- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สศก. ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย ติดตามผลการดำเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อล้านนา ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า (Free Trade Area: FTA)
วันที่ 20 ตุลาคม 2565 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โดยส่วนบริหารกองทุนภาคการเกษตร นำโดยนายเอกราช ตรีลพ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการผลิตและการตลาด ลงพื้นที่จังหวัดเชียงราย ติดตามผลการดำเนินงานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อล้านนา ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดโคเนื้อเพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า (Free Trade Area: FTA) โดยสินค้าโคเนื้อ และเนื้อโค เป็นสินค้าที่ได้รับผกระทบจากการเปิดเสรีการค้าไทย-ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 โดยเฉพาะสินค้าเนื้อโคขุนคุณภาพ (Premium Beef) นั้นเป็นสินค้าที่ผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในประเทศทำให้ต้องมีการนำเข้าเนื้อโคคุณภาพจากประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ทั้งสองประเทศนี้มีศักยภาพในการผลิตสูงกว่าไทยทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทำให้การนำเข้าสินค้าโคเนื้อมีชีวิต เนื้อโคแช่แข็ง และเครื่องในโคแช่แข็งจะไม่ถูกเก็บภาษี ทำให้ไทยสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด มีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแข่งขัน พร้อมกับราคาสินค้าปรับตัวลดลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ
เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อล้านนา จังหวัดเชียงราย เป็นหนึ่งในกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ และได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปิดเสรีการค้าดังกล่าว โดยเมื่อปี 2563 เครือข่ายฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณวงเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจำนวน 30.44 ล้านบาท เงินจ่ายขาด และค่าใช้จ่ายสำหรับกำกับดูแลโครงการ จากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โดยมีกรมปศุสัตว์ (ปศ.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดูแลการดำเนินงานโครงการฯ ซึ่งเครือข่ายฯ ได้นำงบประมาณไปใช้ก่อสร้างและปรับปรุงคอกกลาง โรงเก็บอาหาร และอาคารปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ฝึกอบรมให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ และโคขุนที่ได้มาตรฐาน ลดต้นทุนการผลิต รับซื้อโคก่อนขุนพันธุ์จากสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ และจำหน่ายโคขุนและเนื้อโคชำแหละผ่านบริษัทพรีเมียมบีฟ จำกัด โรงชำแหละของตนเอง และร้านค้าทั่วไป จนสามารถยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ ตั้งแต่การผลิตโคต้นน้ำจนถึงตลาดเนื้อคุณภาพสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้สมาชิกมีแหล่งจำหน่ายที่แน่นอน ได้รับราคาที่เป็นธรรม และมีการประกันราคารับซื้อไม่ต่ำกว่าท้องตลาด ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน FTA ที่มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการเปิดเสรีทางการค้า
จากการลงพื้นที่ พบว่า ปัจจุบัน เครือข่ายฯ สามารถผลิตเนื้อโคเนื้อลูกผสมพันธุ์ Beefmaster ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย มีเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเป็นสมาชิกในเครือข่ายจำนวน 695 ราย อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การแพร่ระบาดของโรคลัมปิสกิน (Lumpy Skin Disease) และโรคปากเท้าเปื่อยในโค รวมถึงภาวะเศรษฐกิจหดตัวต้นทุนด้านอาหารสัตว์และค่าขนส่งที่สูงขึ้น ส่งต่อการรับซื้อและจำหน่ายโคของเครือข่าย ทั้งนี้ สศก. ในฐานะหน่วยงานผู้ดูแลกองทุนฯ และกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก จึงได้ลงพื้นที่เพื่อรับทราบข้อปัญหา และร่วมหารือกับกลุ่มเพื่อให้คำปรึกษาในการปรับแผนการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อันจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มและเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อล้านนา จังหวัดเชียงราย เป็นหนึ่งในกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพ และได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปิดเสรีการค้าดังกล่าว โดยเมื่อปี 2563 เครือข่ายฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณวงเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจำนวน 30.44 ล้านบาท เงินจ่ายขาด และค่าใช้จ่ายสำหรับกำกับดูแลโครงการ จากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โดยมีกรมปศุสัตว์ (ปศ.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบดูแลการดำเนินงานโครงการฯ ซึ่งเครือข่ายฯ ได้นำงบประมาณไปใช้ก่อสร้างและปรับปรุงคอกกลาง โรงเก็บอาหาร และอาคารปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐาน ฝึกอบรมให้เกษตรกรมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ และโคขุนที่ได้มาตรฐาน ลดต้นทุนการผลิต รับซื้อโคก่อนขุนพันธุ์จากสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ และจำหน่ายโคขุนและเนื้อโคชำแหละผ่านบริษัทพรีเมียมบีฟ จำกัด โรงชำแหละของตนเอง และร้านค้าทั่วไป จนสามารถยกระดับมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ ตั้งแต่การผลิตโคต้นน้ำจนถึงตลาดเนื้อคุณภาพสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้สมาชิกมีแหล่งจำหน่ายที่แน่นอน ได้รับราคาที่เป็นธรรม และมีการประกันราคารับซื้อไม่ต่ำกว่าท้องตลาด ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน FTA ที่มุ่งช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการเปิดเสรีทางการค้า
จากการลงพื้นที่ พบว่า ปัจจุบัน เครือข่ายฯ สามารถผลิตเนื้อโคเนื้อลูกผสมพันธุ์ Beefmaster ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย มีเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเป็นสมาชิกในเครือข่ายจำนวน 695 ราย อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การแพร่ระบาดของโรคลัมปิสกิน (Lumpy Skin Disease) และโรคปากเท้าเปื่อยในโค รวมถึงภาวะเศรษฐกิจหดตัวต้นทุนด้านอาหารสัตว์และค่าขนส่งที่สูงขึ้น ส่งต่อการรับซื้อและจำหน่ายโคของเครือข่าย ทั้งนี้ สศก. ในฐานะหน่วยงานผู้ดูแลกองทุนฯ และกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก จึงได้ลงพื้นที่เพื่อรับทราบข้อปัญหา และร่วมหารือกับกลุ่มเพื่อให้คำปรึกษาในการปรับแผนการดำเนินงานของกลุ่มเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อันจะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มและเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/OAEpublic/posts/pfbid0f2DGv32gFCimKu1moifRZ42Y6urACUGiTEGtPy6Smr9a2V6pQL66Z7UWg4b9rYxJl