- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 28 มีนาคม-3 เมษายน 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,661 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,667 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.05
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,381 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,285 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,830 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 807 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,831 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 788 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,233 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 598 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 426 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,164 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,015 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 149 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 438 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,563 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,215 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.58 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 348 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.2480 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวทรงตัวในระดับสูง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 เดือนครึ่ง เนื่องจาก ความต้องการข้าวจากต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากตลาดนําเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และประเทศในแถบแอฟริกา ประกอบกับค่าขนส่งทางเรือได้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ระดับ 415-420 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
วงการค้าระบุว่า อุปทานข้าวในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงที่กําลังมีการเก็บเกี่ยวข้าวในฤดูการผลิตฤดูหนาว-
ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring crop) ของปี 2564/65 ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งส่งผลให้ภาวะราคาข้าวในประเทศ
มีแนวโน้มอ่อนตัวลง
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในระหว่างวันที่ 5-28 มีนาคม 2565 จะ มีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 11 ลำ เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City (HCMC) Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 178,050 ตัน
เว็บไซต์ VOVWORLD รายงานว่า บริษัท An Giang Import-Export Joint Stock Company (Angimex) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (memorandum of understanding; MoU) กับผู้ซื้อจากประเทศเซียร์ราลีโอน ในแอฟริกา
เพื่อจัดหาข้าวจำนวนประมาณ 3 ล้านตัน ในระยะเวลา 3 ปี
กรมผลผลิตธัญพืช กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (the Department of Crop Production, Ministry of Agriculture and Rural Development, MARD) รายงานว่า โครงสร้างการผลิตข้าวในฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring crop) ของปี 2564/65 ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง มีการปรับเปลี่ยนจากข้าวคุณภาพปานกลางและข้าวเหนียว (medium-quality, sticky varieties) ไปเป็นข้าวหอมและข้าวชนิดพิเศษ (aromatic and specialty rice) มากขึ้น
โดยกลุ่มข้าวหอม เช่น Jasmine 85, ST, RVT, Nang Hoa 9 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 33 ของพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มข้าวคุณภาพสูง (High-quality rice) เช่น OM5451, DT8, OM18, OM9577, OM9582, OM4900, OM7347, OM6976 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 49.64 ของพื้นที่เพาะปลูก
แต่ลดลงประมาณร้อยละ 3 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ขณะที่กลุ่มข้าวคุณภาพปานกลาง เช่น IR 50404, OM576, C10 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 7.12 ลดลงประมาณร้อยละ 2.38 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และกลุ่มข้าวเหนียว (Sticky rice) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 9 ลดลง ประมาณร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ส่วนในจังหวัดทางตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มข้าวหอมและพันธุ์พิเศษ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.43 เมื่อเทียบกับช่วงฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring crop) ของปี 2564/65 ขณะที่กลุ่มพันธุ์ข้าวคุณภาพสูง
มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 67 แต่กลุ่มพันธุ์ข้าวคุณภาพปานกลาง มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดข้าวที่เพาะปลูก สืบเนื่องมาจากเมื่อปีที่ผ่านมา ราคาข้าวหอมและ
ข้าวคุณภาพสูง อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพและเกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่สมเหตุสมผล ในขณะที่ราคาข้าวเหนียวตกต่ำจนบางครั้งก็เท่ากับราคาข้าวขาวกลุ่ม IR 50404 รวมทั้งยังมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำให้ผลกําไรที่เกษตรกรได้รับลดลงอย่างมาก
นอกจากนี้ กลุ่มพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเพาะปลูกได้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงภายใต้โครงการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมข้าวใหม่ เพื่อให้เหมาะสำหรับการบริโภคภายในประเทศ และตอบสนองความต้องการส่งออก และการแข่งขันในตลาด
ที่เป็นไปในทิศทางที่ดีและยั่งยืน
จากข้อมูลของกรมผลผลิตธัญพืช ระบุว่า ปัจจุบันข้าวพันธุ์ทนเค็มได้ค่อนข้างดี ตั้งแต่ร้อยละ 3-4 ขึ้นไป ได้แก่ พันธุ์ OM2517, OM9577, OM9955, OM5464, GKG14 และบางพันธุ์สามารถทนต่อความเค็มได้ตั้งแต่ร้อยละ 2-3
เช่น OM6976, OM5451, OM9921, OM5621, OM6677, ST5, AS996 หรือข้าวอายุสั้นบางชนิด (ต่ำกว่า 90 วัน)
แต่มีไม่มากนัก ซึ่งทางการได้มีการติดตามและประเมินผล เพื่อแนะนําให้นําไปผลิตต่อไป ซึ่งขณะนี้ในหลายพื้นที่ของภาคใต้ได้เริ่มเพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง (summer-autumn crop) ของปี 2565 แล้ว ซึ่งกรมผลผลิตธัญพืช
ได้แนะนําให้ปลูกข้าวขาวเมล็ดยาว ได้แก่ พันธุ์ข้าว DT8, OM5451, OM6976, OM4900, OM7347, OM4218, Jasmine 85 โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 55- 60 ของพื้นที่เพาะปลูก กลุ่มข้าวหอมและข้าวพันธุ์พิเศษ เช่น ST5, RVT, Nang Hoa 9, VD 20 มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 15-20 ของพื้นที่เพาะปลูก และกลุ่มข้าวเหนียวให้มีสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 10
ของพื้นที่เพาะปลูก
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลง เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มของข้าวหักที่นําไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ โดยราคาข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ระดับ 367-370 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 371-378 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
วงการค้าระบุว่า ผู้นําเข้าข้าวพยายามที่จะเพิ่มสต็อกข้าวในประเทศของตนให้มากขึ้น หลังจากที่ราคาข้าวสาลีและข้าวโพดในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย
ไปในทางที่ดีขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการบริโภคข้าวมากขึ้นเพื่อทดแทนข้าวสาลีและข้าวโพดที่อยู่ในภาวะตึงตัว และมีแนวโน้มที่ราคาจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยตลาดนําเข้าข้าวที่สำคัญ มีความต้องการข้าวคุณภาพต่ำ (lowgrade rice) เช่น ข้าวหักและปลายข้าว เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ของประเทศในแถบเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดอาหารสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยวงการค้าระบุว่า มีคำสั่งซื้อข้าวหักจากผู้ผลิตอาหารสัตว์มากขึ้น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.42 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 395.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,120.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 392.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,050.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 70.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 739.00 เซนต์ (9,797.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 754.00 เซนต์ (10,005.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 208.00 บาท
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.85 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.42 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 395.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,120.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 392.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,050.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 70.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 739.00 เซนต์ (9,797.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 754.00 เซนต์ (10,005.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 208.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนมีนาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.494 ล้านตัน (ร้อยละ 18.72 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมากและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.34 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.33 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.43
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.69 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.65 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.93 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.77
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.29 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.23 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.39
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 268 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,990 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 261 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,750 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.68
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,440 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,420 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ตามข้อมูลของ MAPA พบว่า โรงงานในภาคกลาง-ใต้ของบราซิล มีเอทานอลในคลังเพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ณ กลางเดือนมีนาคมที่ 3.65 พันล้านลิตร ซึ่งรวมถึงไฮดรัส 2.08 พันล้านลิตร เพิ่มขึ้น 26% และ แอนไฮดรัส 1.57 พันล้านลิตร เพิ่มขึ้น 27% ต่อปีตามลำดับ ด้าน StoneX กล่าวว่า ตัวเลขในคลังที่สูงจะส่งเสริมให้โรงงานผลิตน้ำตาลมากขึ้น ในขณะที่ Sindalcool-PB กล่าวว่า บราซิลมี อุปทานเพียงพอที่จะอยู่ได้จนถึงเดือนเมษายน 2566 โดยไม่ต้องนำเข้าเอทานอล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ตามข้อมูลของ MAPA พบว่า โรงงานในภาคกลาง-ใต้ของบราซิล มีเอทานอลในคลังเพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ณ กลางเดือนมีนาคมที่ 3.65 พันล้านลิตร ซึ่งรวมถึงไฮดรัส 2.08 พันล้านลิตร เพิ่มขึ้น 26% และ แอนไฮดรัส 1.57 พันล้านลิตร เพิ่มขึ้น 27% ต่อปีตามลำดับ ด้าน StoneX กล่าวว่า ตัวเลขในคลังที่สูงจะส่งเสริมให้โรงงานผลิตน้ำตาลมากขึ้น ในขณะที่ Sindalcool-PB กล่าวว่า บราซิลมี อุปทานเพียงพอที่จะอยู่ได้จนถึงเดือนเมษายน 2566 โดยไม่ต้องนำเข้าเอทานอล
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 18.79 บาท ลงลดจากกิโลกรัมละ 20.30 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.44
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 20.23 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,634.40 เซนต์ (20.21 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,703.36 เซนต์ (21.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.05
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 467.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.72 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 483.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.37
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 71.49 เซนต์ (53.04 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 74.65 เซนต์ (55.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.23
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 18.79 บาท ลงลดจากกิโลกรัมละ 20.30 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.44
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 20.23 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,634.40 เซนต์ (20.21 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,703.36 เซนต์ (21.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.05
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 467.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.72 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 483.40 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.37
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 71.49 เซนต์ (53.04 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 74.65 เซนต์ (55.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.23
ยางพารา
ถั่วเขียว
ถั่วลิสง
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 137.19 เซนต์(กิโลกรัมละ 101.82 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 131.38 เซนต์ (กิโลกรัมละ 97.64 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.42 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.18 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,903 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,828 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,561 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,551 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,005 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 88.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.47 คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.06 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 87.87 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,000 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.39 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.95 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 315 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 308 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 313 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 319 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.62 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.55 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 365 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 370 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 383 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 379 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 333 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 384 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.65 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.87 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.03 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.15 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 81.73 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.25 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.78 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 88.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.47 คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.06 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.79 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 87.87 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,000 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.39 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.95 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 315 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 308 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 313 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 319 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.62 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.55 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.97 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 365 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 370 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 383 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 379 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 333 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 384 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.65 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.87 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.72 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.03 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 103.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.15 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 81.73 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.25 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.78 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.75 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 61.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.43 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 82.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.41 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 168.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.18 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.01 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 66.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้และราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.58 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.75 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 61.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.43 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.69 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 82.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.41 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 163.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 168.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.18 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.01 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 66.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.35 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้และราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.58 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.60 บาท