- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 กรกฎาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 0.095 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.35 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนกรกฎาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.177 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 2.84 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.036 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.58 ของผลผลิต ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,005 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,970 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,037 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,193 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,670 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,110 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 901 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,520 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 891 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,544 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.12 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 24 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,295 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 603 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,025 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.16 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 730 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,078 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,915 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 837 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.0933 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
ข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 รายงานว่า ในช่วงครึ่งปีแรก (เดือนมกราคม – มิถุนายน 2567) ราคาข้าวเวียดนามปรับตัวสูงขึ้นในตลาดต่างประเทศหลายแห่ง โดยราคาส่งออกข้าวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 18 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 รายงานระบุว่า ราคาข้าวเวียดนามในตลาดบรูไนจำหน่ายที่ตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณตันละ 34,613 บาท) ในตลาดสหรัฐอเมริกาตันละ 868 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 31,329 บาท) ในตลาดเนเธอร์แลนด์ตันละ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 30,932 บาท) ในตลาดยูเครนตันละ 847 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 30,571 บาท) ในตลาดอิรักตันละ 836 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 30,174 บาท) และในตลาดตุรกีตันละ 831 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 29,994 บาท)
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม ระบุเพิ่มเติมว่า ในช่วงครึ่งปีแรกเวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 4.68 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1.08 แสนล้านบาท) โดยปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 10.4 และร้อยละ 32.0 ตามลำดับ ซึ่งมีการส่งออกไปยังฝรั่งเศสมากที่สุดที่ปริมาณ 18,200 ตัน คิดเป็นมูลค่า 19.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 689 ล้านบาท) ทั้งนี้ เวียดนามได้ตั้งเป้าหมายส่งออกข้าวในปี 2567 มากกว่า 8 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.0933 บาท
2) อินเดีย
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า อินเดียผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลกอาจผ่อนคลายมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวบางชนิดที่ได้ประกาศใช้เมื่อปี 2566 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาปริมาณข้าวที่มากเกินความต้องการภายในประเทศ ก่อนที่ข้าวในฤดูกาลเก็บเกี่ยวใหม่จะออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม 2567 โดยรัฐบาลกำลังพิจารณาอนุญาตให้มีการส่งออกข้าวขาวในอัตราภาษีคงที่ รวมทั้งอาจจะยกเลิกภาษีส่งออกข้าวนึ่งที่อัตราร้อยละ 20 และเปลี่ยนมาใช้วิธีการจัดเก็บภาษีในอัตราคงที่แทน เพื่อควบคุมสินค้าที่มีการออกใบแจ้งหนี้ต่ำเกินจริง ในการนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กล่าวว่า การที่รัฐบาลอินเดียจำกัดการส่งออกข้าวตั้งแต่ ปี 2566 ส่งผลให้อินเดียต้องเผชิญกับปัญหาการมีสต็อกข้าวสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ราคาข้าว ในเอเชียชะลอตัวลง หลังจากราคาปรับตัวสูงขึ้นและอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และถือเป็นข่าวดีสำหรับหลายประเทศในทวีปแอฟริกาตะวันตกและภูมิภาคตะวันออกกลางที่พึ่งพาการนำเข้าจากอินเดีย เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประชากรในประเทศ
ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดีย รายงานว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (เดือนเมษายน – พฤษภาคม) ปริมาณส่งออกข้าวรวมของอินเดียอยู่ที่ 2.9 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สำหรับพื้นที่ปลูกข้าว ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 อยู่ที่ 6 ล้านเฮกตาร์ (ประมาณ 37.5 ล้านไร่) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ขณะนี้เกษตรกรอยู่ระหว่างการหว่านเมล็ดพันธุ์เพื่อเพาะปลูกข้าวในฤดูมรสุม (ฤดูฝน) คาดว่าจะมีการเพาะปลูกข้าวมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม และจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ), สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 0.095 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.35 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนกรกฎาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.177 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 2.84 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.036 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.58 ของผลผลิต ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,005 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,970 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,037 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,193 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,670 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,110 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 901 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,520 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 891 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,544 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.12 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 24 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,295 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 603 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,025 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.16 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 730 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,078 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,915 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 837 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.0933 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
ข้อมูลสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 รายงานว่า ในช่วงครึ่งปีแรก (เดือนมกราคม – มิถุนายน 2567) ราคาข้าวเวียดนามปรับตัวสูงขึ้นในตลาดต่างประเทศหลายแห่ง โดยราคาส่งออกข้าวสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 18 จากช่วงเดียวกันของปี 2566 รายงานระบุว่า ราคาข้าวเวียดนามในตลาดบรูไนจำหน่ายที่ตันละ 959 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณตันละ 34,613 บาท) ในตลาดสหรัฐอเมริกาตันละ 868 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 31,329 บาท) ในตลาดเนเธอร์แลนด์ตันละ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 30,932 บาท) ในตลาดยูเครนตันละ 847 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 30,571 บาท) ในตลาดอิรักตันละ 836 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 30,174 บาท) และในตลาดตุรกีตันละ 831 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณตันละ 29,994 บาท)
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนาม ระบุเพิ่มเติมว่า ในช่วงครึ่งปีแรกเวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 4.68 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1.08 แสนล้านบาท) โดยปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ร้อยละ 10.4 และร้อยละ 32.0 ตามลำดับ ซึ่งมีการส่งออกไปยังฝรั่งเศสมากที่สุดที่ปริมาณ 18,200 ตัน คิดเป็นมูลค่า 19.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 689 ล้านบาท) ทั้งนี้ เวียดนามได้ตั้งเป้าหมายส่งออกข้าวในปี 2567 มากกว่า 8 ล้านตัน
ที่มา สำนักข่าวซินหัว, สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.0933 บาท
2) อินเดีย
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า อินเดียผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลกอาจผ่อนคลายมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวบางชนิดที่ได้ประกาศใช้เมื่อปี 2566 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาปริมาณข้าวที่มากเกินความต้องการภายในประเทศ ก่อนที่ข้าวในฤดูกาลเก็บเกี่ยวใหม่จะออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม 2567 โดยรัฐบาลกำลังพิจารณาอนุญาตให้มีการส่งออกข้าวขาวในอัตราภาษีคงที่ รวมทั้งอาจจะยกเลิกภาษีส่งออกข้าวนึ่งที่อัตราร้อยละ 20 และเปลี่ยนมาใช้วิธีการจัดเก็บภาษีในอัตราคงที่แทน เพื่อควบคุมสินค้าที่มีการออกใบแจ้งหนี้ต่ำเกินจริง ในการนี้ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ กล่าวว่า การที่รัฐบาลอินเดียจำกัดการส่งออกข้าวตั้งแต่ ปี 2566 ส่งผลให้อินเดียต้องเผชิญกับปัญหาการมีสต็อกข้าวสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ราคาข้าว ในเอเชียชะลอตัวลง หลังจากราคาปรับตัวสูงขึ้นและอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และถือเป็นข่าวดีสำหรับหลายประเทศในทวีปแอฟริกาตะวันตกและภูมิภาคตะวันออกกลางที่พึ่งพาการนำเข้าจากอินเดีย เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของประชากรในประเทศ
ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดีย รายงานว่า ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (เดือนเมษายน – พฤษภาคม) ปริมาณส่งออกข้าวรวมของอินเดียอยู่ที่ 2.9 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 สำหรับพื้นที่ปลูกข้าว ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 อยู่ที่ 6 ล้านเฮกตาร์ (ประมาณ 37.5 ล้านไร่) เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ขณะนี้เกษตรกรอยู่ระหว่างการหว่านเมล็ดพันธุ์เพื่อเพาะปลูกข้าวในฤดูมรสุม (ฤดูฝน) คาดว่าจะมีการเพาะปลูกข้าวมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม และจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนเป็นต้นไป
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ), สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.82 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.58 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.73 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 354.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,763.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 351.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,804.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 41.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 397.00 เซนต์ (5,706.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 408.00 เซนต์ (5,920.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 214.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือน กรกฎาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.40 ล้านตัน (ร้อยละ 1.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพลดลงเนื่องจากฝนตกในหลายพื้นที่ จึงทำให้มีสิ่งเจือปนสูงและเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.94 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.88 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.19
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.98 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.27 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.63
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.04 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.02 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.25
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 18.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 241.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,780 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 240.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,820 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 524.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,100 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 527.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,400 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.57
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.524 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.274 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.893 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.341 ล้านตันของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 19.49 และร้อยละ 19.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 4.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.77 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.08 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.15
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,997.16 ริงกิตมาเลเซีย (31.36 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,100.38 ริงกิตมาเลเซีย (32.37 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.52
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,017.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37.15 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,039.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.07
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย (ISMA) กล่าวแสดงถึงความคาดหวังว่า รัฐบาลอินเดียจะรับคำเรียกร้องเรื่องการขอให้มีการอนุญาตส่งออกน้ำตาลไปพิจารณาให้เสร็จสิ้นภายในช่วงก่อนถึงต้นเดือนสิงหาคม 2567 โดย ISMA ขอให้มีการอนุญาตส่งออกน้ำตาลประมาณ 1.5 - 2 ล้านตัน เพื่อช่วยให้โรงงานต่าง ๆ สามารถจัดการ
กับปริมาณน้ำตาลในสต็อกที่มีจำนวนมาก ด้าน Czarnikow กล่าวว่า ปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน (Surplus) ที่สามารถส่งออกได้อาจอยู่ที่ประมาณ 3 ล้านตัน ในทางกลับกัน สมาพันธ์สหกรณ์โรงงานน้ำตาลแห่งชาติ (NFCSF)
ของอินเดีย กล่าวว่า รัฐบาลอินเดียอาจมีการอนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลที่ปริมาณ 1 ล้านตัน ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 อย่างไรก็ตาม สื่อท้องถิ่นของอินเดีย รายงานว่า แหล่งข่าวในตลาดหลายแห่งคาดว่าจะไม่มีการส่งออกน้ำตาลใด ๆ ของอินเดีย เนื่องจากรัฐบาลอินเดียต้องการความมั่นใจว่าจะมีอุปทานน้ำตาลเพียงพอสำหรับโครงการ
เอทานอลของรัฐบาล
- Czarnikow กล่าวว่า ฤดูกาลนี้ในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิลยังคงมีแนวโน้มที่จะสามารถหีบอ้อยได้ที่ปริมาณ 600 ล้านตัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีปริมาณอ้อยปลูกใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยผลผลิตอ้อยที่ลดลงบางส่วนเนื่องจากสภาพที่ขาดฝน ด้านบริษัทที่ปรึกษา Safras & Mercado กล่าวเสริมว่า ปัจจัยด้านสภาพอากาศที่กระทบต่ออ้อยยังคงไม่ชัดเจน แต่การรวมกันของสภาพอากาศที่แห้งแล้งและมวลอากาศเย็นจากขั้วโลกเป็นปัจจัยลบที่ต้องเฝ้าระวัง ด้านบริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting กล่าวเสริมว่า ราคาน้ำตาลโลกอาจลดลงในช่วงนี้หากตลาดตระหนักว่าปริมาณการหีบอ้อยในภาคกลาง - ใต้ของบราซิลจะเพิ่มขึ้นในช่วง 600 - 605 ล้านตัน
- ประเทศฟิลิปปินส์ประกาศร่างคำสั่งอนุญาตให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายดิบจำนวน 24,700 ตัน ไปยังสหรัฐอเมริกาในปี 2567 ภายใต้โควตาภาษีที่ต่ำ (TRQ) โดยฟิลิปปินส์ไม่ได้มีการส่งออกน้ำตาลใด ๆ ในช่วงสองปี
ที่ผ่านมา เนื่องจากการผลิตน้ำตาลลดลง โดยร่างคำสั่งการส่งออกน้ำตาลดังกล่าว จะให้ความสำคัญกับใบอนุญาตนำเข้าในอนาคตแก่บริษัทที่ส่งออกน้ำตาลไปยังสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ศูนย์รักษาพันธุ์พืชแห่งชาติ (NCPC)
ของฟิลิปปินส์กำลังดำเนินงานเกี่ยวกับสารควบคุมทางชีวภาพที่มีศักยภาพเพื่อต่อสู้กับศัตรูพืชในฤดูใบไม้ร่วง
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,150.76 เซนต์ (15.44 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,172.30 เซนต์ (15.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.84
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 375.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.72 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 373.03 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 47.36 เซนต์ (38.11 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 47.75 เซนต์ (38.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.82
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,150.76 เซนต์ (15.44 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,172.30 เซนต์ (15.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.84
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 375.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.72 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 373.03 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 47.36 เซนต์ (38.11 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 47.75 เซนต์ (38.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.82
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 960.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และคงตัวในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 831.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 822.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,472.40 ดอลลาร์สหรัฐ (53.14 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,457.60 ดอลลาร์สหรัฐ (53.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และคงตัวในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1109.80 ดอลลาร์สหรัฐ (40.06 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1098.80 ดอลลาร์สหรัฐ (40.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และคงตัวในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.79 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 844.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และคงตัวในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.05 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.47 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.38
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,140 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,161 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,616 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 971 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.34 คิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.83 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.81 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.37 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายค่อนข้างทรงตัว โดยลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.06 คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 378 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 376 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 393 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 417 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 436 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 431 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 386 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.60 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 82.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.32 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.57 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 58.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.07 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 52.52 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.34 คิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.83 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.81 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.37 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายค่อนข้างทรงตัว โดยลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.06 คิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.50 คิดเป็นร้อยละ 1.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 378 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 376 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 393 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 417 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 436 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 431 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 386 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 433 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.60 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 82.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.32 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.57 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 58.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.07 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 52.52 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 – 14 กรกฎาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.36 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.77 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.89 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.61 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.55 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.03 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.40 บาท
ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.80 บาท
ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.20 บาท
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 – 14 กรกฎาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.36 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.77 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 121.89 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.61 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 70.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.55 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.03 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.40 บาท
ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.80 บาท
ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 31.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.20 บาท