- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 12-18 กุมภาพันธ์ 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.189 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.495 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 7.80 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
(มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับ กรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก
ในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่
28 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,190 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,128 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,888 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,503 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.35
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 866 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,963 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 881 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,232 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 269 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 615 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,989 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 639 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,653 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.76 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 664 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 620 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,168 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 636 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,546 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.52 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 378 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7541 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ รายงานว่า ในช่วงเดือนแรกของปี 2567 มีการนําเข้าข้าวเพิ่มขึ้น โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2567 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวจำนวน 268,006 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 252,474 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.15 แต่เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 นำเข้าลดลงจาก 510,865.87 ตัน หรือลดลงร้อยละ 47.53 โดยฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนามมากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 152,875 ตัน หรือร้อยละ 57.04 ของการนําเข้าข้าวทั้งหมด รองลงมานำเข้าจากไทย 78,597.03 ตัน ปากีสถาน 24,462.5 ตัน และเมียนมา 11,180 ตัน ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2567 สำนักอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบอนุญาตนำเข้าให้กับผู้ขออนุญาตนําเข้าข้าวแล้วจำนวน 373 รายการ
สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า นาย Francisco Tiu Laurel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า อุปทานข้าวในฟิลิปปินส์จะมีเพียงพอถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2567 (มกราคม – มิถุนายน) จึงทำให้ราคาสินค้าอาหารในประเทศคงที่ แต่ราคาข้าวอาจจะสูงขึ้นจนถึงเดือนกันยายน 2567 เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะส่งผลกระทบต่ออุปทานข้าวทั่วโลกและความต้องการธัญพืชที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวในต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดยนาย Francisco Tiu Laurel กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่จำเป็นต้องป้องกันในขณะนี้ คือ ผู้แสวงหาผลกําไรที่อาจใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์เอลนีโญเป็นข้ออ้างในการกักตุนข้าว เพื่อปรับราคาจําหน่ายในท้องถิ่นให้สูงขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผลได้
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2.2 เวียดนาม
การส่งออกข้าวของเวียดนาม ปี 2566 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสามารถส่งออกได้ 8.1 ล้านตัน เนื่องจากมีการนําเข้าข้าวจากกัมพูชามาแปรรูปเพื่อส่งออกไปยังตลาดโลก ซึ่งเวียดนามไม่มีกฎหมายห้ามนําเข้าข้าวเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ สำหรับปี 2567 คาดว่าผลผลิตข้าวในประเทศจะเพิ่มขึ้น และอาจส่งออกข้าวได้ ในปริมาณ 7.5 ล้านตัน ประกอบกับเมื่อช่วงปลายเดือนมกราคม 2567 เวียดนามชนะการประมูลขายข้าวประมาณ 400,000 ตัน จากที่อินโดนีเซียเปิดประมูลนำเข้าข้าวทั้งหมด 500,000 ตัน ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นการนำเข้าข้าวจากปากีสถาน และเมียนมา ขณะที่ไทยเข้าร่วมการประมูลด้วยแต่ไม่ชนะการประมูล เนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งประมาณตันละ 30 – 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,073 – 1,430 บาท) โดยราคาข้าวที่ไทยเสนอประมูลตันละ 690 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 24,670 บาท) ขณะที่ข้าวเวียดนามเสนอประมูลตันละ 655 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 23,419 บาท)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7541 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลง จากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.189 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.55 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.495 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 7.80 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
(มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับ กรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก
ในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่
28 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,190 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,128 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,888 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,503 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.35
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 866 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,963 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 881 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,232 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 269 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 615 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,989 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตัน 639 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,653 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.76 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 664 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 620 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,168 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 636 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,546 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.52 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 378 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7541 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ รายงานว่า ในช่วงเดือนแรกของปี 2567 มีการนําเข้าข้าวเพิ่มขึ้น โดยจากข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2567 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวจำนวน 268,006 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 252,474 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.15 แต่เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2566 นำเข้าลดลงจาก 510,865.87 ตัน หรือลดลงร้อยละ 47.53 โดยฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวจากเวียดนามมากเป็นอันดับหนึ่ง จำนวน 152,875 ตัน หรือร้อยละ 57.04 ของการนําเข้าข้าวทั้งหมด รองลงมานำเข้าจากไทย 78,597.03 ตัน ปากีสถาน 24,462.5 ตัน และเมียนมา 11,180 ตัน ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2567 สำนักอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบรับรองสุขอนามัยพืชและใบอนุญาตนำเข้าให้กับผู้ขออนุญาตนําเข้าข้าวแล้วจำนวน 373 รายการ
สำนักข่าว Xinhua รายงานว่า นาย Francisco Tiu Laurel รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า อุปทานข้าวในฟิลิปปินส์จะมีเพียงพอถึงช่วงครึ่งแรกของปี 2567 (มกราคม – มิถุนายน) จึงทำให้ราคาสินค้าอาหารในประเทศคงที่ แต่ราคาข้าวอาจจะสูงขึ้นจนถึงเดือนกันยายน 2567 เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะส่งผลกระทบต่ออุปทานข้าวทั่วโลกและความต้องการธัญพืชที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวในต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง โดยนาย Francisco Tiu Laurel กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่จำเป็นต้องป้องกันในขณะนี้ คือ ผู้แสวงหาผลกําไรที่อาจใช้ประโยชน์จากปรากฎการณ์เอลนีโญเป็นข้ออ้างในการกักตุนข้าว เพื่อปรับราคาจําหน่ายในท้องถิ่นให้สูงขึ้นอย่างไม่สมเหตุสมผลได้
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2.2 เวียดนาม
การส่งออกข้าวของเวียดนาม ปี 2566 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสามารถส่งออกได้ 8.1 ล้านตัน เนื่องจากมีการนําเข้าข้าวจากกัมพูชามาแปรรูปเพื่อส่งออกไปยังตลาดโลก ซึ่งเวียดนามไม่มีกฎหมายห้ามนําเข้าข้าวเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ สำหรับปี 2567 คาดว่าผลผลิตข้าวในประเทศจะเพิ่มขึ้น และอาจส่งออกข้าวได้ ในปริมาณ 7.5 ล้านตัน ประกอบกับเมื่อช่วงปลายเดือนมกราคม 2567 เวียดนามชนะการประมูลขายข้าวประมาณ 400,000 ตัน จากที่อินโดนีเซียเปิดประมูลนำเข้าข้าวทั้งหมด 500,000 ตัน ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นการนำเข้าข้าวจากปากีสถาน และเมียนมา ขณะที่ไทยเข้าร่วมการประมูลด้วยแต่ไม่ชนะการประมูล เนื่องจากราคาข้าวไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งประมาณตันละ 30 – 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 1,073 – 1,430 บาท) โดยราคาข้าวที่ไทยเสนอประมูลตันละ 690 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 24,670 บาท) ขณะที่ข้าวเวียดนามเสนอประมูลตันละ 655 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 23,419 บาท)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.7541 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.01 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.89 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.72 บาท ลดลงจาก 7.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.22
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 295.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,561.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 297.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,529.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 424.00 เซนต์ (6,036.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 440.00 เซนต์ (6,208.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.64 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 172.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2567
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.518 ล้านตัน (ร้อยละ 19.75 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.452 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.01 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.99
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.47 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.48 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.13
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.87
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 250.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,990 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,900 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 573 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,600 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,380 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.09
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.315 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.237 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.063 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.191 ล้านตันของเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 23.71 และร้อยละ 24.08 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.46 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 9.34
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.03 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.15 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.74
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ระดับสต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย ณ สิ้นเดือนมกราคม ลดลงมากกว่าที่คาดไว้ จากสถานการณ์การผลิตของมาเลเซียที่ลดลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,941.70 ริงกิตมาเลเซีย (30.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,879.96 ริงกิตมาเลเซีย (29.50 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.59
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 976.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.30 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 956.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.04
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
สภาพอากาศในบราซิลจะช่วยขับเคลื่อนตลาดน้ำตาลโลก เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลของบราซิลน่าจะเป็นหนึ่งในสี่ของการผลิตน้ำตาลทั่วโลก และบราซิลยังเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยชดเชยความต้องการน้ำตาลทั่วโลกในปี 2566/2567
- บริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting กล่าวว่า รายงานของแหล่งข่าวหลายแห่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ในปี 2567/2568 ปริมาณอ้อยในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลจะอยู่ที่ประมาณ 590 - 600 ล้านตัน และเนื่องจากคาดการณ์ว่าอินเดียจะไม่มีการส่งออกน้ำตาลสู่ตลาดโลก
ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจึงไม่น่าจะลดลงต่ำกว่า 22 เซนต์/ปอนด์ ด้าน Czanikow เสริมว่า ประเทศผู้นำเข้าน้ำตาลรายใหญ่ เช่น จีน บังกลาเทศ และอินโดนีเซีย มีปริมาณน้ำตาลในสต็อกของปี 2566 ลดลง และอาจต้องนำเข้าน้ำตาลเพิ่มขึ้นในปี 2567
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,176.80 เซนต์ (15.64 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,192.28 เซนต์ (15.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.30
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 344.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.46 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 353 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 46.43 เซนต์ (37.01 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 46.65 เซนต์ (36.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.47
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,176.80 เซนต์ (15.64 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,192.28 เซนต์ (15.71 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.30
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 344.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.46 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 353 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 46.43 เซนต์ (37.01 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 46.65 เซนต์ (36.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.47
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 979.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 989.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 754.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 761.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,372.80 ดอลลาร์สหรัฐ (49.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,387.40 ดอลลาร์สหรัฐ (49.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 922.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 932.60 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 748.20 ดอลลาร์สหรัฐ (26.75 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 756.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.67 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.28
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.74 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.30
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,140 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,052 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,616 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,451 บาท คิดเป็นร้อยละ 11.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 958 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ975 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตค่อนข้างทรงตัว โดยสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.73 คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.27 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.34 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,500 บาท ลดลงจากตัวละ 1,700 คิดเป็นร้อยละ 11.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.50 คิดเป็นร้อยละ 2.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว โดยลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.21 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.75 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.63 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.50 คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 358 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 357 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 362 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 414 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 414 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 435 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 440 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.65 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.74 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.12 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 64.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.18 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตค่อนข้างทรงตัว โดยสูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.73 คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 69.27 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.34 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,500 บาท ลดลงจากตัวละ 1,700 คิดเป็นร้อยละ 11.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.50 คิดเป็นร้อยละ 2.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัว โดยลดลงเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.21 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.64 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.75 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.63 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.50 คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 358 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 357 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 362 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 414 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 414 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 435 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 440 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.65 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.74 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.12 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 64.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.18 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี