- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10-16 มกราคม 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,883 บาท
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,971 บาท
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,050 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 24,300 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.09
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 715 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,698 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 687 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,754 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.08 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 944 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,020 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,877 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 143 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,920 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,778 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 142 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1439 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาส่งออกข้าวอยู่ในระดับทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุด นับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2564 เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลง ขณะที่กิจกรรมทางการค้าเพิ่งจะกลับมาเริ่มต้นอีกครั้งหลังจากที่หยุดติดต่อกันหลายวัน โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ 395-400 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เท่ากับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผู้ค้าข้าวระบุว่า ช่วงนี้อุปทานข้าวในตลาดมีปริมาณลดลง จึงส่งผลให้ราคาข้าวภายในประเทศมีแนวโน้มขยับสูงขึ้น ขณะที่ผู้ส่งออกต่างเร่งหาซื้อข้าวเพื่อเตรียมส่งมอบตามสัญญาที่ยังค้างอยู่ โดยคาดว่าอุปทานข้าวจะยังคงลดลงจนกว่าจะเข้าสู่ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring harvest) ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2565
ข้อมูลจากสำนักงานศุลกากร (the General Statistics Office) ระบุว่า ในเดือนธันวาคม 2564 เวียดนาม ส่งออกข้าวได้ประมาณ 494,600 ตัน ลดลงประมาณร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 และลดลงประมาณร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าตลอดทั้งในปี 2564 มีการส่งออกข้าวประมาณ 6.22 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับสูงขึ้นแตะที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เนื่องจากค่าเงินรูปีแข็งค่าขึ้น ประกอบกับอุปทานข้าวในตลาดค่อนข้างตึงตัว
ขณะที่ความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดลง โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ 359-363 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้นจาก 355-360 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ส่งออกข้าวใน Kakinada รัฐอานธรทางตอนใต้ของประเทศ ระบุว่า ช่วงนี้อุปสงค์จากต่างประเทศยังไม่แข็งแกร่ง ซึ่งสวนทางกับราคาข้าวที่ยังคงขยับสูงขึ้น เนื่องจากค่าเงินรูปีที่แข็งค่า ซึ่งการแข็งค่าของเงินรูปีจะส่งผลให้ส่วนต่างที่ผู้ส่งออกได้รับจากการขายในต่างประเทศลดลง
องค์การอาหารแห่งชาติ (the Food Corporation of India; FCI) รายงานว่า สต็อกข้าวในคลังกลาง (Central Pool) ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2564 มีประมาณ 57.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยสต็อกข้าวสารเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ข้อมูลจากหน่วยงาน Directorate General of Commercial. Intelligence and Statistics (DGCIS) รายงานว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 มีการส่งออกข้าวประมาณ 1.48 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ลดลงประมาณร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับพฤศจิกายน 2564 โดยข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ
มีการส่งออกประมาณ 1.25 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินโดนีเซีย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงจาการ์ตา รายงานว่า หน่วยงานด้านโลจิสติกส์ของรัฐ (Bulog) รายงานว่า ได้จัดหาข้าวจากเกษตรกรในประเทศจนถึงสิ้นปีนี้ ประมาณ 1.2 ล้านตัน ดังนั้นหน่วยงานจึงให้ความมั่นใจว่า ยังไม่มีความจําเป็นที่จะต้องจัดซื้อข้าวจากต่างประเทศมาเพื่อสํารองไว้ซึ่งนับเป็นระยะเวลา 3 ปีติดต่อกัน ที่รัฐบาลอินโดนีเซียไม่ต้องนําเข้าข้าวจากต่างประเทศ
นาย Budi Waseso ประธาน Bulog กล่าวว่า การเก็บสํารองข้าวจากผลผลิตข้าวภายในประเทศ จะเป็น ประโยชน์แก่เกษตรกรอินโดนีเซียที่ต้องประสบกับปัญหาด้านราคาข้าวในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 และถือเป็นความสำเร็จของรัฐบาลที่ไม่ต้องนําเข้าข้าวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
ข้อมูลจากสำนักสถิติของอินโดนีเซีย (BPS) คาดการณ์ว่า ผลผลิตข้าวของประเทศในไตรมาสแรกของปี 2565 จะสูงถึง 11.61 ล้านตัน ทั้งนี้ Bulog พร้อมที่จะรับซื้อผลผลิตข้าวเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ นอกจากการสํารองข้าวในคลังของรัฐบาลแล้ว การจัดซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรในประเทศยังช่วยผลักดันรายได้ของเกษตรกร เพื่อให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจตามคำสั่งของประธานาธิบดี Jokowi ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19
โดยตลอดทั้งปี 2564 หน่วยงาน Bulog ยังคงรักษาเสถียรภาพราคาข้าวระดับผู้บริโภค โดยการติดตามภาวะอุปทานและรักษาเสถียรภาพราคา
ทั้งนี้ ในอดีตที่ผ่านมา อินโดนีเซียประสบปัญหาข้าวขาดแคลนบ่อยครั้ง จากการผลิตที่ไม่เพียงพอและขาด ประสิทธิภาพ รวมทั้งจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียสามารถผลิตข้าว
ได้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ
ปัจจุบัน อินโดนีเซียนําเข้าข้าวเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยประมาณร้อยละ 98 เป็นปลายข้าว และข้อมูลจากสำนักสถิติอินโดนีเซีย อินโดนีเซียมีการนําเข้าข้าว ตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2564 (ตามรหัส HS Code : 1006) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 144.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2564 อินโดนีเซียนําเข้าข้าวจากไทยมูลค่าประมาณ 30.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงประมาณร้อยละ 48.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา โดยนําเข้าข้าวหักจากไทยมากที่สุด มูลค่าประมาณ 28.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ลดลงร้อยละ 1.35 แต่ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 และร้อยละ 2.08 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.48 ล้านตัน (ร้อยละ 19.81 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน (ร้อยละ 62.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.24 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.28 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.75
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.42 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.40 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.31
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.35 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.43 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.08
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 245 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,120 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,114 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,174 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,146 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 0.986 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.177 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.929 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.167 ล้านตันของเดือนธันวาคม 2564 คิดเป็นร้อยละ 6.14 และร้อยละ 5.99 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 10.11 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 54.15 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 50.88 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.43
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
คาดว่าในปี 2565 อินเดียจะนำเข้าน้ำมันเพื่อการบริโภคลดลงร้อยละ 2.00 เนื่องจากอินเดียเพิ่มการผลิตในประเทศ อินเดียอนุญาตให้นำเข้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ได้จนถึงเดืนอธันวาคม 2565 และลดภาษีนำเข้าจนถึงเดือนมีนาคม ปี 2565 อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มลดลงเหลือ 8.10 ล้านตัน จากปี 2564 ที่มีการนำเข้าอยู่ที่ 8.50 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,315.27 ดอลลาร์มาเลเซีย (42.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 5,369.46 ดอลลาร์มาเลเซีย (43.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.01
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,323.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.44 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,317.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (44.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.47
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
CovrigAnalytics รายงานว่า จีนไม่น่าจะนำเข้าน้ำตาลเพิ่ม แม้ว่าราคาในตลาดโลกจะลดลง เนื่องจาก จีนได้นำเข้าน้ำตาลส่วนเกิน 2.2 ล้านตัน ในปี 2563/2564 ขณะที่นักวิเคราะห์ท้องถิ่นกล่าวว่า นโยบายการนำเข้าในปี 2565 คาดว่าจะใกล้เคียงกับปี 2564 และไม่น่าจะมีการออกใบอนุญาตนำเข้าในช่วงครึ่งปีแรกของปี ทั้งนี้ยังกล่าวเสริมว่าราคาน้ำตาลในประเทศของจีนยังคงที่
Gradient Commercial รายงานว่า การส่งออกน้ำตาลของอินเดีย ในปี 2564/2565 อาจต่ำกว่า 6 ล้านตัน หากปัญหาด้านการขนส่งในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตาม Indian Sugar Exim Corp กล่าวว่า อินเดียสามารถส่งออกน้ำตาลไปยังเอเชียกลางได้มากขึ้นท่ามกลางการส่งออกที่ลดลงของรัสเซีย ขณะที่ Shree Renuka Sugars และ Marex Spectron กล่าวว่า โรงงานจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำตาลในประเทศ ที่สูงขึ้นและนโยบายผลิตเอทานอล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
CovrigAnalytics รายงานว่า จีนไม่น่าจะนำเข้าน้ำตาลเพิ่ม แม้ว่าราคาในตลาดโลกจะลดลง เนื่องจาก จีนได้นำเข้าน้ำตาลส่วนเกิน 2.2 ล้านตัน ในปี 2563/2564 ขณะที่นักวิเคราะห์ท้องถิ่นกล่าวว่า นโยบายการนำเข้าในปี 2565 คาดว่าจะใกล้เคียงกับปี 2564 และไม่น่าจะมีการออกใบอนุญาตนำเข้าในช่วงครึ่งปีแรกของปี ทั้งนี้ยังกล่าวเสริมว่าราคาน้ำตาลในประเทศของจีนยังคงที่
Gradient Commercial รายงานว่า การส่งออกน้ำตาลของอินเดีย ในปี 2564/2565 อาจต่ำกว่า 6 ล้านตัน หากปัญหาด้านการขนส่งในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป อย่างไรก็ตาม Indian Sugar Exim Corp กล่าวว่า อินเดียสามารถส่งออกน้ำตาลไปยังเอเชียกลางได้มากขึ้นท่ามกลางการส่งออกที่ลดลงของรัสเซีย ขณะที่ Shree Renuka Sugars และ Marex Spectron กล่าวว่า โรงงานจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำตาลในประเทศ ที่สูงขึ้นและนโยบายผลิตเอทานอล
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,372.84 เซนต์ (16.93 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,377.08 เซนต์ (16.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.31
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 430.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.47 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 425.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.18
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.48 เซนต์ (43.27 บาท/กก.)สูงขึ้นจากปอนด์ละ 58.22 เซนต์ (43.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.45
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,372.84 เซนต์ (16.93 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,377.08 เซนต์ (16.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.31
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 430.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.47 บาท/กก.)สูงขึ้นจากตันละ 425.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.18
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 58.48 เซนต์ (43.27 บาท/กก.)สูงขึ้นจากปอนด์ละ 58.22 เซนต์ (43.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.45
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.48 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 903.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 909.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.14 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 782.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 787.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.14 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,267.25 ดอลลาร์สหรัฐ (42.00 บาท/กก.) ] ลดลงจากตันละ 1,275.00 ดอลลาร์สหรัฐ (42.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.23 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 691.25 ดอลลาร์สหรัฐ (22.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 695.67 ดอลลาร์สหรัฐ (23.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,140.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.78 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,147.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.21 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.06 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 117.08 เซนต์(กิโลกรัมละ 86.66 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 115.15 เซนต์ (กิโลกรัมละ 85.12 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.54 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,754 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 1,625 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.89 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,473 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 1,379 บาทคิดเป็นร้อยละ 6.87 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,005 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 996 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 95.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.53 คิดเป็นร้อยละ 18.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 81.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 106.13 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 95.16 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 3,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 107.50 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 101.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.91 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.42 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.94 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 14.50 บาทคิดเป็น ร้อยละ 6.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.88 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.01 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.94 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 292 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 285 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 309 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 292 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.31 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 356 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 373 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 368 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 337 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 382 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.85 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 98.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.90 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.95 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.51 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.16 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.44 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 95.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.53 คิดเป็นร้อยละ 18.81 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 81.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 77.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 106.13 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 95.16 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,700 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 3,500 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 107.50 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 101.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.91 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.42 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.94 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 14.50 บาทคิดเป็น ร้อยละ 6.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.88 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.01 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.94 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 292 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 285 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 309 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 292 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.31 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 359 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 356 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 373 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 368 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 337 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 382 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.85 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 4.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 98.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.90 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.95 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.51 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.72 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.16 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.92 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.44 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 10 – 16 มกราคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.88 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 176.29 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 172.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.67 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 10 – 16 มกราคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.42 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.88 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 176.29 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 172.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.67 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.43 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา