- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 15-21 กรกฎาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 0.095 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.35 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนกรกฎาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.177 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 2.84 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.036 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.58 ของผลผลิต ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,003 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,005 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,029 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,670 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.14
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 913 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,731 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 901 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,520 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 211 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,936 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,295 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 359 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 587 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,044 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,078 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.8501 บาท
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนกรกฎาคม 2567 ผลผลิต 528.173 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 520.874 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.40
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนกรกฎาคม 2567 มีปริมาณผลผลิต 528.173 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.40 การใช้ในประเทศ 527.270 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.80 การส่งออก/นำเข้า 54.299 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.50 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 178.088 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.51
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย กัมพูชา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา จีน กายานา และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล ไอเวอรี่โคสต์ แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก โมซัมบิก สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น โซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เคนยา และคาเมรูน
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย เวียดนาม บังกลาเทศ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ฟิลิปปินส์
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture: USDA) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การนําเข้าข้าวฟิลิปปินส์เป็น 4.7 ล้านตัน ในปี 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากที่ประมาณการในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ 4.2 ล้านตัน เนื่องจากมีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น ประกอบกับคณะกรรมการสำนักงานเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งชาติ (The National Economic and Development Authority: NEDA) ได้เห็นชอบการลดอัตราภาษีนําเข้าข้าวจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 15 ไปจนถึงปี 2571 ทั้งนี้ สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) ระบุว่า ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวแล้ว 2.17 ล้านตัน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของการคาดการณ์จาก USDA ซึ่งการนําเข้าส่วนใหญ่มาจากเวียดนามและไทย โดยนําเข้าจากเวียดนามปริมาณ 1.52 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 72.7 และไทยปริมาณ 319,740.74 ตัน คิดเป็นร้อยละ 15.3 ของการนําเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ USDA ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การบริโภคข้าวของฟิลิปปินส์เป็น 17.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากประมาณการปี 2566 ที่ 16.8 ล้านตัน
ทั้งนี้ หน่วยงานสภาพอากาศของรัฐบาล (Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration: PAGASA) ได้ประกาศการสิ้นสุดของปรากฏการณ์เอลนีโญ และกล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2567 มีโอกาสที่จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญา ร้อยละ 69 นอกจากนี้ นาย Michael L. Ricafort หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Rizal Commercial Banking Corp ระบุว่า การเตรียมการรับมือสำหรับการเกิดปรากฏการณ์ลานีญาอาจนําไปสู่การนําเข้าข้าวเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2567 เพื่อเพิ่มอุปทานในตลาดท้องถิ่นและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งในแต่ละปีฟิลิปปินส์จำเป็นต้องนําเข้าข้าวประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการข้าวทั้งหมด
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
2) อิหร่าน
นาย Masih Keshavarz เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายข้าวอิหร่าน (The Iranian Rice Exporters Supplier and Importers Association) เปิดเผยถึงการนำเข้าข้าวในปี 2567 ว่า ผู้ประกอบการค้าข้าวของอิหร่าน ต้องเร่งนำเข้าข้าวให้ได้ปริมาณ 3 แสนตัน ก่อนช่วงระยะเวลาที่รัฐบาลห้ามนำเข้าข้าว เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวภายในประเทศ โดยจะเริ่มในวันที่ 22 กรกฎาคม – 20 พฤศจิกายน 2567 ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (วันที่ 21 มีนาคม - 20 พฤษภาคม 2567) อิหร่านนำเข้าข้าวแล้วประมาณ 2 แสนตัน โดยสมาคมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายข้าวอิหร่านได้เสนอให้มีการนำเข้าข้าวในปริมาณ 6 – 8 แสนตัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการข้าวในช่วงเทศกาลถือศีลอดและเทศกาลปีใหม่ของอิหร่าน (ประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคมของทุกปี) ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการข้าวภายในประเทศสูง แต่ปัจจุบันปริมาณข้าวที่นำเข้ามาจริงเป็นเพียง 1 ใน 4 ของปริมาณข้าวที่สมาคมฯ ได้เสนอ หากรัฐบาลไม่สามารถนำเข้าข้าวจำนวน 3 แสนตัน ได้ทันก่อนเข้าฤดูกาลดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนข้าวในตลาด ไม่สามารถขนถ่ายข้าวออกจากศุลกากรได้ทันเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามมา เช่น ค่าเสื่อมเสียของสินค้า ค่าเช่าโกดังสินค้า ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อความสมดุลของตลาดและปริมาณความต้องการข้าวภายในประเทศ รวมทั้งราคาข้าวอาจปรับสูงขึ้นเช่นเดียวกับปี 2565 ที่ผ่านมา
จากสถิติการนำเข้าข้าวของอิหร่านในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2564 อิหร่านนำเข้าข้าวจำนวน 0.85 ล้านตัน ปี 2565 นำเข้าข้าวจำนวน 1.8 ล้านตัน และในปี 2566 นำเข้าข้าวจำนวน 1 ล้านตัน จะเห็นได้ว่า รัฐบาลอิหร่านสามารถควบคุมราคาข้าวในตลาดที่ปรับตัวสูงในปี 2565 ให้คงที่และผันผวนน้อยลงได้ จากการอนุญาตให้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศได้ในจำนวนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ข้าวที่นำเข้ามีราคาค่อนข้างต่ำกว่าข้าวที่ผลิตได้ ในประเทศ ประกอบกับกำลังซื้อที่ไม่สูงมากของผู้บริโภคส่วนใหญ่ และประชากรที่อาศัยอยู่ทางจังหวัดชายแดนนิยมบริโภคข้าวนำเข้ามากกว่า จากการสำรวจตลาด พบว่า ข้าวของอินเดียในร้านขายส่งมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 460,000 เรียล (กิโลกรัมละ 395.60 บาท) และข้าวของปากีสถานราคากิโลกรัมละ 520,000 - 530,000 เรียล (กิโลกรัมละ 447.20 – 455.80 บาท) โดยพ่อค้าขายปลีกจะคิดกำไรเพิ่มอีกร้อยละ 30 – 40 จากราคาขายส่ง ดังนั้น ข้าวของอินเดียในร้านค้าปลีกจะขายในราคากิโลกรัมละ 500,000 เรียล (กิโลกรัมละ 430.00 บาท) และข้าวของปากีสถานขายในราคากิโลกรัมละ 600,000 เรียล (กิโลกรัมละ 516.00 บาท)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เรียลอิหร่าน เท่ากับ 0.00086 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 0.095 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.35 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุนไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนกรกฎาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.177 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 2.84 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2567 อีก 0.036 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.58 ของผลผลิต ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,003 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,005 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.02
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,029 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,037 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,670 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.14
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 913 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,731 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 901 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,520 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 211 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,936 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,295 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 359 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 587 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,044 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,078 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 34 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.8501 บาท
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนกรกฎาคม 2567 ผลผลิต 528.173 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 520.874 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2566/67 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.40
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2567/68 ณ เดือนกรกฎาคม 2567 มีปริมาณผลผลิต 528.173 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.40 การใช้ในประเทศ 527.270 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.80 การส่งออก/นำเข้า 54.299 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2566/67 ร้อยละ 1.50 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 178.088 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2566/67 ร้อยละ 0.51
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย กัมพูชา บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย อาร์เจนตินา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ไทย เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา จีน กายานา และตุรกี
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล ไอเวอรี่โคสต์ แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เม็กซิโก โมซัมบิก สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น โซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ อิรัก จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย บราซิล เคนยา และคาเมรูน
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย ไทย เวียดนาม บังกลาเทศ และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ฟิลิปปินส์
กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture: USDA) ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การนําเข้าข้าวฟิลิปปินส์เป็น 4.7 ล้านตัน ในปี 2567 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากที่ประมาณการในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ 4.2 ล้านตัน เนื่องจากมีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น ประกอบกับคณะกรรมการสำนักงานเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งชาติ (The National Economic and Development Authority: NEDA) ได้เห็นชอบการลดอัตราภาษีนําเข้าข้าวจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 15 ไปจนถึงปี 2571 ทั้งนี้ สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) ระบุว่า ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2567 ฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวแล้ว 2.17 ล้านตัน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของการคาดการณ์จาก USDA ซึ่งการนําเข้าส่วนใหญ่มาจากเวียดนามและไทย โดยนําเข้าจากเวียดนามปริมาณ 1.52 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 72.7 และไทยปริมาณ 319,740.74 ตัน คิดเป็นร้อยละ 15.3 ของการนําเข้าทั้งหมด นอกจากนี้ USDA ยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์การบริโภคข้าวของฟิลิปปินส์เป็น 17.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากประมาณการปี 2566 ที่ 16.8 ล้านตัน
ทั้งนี้ หน่วยงานสภาพอากาศของรัฐบาล (Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration: PAGASA) ได้ประกาศการสิ้นสุดของปรากฏการณ์เอลนีโญ และกล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2567 มีโอกาสที่จะเกิดปรากฏการณ์ลานีญา ร้อยละ 69 นอกจากนี้ นาย Michael L. Ricafort หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Rizal Commercial Banking Corp ระบุว่า การเตรียมการรับมือสำหรับการเกิดปรากฏการณ์ลานีญาอาจนําไปสู่การนําเข้าข้าวเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี 2567 เพื่อเพิ่มอุปทานในตลาดท้องถิ่นและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งในแต่ละปีฟิลิปปินส์จำเป็นต้องนําเข้าข้าวประมาณร้อยละ 20 ของความต้องการข้าวทั้งหมด
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
2) อิหร่าน
นาย Masih Keshavarz เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายข้าวอิหร่าน (The Iranian Rice Exporters Supplier and Importers Association) เปิดเผยถึงการนำเข้าข้าวในปี 2567 ว่า ผู้ประกอบการค้าข้าวของอิหร่าน ต้องเร่งนำเข้าข้าวให้ได้ปริมาณ 3 แสนตัน ก่อนช่วงระยะเวลาที่รัฐบาลห้ามนำเข้าข้าว เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวภายในประเทศ โดยจะเริ่มในวันที่ 22 กรกฎาคม – 20 พฤศจิกายน 2567 ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (วันที่ 21 มีนาคม - 20 พฤษภาคม 2567) อิหร่านนำเข้าข้าวแล้วประมาณ 2 แสนตัน โดยสมาคมผู้ผลิตและผู้จำหน่ายข้าวอิหร่านได้เสนอให้มีการนำเข้าข้าวในปริมาณ 6 – 8 แสนตัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการข้าวในช่วงเทศกาลถือศีลอดและเทศกาลปีใหม่ของอิหร่าน (ประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคมของทุกปี) ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการข้าวภายในประเทศสูง แต่ปัจจุบันปริมาณข้าวที่นำเข้ามาจริงเป็นเพียง 1 ใน 4 ของปริมาณข้าวที่สมาคมฯ ได้เสนอ หากรัฐบาลไม่สามารถนำเข้าข้าวจำนวน 3 แสนตัน ได้ทันก่อนเข้าฤดูกาลดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนข้าวในตลาด ไม่สามารถขนถ่ายข้าวออกจากศุลกากรได้ทันเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามมา เช่น ค่าเสื่อมเสียของสินค้า ค่าเช่าโกดังสินค้า ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อความสมดุลของตลาดและปริมาณความต้องการข้าวภายในประเทศ รวมทั้งราคาข้าวอาจปรับสูงขึ้นเช่นเดียวกับปี 2565 ที่ผ่านมา
จากสถิติการนำเข้าข้าวของอิหร่านในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ในปี 2564 อิหร่านนำเข้าข้าวจำนวน 0.85 ล้านตัน ปี 2565 นำเข้าข้าวจำนวน 1.8 ล้านตัน และในปี 2566 นำเข้าข้าวจำนวน 1 ล้านตัน จะเห็นได้ว่า รัฐบาลอิหร่านสามารถควบคุมราคาข้าวในตลาดที่ปรับตัวสูงในปี 2565 ให้คงที่และผันผวนน้อยลงได้ จากการอนุญาตให้นำเข้าข้าวจากต่างประเทศได้ในจำนวนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ข้าวที่นำเข้ามีราคาค่อนข้างต่ำกว่าข้าวที่ผลิตได้ ในประเทศ ประกอบกับกำลังซื้อที่ไม่สูงมากของผู้บริโภคส่วนใหญ่ และประชากรที่อาศัยอยู่ทางจังหวัดชายแดนนิยมบริโภคข้าวนำเข้ามากกว่า จากการสำรวจตลาด พบว่า ข้าวของอินเดียในร้านขายส่งมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 460,000 เรียล (กิโลกรัมละ 395.60 บาท) และข้าวของปากีสถานราคากิโลกรัมละ 520,000 - 530,000 เรียล (กิโลกรัมละ 447.20 – 455.80 บาท) โดยพ่อค้าขายปลีกจะคิดกำไรเพิ่มอีกร้อยละ 30 – 40 จากราคาขายส่ง ดังนั้น ข้าวของอินเดียในร้านค้าปลีกจะขายในราคากิโลกรัมละ 500,000 เรียล (กิโลกรัมละ 430.00 บาท) และข้าวของปากีสถานขายในราคากิโลกรัมละ 600,000 เรียล (กิโลกรัมละ 516.00 บาท)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เรียลอิหร่าน เท่ากับ 0.00086 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.89 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.72 บาท
ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.58 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 354.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,677.00 บาท/ตัน) ทรงตัวจากตันละ 354.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,763.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 86.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2567/68 มีปริมาณ 1,222.28 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,218.66 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 0.30 โดย สหรัฐอเมริกา จีน บราซิล สหภาพยุโรป เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 194.24 ล้านตัน ลดลงจาก 198.03 ล้านตัน ในปี 2566/67 ร้อยละ 1.91 โดย ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป ปารากวัย เมียนมา และแคนาดา ส่งออกลดลง ประกอบกับ ผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา อังกฤษ ตุรกี ไทย บราซิล และอินโดนีเซีย มีการนำเข้าลดลง ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 393.00 เซนต์ (5,614.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 397.00 เซนต์ (5,706.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 92.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ โดยเดือน กรกฎาคม 2567
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.40 ล้านตัน (ร้อยละ 1.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพลดลงเนื่องจากฝนตกในหลายพื้นที่ จึงทำให้มีสิ่งเจือปนสูงและเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.95 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.94 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.52
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.98 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.34
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.05 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.12
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.14 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 18.24 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 245.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,850 บาทต่อตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 241.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,780 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.66
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 519.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,760 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 524.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,100 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.95
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.524 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.274 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.893 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.341 ล้านตันของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 19.49 และร้อยละ 19.65 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 4.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.79 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.04
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.70 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,960.50 ริงกิตมาเลเซีย (31.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,997.16 ริงกิตมาเลเซีย (31.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.92
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,034.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37.51 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,017.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.62
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- Czarnikow คาดการณ์ว่า ประเทศอินเดียจะผลิตน้ำตาลหลังจากหักส่วนที่นำไปผลิตเป็นเอทานอลได้ที่ 33.70 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณฝนดี ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น แต่ยังคงคาดการณ์ว่า รัฐบาลอินเดียจะไม่อนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลได้จนกว่าจะถึงช่วงต้นปี 2568 ด้านนักวิเคราะห์รายอื่น ๆ คาดการณ์ปริมาณผลผลิตน้ำตาลที่ประมาณ 32.00 - 32.50 ล้านตัน ซึ่งยังคงมีปริมาณน้ำตาลส่วนเกิน (Surplus) เหลือเพียงพอสำหรับการส่งออก โดยนักวิเคราะห์รายหนึ่งชี้ให้เห็นว่า มีรายงานโรคเหี่ยวเน่าแดง (Red Rot) ในรัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตน้ำตาลได้ ด้านบริษัทผู้ค้า Meir Commodities คาดการณ์ปริมาณผลผลิตน้ำตาลของอินเดียไว้ที่ 34.50 ล้านตัน และสัดส่วนปริมาณที่นำไปผลิตเป็นเอทานอลประมาณ 4 ล้านตัน ทั้งนี้ คาดว่าปี 2568/2569 อินเดียอาจมีปริมาณผลผลิตอ้อยที่สูงเป็นประวัติการณ์
- บริษัทที่ปรึกษา SCA Brasil คาดการณ์ว่า ในปี 2567/2568 ภาคกลาง - ใต้ของประเทศบราซิลจะสามารถหีบอ้อยได้ประมาณ 615 - 622 ล้านตัน และคาดว่าจะปิดหีบได้ภายในครึ่งแรกของเดือนพฤศจิกายน 2567 เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ด้าน UNICA กล่าวเสริมว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยในภาคกลาง - ใต้ของบราซิลมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) และรัฐปารานา (Parana) โดยชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนของอ้อยที่นำไปผลิตน้ำตาลต่ำกว่าที่คาดไว้ และน่าจะมีสัดส่วนใกล้เคียงกับฤดูกาลที่ผ่านมา ด้าน Novacana กล่าวว่า ผู้สังเกตการณ์ตลาดคาดการณ์ว่า ในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลจะปริมาณอ้อยที่สูงกว่า 600 ล้านตัน
- บริษัทด้านการพยากรณ์อากาศ Climatempo คาดการณ์ว่า ในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิลจะได้รับปริมาณน้ำฝนที่อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยตั้งแต่ครึ่งหลังของเดือนตุลาคม 2567 ส่วนช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2567 ในภาคกลาง – ใต้ของบราซิลจะมีปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ซึ่งจะช่วยให้ปริมาณผลผลิตอ้อยของบราซิลดีขึ้นได้
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,092.48 เซนต์ (14.56 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,150.76 เซนต์ (15.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.06
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 375.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 10.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 46.47 เซนต์ (37.16 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 47.36 เซนต์ (38.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.88
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,092.48 เซนต์ (14.56 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,150.76 เซนต์ (15.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.06
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 336.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.21 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 375.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 10.46
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 46.47 เซนต์ (37.16 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 47.36 เซนต์ (38.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.88
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 976.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.01 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 836.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 831.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,481.80 ดอลลาร์สหรัฐ (53.12 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,472.40 ดอลลาร์สหรัฐ (53.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1116.80 ดอลลาร์สหรัฐ (40.04 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1109.80 ดอลลาร์สหรัฐ (40.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 858.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.79 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 853.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และคงตัวในรูปเงินบาทกิโลกรัม
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.05 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,144 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,140 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,624 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,616 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 971 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.83 คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.84 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.50 คิดเป็นร้อยละ 10.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 378 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 420 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 417 คิดเป็นร้อยละ 0.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 437 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 433 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 392 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 438 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.73 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.32 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.06 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 58.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.70 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 68.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.83 คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.06 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.28 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 70.84 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.50 คิดเป็นร้อยละ 10.22 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.05 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 378 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 360 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 394 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 420 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 417 คิดเป็นร้อยละ 0.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 437 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 433 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 392 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 438 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.73 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.13 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.32 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.06 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 58.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.70 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 15 – 21 กรกฎาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 82.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.44 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.74 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 68.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 34.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 29.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.80 บาท
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 15 – 21 กรกฎาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.16 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 59.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.31 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 82.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.33 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 121.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.44 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.74 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 68.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 34.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 29.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.80 บาท