- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 5-11 สิงหาคม 2567
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนสิงหาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 1.911 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 7.07 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนสิงหาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.016 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.020 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของผลผลิต ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.2.2 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง (5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,113 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,046 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,774 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,757 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,170 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,050ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.58
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 935 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,852 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 933 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,068 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 216 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,379 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 593ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,018 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 639 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,484 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,911 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 427 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1355 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไอวอรี่โคสต์
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รัฐบาลไอวอรี่โคสต์ได้พัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ที่สามารถให้ผลผลิตได้มากถึง 800 กิโลกรัมต่อไร่ และยังทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารหลักในภูมิภาคและลดการพึ่งพาการนําเข้า ใช้เงินลงทุนประมาณ 330 พันล้านฟรังก์ CFA (ประมาณ 19.47 พันล้านบาท) โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบชลประทาน การใช้เครื่องจักร และการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ทนแล้งในระยะสั้นได้ดียิ่งขึ้น และ หวังว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ไอวอรี่โคสต์ผลิตข้าวแบบพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ ข้าวพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้น มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 650 ฟรังก์ CFA (ประมาณกิโลกรัมละ 38.35 บาท)
กรรมการผู้จัดการสำนักงานเพื่อการพัฒนาภาคส่วนข้าว (The Managing Director of the Agency for the Development of the Rice Sector) กล่าวว่า ปัจจุบันการผลิตข้าวขาวในท้องถิ่นของไอวอรี่โคสต์อยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าการบริโภคข้าวของประเทศที่ประมาณ 2.1 ล้านตัน ทำให้ประเทศต้องพึ่งพาการนําเข้าข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยส่วนใหญ่จะนําเข้าจากอินเดีย ไทย และปากีสถานเป็นหลัก
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ฟรังก์ CFA เท่ากับ 0.0590 บาท
2) กัมพูชา
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 นาย Hun Manet นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการสร้างคลองฟูนันเตโช ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากจีน ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (59,730 ล้านบาท) มีเส้นทางน้ำยาว 180 กิโลเมตร กว้าง 100 เมตร และลึก 5.4 เมตร โดยคลองฟูนันเตโชจะเชื่อมต่อระหว่างกรุงพนมเปญกับจังหวัดแกบ บนชายฝั่งทางตอนใต้ของกัมพูชา และยังสามารถเข้าถึงอ่าวไทยได้ ทั้งนี้ รัฐบาลกัมพูชาหวังว่าคลองแห่งนี้จะสามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือน้ำลึกเพียงแห่งเดียวของประเทศอย่างท่าเรือสีหนุวิลล์ รวมทั้งลดการพึ่งพาท่าเรือในเวียดนามด้วย
นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและการเมือง เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงอิทธิพลของจีนที่มีต่อการเมืองและเศรษฐกิจของกัมพูชา ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างคลองฯ โดยเฉพาะการไหลของน้ำในแม่น้ำโขงที่หล่อเลี้ยงประชากรนับล้านคน ใน 6 ประเทศ ที่ประกอบอาชีพ การประมงและการเกษตร รวมทั้งเวียดนามยังกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวเพื่อส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของปริมาณการส่งออกทั้งประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1355 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนําเข้าข้าวปลายเดือนกรกฎาคม 2567 มีปริมาณ 2.44 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับ 1 ที่ปริมาณ 1.83 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 75 รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 358,728 ตัน คิดเป็นร้อยละ 14.7 และปากีสถาน ปริมาณ 154,523 ตัน คิดเป็นร้อยละ 6.3 ตามลำดับ ขณะที่ กรมศุลกากรฟิลิปปินส์ (Bureau of Customs : BoC) เปิดเผยตัวเลขการนําเข้าข้าวในเดือนมิถุนายน 2567 มีปริมาณ 156,644 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่ 240,521 ตัน หรือลดลงร้อยละ 35.7 เนื่องจากเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ได้ประกาศลงนามคำสั่ง Executive Order No. 62 เกี่ยวกับการปรับแก้ระบบการตั้งชื่อ (Nomenclature) และอัตราภาษีนําเข้าสินค้าต่างๆ ของฟิลิปปินส์ใหม่ โดยเฉพาะการปรับลดภาษีข้าวจากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 15 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ส่งผลให้ผู้นําเข้าข้าวสั่งยกเลิกและชะลอการนําเข้าข้าวจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มีการคัดค้าน
การปรับใช้คำสั่ง Executive Order No. 62 จากกลุ่มเกษตรกรในฟิลิปปินส์ที่กังวลว่าคำสั่งดังกล่าวจะส่งผลเชิงลบต่อเกษตรกรในท้องถิ่น
นอกจากนี้ DA พยายามลดราคาข้าวให้เหลือกิโลกรัมละ 20 เปโซ (กิโลกรัมละ 11.65 บาท) ตามนโยบายของประธานาธิบดีเฟอดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ และเตรียมเปิดตัวโครงการ Rice for All เพื่อขายข้าวในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบันให้แก่ประชาชนทุกคน โดยราคาข้าวในโครงการฯ จะอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 45 – 48 เปโซ (กิโลกรัมละ 26.20 – 27.95 บาท)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5823 บาท
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนสิงหาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 1.911 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 7.07 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนสิงหาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.016 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.020 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของผลผลิต ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
1.2.1 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2566/67 มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67
โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก ระยะเวลารับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 – 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสารระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.2.2 มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2567/68 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2567 เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้แก่เกษตรกร โดยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติและโรคระบาด ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวมการรับประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) และการรับประกันภัยเพิ่มเติมโดยสมัครใจ (Tier 2) จำนวน 21 ล้านไร่ วงเงินงบประมาณโครงการฯ รวม 2,302.16 ล้านบาท ทั้งนี้ กรรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ (1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก (2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง (3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น (4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง (5) ลูกเห็บ (6) ไฟไหม้ และ (7) ช้างป่า
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,113 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,046 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,774 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,757 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.16
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,170 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,050ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.35
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 18,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.58
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 935 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,852 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 933 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,068 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาท
ตันละ 216 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,379 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 593ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,018 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.19 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 639 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 583 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,484 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,911 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 427 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1355 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไอวอรี่โคสต์
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รัฐบาลไอวอรี่โคสต์ได้พัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ที่สามารถให้ผลผลิตได้มากถึง 800 กิโลกรัมต่อไร่ และยังทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารหลักในภูมิภาคและลดการพึ่งพาการนําเข้า ใช้เงินลงทุนประมาณ 330 พันล้านฟรังก์ CFA (ประมาณ 19.47 พันล้านบาท) โดยหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบชลประทาน การใช้เครื่องจักร และการปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ทนแล้งในระยะสั้นได้ดียิ่งขึ้น และ หวังว่าโครงการดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ไอวอรี่โคสต์ผลิตข้าวแบบพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ ข้าวพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาขึ้น มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 650 ฟรังก์ CFA (ประมาณกิโลกรัมละ 38.35 บาท)
กรรมการผู้จัดการสำนักงานเพื่อการพัฒนาภาคส่วนข้าว (The Managing Director of the Agency for the Development of the Rice Sector) กล่าวว่า ปัจจุบันการผลิตข้าวขาวในท้องถิ่นของไอวอรี่โคสต์อยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าการบริโภคข้าวของประเทศที่ประมาณ 2.1 ล้านตัน ทำให้ประเทศต้องพึ่งพาการนําเข้าข้าวเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยส่วนใหญ่จะนําเข้าจากอินเดีย ไทย และปากีสถานเป็นหลัก
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ฟรังก์ CFA เท่ากับ 0.0590 บาท
2) กัมพูชา
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 นาย Hun Manet นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการสร้างคลองฟูนันเตโช ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากจีน ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (59,730 ล้านบาท) มีเส้นทางน้ำยาว 180 กิโลเมตร กว้าง 100 เมตร และลึก 5.4 เมตร โดยคลองฟูนันเตโชจะเชื่อมต่อระหว่างกรุงพนมเปญกับจังหวัดแกบ บนชายฝั่งทางตอนใต้ของกัมพูชา และยังสามารถเข้าถึงอ่าวไทยได้ ทั้งนี้ รัฐบาลกัมพูชาหวังว่าคลองแห่งนี้จะสามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือน้ำลึกเพียงแห่งเดียวของประเทศอย่างท่าเรือสีหนุวิลล์ รวมทั้งลดการพึ่งพาท่าเรือในเวียดนามด้วย
นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและการเมือง เปิดเผยว่า โครงการดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงอิทธิพลของจีนที่มีต่อการเมืองและเศรษฐกิจของกัมพูชา ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างคลองฯ โดยเฉพาะการไหลของน้ำในแม่น้ำโขงที่หล่อเลี้ยงประชากรนับล้านคน ใน 6 ประเทศ ที่ประกอบอาชีพ การประมงและการเกษตร รวมทั้งเวียดนามยังกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าวบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยม ปากแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวเพื่อส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของปริมาณการส่งออกทั้งประเทศ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1355 บาท
3) ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry: BPI) กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (Department of Agriculture: DA) เปิดเผยตัวเลขการนําเข้าข้าวปลายเดือนกรกฎาคม 2567 มีปริมาณ 2.44 ล้านตัน โดยนําเข้าจากเวียดนามเป็นอันดับ 1 ที่ปริมาณ 1.83 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 75 รองลงมา ได้แก่ ไทย ปริมาณ 358,728 ตัน คิดเป็นร้อยละ 14.7 และปากีสถาน ปริมาณ 154,523 ตัน คิดเป็นร้อยละ 6.3 ตามลำดับ ขณะที่ กรมศุลกากรฟิลิปปินส์ (Bureau of Customs : BoC) เปิดเผยตัวเลขการนําเข้าข้าวในเดือนมิถุนายน 2567 มีปริมาณ 156,644 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ที่ 240,521 ตัน หรือลดลงร้อยละ 35.7 เนื่องจากเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ได้ประกาศลงนามคำสั่ง Executive Order No. 62 เกี่ยวกับการปรับแก้ระบบการตั้งชื่อ (Nomenclature) และอัตราภาษีนําเข้าสินค้าต่างๆ ของฟิลิปปินส์ใหม่ โดยเฉพาะการปรับลดภาษีข้าวจากร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 15 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป ส่งผลให้ผู้นําเข้าข้าวสั่งยกเลิกและชะลอการนําเข้าข้าวจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มีการคัดค้าน
การปรับใช้คำสั่ง Executive Order No. 62 จากกลุ่มเกษตรกรในฟิลิปปินส์ที่กังวลว่าคำสั่งดังกล่าวจะส่งผลเชิงลบต่อเกษตรกรในท้องถิ่น
นอกจากนี้ DA พยายามลดราคาข้าวให้เหลือกิโลกรัมละ 20 เปโซ (กิโลกรัมละ 11.65 บาท) ตามนโยบายของประธานาธิบดีเฟอดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ และเตรียมเปิดตัวโครงการ Rice for All เพื่อขายข้าวในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบันให้แก่ประชาชนทุกคน โดยราคาข้าวในโครงการฯ จะอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 45 – 48 เปโซ (กิโลกรัมละ 26.20 – 27.95 บาท)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 เปโซ เท่ากับ 0.5823 บาท
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.92 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.72 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.13 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 348.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,213.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 346.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,272.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 59.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 384.00 เซนต์ (5,370.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 387.00 เซนต์ (5,465.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 95.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ
โดยเดือน สิงหาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.53 ล้านตัน (ร้อยละ 1.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพลดลงเนื่องจากฝนตกในหลายพื้นที่ จึงทำให้มีสิ่งเจือปนสูงและเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.78 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.56
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.20 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.22 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.32
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.05 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.62
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 17.93 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.17
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 244.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,660 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 245.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,780 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.20
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 517.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,340 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 517.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,540 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.286 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.231 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.524 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.274 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม คิดเป็นร้อยละ 15.62 และร้อยละ 15.69 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 5.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.58 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.05
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 32.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.16 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.39
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,854.72 ริงกิตมาเลเซีย (31.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,026.40 ริงกิตมาเลเซีย (31.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.26
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,036.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,064.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.63
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ให้ความเห็นว่า สอน.คาดการณ์แนวโน้มปริมาณอ้อยเข้าหีบในปีการผลิต 2567/68 จะมากกว่าปีการผลิต 2566/67 โดยปริมาณอ้อยเข้าหีบ
อาจอยู่ที่ประมาณ 92 ล้านตัน เนื่องจากจากราคาอ้อยที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับในปีการผลิต 2566/67 อยู่ที่ 1,420 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยบางส่วนดำเนินการรื้อถอนอ้อยตอแล้วปลูกอ้อยใหม่ในพื้นที่เดิม ทั้งนี้ แม้พื้นที่เพาะปลูกไม่เพิ่มขึ้น แต่คาดว่าผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงอาจมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกพืชอื่น เช่น มันสำปะหลัง มาปลูกอ้อย ซึ่งอาจส่งผลให้ปริมาณพื้นที่ปลูกอ้อยในภาพรวมของทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ด้านผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายได้คาดการณ์ผลผลิตอ้อยในฤดูการผลิตปี 2567/68 ที่ระดับ 95 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น และราคาอ้อยที่เพิ่มขึ้นในปี 2566/67 เป็นแรงจูงใจสำคัญให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, มติชนออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- กรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย (IMD) กล่าวว่า ปริมาณฝนของประเทศอินเดียในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2567 น่าจะสูงกว่าปกติ เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina) แต่พื้นที่เพาะปลูกอ้อยทางตะวันตก
ของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) และรัฐคุชราต (Gujarat) อาจมีฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดือนสิงหาคม ขณะเดียวกันแหล่งข่าวท้องถิ่น รายงานว่า ราคาน้ำตาลทางตะวันตกของรัฐมหาราษฏระ และรัฐโกลฮาเปอร์ (Kolhapur) เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนรถบรรทุกน้ำตาล และสถานการณ์มีแนวโน้มแย่ลงจากปัญหาฝนตกหนักที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งทางถนน (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- กระทรวงพาณิชย์ประเทศจีน รายงานว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 จีนนำเข้าน้ำตาลทรายดิบ
นอกโควตาประมาณ 59,000 ตัน ลดลง 62,000 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้านนักวิเคราะห์ กล่าวว่า ในเดือนกรกฎาคม 2567 การนำเข้าน้ำตาลนอกโควตาของจีนอยู่ที่ประมาณ 198,000 ตัน และคาดว่าในเดือนสิงหาคม 2567 จะมีการนำเข้าที่ประมาณ 155,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าปริมาณปกติ โดยเสริมว่า ในขณะนี้คาดว่าการนำเข้าน้ำตาลภายในโควตาของจีนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ให้ความเห็นว่า สอน.คาดการณ์แนวโน้มปริมาณอ้อยเข้าหีบในปีการผลิต 2567/68 จะมากกว่าปีการผลิต 2566/67 โดยปริมาณอ้อยเข้าหีบ
อาจอยู่ที่ประมาณ 92 ล้านตัน เนื่องจากจากราคาอ้อยที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับในปีการผลิต 2566/67 อยู่ที่ 1,420 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยบางส่วนดำเนินการรื้อถอนอ้อยตอแล้วปลูกอ้อยใหม่ในพื้นที่เดิม ทั้งนี้ แม้พื้นที่เพาะปลูกไม่เพิ่มขึ้น แต่คาดว่าผลผลิตต่อไร่จะเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงอาจมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกพืชอื่น เช่น มันสำปะหลัง มาปลูกอ้อย ซึ่งอาจส่งผลให้ปริมาณพื้นที่ปลูกอ้อยในภาพรวมของทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ด้านผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายได้คาดการณ์ผลผลิตอ้อยในฤดูการผลิตปี 2567/68 ที่ระดับ 95 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น และราคาอ้อยที่เพิ่มขึ้นในปี 2566/67 เป็นแรงจูงใจสำคัญให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, มติชนออนไลน์)
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- กรมอุตุนิยมวิทยาของอินเดีย (IMD) กล่าวว่า ปริมาณฝนของประเทศอินเดียในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2567 น่าจะสูงกว่าปกติ เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina) แต่พื้นที่เพาะปลูกอ้อยทางตะวันตก
ของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) และรัฐคุชราต (Gujarat) อาจมีฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงเดือนสิงหาคม ขณะเดียวกันแหล่งข่าวท้องถิ่น รายงานว่า ราคาน้ำตาลทางตะวันตกของรัฐมหาราษฏระ และรัฐโกลฮาเปอร์ (Kolhapur) เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนรถบรรทุกน้ำตาล และสถานการณ์มีแนวโน้มแย่ลงจากปัญหาฝนตกหนักที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่งทางถนน (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
- กระทรวงพาณิชย์ประเทศจีน รายงานว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 จีนนำเข้าน้ำตาลทรายดิบ
นอกโควตาประมาณ 59,000 ตัน ลดลง 62,000 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้านนักวิเคราะห์ กล่าวว่า ในเดือนกรกฎาคม 2567 การนำเข้าน้ำตาลนอกโควตาของจีนอยู่ที่ประมาณ 198,000 ตัน และคาดว่าในเดือนสิงหาคม 2567 จะมีการนำเข้าที่ประมาณ 155,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าปริมาณปกติ โดยเสริมว่า ในขณะนี้คาดว่าการนำเข้าน้ำตาลภายในโควตาของจีนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 (ที่มา: บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,026.08 เซนต์ (13.40 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,032.28 เซนต์ (13.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.60
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 342.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.16 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 355.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.83
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.85 เซนต์ (32.79 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 42.69 เซนต์ (33.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.97
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,026.08 เซนต์ (13.40 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,032.28 เซนต์ (13.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.60
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 342.16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.16 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 355.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.83
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 41.85 เซนต์ (32.79 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 42.69 เซนต์ (33.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.97
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 996.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ987.25 ดอลลาร์สหรัฐ (34.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 845.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,483.00 ดอลลาร์สหรัฐ (52.11 บาท/กก.) ]f]’จากตันละ 1,483.75 ดอลลาร์สหรัฐ (52.59 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.48 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1110.06 ดอลลาร์สหรัฐ (39.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1115.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.52 บาท/กก.)ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 และลดลงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.50 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 876.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.79 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 868.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.98 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.63 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.99
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,144 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2,018 บาทคิดเป็นร้อยละ 5.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,611 ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,489 บาทคิดเป็นร้อยละ 7.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 69.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.75 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.96 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.29 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.03 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 382 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 380 คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 397 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 422 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 420 คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 432 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 392 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 455 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.65 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 93.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.77 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.87 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.27 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.86 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.74 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 69.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.45 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 63.69 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.75 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.96 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 72.29 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 2,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายสูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.03 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.75 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 382 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 380 คิดเป็นร้อยละ 0.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 397 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 422 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 420 คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 432 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 392 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 455 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.65 บาทสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 93.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.77 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.87 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.11 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.27 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.86 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.74 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 5 – 11 สิงหาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพาน
ปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.97 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.88 บาท
เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.54 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.94 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.11 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 128.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.61 บาท ราคาสูงขึ้น
จากกิโลกรัมละ 65.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป
ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 5 – 11 สิงหาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพาน
ปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.97 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.88 บาท
เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.54 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.94 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.11 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 128.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.00 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.61 บาท ราคาสูงขึ้น
จากกิโลกรัมละ 65.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.87 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป
ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา