- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 11-17 มีนาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม 2567 ปริมาณ 0.045 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 อีก 0.070 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.88 ร้อยละ 8.19 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.037 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 32.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,192 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,326 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,290 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,723 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,570 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,483 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 630 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,279 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 627 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,173 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3631 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 เวียดนาม
การประชุมร่วมกันของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade: MOIT) และสำนักงานการค้าเวียดนามในต่างประเทศ ได้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องความต้องการข้าวในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น และราคาข้าวที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลเวียดนามต้องการให้ผู้ประกอบการใช้โอกาสนี้ในการเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวในปี 2567
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คาดการณ์ว่าในปี 2567 ความต้องการนำเข้าข้าวของหลายประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศที่เป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และจีน เนื่องจากการค้าข้าวทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากนโยบายของอินเดียที่ระงับการส่งออกข้าวชั่วคราว อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs: MOFA) และกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (Ministry of Agriculture and Rural Development: MARD) ในการขยายตลาดส่งออก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมข้าวของเวียดนาม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะติดตามสถานการณ์ตลาดการค้าข้าวโลก และประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมการผลิตและธุรกิจข้าวของเวียดนามในเชิงรุก ส่งเสริมการค้าในรูปแบบคู่ค้าธุรกิจ (Business to Business: B2B) และรูปแบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าข้าวกับตลาดดั้งเดิม เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน และทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ เวียดนามยังคงส่งเสริมการส่งออกข้าวหอมและข้าวคุณภาพสูงไปยังสหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และอเมริกาเหนือ ในขณะที่ตลาดที่มีศักยภาพอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ และประเทศในตะวันออกกลาง ได้มีสัญญาณตอบรับในเชิงบวกเช่นกัน โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะดำเนินการด้านยุทธศาสตร์พัฒนาตลาดส่งออกข้าวของเวียดนามจนถึงปี 2573 ด้วยการสนับสนุนให้ผู้ค้าข้าวปรับปรุงกำลังการผลิตและคุณภาพข้าว ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาด เน้นการเจรจาการค้า และจัดทำข้อตกลงทางการค้าให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้ความช่วยเหลือหากเกิดกรณีข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกเวียดนาม เพื่อลดอุปสรรค และสร้างโอกาสในการเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามต่อไป
ข้อมูลของสำนักงานสถิติเวียดนาม ระบุว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 663,209 ตัน มูลค่า 466.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (16,500.42 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และร้อยละ 53.0 ตามลำดับ โดยราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยตันละ 703.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,877.94 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.65 จากช่วงเดียวกันของปี 2566
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3631 บาท
2.2 กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (Cambodian Rice Federation: CRF) รายงานการส่งออกข้าวสาร ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณ 90,153 ตัน มูลค่า 65.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,315.58 ล้านบาท) ลดลงจาก 97,153 ตัน มูลค่า 72.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,567.36 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 หรือลดลงร้อยละ 7.2 และร้อยละ 9.9 ตามลำดับ โดยกัมพูชาส่งออกข้าวสารผ่านผู้ส่งออก 40 ราย ไปยัง 50 ประเทศ ชนิดข้าวที่ส่งออก ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวอินทรีย์ ซึ่งในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2567 กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังจีนปริมาณ 11,083 ตัน มูลค่า 6.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (240.82 ล้านบาท)
รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา กล่าวว่า รัฐบาลกําลังหาตลาดใหม่สำหรับส่งออกข้าว โดยมุ่งเป้าหมายไปยังกลุ่มประเทศที่ทำข้อตกลงการค้าเสรีกับกัมพูชา ในการนี้ กระทรวงพาณิชย์กัมพูชากําลังดำเนินการส่งเสริมและเปิดตลาดส่งออกข้าวผ่านข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-เกาหลีใต้ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจรอบด้านกัมพูชา-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3631 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม 2567 ปริมาณ 0.045 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2567 อีก 0.070 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.88 ร้อยละ 8.19 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนมีนาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.037 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 32.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,192 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,326 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,290 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,723 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.69
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,570 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,483 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 630 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,279 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 627 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,173 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3631 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 เวียดนาม
การประชุมร่วมกันของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade: MOIT) และสำนักงานการค้าเวียดนามในต่างประเทศ ได้มีการหารือเกี่ยวกับเรื่องความต้องการข้าวในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น และราคาข้าวที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลเวียดนามต้องการให้ผู้ประกอบการใช้โอกาสนี้ในการเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวในปี 2567
กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คาดการณ์ว่าในปี 2567 ความต้องการนำเข้าข้าวของหลายประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมทั้งประเทศที่เป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ของเวียดนาม เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และจีน เนื่องจากการค้าข้าวทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากนโยบายของอินเดียที่ระงับการส่งออกข้าวชั่วคราว อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs: MOFA) และกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (Ministry of Agriculture and Rural Development: MARD) ในการขยายตลาดส่งออก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมข้าวของเวียดนาม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะติดตามสถานการณ์ตลาดการค้าข้าวโลก และประเทศผู้ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมการผลิตและธุรกิจข้าวของเวียดนามในเชิงรุก ส่งเสริมการค้าในรูปแบบคู่ค้าธุรกิจ (Business to Business: B2B) และรูปแบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าข้าวกับตลาดดั้งเดิม เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน และทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ เวียดนามยังคงส่งเสริมการส่งออกข้าวหอมและข้าวคุณภาพสูงไปยังสหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และอเมริกาเหนือ ในขณะที่ตลาดที่มีศักยภาพอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ และประเทศในตะวันออกกลาง ได้มีสัญญาณตอบรับในเชิงบวกเช่นกัน โดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าจะดำเนินการด้านยุทธศาสตร์พัฒนาตลาดส่งออกข้าวของเวียดนามจนถึงปี 2573 ด้วยการสนับสนุนให้ผู้ค้าข้าวปรับปรุงกำลังการผลิตและคุณภาพข้าว ซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาด เน้นการเจรจาการค้า และจัดทำข้อตกลงทางการค้าให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้ความช่วยเหลือหากเกิดกรณีข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกเวียดนาม เพื่อลดอุปสรรค และสร้างโอกาสในการเพิ่มปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามต่อไป
ข้อมูลของสำนักงานสถิติเวียดนาม ระบุว่า เดือนกุมภาพันธ์ 2567 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 663,209 ตัน มูลค่า 466.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (16,500.42 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และร้อยละ 53.0 ตามลำดับ โดยราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยตันละ 703.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,877.94 บาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.65 จากช่วงเดียวกันของปี 2566
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3631 บาท
2.2 กัมพูชา
สหพันธ์ข้าวแห่งกัมพูชา (Cambodian Rice Federation: CRF) รายงานการส่งออกข้าวสาร ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2567 มีปริมาณ 90,153 ตัน มูลค่า 65.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,315.58 ล้านบาท) ลดลงจาก 97,153 ตัน มูลค่า 72.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,567.36 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 หรือลดลงร้อยละ 7.2 และร้อยละ 9.9 ตามลำดับ โดยกัมพูชาส่งออกข้าวสารผ่านผู้ส่งออก 40 ราย ไปยัง 50 ประเทศ ชนิดข้าวที่ส่งออก ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวอินทรีย์ ซึ่งในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2567 กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังจีนปริมาณ 11,083 ตัน มูลค่า 6.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (240.82 ล้านบาท)
รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา กล่าวว่า รัฐบาลกําลังหาตลาดใหม่สำหรับส่งออกข้าว โดยมุ่งเป้าหมายไปยังกลุ่มประเทศที่ทำข้อตกลงการค้าเสรีกับกัมพูชา ในการนี้ กระทรวงพาณิชย์กัมพูชากําลังดำเนินการส่งเสริมและเปิดตลาดส่งออกข้าวผ่านข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน ข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-เกาหลีใต้ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจรอบด้านกัมพูชา-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.3631 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.95 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.87 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.44
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.34 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 298.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,524.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 296.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,507.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 17.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 439.00 เซนต์ (6,184.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 432.00 เซนต์ (6,107.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.62 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 77.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ
โดยเดือนมีนาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 5.644 ล้านตัน (ร้อยละ 20.20 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.452 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 3.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.30
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.40 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.56 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.12
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.55 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.87
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 255.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,070 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 255.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,120 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,360 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 572.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,480 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.717 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.309 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.407 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตันของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 22.03 และร้อยละ 22.13 ตามลำดับ
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตันของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 22.03 และร้อยละ 22.13 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.38 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.60
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.00 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 33.23 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.32
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันพืชคู่แข่งและราคาน้ำมันดิบ ส่วนในด้านการผลิต พบว่า การผลิตของมาเลเซียแตะระดับต่ำสุดในรอบ 10 เดือน อยู่ที่ 1.26 ล้านตันน้ำมันปาล์มดิบ และสต็อกน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย ณ เดือนกุมภาพันธ์ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน โดยลดลงจากเดือนมกราคม ร้อยละ 5 ไปอยู่ที่ 1.92 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,229.48 ริงกิตมาเลเซีย (32.59 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,133.95 ริงกิตมาเลเซีย (31.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.31
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,086.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.87 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,040.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.42
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- การสำรวจในการประชุม Dubai Sugar Conference มีรายงานว่า บริษัทน้ำตาลบุรีรัมย์ (BRR) ประเทศไทย คาดว่า ราคาน้ำตาลโลกน่าจะยังคงอยู่เหนือระดับ 20 เซนต์/ปอนด์ ในปีนี้ และมีแนวโน้มปรับ เพิ่มขึ้นอีกภายใน 6 เดือน ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์ตลาดประมาณครึ่งหนึ่ง คาดว่า ราคาซื้อขายน้ำตาลในตลาดล่วงหน้าจะอยู่ที่ประมาณ 23 - 25 เซนต์/ปอนด์ ภายในสิ้นปี 2567 ด้าน Bar Chart กล่าวว่า ภาวะตลาดน้ำตาลโลกในระยะสั้น มีแนวโน้มที่สภาพอากาศที่เริ่มมีฝนในภาคกลาง – ใต้ของบราซิล และค่าเงินเรียลบราซิลที่อ่อนค่านั้นจะมีส่วนทำให้ราคาน้ำตาลโลกปรับตัวลดลง
- ชาวไร่อ้อยหลายรายของประเทศอินเดีย รายงานว่า คณะกรรมาธิการอ้อยแห่งรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ออกคำสั่งไม่ให้โรงงานน้ำตาลปิดหีบจนกว่าจะดำเนินการหีบอ้อยทั้งหมด แต่ปัจจัยเรื่องการขาดแรงงานอาจนำไปสู่ปัญหาอ้อยค้างไร่
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,181.48 เซนต์ (15.54 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,151.04 เซนต์ (15.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 333.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 336.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 47.73 เซนต์ (37.65 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 45.07 เซนต์ (35.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.90
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,181.48 เซนต์ (15.54 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,151.04 เซนต์ (15.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 333.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 336.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 47.73 เซนต์ (37.65 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 45.07 เซนต์ (35.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.90
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.24 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.20 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 991.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 988.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 820.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 817.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,389.40 ดอลลาร์สหรัฐ (49.13 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,385.40 ดอลลาร์สหรัฐ (49.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 934.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 931.20 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.30 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 814.40 ดอลลาร์สหรัฐ (28.80 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 811.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 49.17 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.25
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.73 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.08 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18.78
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,978 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,145 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,503 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,629 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 967 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 64.57 คิดเป็นร้อยละ 0.45 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.07 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.26 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 64.37 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 63.84 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัว โดยลดลงเล็กจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.21 คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.50 คิดเป็นร้อยละ 2.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.50 คิดเป็นร้อยละ 1.77 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 349 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 353 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 359 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 348 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 372 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 406 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 407 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 428 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 380 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 417 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 440 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.43 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.16 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.91 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.11 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 63.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.95 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 57.16 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 11 – 17 มีนาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.13 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 52.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.97 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.07 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.52 ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 127.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.83 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 66.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.43 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 11 – 17 มีนาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.13 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 52.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.97 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.07 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.52 ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 127.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.37 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.83 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 66.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.43 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.14 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา