สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,462 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,331 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย   
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยการส่งออกข้าวไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีปริมาณ 786,263.6 ตัน ลดลงในรอบ 6 เดือน เมื่อเทียบกับ
เดือนตุลาคม 2567 ที่ส่งออกได้สูงถึง 901
,355.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 20.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ได้แก่ การชะลอการนำเข้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีการเร่งนำเข้าข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสต็อกข้าวของทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณมาก ประกอบกับอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดข้าวมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งราคาส่งออกข้าวไทยยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันมีความยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกข้าวอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ประกอบการส่งออก และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ไทยได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 9.186 ล้านตัน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) ไนจีเรีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไนจีเรีย รายงานราคาอาหารประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
ราคาข้าวท้องถิ่นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาข้าวท้องถิ่นเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1,944.64 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (42.98 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 819.42 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (18.11 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.32 ทำให้ข้าวท้องถิ่นกลายเป็น 1 ใน 10 ของอาหารหลักที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นนี้สะท้อนถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลต่อราคาอาหาร และเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไนจีเรียที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ราคาข้าวท้องถิ่นในแต่ละรัฐของไนจีเรียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐโคกีมีราคาข้าวท้องถิ่นสูงสุดที่ 2,693.41 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (59.52 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ขณะที่รัฐเบนูวราคาต่ำสุดที่ 1,267.25 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (28.01 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ซึ่งความแตกต่างของราคาสะท้อนถึงความแตกต่างในด้านอุปทาน อุปสงค์ และช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคของไนจีเรีย อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องเผชิญกับการตอบสนองต่อความต้องการข้าวในประเทศท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ราคาข้าว Ofada ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกเป็นหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรีย และราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในไนจีเรียมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาข้าว Ofada เฉลี่ยอยู่ที่ 2,428.65 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (53.67 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 811.83 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (17.94 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2,471.28 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (54.62 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 1,016.12 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (22.46 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.21 ซึ่งราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้รับอิทธิพลจากการลดค่าเงินไนรา ภาษีนำเข้า และความผันผวนของราคาในตลาดข้าวในตลาดโลก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ไนรา เท่ากับ 0.0221 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,097.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,766.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 450.00 เซนต์ (6,091.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,008.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.62
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.60 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 193.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.93 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มมาเลเซียมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เผชิญฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อการขนส่งและการเก็บเกี่ยว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,798.87 ริงกิตมาเลเซีย (37.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและพลังงานชีวภาพแห่งบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry and Bioenergy Association: Unica) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลสะสมในฤดูการผลิตปี 2567/68 บริเวณภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลจนถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ที่ 39.71 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง
ครึ่งแรกของเดือนธันวาคม มีโรงงานน้ำตาลเพียง 129 แห่งที่ดำเนินการหีบอ้อยลดลงจาก 185 แห่งที่ดำเนินการ
ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ที่มา: nasdaq.com)
          - B.B. Thombare ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (West Indian Sugar Mills Association: WISMA) กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอ้อยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
และปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปช่วงฤดูมรสุม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลง 10 – 15 ตันต่อเฮกตาร์
(1.6 – 2.4 ตันต่อไร่) สอดคล้องกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่กล่าวว่า ภัยแล้งในปีที่ผ่านมา และฝนที่ตกหนักในปีนี้ ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงานของอินเดียมีปริมาณลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยปริมาณผลผลิตที่ต่ำกว่าปริมาณคาดการณ์นี้ อาจทำให้อินเดียยังคงห้ามไม่ให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายสำหรับฤดูการผลิตนี้ต่อไป
ซึ่งฤดูการผลิตนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2568 (ที่มา: reuters.com)






 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 978.15 เซนต์ (12.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 970.72 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (30.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 40.34 เซนต์ (30.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1032.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 854.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,506.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,503.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1056.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,004 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,491 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 458 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
 
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มี



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.84 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.70 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,462 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,331 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย   
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยการส่งออกข้าวไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีปริมาณ 786,263.6 ตัน ลดลงในรอบ 6 เดือน เมื่อเทียบกับ
เดือนตุลาคม 2567 ที่ส่งออกได้สูงถึง 901
,355.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 20.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ได้แก่ การชะลอการนำเข้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีการเร่งนำเข้าข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสต็อกข้าวของทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณมาก ประกอบกับอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดข้าวมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งราคาส่งออกข้าวไทยยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันมีความยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกข้าวอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ประกอบการส่งออก และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ไทยได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 9.186 ล้านตัน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) ไนจีเรีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไนจีเรีย รายงานราคาอาหารประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
ราคาข้าวท้องถิ่นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาข้าวท้องถิ่นเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1,944.64 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (42.98 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 819.42 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (18.11 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.32 ทำให้ข้าวท้องถิ่นกลายเป็น 1 ใน 10 ของอาหารหลักที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นนี้สะท้อนถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลต่อราคาอาหาร และเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไนจีเรียที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ราคาข้าวท้องถิ่นในแต่ละรัฐของไนจีเรียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐโคกีมีราคาข้าวท้องถิ่นสูงสุดที่ 2,693.41 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (59.52 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ขณะที่รัฐเบนูวราคาต่ำสุดที่ 1,267.25 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (28.01 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ซึ่งความแตกต่างของราคาสะท้อนถึงความแตกต่างในด้านอุปทาน อุปสงค์ และช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคของไนจีเรีย อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องเผชิญกับการตอบสนองต่อความต้องการข้าวในประเทศท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ราคาข้าว Ofada ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกเป็นหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรีย และราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในไนจีเรียมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาข้าว Ofada เฉลี่ยอยู่ที่ 2,428.65 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (53.67 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 811.83 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (17.94 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2,471.28 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (54.62 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 1,016.12 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (22.46 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.21 ซึ่งราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้รับอิทธิพลจากการลดค่าเงินไนรา ภาษีนำเข้า และความผันผวนของราคาในตลาดข้าวในตลาดโลก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ไนรา เท่ากับ 0.0221 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,097.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,766.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 450.00 เซนต์ (6,091.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,008.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.62
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.60 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 193.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.93 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มมาเลเซียมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เผชิญฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อการขนส่งและการเก็บเกี่ยว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,798.87 ริงกิตมาเลเซีย (37.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและพลังงานชีวภาพแห่งบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry and Bioenergy Association: Unica) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลสะสมในฤดูการผลิตปี 2567/68 บริเวณภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลจนถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ที่ 39.71 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง
ครึ่งแรกของเดือนธันวาคม มีโรงงานน้ำตาลเพียง 129 แห่งที่ดำเนินการหีบอ้อยลดลงจาก 185 แห่งที่ดำเนินการ
ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ที่มา: nasdaq.com)
          - B.B. Thombare ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (West Indian Sugar Mills Association: WISMA) กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอ้อยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
และปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปช่วงฤดูมรสุม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลง 10 – 15 ตันต่อเฮกตาร์
(1.6 – 2.4 ตันต่อไร่) สอดคล้องกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่กล่าวว่า ภัยแล้งในปีที่ผ่านมา และฝนที่ตกหนักในปีนี้ ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงานของอินเดียมีปริมาณลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยปริมาณผลผลิตที่ต่ำกว่าปริมาณคาดการณ์นี้ อาจทำให้อินเดียยังคงห้ามไม่ให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายสำหรับฤดูการผลิตนี้ต่อไป
ซึ่งฤดูการผลิตนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2568 (ที่มา: reuters.com)






 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 978.15 เซนต์ (12.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 970.72 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (30.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 40.34 เซนต์ (30.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1032.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 854.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,506.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,503.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1056.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,004 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,491 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 458 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
 
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มี



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.84 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.70 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,462 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,331 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย   
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยการส่งออกข้าวไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีปริมาณ 786,263.6 ตัน ลดลงในรอบ 6 เดือน เมื่อเทียบกับ
เดือนตุลาคม 2567 ที่ส่งออกได้สูงถึง 901
,355.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 20.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ได้แก่ การชะลอการนำเข้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีการเร่งนำเข้าข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสต็อกข้าวของทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณมาก ประกอบกับอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดข้าวมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งราคาส่งออกข้าวไทยยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันมีความยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกข้าวอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ประกอบการส่งออก และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ไทยได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 9.186 ล้านตัน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) ไนจีเรีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไนจีเรีย รายงานราคาอาหารประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
ราคาข้าวท้องถิ่นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาข้าวท้องถิ่นเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1,944.64 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (42.98 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 819.42 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (18.11 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.32 ทำให้ข้าวท้องถิ่นกลายเป็น 1 ใน 10 ของอาหารหลักที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นนี้สะท้อนถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลต่อราคาอาหาร และเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไนจีเรียที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ราคาข้าวท้องถิ่นในแต่ละรัฐของไนจีเรียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐโคกีมีราคาข้าวท้องถิ่นสูงสุดที่ 2,693.41 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (59.52 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ขณะที่รัฐเบนูวราคาต่ำสุดที่ 1,267.25 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (28.01 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ซึ่งความแตกต่างของราคาสะท้อนถึงความแตกต่างในด้านอุปทาน อุปสงค์ และช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคของไนจีเรีย อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องเผชิญกับการตอบสนองต่อความต้องการข้าวในประเทศท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ราคาข้าว Ofada ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกเป็นหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรีย และราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในไนจีเรียมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาข้าว Ofada เฉลี่ยอยู่ที่ 2,428.65 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (53.67 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 811.83 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (17.94 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2,471.28 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (54.62 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 1,016.12 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (22.46 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.21 ซึ่งราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้รับอิทธิพลจากการลดค่าเงินไนรา ภาษีนำเข้า และความผันผวนของราคาในตลาดข้าวในตลาดโลก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ไนรา เท่ากับ 0.0221 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,097.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,766.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 450.00 เซนต์ (6,091.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,008.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.62
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.60 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 193.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.93 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มมาเลเซียมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เผชิญฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อการขนส่งและการเก็บเกี่ยว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,798.87 ริงกิตมาเลเซีย (37.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและพลังงานชีวภาพแห่งบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry and Bioenergy Association: Unica) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลสะสมในฤดูการผลิตปี 2567/68 บริเวณภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลจนถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ที่ 39.71 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง
ครึ่งแรกของเดือนธันวาคม มีโรงงานน้ำตาลเพียง 129 แห่งที่ดำเนินการหีบอ้อยลดลงจาก 185 แห่งที่ดำเนินการ
ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ที่มา: nasdaq.com)
          - B.B. Thombare ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (West Indian Sugar Mills Association: WISMA) กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอ้อยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
และปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปช่วงฤดูมรสุม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลง 10 – 15 ตันต่อเฮกตาร์
(1.6 – 2.4 ตันต่อไร่) สอดคล้องกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่กล่าวว่า ภัยแล้งในปีที่ผ่านมา และฝนที่ตกหนักในปีนี้ ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงานของอินเดียมีปริมาณลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยปริมาณผลผลิตที่ต่ำกว่าปริมาณคาดการณ์นี้ อาจทำให้อินเดียยังคงห้ามไม่ให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายสำหรับฤดูการผลิตนี้ต่อไป
ซึ่งฤดูการผลิตนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2568 (ที่มา: reuters.com)






 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 978.15 เซนต์ (12.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 970.72 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (30.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 40.34 เซนต์ (30.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1032.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 854.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,506.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,503.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1056.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,004 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,491 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 458 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
 
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มี



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.84 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.70 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,462 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,331 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย   
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยการส่งออกข้าวไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีปริมาณ 786,263.6 ตัน ลดลงในรอบ 6 เดือน เมื่อเทียบกับ
เดือนตุลาคม 2567 ที่ส่งออกได้สูงถึง 901
,355.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 20.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ได้แก่ การชะลอการนำเข้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีการเร่งนำเข้าข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสต็อกข้าวของทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณมาก ประกอบกับอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดข้าวมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งราคาส่งออกข้าวไทยยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันมีความยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกข้าวอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ประกอบการส่งออก และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ไทยได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 9.186 ล้านตัน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) ไนจีเรีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไนจีเรีย รายงานราคาอาหารประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
ราคาข้าวท้องถิ่นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาข้าวท้องถิ่นเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1,944.64 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (42.98 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 819.42 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (18.11 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.32 ทำให้ข้าวท้องถิ่นกลายเป็น 1 ใน 10 ของอาหารหลักที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นนี้สะท้อนถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลต่อราคาอาหาร และเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไนจีเรียที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ราคาข้าวท้องถิ่นในแต่ละรัฐของไนจีเรียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐโคกีมีราคาข้าวท้องถิ่นสูงสุดที่ 2,693.41 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (59.52 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ขณะที่รัฐเบนูวราคาต่ำสุดที่ 1,267.25 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (28.01 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ซึ่งความแตกต่างของราคาสะท้อนถึงความแตกต่างในด้านอุปทาน อุปสงค์ และช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคของไนจีเรีย อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องเผชิญกับการตอบสนองต่อความต้องการข้าวในประเทศท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ราคาข้าว Ofada ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกเป็นหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรีย และราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในไนจีเรียมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาข้าว Ofada เฉลี่ยอยู่ที่ 2,428.65 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (53.67 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 811.83 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (17.94 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2,471.28 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (54.62 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 1,016.12 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (22.46 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.21 ซึ่งราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้รับอิทธิพลจากการลดค่าเงินไนรา ภาษีนำเข้า และความผันผวนของราคาในตลาดข้าวในตลาดโลก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ไนรา เท่ากับ 0.0221 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,097.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,766.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 450.00 เซนต์ (6,091.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,008.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.62
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.60 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 193.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.93 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มมาเลเซียมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เผชิญฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อการขนส่งและการเก็บเกี่ยว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,798.87 ริงกิตมาเลเซีย (37.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและพลังงานชีวภาพแห่งบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry and Bioenergy Association: Unica) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลสะสมในฤดูการผลิตปี 2567/68 บริเวณภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลจนถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ที่ 39.71 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง
ครึ่งแรกของเดือนธันวาคม มีโรงงานน้ำตาลเพียง 129 แห่งที่ดำเนินการหีบอ้อยลดลงจาก 185 แห่งที่ดำเนินการ
ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ที่มา: nasdaq.com)
          - B.B. Thombare ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (West Indian Sugar Mills Association: WISMA) กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอ้อยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
และปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปช่วงฤดูมรสุม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลง 10 – 15 ตันต่อเฮกตาร์
(1.6 – 2.4 ตันต่อไร่) สอดคล้องกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่กล่าวว่า ภัยแล้งในปีที่ผ่านมา และฝนที่ตกหนักในปีนี้ ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงานของอินเดียมีปริมาณลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยปริมาณผลผลิตที่ต่ำกว่าปริมาณคาดการณ์นี้ อาจทำให้อินเดียยังคงห้ามไม่ให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายสำหรับฤดูการผลิตนี้ต่อไป
ซึ่งฤดูการผลิตนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2568 (ที่มา: reuters.com)






 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 978.15 เซนต์ (12.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 970.72 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (30.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 40.34 เซนต์ (30.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1032.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 854.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,506.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,503.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1056.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,004 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,491 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 458 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
 
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มี



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.84 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.70 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,462 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,331 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย   
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยการส่งออกข้าวไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีปริมาณ 786,263.6 ตัน ลดลงในรอบ 6 เดือน เมื่อเทียบกับ
เดือนตุลาคม 2567 ที่ส่งออกได้สูงถึง 901
,355.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 20.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ได้แก่ การชะลอการนำเข้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีการเร่งนำเข้าข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสต็อกข้าวของทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณมาก ประกอบกับอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดข้าวมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งราคาส่งออกข้าวไทยยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันมีความยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกข้าวอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ประกอบการส่งออก และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ไทยได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 9.186 ล้านตัน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) ไนจีเรีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไนจีเรีย รายงานราคาอาหารประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
ราคาข้าวท้องถิ่นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาข้าวท้องถิ่นเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1,944.64 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (42.98 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 819.42 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (18.11 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.32 ทำให้ข้าวท้องถิ่นกลายเป็น 1 ใน 10 ของอาหารหลักที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นนี้สะท้อนถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลต่อราคาอาหาร และเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไนจีเรียที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ราคาข้าวท้องถิ่นในแต่ละรัฐของไนจีเรียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐโคกีมีราคาข้าวท้องถิ่นสูงสุดที่ 2,693.41 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (59.52 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ขณะที่รัฐเบนูวราคาต่ำสุดที่ 1,267.25 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (28.01 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ซึ่งความแตกต่างของราคาสะท้อนถึงความแตกต่างในด้านอุปทาน อุปสงค์ และช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคของไนจีเรีย อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องเผชิญกับการตอบสนองต่อความต้องการข้าวในประเทศท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ราคาข้าว Ofada ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกเป็นหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรีย และราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในไนจีเรียมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาข้าว Ofada เฉลี่ยอยู่ที่ 2,428.65 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (53.67 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 811.83 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (17.94 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2,471.28 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (54.62 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 1,016.12 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (22.46 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.21 ซึ่งราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้รับอิทธิพลจากการลดค่าเงินไนรา ภาษีนำเข้า และความผันผวนของราคาในตลาดข้าวในตลาดโลก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ไนรา เท่ากับ 0.0221 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,097.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,766.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 450.00 เซนต์ (6,091.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,008.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.62
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.60 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 193.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.93 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มมาเลเซียมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เผชิญฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อการขนส่งและการเก็บเกี่ยว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,798.87 ริงกิตมาเลเซีย (37.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและพลังงานชีวภาพแห่งบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry and Bioenergy Association: Unica) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลสะสมในฤดูการผลิตปี 2567/68 บริเวณภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลจนถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ที่ 39.71 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง
ครึ่งแรกของเดือนธันวาคม มีโรงงานน้ำตาลเพียง 129 แห่งที่ดำเนินการหีบอ้อยลดลงจาก 185 แห่งที่ดำเนินการ
ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ที่มา: nasdaq.com)
          - B.B. Thombare ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (West Indian Sugar Mills Association: WISMA) กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอ้อยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
และปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปช่วงฤดูมรสุม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลง 10 – 15 ตันต่อเฮกตาร์
(1.6 – 2.4 ตันต่อไร่) สอดคล้องกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่กล่าวว่า ภัยแล้งในปีที่ผ่านมา และฝนที่ตกหนักในปีนี้ ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงานของอินเดียมีปริมาณลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยปริมาณผลผลิตที่ต่ำกว่าปริมาณคาดการณ์นี้ อาจทำให้อินเดียยังคงห้ามไม่ให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายสำหรับฤดูการผลิตนี้ต่อไป
ซึ่งฤดูการผลิตนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2568 (ที่มา: reuters.com)






 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 978.15 เซนต์ (12.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 970.72 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (30.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 40.34 เซนต์ (30.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1032.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 854.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,506.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,503.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1056.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,004 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,491 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 458 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
 
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มี



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.84 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.70 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,462 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,331 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย   
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยการส่งออกข้าวไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีปริมาณ 786,263.6 ตัน ลดลงในรอบ 6 เดือน เมื่อเทียบกับ
เดือนตุลาคม 2567 ที่ส่งออกได้สูงถึง 901
,355.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 20.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ได้แก่ การชะลอการนำเข้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีการเร่งนำเข้าข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสต็อกข้าวของทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณมาก ประกอบกับอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดข้าวมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งราคาส่งออกข้าวไทยยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันมีความยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกข้าวอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ประกอบการส่งออก และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ไทยได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 9.186 ล้านตัน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) ไนจีเรีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไนจีเรีย รายงานราคาอาหารประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
ราคาข้าวท้องถิ่นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาข้าวท้องถิ่นเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1,944.64 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (42.98 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 819.42 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (18.11 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.32 ทำให้ข้าวท้องถิ่นกลายเป็น 1 ใน 10 ของอาหารหลักที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นนี้สะท้อนถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลต่อราคาอาหาร และเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไนจีเรียที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ราคาข้าวท้องถิ่นในแต่ละรัฐของไนจีเรียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐโคกีมีราคาข้าวท้องถิ่นสูงสุดที่ 2,693.41 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (59.52 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ขณะที่รัฐเบนูวราคาต่ำสุดที่ 1,267.25 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (28.01 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ซึ่งความแตกต่างของราคาสะท้อนถึงความแตกต่างในด้านอุปทาน อุปสงค์ และช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคของไนจีเรีย อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องเผชิญกับการตอบสนองต่อความต้องการข้าวในประเทศท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ราคาข้าว Ofada ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกเป็นหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรีย และราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในไนจีเรียมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาข้าว Ofada เฉลี่ยอยู่ที่ 2,428.65 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (53.67 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 811.83 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (17.94 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2,471.28 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (54.62 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 1,016.12 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (22.46 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.21 ซึ่งราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้รับอิทธิพลจากการลดค่าเงินไนรา ภาษีนำเข้า และความผันผวนของราคาในตลาดข้าวในตลาดโลก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ไนรา เท่ากับ 0.0221 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,097.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,766.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 450.00 เซนต์ (6,091.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,008.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.62
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.60 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 193.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.93 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มมาเลเซียมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เผชิญฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อการขนส่งและการเก็บเกี่ยว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,798.87 ริงกิตมาเลเซีย (37.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและพลังงานชีวภาพแห่งบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry and Bioenergy Association: Unica) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลสะสมในฤดูการผลิตปี 2567/68 บริเวณภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลจนถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ที่ 39.71 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง
ครึ่งแรกของเดือนธันวาคม มีโรงงานน้ำตาลเพียง 129 แห่งที่ดำเนินการหีบอ้อยลดลงจาก 185 แห่งที่ดำเนินการ
ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ที่มา: nasdaq.com)
          - B.B. Thombare ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (West Indian Sugar Mills Association: WISMA) กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอ้อยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
และปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปช่วงฤดูมรสุม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลง 10 – 15 ตันต่อเฮกตาร์
(1.6 – 2.4 ตันต่อไร่) สอดคล้องกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่กล่าวว่า ภัยแล้งในปีที่ผ่านมา และฝนที่ตกหนักในปีนี้ ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงานของอินเดียมีปริมาณลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยปริมาณผลผลิตที่ต่ำกว่าปริมาณคาดการณ์นี้ อาจทำให้อินเดียยังคงห้ามไม่ให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายสำหรับฤดูการผลิตนี้ต่อไป
ซึ่งฤดูการผลิตนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2568 (ที่มา: reuters.com)






 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 978.15 เซนต์ (12.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 970.72 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (30.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 40.34 เซนต์ (30.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1032.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 854.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,506.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,503.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1056.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,004 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,491 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 458 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
 
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มี



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.84 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.70 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,462 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,331 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย   
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยการส่งออกข้าวไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีปริมาณ 786,263.6 ตัน ลดลงในรอบ 6 เดือน เมื่อเทียบกับ
เดือนตุลาคม 2567 ที่ส่งออกได้สูงถึง 901
,355.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 20.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ได้แก่ การชะลอการนำเข้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีการเร่งนำเข้าข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสต็อกข้าวของทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณมาก ประกอบกับอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดข้าวมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งราคาส่งออกข้าวไทยยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันมีความยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกข้าวอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ประกอบการส่งออก และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ไทยได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 9.186 ล้านตัน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) ไนจีเรีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไนจีเรีย รายงานราคาอาหารประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
ราคาข้าวท้องถิ่นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาข้าวท้องถิ่นเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1,944.64 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (42.98 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 819.42 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (18.11 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.32 ทำให้ข้าวท้องถิ่นกลายเป็น 1 ใน 10 ของอาหารหลักที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นนี้สะท้อนถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลต่อราคาอาหาร และเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไนจีเรียที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ราคาข้าวท้องถิ่นในแต่ละรัฐของไนจีเรียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐโคกีมีราคาข้าวท้องถิ่นสูงสุดที่ 2,693.41 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (59.52 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ขณะที่รัฐเบนูวราคาต่ำสุดที่ 1,267.25 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (28.01 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ซึ่งความแตกต่างของราคาสะท้อนถึงความแตกต่างในด้านอุปทาน อุปสงค์ และช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคของไนจีเรีย อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องเผชิญกับการตอบสนองต่อความต้องการข้าวในประเทศท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ราคาข้าว Ofada ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกเป็นหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรีย และราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในไนจีเรียมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาข้าว Ofada เฉลี่ยอยู่ที่ 2,428.65 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (53.67 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 811.83 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (17.94 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2,471.28 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (54.62 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 1,016.12 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (22.46 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.21 ซึ่งราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้รับอิทธิพลจากการลดค่าเงินไนรา ภาษีนำเข้า และความผันผวนของราคาในตลาดข้าวในตลาดโลก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ไนรา เท่ากับ 0.0221 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,097.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,766.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 450.00 เซนต์ (6,091.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,008.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.62
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.60 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 193.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.93 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มมาเลเซียมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เผชิญฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อการขนส่งและการเก็บเกี่ยว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,798.87 ริงกิตมาเลเซีย (37.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและพลังงานชีวภาพแห่งบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry and Bioenergy Association: Unica) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลสะสมในฤดูการผลิตปี 2567/68 บริเวณภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลจนถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ที่ 39.71 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง
ครึ่งแรกของเดือนธันวาคม มีโรงงานน้ำตาลเพียง 129 แห่งที่ดำเนินการหีบอ้อยลดลงจาก 185 แห่งที่ดำเนินการ
ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ที่มา: nasdaq.com)
          - B.B. Thombare ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (West Indian Sugar Mills Association: WISMA) กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอ้อยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
และปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปช่วงฤดูมรสุม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลง 10 – 15 ตันต่อเฮกตาร์
(1.6 – 2.4 ตันต่อไร่) สอดคล้องกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่กล่าวว่า ภัยแล้งในปีที่ผ่านมา และฝนที่ตกหนักในปีนี้ ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงานของอินเดียมีปริมาณลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยปริมาณผลผลิตที่ต่ำกว่าปริมาณคาดการณ์นี้ อาจทำให้อินเดียยังคงห้ามไม่ให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายสำหรับฤดูการผลิตนี้ต่อไป
ซึ่งฤดูการผลิตนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2568 (ที่มา: reuters.com)






 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 978.15 เซนต์ (12.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 970.72 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (30.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 40.34 เซนต์ (30.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1032.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 854.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,506.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,503.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1056.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,004 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,491 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 458 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
 
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มี



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.84 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.70 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 

 


สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 23-29 ธันวาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง
ไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นา
ที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิต
ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,639 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,462 บาท  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,339 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,331 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.08
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 34,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,050 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย   
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้เปิดเผยการส่งออกข้าวไทยในเดือนพฤศจิกายน 2567 มีปริมาณ 786,263.6 ตัน ลดลงในรอบ 6 เดือน เมื่อเทียบกับ
เดือนตุลาคม 2567 ที่ส่งออกได้สูงถึง 901
,355.3 ตัน หรือลดลงร้อยละ 20.6 โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การส่งออกข้าวลดลง ได้แก่ การชะลอการนำเข้าจากประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่มีการเร่งนำเข้าข้าวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ปัจจุบันสต็อกข้าวของทั้ง 2 ประเทศมีปริมาณมาก ประกอบกับอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดข้าวมีความรุนแรงมากขึ้น รวมทั้งราคาส่งออกข้าวไทยยังคงสูงกว่าประเทศคู่แข่ง ทำให้การแข่งขันมีความยากลำบากขึ้น ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการผลักดันการส่งออกข้าวอย่างต่อเนื่องร่วมกับผู้ประกอบการส่งออก และคาดการณ์ว่า ในปี 2567 ไทยจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 10 ล้านตัน โดยในช่วงเดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2567 ไทยได้ส่งออกข้าวแล้วปริมาณ 9.186 ล้านตัน
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์
2) ไนจีเรีย
สำนักงานสถิติแห่งชาติของไนจีเรีย รายงานราคาอาหารประจำเดือนตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
ราคาข้าวท้องถิ่นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยราคาข้าวท้องถิ่นเฉลี่ยเดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1,944.64 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (42.98 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 819.42 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (18.11 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.32 ทำให้ข้าวท้องถิ่นกลายเป็น 1 ใน 10 ของอาหารหลักที่มีราคาสูงที่สุดในประเทศ ซึ่งราคาข้าวที่สูงขึ้นนี้สะท้อนถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงส่งผลต่อราคาอาหาร และเป็นปัญหาสำคัญของครัวเรือนไนจีเรียที่ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ราคาข้าวท้องถิ่นในแต่ละรัฐของไนจีเรียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐโคกีมีราคาข้าวท้องถิ่นสูงสุดที่ 2,693.41 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (59.52 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ขณะที่รัฐเบนูวราคาต่ำสุดที่ 1,267.25 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (28.01 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ซึ่งความแตกต่างของราคาสะท้อนถึงความแตกต่างในด้านอุปทาน อุปสงค์ และช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารหลักในแต่ละภูมิภาคของไนจีเรีย อีกทั้งยังเป็นความท้าทายของเกษตรกรและผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ต้องเผชิญกับการตอบสนองต่อความต้องการข้าวในประเทศท่ามกลางต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายด้านการขนส่ง
นอกจากนี้ ราคาข้าว Ofada ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์ท้องถิ่นที่ปลูกเป็นหลักในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไนจีเรีย และราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ราคาอาหารในไนจีเรียมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในเดือนตุลาคม 2567 ราคาข้าว Ofada เฉลี่ยอยู่ที่ 2,428.65 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (53.67 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 811.83 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (17.94 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 199.16 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวที่นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 2,471.28 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (54.62 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจาก 1,016.12 ไนราต่อถุง 1 กิโลกรัม (22.46 บาทต่อถุง 1 กิโลกรัม) ในเดือนตุลาคม 2566 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 143.21 ซึ่งราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นได้รับอิทธิพลจากการลดค่าเงินไนรา ภาษีนำเข้า และความผันผวนของราคาในตลาดข้าวในตลาดโลก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ไนรา เท่ากับ 0.0221 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์


สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  11.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.99
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,097.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 316.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,766.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 331.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2568 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 450.00 เซนต์ (6,091.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 442.00 เซนต์ (6,008.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 – กันยายน 2568) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.629 ล้านไร่ ผลผลิต 27.196 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,152 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.421 ล้านไร่ ผลผลิต 26.783 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,181 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว    และผลผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 และร้อยละ 1.54 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 0.91
โดยเดือนธันวาคม 2567 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.97 ล้านตัน (ร้อยละ 10.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2568 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2568 ปริมาณ 15.56 ล้านตัน (ร้อยละ 57.23 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ราคามันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย มีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสินค้าทดแทนมันสำปะหลังในปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ราคาในประเทศลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.86 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.95 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.62
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.87 บาท         ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.70
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ5.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.60 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.30 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.42
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 185.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,340 บาทต่อตัน) ราคา     ลดลงจากตันละ 193.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,600 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 4.15
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 440.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,060 บาทต่อตัน)



 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.007 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.181 ล้านตัน
ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.026 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.185 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน คิดเป็นร้อยละ 1.85 และร้อยละ 2.16 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 7.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.79
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 44.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 43.93 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.14
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ผลผลิตน้ำมันปาล์มมาเลเซียมีแนวโน้มจะลดลงในเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เผชิญฝนตกหนัก ส่งผลกระทบต่อการขนส่งและการเก็บเกี่ยว
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,929.94 ริงกิตมาเลเซีย (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,798.87 ริงกิตมาเลเซีย (37.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.73
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - สมาคมอุตสาหกรรมอ้อยและพลังงานชีวภาพแห่งบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry and Bioenergy Association: Unica) รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลสะสมในฤดูการผลิตปี 2567/68 บริเวณภาคกลาง – ใต้
ของบราซิลจนถึงกลางเดือนธันวาคมอยู่ที่ 39.71 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในช่วง
ครึ่งแรกของเดือนธันวาคม มีโรงงานน้ำตาลเพียง 129 แห่งที่ดำเนินการหีบอ้อยลดลงจาก 185 แห่งที่ดำเนินการ
ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ที่มา: nasdaq.com)
          - B.B. Thombare ประธานสมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดียตะวันตก (West Indian Sugar Mills Association: WISMA) กล่าวว่า สถานการณ์การผลิตอ้อยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน
และปริมาณน้ำฝนที่มากเกินไปช่วงฤดูมรสุม ซึ่งส่งผลกระทบให้ผลผลิตอ้อยโรงงานลดลง 10 – 15 ตันต่อเฮกตาร์
(1.6 – 2.4 ตันต่อไร่) สอดคล้องกับข้อมูลของเจ้าหน้าที่ในอุตสาหกรรมและเกษตรกรที่กล่าวว่า ภัยแล้งในปีที่ผ่านมา และฝนที่ตกหนักในปีนี้ ทำให้ผลผลิตอ้อยโรงงานของอินเดียมีปริมาณลดลง และส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับการบริโภคภายในประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยปริมาณผลผลิตที่ต่ำกว่าปริมาณคาดการณ์นี้ อาจทำให้อินเดียยังคงห้ามไม่ให้มีการส่งออกน้ำตาลทรายสำหรับฤดูการผลิตนี้ต่อไป
ซึ่งฤดูการผลิตนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2568 (ที่มา: reuters.com)






 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 17.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.41 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.35
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 978.15 เซนต์ (12.35 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 970.72 เซนต์ (12.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 297.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.22 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.93 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 39.77 เซนต์ (30.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 40.34 เซนต์ (30.60 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ลดลงเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.06 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1032.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ1029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 854.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,506.40 ดอลลาร์สหรัฐ (51.09 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,503.00 ดอลลาร์สหรัฐ (51.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.11 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 973.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 970.40 ดอลลาร์สหรัฐ (33.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1056.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1053.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.89 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,205 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,004 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,613 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,491 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 982 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้น       
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.13 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.25 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.74 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.50 บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย    
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.59 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูก
ไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.50 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภค  ยังคงชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท  ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 369 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 392 บาททรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 418 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 416  บาท คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 388 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 458 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 480 บาท บาท ทรงตัวเท่าสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
 
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.10 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.56 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.53 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 68.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.88 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.18 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 87.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.80 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มี



 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 23 – 29 ธันวาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.68 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 64.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 7.84 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.70 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.94 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.74 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.62 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่      
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละบาท 24.00 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา