- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 16-22 ตุลาคม 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากฝนมาล่าช้า และปริมาณฝนน้อยกว่าปี 2565 ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน ส่งผลให้บางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยทำให้ต้นข้าวเติบโตได้ไม่เต็มที่ พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิตยังคงมีราคาสูง ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 6.394 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 24.82 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูลเบื้องต้น ณ เดือนกันยายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 7.760 ล้านไร่ ผลผลิต 4.787 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 617 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต
7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 30.08 ร้อยละ 33.50 และร้อยละ 4.93 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากคาดว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่า ปี 2566 ทำให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 3.039 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 63.49 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,835 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,894 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,986 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,208 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 32,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,790 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,109 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 858 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,240 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 131 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,064 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 595 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,664 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 600 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 591 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,353 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 598 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,773 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 420 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.1310 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนตุลาคม 2566 ผลผลิต 518.136 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 513.684 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.87
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนตุลาคม 2566
มีปริมาณผลผลิต 518.136 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.87 การใช้ในประเทศ 523.533 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.01 การส่งออก/นำเข้า 52.503 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 2.43 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 167.465 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 3.12
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมา กัมพูชา จีน ปากีสถาน ตุรกี อุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อินเดีย ปารากวัย ไทย และเวียดนาม
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ จีน เอธิโอเปีย อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก เนปาล ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล อินโดนีเซีย เคนยา ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย บังกลาเทศ และไนจีเรีย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) มาเลเซีย
นายชาน ฟง ฮิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและความมั่นคงด้านอาหารของมาเลเซีย กล่าวว่า มาเลเซียจะนำประเด็นการเรียกร้องให้ประเทศผู้ผลิตข้าวในอาเซียน ให้ความสำคัญกับการส่งออกอาหารหลักไปยังประเทศสมาชิกในระหว่างการประชุมทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ที่จัดขึ้นในช่วงที่มีการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน
ด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 45 (ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry : AMAF) เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของภาคเกษตรกรรมและป่าไม้ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรหลายล้านคนในอาเซียนที่กำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การทำประมงที่มากเกินไป การมีแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่ยั่งยืน และการสูญเสียอาหาร จากปัญหาที่กล่าวมา อาจส่งผลร้ายแรงต่อความมั่นคงทางด้านอาหารของมาเลเซียและประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มาเลเซียสนใจนำเข้าข้าวขาว คือ ไทย และเวียดนาม ซึ่งรัฐบาลจะดำเนินการเจรจาซื้อข้าวอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังคงให้ความสำคัญที่จะนำเข้าข้าวจากประเทศใกล้เคียงอีกด้วย
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
2) อินโดนีเซีย
นายบูดี วาเซโซ ผู้อํานวยการสำนักงานโลจิสติกส์แห่งรัฐ (Bulog) กล่าวว่า รัฐบาลได้สั่งการให้หน่วยงาน Bulog นําเข้าข้าวอีก 2 ล้านตัน ในปี 2567 เพื่อรักษาปริมาณสํารองข้าวของประเทศ และรัฐบาลจะติดตามการผลิตข้าวในประเทศตลอดจนสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เนื่องจากไม่ต้องการให้มีความเสี่ยงหากเกิดภาวะผลผลิตข้าวขาดแคลน จึงต้องจัดหาข้าวให้เพียงพอเพื่อชดเชยการขาดแคลนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 หน่วยงาน Bulog รายงานความคืบหน้าผลการจัดประมูลซื้อข้าวขาว 5% (White Rice 5% Broken) จากไทย เวียดนาม และเมียนมา จำนวนรวม 300,000 ตัน และจากปากีสถาน จำนวน 200,000 ตัน
สำนักงานสถิติของอินโดนีเซีย รายงานผลผลิตข้าวของอินโดนีเซียในปี 2566 คาดว่ามีปริมาณ 30.90 ล้านตัน ลดลงจากปี 2565 ร้อยละ 2.05 เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยผลผลิตข้าวในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2566 จะออกสู่ตลาดประมาณ 4.78 ล้านตัน ลดลงจาก 5.37 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปี 2565 หรือลดลงร้อยละ 10.98 ทั้งนี้ นางอมาเลีย อดินิงการ์ วิดยาซานตี รักษาการหัวหน้าสำนักงานสถิติ (Acting Statistics Bureau Chief) กล่าวว่า จากภาวะแห้งแล้งที่ยืดเยื้อจากอิทธิพลของเอลนีโญ ได้ส่งผลให้การปลูกและ
การเก็บเกี่ยวข้าวได้รับความเสียหาย โดยคาดว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวในปี 2566 จะมีประมาณ 63.75 ล้านไร่ ลดลงจาก 65.31 ล้านไร่ ในปี 2565 ในการนี้ อินโดนีเซียวางแผนที่จะนําเข้าข้าวเพื่อเป็นการสำรองข้าวของรัฐบาลเพิ่มเติม จำนวน 1.5 ล้านตัน ในปี 2566 นอกเหนือจากการนำเข้าตามโควตาเมื่อต้นปี 2566 จำนวน 2.3 ล้านตัน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 304.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,984.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 302.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,978.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 6.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1,200.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,167.41 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 2.81 โดย สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย ญี่ปุ่น อียิปต์ แคนนาดา และเวียดนาม
มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 197.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 180.62 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 9.27 โดย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป อินเดีย แอฟริกาใต้ ปารากวัย และเซอร์เบีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า
เช่น สหภาพยุโรป จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน อียิปต์ โคลัมเบีย และซาอุดิอาระเบีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 494.28 เซนต์ (7,111.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 490.16 เซนต์ (7,106.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 5.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 304.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,984.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 302.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,978.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 6.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1,200.20 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,167.41 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 2.81 โดย สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย ญี่ปุ่น อียิปต์ แคนนาดา และเวียดนาม
มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 197.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 180.62 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 9.27 โดย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป อินเดีย แอฟริกาใต้ ปารากวัย และเซอร์เบีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า
เช่น สหภาพยุโรป จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เวียดนาม อิหร่าน อียิปต์ โคลัมเบีย และซาอุดิอาระเบีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 494.28 เซนต์ (7,111.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 490.16 เซนต์ (7,106.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 5.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย และฝนตกอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.78 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.73 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.83
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.12 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.16 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.97 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 8.97 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.70 บาท ราคาสูงขึ้นกิโลกรัมละ 18.65 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.27
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 282.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,260 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 282.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,410 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 567.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,620 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 566.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,860 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.22
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.343 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.242 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.383 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกันยายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 2.89 และร้อยละ 2.81 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.46 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.24 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.20
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.70 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 29.69 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.40
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายน้ำมันปาล์มล่วงหน้ามาเลเซีย รอบส่งเดือนมกราคม ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.69 อยู่ที่ตันละ 3,810 ริงกิต เนื่องจากการส่งออกและความต้องการจากจีนที่ยังอยู่ในระดับสูง ราคาน้ำมันถั่วเหลืองและราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในตะวันออกกลาง
และปริมาณการผลิตในช่วงครึ่งเดือนแรกของตุลาคมที่ลดลงจากการรายงานของ Southern Peninsular Palm Oil Millers Association
และปริมาณการผลิตในช่วงครึ่งเดือนแรกของตุลาคมที่ลดลงจากการรายงานของ Southern Peninsular Palm Oil Millers Association
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,734.29 ริงกิตมาเลเซีย (28.99 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,569.75 ริงกิตมาเลเซีย (28.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.61
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 910.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.25 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 904.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.61
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- สมาคมการค้าน้ำตาลแห่งอินเดีย รายงานว่า รัฐบาลอินเดียจะไม่ตัดสินใจอนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลจนกว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลของอินเดียชัดเจนขึ้นในช่วงเดือนมกราคม 2567 ทั้งนี้ หากผลผลิตน้ำตาลของอินเดียมีปริมาณสูงถึง 30 ล้านตัน คาดว่าจะอนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลได้ประมาณ 1 ล้านตัน ในขณะเดียวกัน หากผลผลิตน้ำตาลลดลงเหลือ 27 ล้านตัน ต้องนำเข้าน้ำตาลเพิ่มเติมประมาณ 2 ล้านตัน โดยภาพรวมของตลาดคาดการณ์ว่า ในขณะนี้ปริมาณผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 29 - 31 ล้านตัน
- StoneX รายงานข้อมูลคาดการณ์ว่า ในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิล จะมีผลผลิตน้ำตาลในปี 2566/2567 ประมาณ 41.1 ล้านตัน โดยพิจารณาจากสัดส่วนของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลที่ร้อยละ 49.5 ด้าน Archer Consulting รายงานคาดว่าเพิ่มเติมว่า ในภาคกลาง – ใต้ของบราซิล จะมีการหีบอ้อยสูงถึง 630 ล้านตัน หากอัตราการเติบโตที่ดีของอ้อยในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป แม้จะยังไม่มีความแน่นอนว่า โรงงานน้ำตาลจะสามารถดำเนินการหีบอ้อยได้ทั้งหมดหรือไม่ก็ตาม
- สมาคมเศรษฐกิจการเมืองอินโดนีเซีย (AEPI) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลในปีนี้ของประเทศอินโดนีเซีย คาดว่า จะลดลงเหลือ 2.2 ล้านตัน โดยการหีบกำลังจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ปริมาณการบริโภคน้ำตาลคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2567 เนื่องจากเป็นช่วงการเลือกตั้งของอินโดนีเซีย โดย AEPI เรียกร้องรัฐบาลให้บริษัทของรัฐปล่อยน้ำตาลเข้าสู่ตลาด และกดดันให้ปฏิบัติตามโควตาการนำเข้า ด้าน ID Food สะท้อนข้อกังวลดังกล่าว โดยเสริมว่า ช่วงเทศกาลอีดิลฟิฏรี (Eid al-Fitr) ที่จะมีขึ้นในต้นปี 2567 จะส่งผลให้อุปสงค์น้ำตาลของอินโดนีเซียเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
- StoneX รายงานข้อมูลคาดการณ์ว่า ในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิล จะมีผลผลิตน้ำตาลในปี 2566/2567 ประมาณ 41.1 ล้านตัน โดยพิจารณาจากสัดส่วนของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลที่ร้อยละ 49.5 ด้าน Archer Consulting รายงานคาดว่าเพิ่มเติมว่า ในภาคกลาง – ใต้ของบราซิล จะมีการหีบอ้อยสูงถึง 630 ล้านตัน หากอัตราการเติบโตที่ดีของอ้อยในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป แม้จะยังไม่มีความแน่นอนว่า โรงงานน้ำตาลจะสามารถดำเนินการหีบอ้อยได้ทั้งหมดหรือไม่ก็ตาม
- สมาคมเศรษฐกิจการเมืองอินโดนีเซีย (AEPI) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลในปีนี้ของประเทศอินโดนีเซีย คาดว่า จะลดลงเหลือ 2.2 ล้านตัน โดยการหีบกำลังจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ปริมาณการบริโภคน้ำตาลคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2567 เนื่องจากเป็นช่วงการเลือกตั้งของอินโดนีเซีย โดย AEPI เรียกร้องรัฐบาลให้บริษัทของรัฐปล่อยน้ำตาลเข้าสู่ตลาด และกดดันให้ปฏิบัติตามโควตาการนำเข้า ด้าน ID Food สะท้อนข้อกังวลดังกล่าว โดยเสริมว่า ช่วงเทศกาลอีดิลฟิฏรี (Eid al-Fitr) ที่จะมีขึ้นในต้นปี 2567 จะส่งผลให้อุปสงค์น้ำตาลของอินโดนีเซียเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 20.81 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,306.3 เซนต์ (17.54 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,262.6 เซนต์ (17.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 415.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.17 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 372.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.47
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.1 เซนต์ (43.63 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 54.5 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.6
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 20.81 บาท ราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,306.3 เซนต์ (17.54 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,262.6 เซนต์ (17.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 415.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.17 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 372.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.67 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.47
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.1 เซนต์ (43.63 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 54.5 เซนต์ (46.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.6
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 961.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 830.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 823.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,360.80 ดอลลาร์สหรัฐ (49.17 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,348.25 ดอลลาร์สหรัฐ (49.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 914.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 906.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,076.20 ดอลลาร์สหรัฐ (38.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,066.25 ดอลลาร์สหรัฐ (38.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.93 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,941 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,894 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,408 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,368 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 908 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศิลกินเจ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.67 คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.11 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,100 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.39 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.86 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 369 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 370 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 406 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 407 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 384 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.65 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.39 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.34 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.51 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลถือศิลกินเจ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.09 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.67 คิดเป็นร้อยละ 0.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 76.17 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.11 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,100 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.39 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.86 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 369 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 370 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 406 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 407 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 384 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 436 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.65 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.82 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.63 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.39 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.34 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.51 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.96 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 108.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 102.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.22 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 109.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.96 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 108.90 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 102.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.22 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 109.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.17 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 43.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 38.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท