (ประมาณกิโลกรัมละ 26.57 บาท) และข้าวคุณภาพดี (well-milled rice) กิโลกรัมละ 45 เปโซ (ประมาณกิโลกรัมละ 29.16 บาท) เพื่อควบคุมราคาข้าวในตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผู้อํานวยการสำนักงานเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งชาติ (The National Economic and Development Authority : NEDA) กล่าวว่า มาตรการกำหนดเพดานราคาข้าวจะยกเลิกได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลมีทางเลือกที่เหมาะสมกว่า
ในการควบคุมการปรับขึ้นของราคาข้าวในตลาด จึงเป็นเหตุผลที่ทาง NEDA จะเข้าพบรัฐบาลเพื่อแนะนําทางเลือกอื่น
ซึ่งทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ การลดภาษีนําเข้าข้าวในขณะที่ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาล
จะดำเนินการลดภาษีนำเข้าข้าว ต้องมีการตรวจสอบว่าเกษตรกรจะยังคงได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาลหรือไม่ เนื่องจากการลดภาษีนําเข้าข้าวจะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีน้อยลง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อวงเงินงบประมาณที่จะนําไปใช้ในการสนับสนุนเกษตรกรได้
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 เปโซ เท่ากับ 0.6480 บาท
2) อินโดนีเซีย
หัวหน้าสำนักงานอาหารแห่งชาติ (The National Food Authority : NFA) แจ้งว่า รัฐบาลอินโดนีเซียกําลังพิจารณาการนําเข้าข้าวจำนวน 1 ล้านตัน จากประเทศจีนเพื่อเพิ่มสต็อกข้าวในประเทศ โดยประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้หารือเรื่องนี้กับหลายประเทศในระหว่างมีการประชุมสุดยอดอาเซียน (The ASEAN summit) ที่ผ่านมา นอกจากนี้ทีมเจ้าหน้าที่ของอินโดนีเซียได้มีการเจรจากับกัมพูชาโดยมีการตกลงที่กัมพูชาจะส่งออกข้าวจำนวน 10,000 ตัน สำหรับปี 2566 รัฐบาล
ได้มอบหมายให้ Bulog ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดซื้ออาหารของรัฐ นําเข้าข้าวจำนวน 2.3 ล้านตัน เพื่อลดผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญ ซึ่งทำให้เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่ของประเทศ อาจทำให้ผลผลิตข้าวในปี 2566 ลดลงร้อยละ 5 - 7 จากปริมาณ 31.54 ล้านตัน ในปีที่ผ่านมา
สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า ช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 อินโดนีเซียนําเข้าข้าวประมาณ 1.59 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 237,146 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งข้าวที่นำเข้ามากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นข้าวจากประเทศไทย 802,000 ตัน รองลงมาเป็นข้าวจากเวียดนาม 674,000 ตัน อินเดีย 66,000 ตัน และปากีสถาน 45,000 ตัน รวมทั้งธนาคารกลาง รายงานว่าข้อมูลภาวะราคาข้าวของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 16
จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นกิโลกรัมละ 14,000 รูเปีย (ประมาณกิโลกรัมละ 30.73 บาท) ซึ่งเป็นราคาสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปีย เท่ากับ 2.1953 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 307.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,089.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 311.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,136.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 47.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 482.00 เซนต์ (6,940.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 476.00 เซนต์ (6,785.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 155.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 307.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,089.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 311.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,136.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 47.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 482.00 เซนต์ (6,940.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 476.00 เซนต์ (6,785.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 155.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.851 ล้านตัน (ร้อยละ 2.60 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 ออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น ส่งผลให้มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังราคาปรับสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.99 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.67
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.06 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.83
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.97 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.94 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.34
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.60 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.60 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 277.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,090 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 277.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,970 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,550 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 565 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,300 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.383 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.388 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.250 ล้านตันของเดือนสิงหาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 0.36 และร้อยละ 0.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.10 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.07 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 29.03 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 28.60 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.50
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
มาเลเซียจะเพิ่มการส่งออกน้ำมันปาล์มไปจีนเป็นจำนวน 500,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อลดความเสี่ยงในการค้ากับสหภาพยุโรป ประเด็นเรื่อง EU Deforestation-free Regulation โดยทั้งมาเลเซียและจีนได้เซ็นสัญญา MoU มูลค่า 2.50 พันล้านริงกิต ระหว่าง Sime Darby Oils International และ Guangxi Beibu Gulf International Port Group ทั้งนี้ สหภาพยุโรปได้แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจร่วมกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพื่อจัดการเรื่องข้อกังวลเกี่ยวกับกฎระเบียบใหม่นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมร่วมกันในเดือนธันวาคม
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 943.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.50 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 947.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.42
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- Czanikow เตือนว่า การผลิตน้ำตาลของอินเดียในปี 2566/2567 อาจไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการน้ำตาลภายในประเทศของอินเดีย และความต้องการที่จะนำไปผลิตเอทานอลที่ 4 - 5 ล้านตัน ด้วยเหตุนี้ อินเดียอาจต้องลดการผลิตเอทานอลลง หรืออุดหนุนการนำเข้าน้ำตาลเพิ่มเติม เนื่องจากราคาน้ำตาลในประเทศเริ่มมีส่วนต่างกับน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ด้านนักวิเคราะห์ท้องถิ่นเสริมว่า รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะแทรกแซงการผลิตเอทานอลเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีปริมาณน้ำตาลเพียงพอ แต่อาจทำให้นักลงทุนกลัวที่จะลงทุนพัฒนากำลังการผลิตเอทานอลเพิ่มเติม ด้านสมาคมพ่อค้าน้ำตาลบอมเบย์ กล่าวว่า ในขณะนี้ราคาน้ำตาลในประเทศของอินเดียเริ่มมีเสถียรภาพ พร้อมกล่าวเสริมว่า รัฐบาลอินเดียกำลังดำเนินการทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เพื่อควบคุมราคาน้ำตาลให้อยู่ภายใต้การควบคุมก่อนการเลือกตั้ง
- สำนักงานเลขาธิการกระทรวงการค้าต่างประเทศ (SECEX) ของประเทศบราซิล รายงานว่า บราซิลมีการส่งออกน้ำตาล 2.49 ล้านตัน ในช่วงสี่สัปดาห์แรกของเดือนกันยายน 2566 ซึ่งเป็นอัตราการนำน้ำตาลลงเรือรายวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันยายนในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ท่าเรือคาร์เดโล่ (Cardelo) ของรัฐปาไรมา (Paraima) ประกาศว่า จะกลับมาส่งออกน้ำตาลอีกครั้งหลังจากหยุดไป 10 ปี โดยจะเริ่มส่งออกน้ำตาลประมาณ 20,000 ตัน ไปยังแอฟริกาใต้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลบราซิล กล่าวว่า โรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลได้รับการจัดสรรโควตาการส่งออกน้ำตาล TRQ ของสหรัฐอเมริกา ที่จำนวน 148,000 ตัน ในปี 2566/2567 ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณที่ได้รับโควตา TRQ ของฤดูกาลที่แล้ว
- สำนักงานเลขาธิการกระทรวงการค้าต่างประเทศ (SECEX) ของประเทศบราซิล รายงานว่า บราซิลมีการส่งออกน้ำตาล 2.49 ล้านตัน ในช่วงสี่สัปดาห์แรกของเดือนกันยายน 2566 ซึ่งเป็นอัตราการนำน้ำตาลลงเรือรายวันเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันยายนในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ท่าเรือคาร์เดโล่ (Cardelo) ของรัฐปาไรมา (Paraima) ประกาศว่า จะกลับมาส่งออกน้ำตาลอีกครั้งหลังจากหยุดไป 10 ปี โดยจะเริ่มส่งออกน้ำตาลประมาณ 20,000 ตัน ไปยังแอฟริกาใต้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลบราซิล กล่าวว่า โรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลได้รับการจัดสรรโควตาการส่งออกน้ำตาล TRQ ของสหรัฐอเมริกา ที่จำนวน 148,000 ตัน ในปี 2566/2567 ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณที่ได้รับโควตา TRQ ของฤดูกาลที่แล้ว
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.91 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,295.76 เซนต์ (17.22 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,308.36 เซนต์ (17.39 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 388.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 391.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.67
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.64 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 61.07 เซนต์ (48.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.98
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.91 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,295.76 เซนต์ (17.22 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,308.36 เซนต์ (17.39 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 388.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 391.52 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.67
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.64 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 61.07 เซนต์ (48.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.98
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 969.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 980.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.14 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 830.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 839.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.12 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,331.40 ดอลลาร์สหรัฐ (48.16 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,346.40 ดอลลาร์สหรัฐ (48.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 913.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 924.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.13 แต่คงตัวในรูปเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,103.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.90 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,115.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.14 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.97
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.83 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.93 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.38
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,921 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,341 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,332 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 899 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.41 คิดเป็นร้อยละ 2.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 74.32 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.15 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.03 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 66.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.62 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.15 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.36 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 369 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 368 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 381 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 410 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 409 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 421 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 414 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 425 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 465 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.06 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.58 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 66.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.41 คิดเป็นร้อยละ 2.46 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 74.32 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.15 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.03 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 66.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.62 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.15 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.36 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 369 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 368 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 381 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 410 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 409 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 421 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 414 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 425 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 465 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.30 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 80.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.06 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.58 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 กันยายน – 1 ตุลาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.47 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.16 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.59 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 105.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.63 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 43.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 38.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 กันยายน – 1 ตุลาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.47 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.16 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.59 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 105.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.63 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.05 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 43.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 38.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท