- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 27 ธันวาคม 2564-2 มกราคม 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,254 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,054 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,889 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,840 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 24,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,990 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.84
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.2568 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมาภาวะราคาส่งออกข้าวยังคงปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้วอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า
3 เดือน เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลง โดยราคาข้าวขาว 5% ราคาอยู่ที่ตันละ 400-410 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 410-414 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่วงการค้าข้าวคาดว่า การส่งออกข้าว
ในปีนี้มีประมาณ 6 ล้านตัน ลดลงจากจํานวน 6.2-6.5 ล้านตัน ที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 12 พฤศจิกายน-22 ธันวาคม 2564 จะมีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 11 ลํา เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City (HCMC) Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 257,611 ตัน
กรมศุลกากรเวียดนาม (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2564 เวียดนาม ส่งออกข้าวปริมาณ 566,358 ตัน มูลค่าประมาณ 296.4.941 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 523.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.1 และร้อยละ 56.9 แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงประมาณร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือนพฤศจิกายน 2563 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 351,515 ตัน มูลค่าประมาณ 188.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 537.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 8.4 และร้อยละ 7.9 แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 (เดือนตุลาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 618,120 ตัน มูลค่าประมาณ 321.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 520.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน)
ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออกในเดือนพฤศจิกายน 2564 ประกอบด้วย ข้าวพันธุ์ DT8 คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 25.25 ของปริมาณส่งออกทั้งหมด ตามด้วยข้าวพันธุ์ OM5451 สัดส่วนประมาณร้อยละ 14.87 ข้าวเหนียว สัดส่วนประมาณร้อยละ 11.88 ข้าวขาว 5% สัดส่วนประมาณร้อยละ 9.09 ข้าวหอม Jasmine สัดส่วนประมาณร้อยละ 8.57 ข้าวหอม KDM สัดส่วนประมาณร้อยละ 2.28 ข้าวพันธุ์ Nang Hoa สัดส่วนประมาณร้อยละ 1.2 เป็นต้น
ตลาดสําคัญในเดือนพฤศจิกายน 2564 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังประเทศฟิลิปปินส์ปริมาณ 210,222 ตัน มูลค่า 106.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ตามด้วยประเทศจีนปริมาณ 75,830 ตัน มูลค่า 34.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 4%
เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผานมา ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศกาน่ามีปริมาณ 98,800 ตัน มูลค่า 53.89
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.9 และร้อยละ 28.8 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมที่ผานมา
ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ (มกราคม-พฤศจิกายน 2564) มีการส่งออกข้าวปริมาณ 5,748,064 ตัน มูลค่า ประมาณ 3,033.048 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 527.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณ และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และร้อยละ 7.24 และราคาส่งออกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณตันละ 6.4 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน
ทั้งนี้ ตลาดสําคัญที่เวียดนามส่งออกในช่วง 11 เดือนของปี (มกราคม-พฤศจิกายน 2564) ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ประมาณ 2,304,101 ตัน มูลค่าประมาณ 1,176.387 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 18.69 และร้อยละ 29.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40.08
ของปริมาณส่งออกทั้งหมด และร้อยละ 38.79 ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลําดับ ตามด้วยประเทศจีนประมาณ 999,860 ตัน มูลค่าประมาณ 494.717 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.91 และร้อยละ 14.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 17.39 และร้อยละ 16.31
ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ ประเทศกาน่าประมาณ 608,786 ตัน มูลค่าประมาณ 356.846 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และร้อยละ 30.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 10.59 และร้อยละ 11.77 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ) ประเทศไอวอรี่โคสต์ประมาณ 358,271 ตัน มูลค่าประมาณ 182.444 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 19.11 และร้อยละมูลค่าลดลง 11.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 6.23 และร้อยละ 6.02 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ) ประเทศมาเลเซียประมาณ 273,050 ตัน มูลค่าประมาณ 135.586
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 49.27 และร้อยละ 41.64 เมื่อเทียบปีก่อน (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 4.75 และร้อยละ 4.47 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ) สิงคโปร์ประมาณ 105,550 ตัน มูลค่าประมาณ 61.256 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18 และร้อยละ 8.67 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.84 และร้อยละ 2.02 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ)
ฮ่องกงประมาณ 73,951 ตัน มูลค่าประมาณ 44.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณลดลงร้อยละ 3.64
แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.29 และร้อยละ 1.48 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ) อินโดนีเซียประมาณ 59,425 ตัน มูลค่าประมาณ 29.215 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 32.67 และร้อยละ 38.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.03 และร้อยละ 0.96 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ) โมซัมบิกประมาณ 58,732 ตัน มูลค่า 33.562 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.17 และร้อยละ 17.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1.02 และร้อยละ 1.11 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ) บังคลาเทศประมาณ 53,261 ตัน มูลค่าประมาณ 32.185 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8,617 และร้อยละ 10,082 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.93 และร้อยละ 1.06 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ) สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ประมาณ 40,336 ตัน มูลค่าประมาณ 25.465
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณลดลงร้อยละ 4.56 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.854 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ) ออสเตรเลียประมาณ 34,460 ตัน มูลค่าประมาณ 22.523 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.9 และร้อยละ 389.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.74 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดตามลําดับ)
ซาอุดิอาระเบียประมาณ 23,951 ตัน มูลค่าประมาณ 15.991 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 22.77 และร้อยละ 11.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ไต้หวันประมาณ 14,567 ตัน มูลค่า ประมาณ 7.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 18.2 และร้อยละ 21.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ประมาณ 13,781 ตัน มูลค่าประมาณ 10.607 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 23.97 และร้อยละ 15.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนเธอร์แลนด์ประมาณ 8,985 ตัน มูลค่าประมาณ 6.101 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.84 และร้อยละ 45.13
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แทนซาเนียประมาณ 7,259 ตัน มูลค่าประมาณ 4.603 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 52.31 และร้อยละ 47.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โปแลนด์ประมาณ 6,954 ตัน มูลค่าประมาณ 4.461 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 24.17 และร้อยละ6.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แอฟริกาใต้ประมาณ 5,716 ตัน มูลค่าประมาณ 3.852 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 และร้อยละ 22.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ฝรั่งเศสประมาณ 3,585 ตัน มูลค่าประมาณ 2.536 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.13 และร้อยละ 32.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เบลเยี่ยมประมาณ 2,713 ตัน มูลค่าประมาณ 1.787 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 604.68 และร้อยละ 643.73% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รัสเซียประมาณ 1,866 ตัน มูลค่าประมาณ 1.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 78 และ
ร้อยละ 62.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แองโกล่าประมาณ 1,598 ตัน มูลค่าประมาณ 0.828
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 53 และร้อยละ 48.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตุรกีประมาณ 1,397 ตัน มูลค่าประมาณ 1.001 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณลดลงร้อยละ 9.46 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ยูเครนประมาณ 1,122 ตัน มูลค่าประมาณ 0.751 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 53.98 และร้อยละ 50.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นต้น
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
สํานักงานอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry; BPI) รายงานว่า ในช่วง 11 เดือนของปีนี้ (มกราคม-พฤศจิกายน 2564) มีการนําเข้าข้าวประมาณ 2.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับประมาณ 1.98 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และมากกว่าการนําเข้าทั้งหมดในปีที่ผ่านมา (ปี 2563 มีการนําเข้าข้าวประมาณ 2.099 ล้านตัน) และมากกว่าปี 2551 ที่เคยนําเข้ามากถึง 2.4 ล้านตัน (ฟิลิปปินส์เคยนําเข้าข้าวมากสุดถึง 3.1 ล้านตัน ในปี 2562)
ข้อมูลการนําเข้าข้าวล่าสุดจนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา มีการนําเข้าข้าวประมาณ 2.6 ล้านตัน
โดยประเทศเวียดนามยังคงเป็นแหล่งนําเข้าข้าวที่สําคัญของฟิลิปปินส์ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 9 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา มีการนําเข้าข้าวจากเวียดนามประมาณ 2.218 ล้านตัน โดยผู้นําเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ บริษัท Nan Stu Agri Traders ซึ่งนับจนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา มีการนําเข้าข้าวประมาณ 147,822.95 ตัน ตามด้วย บริษัท Lucky Buy and Sell ที่นําเข้าประมาณ 117,821.6 ตัน
ในเดือนพฤศจิกายน 2564 สํานักงานอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (sanitary and phytosanitary import clearances; SPS-ICs) ให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตนําเข้าข้าวจำนวน 400 ใบ เพื่อนําเข้าข้าวประมาณ 303,329.606 ตัน และในช่วงระหว่างวันที่ 1-4 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา สํานักงานอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS-ICs) ให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตนําเข้าข้าวจํานวน 43 ใบ เพื่อนําเข้าข้าวประมาณ 42,662 ตัน ซึ่งนับจนถึงปัจจุบันนี้ (1 มกราคม-4 ธันวาคม 2564) สํานักงานอุตสาหกรรมพืชได้ออกใบอนุญาตสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS-ICs) ให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตนําเข้าข้าวจํานวน 5,927 ใบ เพื่อนําเข้าข้าวประมาณ 5.22 ล้านตัน
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศช
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.41 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.45 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 318.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,576.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 319.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,624.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 48.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 603.00 เซนต์ (7,991.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล 599.00 เซนต์ (7,969.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 22.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ลดลงร้อยละ 1.35 แต่ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 และร้อยละ 2.08 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.95 ล้านตัน (ร้อยละ 9.01 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน (ร้อยละ 62.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.28 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.24 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.56
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.45 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.50 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.67
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.10 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.06 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.27
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 245 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,142 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,336 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.00
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,217 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,273 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ความเสี่ยงจากเหตุการณ์สภาพอากาศที่เลวร้ายอาจเป็นอันตรายต่อการฟื้นตัวของผลผลิตในบางพื้นที่ ซึ่งกำลังเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับตลาดตามข้อมูลของ Price Futures Group ส่วนผลกระทบของไวรัสสายใหม่ Omicron ต่อการบริโภคยังไม่ชัดเจน และดูเหมือนว่ามาตรการป้องกันต่างๆ ที่บังคับใช้ทั่วโลกจะไม่รุนแรง ด้านนักวิเคราะห์กล่าวว่าราคาน้ำตาลทรายดิบจะยังคงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันดิบและราคาของเอทานอล ควบคู่ไปกับราคาน้ำตาลในประเทศของจีน
S&P Global Platts รายงานว่า ประมาณการว่าสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรคาดว่าในปี 2564/2565 จะผลิตน้ำตาลได้ 17.495 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 15.565 ล้านตันในปีที่แล้ว เนื่องมาจากโรคใบเหลืองลดลง อย่างไรก็ตามราคาน้ำตาลในประเทศของยุโรปคาดว่าจะยังคงสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานที่สูง น้ำตาลในคลังที่ต่ำ และอัตราค่าระวางขนส่งทางเรือที่สูงขึ้นเพิ่มต้นทุนการนำเข้า
จำนวนผู้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสในรัฐมหาราษฏระของอินเดียเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่งอาจขัดขวางการเคลื่อนย้ายคนงานอ้อยจาก Marathwada และส่งผลเสียต่อการเก็บเกี่ยวที่กำลังดำเนินอยู่ด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับน้ำตาลระบุว่า ขณะนี้โรงงานน้ำตาล 189 แห่ง มีการดำเนินงานอยู่ในรัฐ ซึ่ง ณ วันที่ 27 ธันวาคมผลิตน้ำตาลได้ 4.23 ล้านตันกระทรวงเกษตรของสหรัฐ USDA กล่าวเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2654 ว่าจะไม่ซื้อหรือขายน้ำตาลภายใต้โครงการความยืดหยุ่นของวัตถุดิบ (FFP) ในปีการเพาะปลูก 2564 ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2565
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,346.84 เซนต์ (16.66 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,315.20 เซนต์ (16.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 414.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.95 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 397.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 56.42 เซนต์ (41.87 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 54.28 เซนต์ (40.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.94
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,346.84 เซนต์ (16.66 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,315.20 เซนต์ (16.32 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 414.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.95 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 397.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13.42 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.28
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 56.42 เซนต์ (41.87 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 54.28 เซนต์ (40.40 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.94
ยางพารา
ถั่วเขียว
ถั่วลิสง
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 111.77 เซนต์(กิโลกรัมละ 83.05 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 107.69 เซนต์ (กิโลกรัมละ 80.19 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.79 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.86 บาท)
ไหม
ปศุสัตว์
ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม– 2 มกราคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.47 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 166.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท เนื่องจากตลาดมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 161.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 178.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 16.66 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม– 2 มกราคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.47 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 166.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท เนื่องจากตลาดมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 161.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 178.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 16.66 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.01 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.58 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา