- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 พฤศจิกายน 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ๋ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,159 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,368 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,204 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,316 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,170 บาท ราคาลดลงจากตันละ 32,050 บาทในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.99
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,570 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 904 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,119 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 885 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,246 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.15 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 127 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,863 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 427 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,041 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 178 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,193 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 432 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,229 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.31 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 36 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.6358 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย: ส่งออกข้าวไปอิรักพุ่งกระฉูด 9 เดือนโต 5.11 เท่า และเตรียมจัดประชุมข้าวโลกในไทย
ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ไทยส่งออกข้าวได้ 5.41 ล้านตัน มูลค่า 95,232.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ส่งออกได้ 3.88 ล้านตัน มูลค่า 70,274.49 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และร้อยละ 36 ตามลำดับ โดยไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 รองจากอินเดีย
ทั้งนี้ ตลาดส่งออกข้าว 5 อันดับแรกของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 ได้แก่ อิรัก มูลค่า 15,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 511 สหรัฐอเมริกา มูลค่า 14,029 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 แอฟริกาใต้ มูลค่า 8,017 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3 จีน มูลค่า 7,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และฮ่องกง มูลค่า 3,569 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
โดยก่อนหน้านี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า
ช่วง 9 เดือนแรกปี 2565 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยส่งออกข้าวมูลค่า 2,796.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (95,232.73 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 โดยตลาดส่งออกข้าวไทยขยายตัวได้ดี ได้แก่ อิรัก เบนิน แองโกลา แคเมอรูน และแคนาดา
ขณะที่สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดว่าปี 2565 ไทยจะส่งออกข้าวได้ 7-8 ล้านตัน จากปัจจัยบวกโลกขาดแคลนอาหาร เงินบาทอ่อนค่า ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาข้าวของไทยแข่งขันได้ดีขึ้นกับอินเดียและเวียดนาม และที่สำคัญอิรักได้กลับมาซื้อข้าวไทยในรอบ 7 ปี ซึ่งในปี 2565 อิรักตลาดเดียวสามารถซื้อข้าวจากไทยได้ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัน
ด้านกรมการค้าต่างประเทศ เผยว่า The Rice Trader วารสารชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ผู้จัดงานประชุมข้าวโลก (World Rice Conference) และผู้จัดประกวดรางวัล The World’s Best Rice Award มีกำหนดจัดการประชุมข้าวโลก ครั้งที่ 14 (14th World Rice Conference) ระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2565 ณ จังหวัดภูเก็ต โดยได้เรียนเชิญรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในการเปิดงานประชุมฯ
การเข้าร่วมงานในครั้งนี้ จะเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมข้าวไทย และประเทศไทยในการแสดงศักยภาพในตลาดโลก พร้อมทั้งมีส่วนสำคัญในการจับมือกับทุกฝ่ายเดินหน้าสู่การสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับโลกต่อไป เป็นการตอกย้ำนโยบายการทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน
ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการตลาดต่างประเทศสินค้าข้าวของประเทศไทย จะเข้าร่วมงานประชุมดังกล่าว เพื่อรับทราบแนวโน้มตลาดการค้าข้าวโลก รวมทั้งร่วมจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย และสํารวจความพึงพอใจต่อข้าวชนิดต่างๆ ที่มีศักยภาพในการส่งออก เพื่อใช้ประกอบในการวางแผน
การผลิตและการตลาดข้าวไทย รวมทั้งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับข้าวพันธุ์ใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาส และช่องทางตลาดข้าวไทยให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคและผู้นําเข้าต่างประเทศในวงกว้าง
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ
ฟิลิปปินส์
สำนักอุตสาหกรรมพืช (the Bureau of Plant Industry; BPI) รายงานว่า ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ตุลาคม 2565 มีการนําเข้าข้าวประมาณ 3.234 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 44.2 เมื่อเทียบกับจำนวน 2.242 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และมากกว่าการนําเข้าทั้งปี 2564 ที่มีการนําเข้าประมาณ 2.77 ล้านตัน และมากกว่าตัวเลขนําเข้าในปี 2562 ที่เคยนําเข้าข้าวสูงสุดที่ 3.122 ล้านตัน
ในปี 2565 กระทรวงเกษตรสหรัฐ (the United States Department of Agriculture; USDA) คาดการณ์ว่าฟิลิปปินส์จะนําเข้าข้าวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ 3.4 ล้านตัน
ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 1 มกราคม - 31 ตุลาคม 2565 ผู้ค้าและผู้นําเข้าที่มีสิทธิ์นําเข้าข้าวจำนวน 141 ราย ได้ใช้เอกสารใบรับรองสุขอนามัยพืช (sanitary and phytosanitary import clearances; SPS-ICs) จำนวน 3,600 ใบ เพื่อนําเข้าข้าวจากหลายประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เมียนมาร์ ปากีสถาน สิงคโปร์ สเปน ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
สำนักอุตสาหกรรมพืช (BPI) รายงานตัวเลขล่าสุด ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 3 พฤศจิกายน 2565 ฟิลิปปินส์นําเข้าแล้วประมาณ 3.242 ล้านตัน โดยฟิลิปปินส์นําเข้าข้าวจากเวียดนามมากที่สุด ประมาณร้อยละ 83.3
หรือจำนวน 2.701 ล้านตัน ตามด้วย เมียนมา จำนวน 210,119.28 ตัน ไทย จำนวน 158,836.375 ตัน ปากีสถาน จำนวน 151,935.675 ตัน จีน จำนวน 9,328.385 ตัน อินเดีย จำนวน 9,905.3 ตัน และสิงคโปร์ จำนวน 822 ตัน
โดยผู้นําเข้าข้าวรายใหญ่ ได้แก่ บริษัท NAN STU Agri Traders ซึ่งนําเข้าปริมาณ 185,280.35 ตัน ตามด้วยบริษัท Manus Dei Resources Ent. Inc. จำนวน 142,881.28 ตัน บริษัท Lucky Buy and Sell จำนวน 130,083 ตัน บริษัท Macman Rice and Corn Trading จำนวน 112,500 ตัน และบริษัท BLY Agri Venture Trading จำนวน 98,341 ตัน เป็นต้น
ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2565 กระทรวงเกษตร (the Department of Agriculture; DA) ระบุว่า ในปี 2565 ผลผลิตรวมทั้งประเทศจะมีประมาณ 19.5 ล้านตันข้าวเปลือก หรือประมาณ 12.754 ล้านตันข้าวสาร
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากผู้ซื้อต่างประเทศที่ลดลง ประกอบกับค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง ทำให้ราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ระดับ 370 - 375 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากระดับ 375 - 384 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ผู้ส่งออกรายหนึ่งในเมือง Kakinada ในรัฐ Andhra Pradesh ทางตอนใต้ กล่าวว่า ความต้องการข้าวจากผู้ซื้อในแถบแอฟริกาเริ่มอ่อนตัวลงท่ามกลางอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากพืชผลในฤดูกาลใหม่ อย่างไรก็ตาม ฝนที่ตกหนักในอินเดียเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2565 ทำให้ข้าวเสียหายก่อนเก็บเกี่ยวในรัฐที่เป็นแหล่งผลิตหลัก เช่น Uttar Pradesh, West Bengal, และ Andhra Pradesh ทำให้ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลผลิตข้าวที่จะเก็บเกี่ยวได้
สำนักข่าว Business Standard รายงานว่า รัฐบาลอินเดียกําลังพิจารณาจํากัดการผสมข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติเข้าไปในข้าวบาสมาติไว้ที่ร้อยละ 15 โดยสำนักงานมาตรฐานอาหารและความปลอดภัยของอินเดีย (India's Food and Safety Standards Authority of India (FSSAI)) ได้พิจารณาจํากัดการผสมข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติกับข้าวบาสมาติ เพื่อให้แน่ใจว่าข้าวบาสมาติจะไม่เจือจางจนทำให้คุณภาพด้อยลง เนื่องจากมีการผสมข้าวชนิดอื่นมากเกินไป
ทั้งนี้ ผู้ส่งออกได้มีการผสมข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติเข้าไปในข้าวบาสมาติ และขายเป็นข้าวบาสมาติ ซึ่ง FSSAI ตั้งข้อสังเกตว่าข้าวบาสมาติที่มีส่วนผสมข้าวชนิดอื่นเกินร้อยละ 15 ควรติดป้ายว่าเป็นข้าวผสมและไม่ใช่ข้าวบาสมาติ
ปัจจุบัน ข้าวบาสมาติสำหรับส่งออกไปยังประเทศในสหภาพยุโรปได้รับอนุญาตให้ผสมข้าวชนิดอื่นได้มากถึงร้อยละ 15 ขณะที่ในประเทศอินเดีย มีการผสมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 - 40
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 กรมการค้าต่างประเทศ (Directorate General of Foreign Trade; DGFT) กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดีย ได้ออกประกาศฉบับที่ 42/2015-2022 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 โดยขอให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรอนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าข้าวหัก (HS code 10064000) ที่เข้ามาอยู่ในสถานีขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ (the container freight station; CFS) ก่อนที่จะมีการห้ามส่งออกข้าวหักเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ซึ่งแม้ว่าประกาศดังกล่าวจะไม่ได้ระบุปริมาณข้าวที่ถูกเก็บไว้ที่ CFS แต่แหล่งข่าวการค้าคาดว่า อาจจะมีประมาณ 15,000 ตัน ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่นอกเหนือจากจำนวนข้าวหักที่รัฐบาลอนุญาตให้ส่งออกได้เมื่อเดือนตุลาคม 2565 (จำนวน 397,267 ตัน)
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 กรมการค้าต่างประเทศ (Directorate General of Foreign Trade; DGFT) กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดีย ได้ออกประกาศฉบับที่ 38/2015-2022 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2565 โดยได้อนุญาตให้มีการส่งออกข้าวหัก (HS code 10064000) ไปต่างประเทศได้จำนวน 397,267 ตัน ซึ่งข้าวจำนวนนี้ได้มีการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (letters of credit; LCs) ก่อนวันที่ 8 กันยายน 2565 (รัฐบาลได้ประกาศฉบับที่ 31/2015-2022 ลงวันที่ 8 กันยายน 2565 ซึ่งได้สั่งห้ามส่งออกข้าวหักไปต่างประเทศ) โดยสามารถส่งมอบได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ตามกรอบเวลาของปีงบประมาณ 2565/66
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.92 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.27 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.03
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.23 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 337.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,332.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 327.73 ดอลลาร์สหรัฐ (12,320.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.83 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 12.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 664.00 เซนต์ (9,685.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 686.00 เซนต์ (10,275.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.21 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 590.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.113 ล้านไร่ ผลผลิต 34.749 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.436 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.007 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 ร้อยละ 2.18 และร้อยละ 0.26 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.95 ล้านตัน (ร้อยละ 5.62 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 20.53 ล้านตัน (ร้อยละ 59.07 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังอาจออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติ เนื่องจากผลกระทบจากฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้หัวมันสำปะหลังเน่าในบางพื้นที่ สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.63 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.76 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.86 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.46
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.59 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.72 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.49
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.82 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.87 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.30
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 255 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,490 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 260 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,840 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.92
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,670 บาทต่อตัน)
ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,140 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.04
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.200 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.216 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.679 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.302 ล้านตันของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 28.53 และร้อยละ 28.48 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.38 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 5.80 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 36.40 บาท เพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 35.15 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.56
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียปรับตัวลดลง เนื่องจากค่าเงินริงกิตมาเลซียที่แข็งตัวขึ้น ร่วมกับราคาน้ำมันพืชคู่แข่งอ่อนตัวลง โดยราคาอ้างอิง ณ เดือนมกราคม ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.17 อยู่ที่ตันละ 4,194 ริงกิตมาเลเซีย หรือตันละ 914.72 ดอลลาร์สหรัฐ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,220.78 ริงกิตมาเลเซีย (33.50 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 4,078.61 ริงกิตมาเลเซีย (33.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.49
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,141.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (42.31 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,146 ดอลลาร์สหรัฐฯ (43.55 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.39
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- MEIR Commodities คาดการณ์ว่า โรงงานน้ำตาลในอินเดียจะลงนามสัญญาส่งออกน้ำตาลประมาณ 1 ล้านตัน ในช่วง 4 วัน นับตั้งแต่รัฐบาลอนุมัติการส่งออกน้ำตาล 6 ล้านตันสำหรับปี 2565/2566 โดยแหล่งข่าวในท้องถิ่น รายงานว่า โรงงานน้ำตาลได้รับเงินจากการส่งออกน้ำตาลมากกว่าขายภายในประเทศประมาณ 2-3 พันรูปี/ตัน (30.8 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) ขณะที่ตัวแทนจำหน่ายกล่าวว่า ราคาส่งออกน้ำตาลทรายขาว FOB ของอินเดียจะอยู่ที่ 480 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ซึ่งในทางกลับกัน เทรดเดอร์ กล่าวว่าโรงงานน้ำตาลบางแห่งยกเลิกสัญญาส่งออกน้ำตาลที่ลงไว้เมื่อต้นปีนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากราคาที่เพิ่มขึ้น และโรงงานน้ำตาลในรัฐมหาราษฏระเริ่มลงนามในสัญญาส่งออกน้ำตาลในราคา 32,500-35,000 รูปี/ตัน (415 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน)
- สมาคมน้ำตาลจีน รายงานว่า ในปี 2565/2566 จีนอาจผลิตน้ำตาลลดลงเหลือ 10.05 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและผลกระทบจากการล็อกดาวน์โควิด-19 โดยโรงงานประมาณ 26 แห่ง ในเขตปกครองตนเองซินเจียงและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ผลิตน้ำตาล ณ ดือนตุลาคมได้ 340,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 50,000 ตัน
- สมาคมน้ำตาลจีน รายงานว่า ในปี 2565/2566 จีนอาจผลิตน้ำตาลลดลงเหลือ 10.05 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและผลกระทบจากการล็อกดาวน์โควิด-19 โดยโรงงานประมาณ 26 แห่ง ในเขตปกครองตนเองซินเจียงและเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน ผลิตน้ำตาล ณ ดือนตุลาคมได้ 340,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 50,000 ตัน
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,445.88 เซนต์ (19.69 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,432.12 เซนต์ (20.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 413.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.32 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 442.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 75.99 เซนต์ (62.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 74.93 เซนต์ (62.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,445.88 เซนต์ (19.69 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,432.12 เซนต์ (20.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.96
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 413.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.32 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 442.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 75.99 เซนต์ (62.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 74.93 เซนต์ (62.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 14.43
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 35.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.56
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.60 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.96
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.44
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,011.00 ดอลลาร์สหรัฐ (37.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 979.40 ดอลลาร์สหรัฐ (36.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.25 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 818.40 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 797.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.66 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,285.40 ดอลลาร์สหรัฐ (47.09 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,252.75 ดอลลาร์สหรัฐ (47.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.99 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 844.50 ดอลลาร์สหรัฐ (31.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.73 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,115.20 ดอลลาร์สหรัฐ (40.86 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,120.25 ดอลลาร์สหรัฐ (42.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.22 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.78 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.65
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.50 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 87.25 เซนต์ (กิโลกรัมละ 71.29 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 79.19 เซนต์ (กิโลกรัมละ 66.24 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.18 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 5.05 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,788 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,785 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.19 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,363 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,329 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,019 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,008 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 104.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 103.99 คิดเป็นร้อยละ 0.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.48 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 108.64 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.21 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 101.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.24 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.66 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 348 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 346 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 357 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 391 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 398 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 364 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 425 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.49 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 104.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 103.99 คิดเป็นร้อยละ 0.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.48 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 108.64 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.21 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 101.17 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.24 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.66 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 348 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 346 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.64 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 357 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 391 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 398 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 364 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 425 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.15 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.49 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 พฤษจิกายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.48 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.93 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 82.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.42 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 139.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.42 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 141.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.33 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.00 บาท บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาสำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป
ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 พฤษจิกายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.48 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.93 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 82.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.42 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 139.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.42 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 141.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.33 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.00 บาท บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 73.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.85 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาสำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป
ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา