- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 13-19 พฤษภาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.310 ล้านไร่ ผลผลิต 26.308 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 422 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 ร้อยละ 2.89 และ ร้อยละ 2.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี และในปี 2567
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่าสภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะเจริญเติบโต เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่างเมื่อปี 2566 สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 16.884 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 64.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนพฤษภาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.851 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 13.64 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.524 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.40 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,420 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,018 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.86
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,829 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,499 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.14
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,590 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 20,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.05
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,063 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,975 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.47 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 1,088 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 649 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,528 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,489 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,039 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 632 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,912 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 611 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,379 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 533 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.2529 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ผลผลิต 527.606 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 517.342 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.98
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนพฤษภาคม 2567 มีปริมาณผลผลิต 527.606 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.98 การใช้ในประเทศ 526.401 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.92 การส่งออก/นำเข้า 53.829 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.57 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 176.116 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.69
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย กัมพูชา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย กายานา อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล มาเลเซีย แอฟริกาใต้ กินี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก โมซัมบิก สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น โซมาเลีย เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก จีน อินโดนีเซีย บราซิล และเคนยา
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ไทย เวียดนาม บังกลาเทศ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) อินโดนีเซีย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รัฐบาลอินโดนีเซียอาจขยายระยะเวลาโครงการจัดหาข้าวให้ประชาชน ที่มีรายได้น้อย ประมาณ 20 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 10 กิโลกรัมต่อเดือน จากเดิมสิ้นสุดโครงการเดือนมิถุนายน 2567 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2567 เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถรับมือกับภาวะราคาข้าวในประเทศ ที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้สภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง ทั้งนี้ นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จในการลดราคาข้าวในท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารหลักของประชากรส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การขยายระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีอยู่
หน่วยงานกำกับดูแล ควบคุมปริมาณและราคาข้าว หรือ BULOG ซึ่งเป็นบริษัทจัดซื้ออาหารของอินโดนีเซียได้ซื้อข้าวจากการเก็บเกี่ยวในประเทศจำนวน 472,279 ตัน ขณะที่สต็อกข้าวปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านตัน และอินโดนีเซียนําเข้าข้าวแล้ว 1.2 ล้านตัน นอกจากนี้ BULOG ได้ออกประกาศการจัดการประกวดราคาข้าวระหว่างประเทศครั้งที่ 5 ของปี 2567 เพื่อซื้อข้าวขาว 5% จำนวน 300,000 ตัน กำหนดให้มีการลงทะเบียนเข้าร่วมการประมูลภายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าจะมีการยื่นข้อเสนอราคาข้าวในวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 และประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 สำหรับเงื่อนไขการประมูล ระบุว่า เป็นข้าวขาว 5% จากฤดูการผลิต 2566/67 ที่ผ่านการสีแปรสภาพแล้วไม่เกิน 6 เดือน และกำหนดช่วงเวลาในการส่งมอบตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2567 ทั้งนี้ จากการจัดการประกวดราคาข้าว 4 ครั้งที่ผ่านมา อินโดนีเซียนำเข้าข้าวรวมประมาณ 1.4 ล้านตัน ส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย เวียดนาม เมียนมา และปากีสถาน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2) อินเดีย
สื่อท้องถิ่นของอินเดีย รายงานว่า รัฐบาลอินเดียอาจคงมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ต่อไป เนื่องจากราคาข้าวในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาขายปลีกต่อกิโลกรัมปรับตัวขึ้นร้อยละ 13.10 เมื่อเทียบกับปี 2566 ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มสินค้าข้าวอยู่ระดับสูงที่ร้อยละ 12.7 ทำให้รัฐบาลต้องหามาตรการช่วยเหลือประชาชนท่ามกลางการเลือกตั้งที่กำลังมีขึ้นทั่วประเทศ ทั้งนี้ อินเดียอาจจำกัดสัดส่วนการส่งออกข้าวหักในกลุ่มข้าวขาวและข้าวนึ่ง จากเดิมส่งออกในสัดส่วนร้อยละ 25 และร้อยละ 15 ตามลำดับ ลดลงเหลือสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 เพื่อให้มีปริมาณข้าวเพียงพอสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยในประเทศ
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานการส่งออกข้าวของประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2567 พบว่า อินเดียมีปริมาณการส่งออกสูงสุดอยู่ที่ 4.30 ล้านตัน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ลดลงร้อยละ 28.1 รองลงมา ได้แก่ ไทย 2.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 เวียดนาม 2.18 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ปากีสถาน 1.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.5 และสหรัฐฯ 0.80 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.5 ตามลำดับ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.310 ล้านไร่ ผลผลิต 26.308 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 422 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 ร้อยละ 2.89 และ ร้อยละ 2.18 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี และในปี 2567
กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ว่าสภาพภูมิอากาศเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2567 จะอยู่ในสภาวะเอลนีโญ แต่มีแนวโน้มสูงที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2567 และมีแนวโน้มจะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน 2567 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเพาะปลูกและระยะเจริญเติบโต เกษตรกรจึงขยายเนื้อที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่ปล่อยว่างเมื่อปี 2566 สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น จากปริมาณน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ คาดการณ์ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน ปริมาณ 16.884 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 64.18 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.708 ล้านไร่ ผลผลิต 6.238 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.47 ร้อยละ 9.82 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนพฤษภาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.851 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 13.64 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.524 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.40 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,420 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,018 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.86
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,829 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,499 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.14
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 21,590 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 20,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.05
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 912 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,063 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,975 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.47 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 1,088 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 649 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,528 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตัน 614 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,489 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,039 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 632 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,912 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 611 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,379 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 533 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.2529 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ผลผลิต 527.606 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 517.342 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.98
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนพฤษภาคม 2567 มีปริมาณผลผลิต 527.606 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.98 การใช้ในประเทศ 526.401 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.92 การส่งออก/นำเข้า 53.829 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.57 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 176.116 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.69
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย กัมพูชา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย กายานา อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล มาเลเซีย แอฟริกาใต้ กินี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก โมซัมบิก สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น โซมาเลีย เยเมน และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก จีน อินโดนีเซีย บราซิล และเคนยา
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ไทย เวียดนาม บังกลาเทศ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) อินโดนีเซีย
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รัฐบาลอินโดนีเซียอาจขยายระยะเวลาโครงการจัดหาข้าวให้ประชาชน ที่มีรายได้น้อย ประมาณ 20 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนละ 10 กิโลกรัมต่อเดือน จากเดิมสิ้นสุดโครงการเดือนมิถุนายน 2567 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2567 เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถรับมือกับภาวะราคาข้าวในประเทศ ที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้สภาพภูมิอากาศแห้งแล้ง ทั้งนี้ นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จในการลดราคาข้าวในท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารหลักของประชากรส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การขยายระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มีอยู่
หน่วยงานกำกับดูแล ควบคุมปริมาณและราคาข้าว หรือ BULOG ซึ่งเป็นบริษัทจัดซื้ออาหารของอินโดนีเซียได้ซื้อข้าวจากการเก็บเกี่ยวในประเทศจำนวน 472,279 ตัน ขณะที่สต็อกข้าวปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านตัน และอินโดนีเซียนําเข้าข้าวแล้ว 1.2 ล้านตัน นอกจากนี้ BULOG ได้ออกประกาศการจัดการประกวดราคาข้าวระหว่างประเทศครั้งที่ 5 ของปี 2567 เพื่อซื้อข้าวขาว 5% จำนวน 300,000 ตัน กำหนดให้มีการลงทะเบียนเข้าร่วมการประมูลภายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าจะมีการยื่นข้อเสนอราคาข้าวในวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 และประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคาวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 สำหรับเงื่อนไขการประมูล ระบุว่า เป็นข้าวขาว 5% จากฤดูการผลิต 2566/67 ที่ผ่านการสีแปรสภาพแล้วไม่เกิน 6 เดือน และกำหนดช่วงเวลาในการส่งมอบตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2567 ทั้งนี้ จากการจัดการประกวดราคาข้าว 4 ครั้งที่ผ่านมา อินโดนีเซียนำเข้าข้าวรวมประมาณ 1.4 ล้านตัน ส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย เวียดนาม เมียนมา และปากีสถาน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2) อินเดีย
สื่อท้องถิ่นของอินเดีย รายงานว่า รัฐบาลอินเดียอาจคงมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 ต่อไป เนื่องจากราคาข้าวในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาขายปลีกต่อกิโลกรัมปรับตัวขึ้นร้อยละ 13.10 เมื่อเทียบกับปี 2566 ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อในกลุ่มสินค้าข้าวอยู่ระดับสูงที่ร้อยละ 12.7 ทำให้รัฐบาลต้องหามาตรการช่วยเหลือประชาชนท่ามกลางการเลือกตั้งที่กำลังมีขึ้นทั่วประเทศ ทั้งนี้ อินเดียอาจจำกัดสัดส่วนการส่งออกข้าวหักในกลุ่มข้าวขาวและข้าวนึ่ง จากเดิมส่งออกในสัดส่วนร้อยละ 25 และร้อยละ 15 ตามลำดับ ลดลงเหลือสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 เพื่อให้มีปริมาณข้าวเพียงพอสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยในประเทศ
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รายงานการส่งออกข้าวของประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2567 พบว่า อินเดียมีปริมาณการส่งออกสูงสุดอยู่ที่ 4.30 ล้านตัน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ลดลงร้อยละ 28.1 รองลงมา ได้แก่ ไทย 2.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 เวียดนาม 2.18 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 ปากีสถาน 1.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.5 และสหรัฐฯ 0.80 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.5 ตามลำดับ
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.70 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.72 บาท
ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 295.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,680.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 288.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,529.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.43 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 151.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2567/68 มีปริมาณ 1,220.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,215.92 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 0.40 โดย สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล สหภาพยุโรป เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 192.66 ล้านตัน ลดลงจาก 195.07 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 1.24 โดย สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา แอฟริกาใต้ และเซอร์เบีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เวียดนาม เกาหลีใต้ อิหร่าน อียิปต์ โคลอมเบีย แอลจีเรีย ไต้หวัน ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย เปรู โมร็อกโก อังกฤษ กัวเตมาลา และสาธารณรัฐโดมินิกัน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 462.00 เซนต์ (6,675.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 464.00 เซนต์ (6,763.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 88.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.877 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.21 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.032 ล้านตัน (ร้อยละ 3.84 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.712 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยลง และหัวมันสำปะหลังมีคุณภาพต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.52 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.39 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 5.44
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.74 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.68 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.90
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.54 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.46 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.07
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.76 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 18.85 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,430 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนตันละ 230.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,480 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 551.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,210 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 557.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,550 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.08
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.695 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.305 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.780 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.320 ล้านตันของเดือนเมษายน คิดเป็นร้อยละ 4.77 และร้อยละ 4.69 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 4.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.12 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.94
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.20 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.38 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.53
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
สัญญาราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์มมาเลเซีย เดือนสิงหาคม ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.26 อยู่ที่ตันละ 3,890 ริงกิต ซึ่งเป็นการปรับตัวตามราคาถั่วเหลือง ทั้งนี้ มาเลเซียได้มีการลดราคาอ้างอิงในการกำหนดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ (ร้อยละ 8) ในเดือนมิถุนายน จากเดิม 4,273.93 ริงกิตต่อตัน เป็น 3,956.06 ริงกิตต่อตัน และปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มของมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 1 – 15 พฤษภาคม ลดลงร้อยละ 5.2 จากในช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,867.04 ริงกิตมาเลเซีย (30.39 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,923.03 ริงกิตมาเลเซีย (30.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.43
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 972.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.66 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,050.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.38
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
- โฆษกของ Marex ประเมินว่า ประเทศอินเดียน่าจะผลิตน้ำตาลได้ 30 ล้านตัน ในปีนี้ และคาดว่าอินเดียจะไม่อนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลเนื่องจากความต้องการน้ำตาลภายในประเทศที่สูง และนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นไปที่การผลิตเอทานอล ด้านแหล่งข่าวกล่าวว่า ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานในรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) ปรับลดลง เนื่องจากโควตาการขายน้ำตาลของโรงงานที่มีจำนวนมากเพียงพอที่จะชดเชยความต้องการน้ำตาลตามฤดูกาลที่เพิ่มสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวกล่าวเสริมว่า ราคาน้ำตาลไม่ควรลดลงไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
- สถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยเซาเปาโล (USP) รายงาน การวิจัยออกมาว่า สภาพอากาศที่ขาดฝนในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) ช่วยให้เปอร์เซ็นต์น้ำตาลเฉลี่ยต่อตันอ้อยที่กำลังดำเนินการเก็บเกี่ยวอยู่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มอัตราการเก็บเกี่ยวอ้อยให้สูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อปริมาณผลผลิตอ้อยที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.57 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,212.40 เซนต์ (16.34 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,215.40 เซนต์ (16.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 366.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.45 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 373.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.87
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 44.16 เซนต์ (35.69 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 43.20 เซนต์ (35.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.22
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.57 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.75 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,212.40 เซนต์ (16.34 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,215.40 เซนต์ (16.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 366.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.45 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 373.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.87
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 44.16 เซนต์ (35.69 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 43.20 เซนต์ (35.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.22
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 965.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 955.50 ดอลลาร์สหรัฐ (34.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 826.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.97 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 818.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,409.60 ดอลลาร์สหรัฐ (51.10 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,395.25 ดอลลาร์สหรัฐ (51.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 993.40 ดอลลาร์สหรัฐ (36.01 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 983.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 849.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.78 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ ละ 840.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.74 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.54 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.13 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.60
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.92 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.89 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.23
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,984 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,154 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,493 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,616 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 971 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 954 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
ไข่เป็ด
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.69 คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.72 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.30 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.73 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.00 คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่ากว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 360 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.56 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 356 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 371 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 412 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 412 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 416 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 431 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 383 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 432 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 85.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 85.27 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.04 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.10 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.14 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 61.31 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 61.95 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 54.51 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 13 – 19 พฤษภาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 66.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.03 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.28 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 86.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.72 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 126.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.41 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 66.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 9.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 13 – 19 พฤษภาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.85 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 66.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.03 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.28 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 86.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.72 บาท ราคาลดลง จากกิโลกรัมละ 126.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.41 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 66.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.09 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.04 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 9.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา