- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
‘กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลซับสนุ่น’ จ.สระบุรี ผลิตน้ำนมดิบคุณภาพ ขับเคลื่อนตาม BCG Model
ข่าวที่ 40/2567 วันที่ 29 มีนาคม 2567
‘กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลซับสนุ่น’ จ.สระบุรี ผลิตน้ำนมดิบคุณภาพ ขับเคลื่อนตาม BCG Model
นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศท.7 ติดตามการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลิตน้ำนมดิบตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมีเครือข่ายฟาร์มโคนมภายใต้การดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจฯ จำนวน 5 ฟาร์ม โดยมีนายสมพร อาภาศิริกุล เป็นประธานกลุ่ม เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกร 5 ราย พื้นที่เลี้ยงโคนมอินทรีย์รวม 350 ไร่ มีจำนวนโคนมอินทรีย์ที่ผ่านการรับรอง 326 ตัว ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ Organic Thailand ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจฯ มีการดำเนินงานและบริหารจัดการตามรูปแบบเศรษฐกิจ BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) อย่างเป็นรูปธรรม
จากการติดตาม พบว่า เกษตรกรนิยมเลี้ยงโคนมอินทรีย์สายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนหรือสายพันธุ์ขาวดำ เนื่องจากเป็นโคสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ให้น้ำนมเฉลี่ยสูงที่สุด ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจฯ มีโคที่สามารถรีดนมได้ 121 ตัว ได้ผลผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ทั้งกลุ่ม 46,630 กิโลกรัม/เดือน หรือ 46 ตัน/เดือน ผลผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์เฉลี่ย 12.64 กิโลกรัม/ตัว/วัน ระยะเวลารีดนม 2 ครั้ง/วัน ซึ่งหลังจากเกษตรกรรีดนมโคเสร็จจะมีรถขนส่งนม ของบริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด มารับผลผลิตทุกวันในแต่ละฟาร์มจำนวน 2 ครั้ง/วัน และจะต้องส่งเข้าสู่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของโรงงานผลิตน้ำนม ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนมดิบ และแปรรูปต่อไป ราคาขายน้ำนมดิบอินทรีย์ (ราคา ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567) เฉลี่ยอยู่ที่ 23.86 บาท/กิโลกรัม ซึ่งราคาจะสูงกว่าน้ำนมดิบทั่วไปที่มีราคาอยู่ที่ 20.50 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากน้ำนมจากโคนมอินทรีย์ เป็นน้ำนมที่ไม่มีการปรุงแต่งกลิ่นและรสใดๆ ไม่มีสารเคมี ยาปฏิชีวนะ และฮอร์โมนตกค้างในน้ำนม ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งนี้ ผลผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ของกลุ่ม ร้อยละ 99 ส่งให้กับบริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ส่วนที่เหลือจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook Line รวมถึงการออกบูธตามงานวันสำคัญของหน่วยงานราชการ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระบุรี
ผลสำเร็จการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ นมพาสเจอร์ไรส์บรรจุขวด โยเกิร์ต และเต้าฮวยนมสด มีการบันทึกข้อมูลโคนมที่สำคัญ ผ่าน Application “เซียนวัว” เช่น ข้อมูลรายรับ - รายจ่าย ต้นทุนอาหารสัตว์ การผสมพันธุ์ การคลอด และการรักษาโรค มีการดำเนินงานตามรูปแบบเศรษฐกิจ BCG Model โดยจัดการทรัพยากรและวัสดุเหลือใช้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยนำน้ำนมดิบที่ตกเกรด มาผลิตเป็นน้ำนมหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอกหมักนมสด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่บางส่วนของฟาร์มมีการปลูกมันสำปะหลัง ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ และปลูกไม้ยืนต้น เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ภายในฟาร์ม นอกจากนี้ กลุ่มยังมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี สำนักงานปศุสัตว์ อำเภอมวกเหล็ก สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระบุรีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สระบุรี สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี และบริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งให้การสนับสนุนองค์ความรู้และอุปกรณ์แปรรูปต่าง ๆ
“กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลซับสนุ่น นอกจากเป็นกลุ่มเกษตรกรต้นแบบเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จ สร้างรายได้หมุนเวียนให้แก่เกษตรกรและชุมชนแล้ว ยังมีบริการให้ความรู้ มีวิทยากรบรรยายให้แก่ผู้สนใจ เกี่ยวกับระบบปศุสัตว์อินทรีย์ โดยในปี 2567 กลุ่มวางเป้าหมายขยายเครือข่ายฟาร์มโคนมเพิ่ม 1 - 2 ฟาร์ม เพิ่มปริมาณน้ำนมให้ได้ 13 - 15 กิโลกรัม/ตัว/วัน และวางแผนที่จะศึกษาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าแปรรูปหากท่านใดสนใจเข้าศึกษาดูงาน สามารถติดต่อได้ที่ นายสมพร อาภาศิริกุล ประธานกลุ่ม โทร 08 9900 1475 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลซับสนุ่น ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี หรือติดตามข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่ เพจ Facebook : Aumporn Organic Farm” ผู้อำนวยการ สศท.7 กล่าวทิ้งท้าย
จากการติดตาม พบว่า เกษตรกรนิยมเลี้ยงโคนมอินทรีย์สายพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนหรือสายพันธุ์ขาวดำ เนื่องจากเป็นโคสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ให้น้ำนมเฉลี่ยสูงที่สุด ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจฯ มีโคที่สามารถรีดนมได้ 121 ตัว ได้ผลผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ทั้งกลุ่ม 46,630 กิโลกรัม/เดือน หรือ 46 ตัน/เดือน ผลผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์เฉลี่ย 12.64 กิโลกรัม/ตัว/วัน ระยะเวลารีดนม 2 ครั้ง/วัน ซึ่งหลังจากเกษตรกรรีดนมโคเสร็จจะมีรถขนส่งนม ของบริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด มารับผลผลิตทุกวันในแต่ละฟาร์มจำนวน 2 ครั้ง/วัน และจะต้องส่งเข้าสู่ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบของโรงงานผลิตน้ำนม ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนมดิบ และแปรรูปต่อไป ราคาขายน้ำนมดิบอินทรีย์ (ราคา ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567) เฉลี่ยอยู่ที่ 23.86 บาท/กิโลกรัม ซึ่งราคาจะสูงกว่าน้ำนมดิบทั่วไปที่มีราคาอยู่ที่ 20.50 บาท/กิโลกรัม เนื่องจากน้ำนมจากโคนมอินทรีย์ เป็นน้ำนมที่ไม่มีการปรุงแต่งกลิ่นและรสใดๆ ไม่มีสารเคมี ยาปฏิชีวนะ และฮอร์โมนตกค้างในน้ำนม ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งนี้ ผลผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ของกลุ่ม ร้อยละ 99 ส่งให้กับบริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ส่วนที่เหลือจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook Line รวมถึงการออกบูธตามงานวันสำคัญของหน่วยงานราชการ เช่น กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระบุรี
ผลสำเร็จการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตน้ำนมดิบอินทรีย์ด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ นมพาสเจอร์ไรส์บรรจุขวด โยเกิร์ต และเต้าฮวยนมสด มีการบันทึกข้อมูลโคนมที่สำคัญ ผ่าน Application “เซียนวัว” เช่น ข้อมูลรายรับ - รายจ่าย ต้นทุนอาหารสัตว์ การผสมพันธุ์ การคลอด และการรักษาโรค มีการดำเนินงานตามรูปแบบเศรษฐกิจ BCG Model โดยจัดการทรัพยากรและวัสดุเหลือใช้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยนำน้ำนมดิบที่ตกเกรด มาผลิตเป็นน้ำนมหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอกหมักนมสด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยพื้นที่บางส่วนของฟาร์มมีการปลูกมันสำปะหลัง ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ และปลูกไม้ยืนต้น เป็นป่าธรรมชาติ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ภายในฟาร์ม นอกจากนี้ กลุ่มยังมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี สำนักงานปศุสัตว์ อำเภอมวกเหล็ก สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดสระบุรีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สระบุรี สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี และบริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ซึ่งให้การสนับสนุนองค์ความรู้และอุปกรณ์แปรรูปต่าง ๆ
“กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลซับสนุ่น นอกจากเป็นกลุ่มเกษตรกรต้นแบบเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จ สร้างรายได้หมุนเวียนให้แก่เกษตรกรและชุมชนแล้ว ยังมีบริการให้ความรู้ มีวิทยากรบรรยายให้แก่ผู้สนใจ เกี่ยวกับระบบปศุสัตว์อินทรีย์ โดยในปี 2567 กลุ่มวางเป้าหมายขยายเครือข่ายฟาร์มโคนมเพิ่ม 1 - 2 ฟาร์ม เพิ่มปริมาณน้ำนมให้ได้ 13 - 15 กิโลกรัม/ตัว/วัน และวางแผนที่จะศึกษาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าแปรรูปหากท่านใดสนใจเข้าศึกษาดูงาน สามารถติดต่อได้ที่ นายสมพร อาภาศิริกุล ประธานกลุ่ม โทร 08 9900 1475 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ตำบลซับสนุ่น ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี หรือติดตามข่าวสาร กิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่ เพจ Facebook : Aumporn Organic Farm” ผู้อำนวยการ สศท.7 กล่าวทิ้งท้าย
************************************
ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท