ข่าวที่ 35/2567 วันที่ 21 มีนาคม 2567
สศก. แจงสถานการณ์กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ปีเพาะปลูก 2566/67
ระบุ ผลผลิต กระเทียม หอมแดง ลดลง ขณะที่ผลผลิตหอมหัวใหญ่เพิ่มขึ้น
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์พืชหัวปี
เพาะปลูก 2566/67 กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2566)
กระเทียม คาดว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูก 52,916 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่มีเนื้อที่ปลูก 54,583 ไร่ (ลดลงร้อย 3.05) ให้ผลผลิต 54,653 ตัน ลดลงจาก 59,326 ตัน (ลดลงร้อยละ 7.88) เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้
งและบางพื้นที่มีแหล่งน้ำไม่เพี
ยงพอ ประกอบกับต้นทุนการผลิตสูง โดยแหล่งปลูกที่สำคัญ 3 ลำดับแรก คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน
หอมแดง คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 54,858 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่มีเนื้อที่ 55,830 ไร่ (ลดลงร้อยละ 1.74) ให้ผลผลิต 143,988 ตัน ลดลงจาก 149,312 ตัน (ลดลงร้อยละ 3.57) เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้
น ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้
ออำนวย แหล่งปลูกที่สำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ศรีสะเกษ เชียงใหม่ และลำพูน
หอมหัวใหญ่ คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 9,640 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มี
เนื้อที่ปลูก 7,955 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.18) ผลผลิต 32,967
เพิ่มขึ้นจาก 28,265 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.64) เนื่องจากปีที่ผ่านมาราคาที่
เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี จึงจูงใจให้เกษตรกรขยายเนื้อที่
เพาะปลูก ประกอบกับมีแหล่งน้ำเพียงพอ ซึ่งแหล่งปลูกสำคัญ 3 ลำดับแรก คือ เชียงใหม่ เชียงราย กาญจนบุรี ทั้งนี้ ผลผลิตพืชทั้ง 3 ชนิดเริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่
เดือนธันวาคม – เมษายน โดยจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดื
อนมีนาคมนี้ ร้อยละ 60 - 80 ของผลผลิตทั้งหมด
สำหรับ
มาตรการบริหารจัดการสินค้าพืชหัวปีเพาะปลูก 2566/67 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคณะอนุกรรมการจัดการการผลิตและการตลาดกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง ได้พิจารณากำหนดมาตรการรองรั
บเพื่อป้องกันและแก้ไขปั
ญหาราคาที่อาจจะผันผวนและตกต่ำ
ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ดังนี้ 1)เร่งกระจายผลผลิตออกนอกแหล่
งผลิต และชะลอการจำหน่ายผลผลิต ในกรณีที่เกษตรกรหรือสถาบั
นเกษตรกรมีโรงเรือนสำหรั
บแขวนผลผลิตเพื่อรอจำหน่าย 2) เชื่อมโยงเจรจาซื้อขายสินค้าพื
ชหัวล่วงหน้าภายใต้สัญญาข้
อตกลงมาตรฐานของกรมการค้าภายใน เพื่อให้การซื้อขายระหว่างกันมี
ความต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมี
ตลาดรองรับผลผลิตส่วนหนึ่ง 3) โครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงิ
นกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลื
อเกษตรกร (คชก.) ให้กับจังหวัดแหล่งผลิตสำคัญ เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการที่
เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้
ไขปัญหาราคาตกต่ำ 4) การตรวจสอบการนำเข้าสินค้าพืชหั
วจากต่างประเทศเพื่อป้องกั
นการลักลอบนำเข้า 5) ดำเนินการตรวจสอบสต๊อกสินค้าเพื่
อให้สอดคล้องกับข้อมูลการนำเข้า และป้องปรามการกักตุนสินค้าเพื่
อเก็งกำไร
ด้านนางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการ สศก. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรในฐา
นะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์สิ
นค้าดังกล่าวในพื้นที่ที่เป็
นแหล่งผลิตที่สำคัญในจังหวัดเชี
ยงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน และแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ 2567 พบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เกษตรกรเริ่มทยอยเก็บเกี่
ยวผลผลิตทั้งกระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ไปบ้างแล้วประมาณร้อยละ 10 - 30 ของผลผลิตทั้งหมด โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่
ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม และเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็
จในช่วงต้นเดือนเมษายน ซึ่งในขณะนี้ ราคาผลผลิตเกรดสดคละกระเทียม หอมแดง ที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ ที่น่าพอใจและมีแนวโน้มที่สูงขึ้
น โดยกระเทียมสดคละราคาที่
เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 14 – 17 บาทต่อกิโลกรัม หองแดงสดคละราคาที่
เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 15 – 16 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาหอมหัวใหญ่ที่
เกษตรกรขายได้ เบอร์ 0 , 1 เฉลี่ยอยู่ที่ 10 บาท ต่อกิโลกรัม โดยอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเฝ้าระวั
งติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากราคามีความผันผวน และมีแนวโน้มที่จะลดต่ำลง ส่วนผลผลิตหอมหัวใหญ่ในแหล่งผลิ
ตอำเภอแม่วาง อำเภอสันป่าตอง และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ในปีเพาะปลูกนี้
ถึงแม้จะมีคุณภาพดี แต่ขนาดใหญ่เบอร์ 0 และ 1 มีไม่มาก อันเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ไม่
เอื้ออำนวย ต่อการเจริญเติบโตของหอมหัวใหญ่ (อากาศหนาวเย็นไม่เพียงพอ) อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาด้
านราคาที่อาจผันผวนและตกต่ำ จนอาจกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ บูรณาการ ในการกำหนดมาตรการรองรับไว้เรี
ยบร้อยแล้ว ทั้งนี้ สศก. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุ
กรรมการฯ จะได้ติดตามความก้าวหน้
าในการดำเนินการต่อไป และสำหรับท่านที่สนใจข้อมู
ลการผลิตและการตลาดพืชหัว สามารถสอบถามได้ที่ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจพืชสวน สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร โทร.0 2561 4737 ในวันและเวลาราชการ
************************************************
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร