- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 21-27 พฤศจิกายน 2565
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,227 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,804 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.18
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,269 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,242 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,550 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 27,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.72
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,370 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,250 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 865 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,911 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 442 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,795 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 450 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,081 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.1857 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนพฤศจิกายน 2565 ผลผลิต 503.690 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 515.090 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2564/65 หรือลดลงร้อยละ 2.21
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือน พฤศจิกายน 2565
มีปริมาณผลผลิต 503.690 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 2.21 การใช้ในประเทศ 517.769 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.41 การส่งออก/นำเข้า 52.985 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 3.72 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 169.024 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 7.69
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมา กายานา ปารากวัย เวียดนาม และไทย ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล กัมพูชา จีน สหภาพยุโรป อินเดีย ปากีสถาน ตุรกี อุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป กานา เม็กซิโก โมซัมบิก เนปาล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน อิรัก ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ และเซเนกัล
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา และไทย
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่มีมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะจากตลาดในแถบยุโรปที่มีความต้องการข้าวหอมมากขึ้น โดยราคาข้าวขาว 5% ตันละ 425-430 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนหน้า (ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564) ขณะที่วงการค้าระบุว่า ราคาข้าวมีแนวโน้มที่จะอยู่ที่ระดับนี้หรืออาจจะขยับขึ้นเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่จะมาถึง เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดหลัก เช่น ฟิลิปปินส์ และจีน จะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี ในขณะที่อุปทานข้าวในประเทศมีปริมาณจํากัด
วงการค้าคาดว่า ในปี 2565 เวียดนามน่าจะส่งออกได้เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่ 6.3-6.5 ล้านตัน
ขณะที่สำนักข่าว VNA รายงานว่า กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (The Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) ได้จัดการประชุมเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 โดยระบุว่า เวียดนามกําลังทำงานอย่างหนักเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการส่งออกข้าว 7 ล้านตัน ในปี 2565
ในการประชุมฯ ผู้เชี่ยวชาญได้มีการแลกเปลี่ยนมุมมองว่า ราคาข้าวเวียดนามจะยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเมืองจะผลักดันความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงแนะนําให้ผู้ส่งออกใช้โอกาสนี้
ในการเข้าถึงและขยายตลาดข้าวให้มากขึ้น โดยในช่วงสองเดือนที่เหลือของปี 2565 หากปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงมากกว่า 400,000 ตันต่อเดือน จะทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 6.8-7 ล้านตัน
นาย Le Thanh Hoa รองผู้อํานวยการองค์การแปรรูปและพัฒนาตลาดเกษตร (The Agro Processing and Market Development Authority (AgroTrade)) ขอให้ภาคธุรกิจให้ความสนใจกับตลาดจีนมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นตลาดที่ใหญ่และมีแนวโน้มสำหรับผลิตผลทางการเกษตรของเวียดนาม แต่จีนได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกําหนดในการนําเข้าตั้งแต่การกักกันพืชไปจนถึงการบรรจุ การติดตามแหล่งกำเนิด และพื้นที่ปลูก
ปัจจุบันนี้ บริษัทส่งออกข้าวของเวียดนาม 22 แห่ง ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนได้ และเวียดนามได้เสนอให้จีนเพิ่มจำนวนบริษัทที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้มากขึ้น
นอกจากตลาดจีนแล้ว ตลาดสหภาพยุโรป (EU) และสหราชอาณาจักรยังคงเป็นตลาดสำคัญของเวียดนาม
โดยทางการได้แนะนําให้ผู้ส่งออกกระชับความสัมพันธ์กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อและหน่วยงานแปรรูปมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการทางด้านเทคนิคของผู้นําเข้า ดังนั้นจึงควรใช้ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และโควตาการส่งออกให้มากขึ้น
กรมศุลกากรเวียดนาม (the Customs Department) รายงานว่า ในเดือนตุลาคม 2565 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 713,546 ตัน มูลค่าประมาณ 341.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 และร้อยละ 5.9 แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือนตุลาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 618,120 ตัน มูลค่าประมาณ 321.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 520.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และถ้าเทียบกับเดือนกันยายน 2565 ปริมาณและมูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 และร้อยละ 23.9 ตามลำดับ และราคาส่งออกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 (เดือนกันยายน 2565 เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 583,203 ตัน มูลค่าประมาณ 275.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 472 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ตลาดสำคัญในเดือนตุลาคม 2565 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ซึ่งเวียดนามส่งออกจำนวน 268,787 ตัน มูลค่าประมาณ 122.907 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4 และร้อยละ 50.6 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2565 ขณะที่ส่งออกไปยังประเทศจีนจำนวน 131,609 ตัน มูลค่าประมาณ 63.306 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 และร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2565
ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-ตุลาคม 2565) เวียดนามส่งออกข้าวจำนวน 6,084,769 ตัน มูลค่าประมาณ 2,945.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 484.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 และร้อยละ 7.6 แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2564 เวียดนามส่งออกข้าวได้ 5,183,112 ตัน มูลค่าประมาณ 2,737.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาส่งออกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 528.1 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ตลาดสำคัญในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-ตุลาคม 2565) ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ซึ่งเวียดนามส่งออกจำนวน 2,739,698 ตัน มูลค่า 1,266.443 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.84 และร้อยละ 18.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 45.03 ของปริมาณส่งออกทั้งหมด และร้อยละ 43.0 ของมูลค่าการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามด้วย จีน 757,575 ตัน มูลค่าประมาณ 382.676 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 18.01 และร้อยละ 16.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 12.45 และร้อยละ 12.99 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ ไอวอรี่โคสต์ 588,621 ตัน มูลค่าประมาณ 264.459 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.43 และร้อยละ 66.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 9.67 และร้อยละ 8.98 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) กาน่า 393,522 ตัน มูลค่าประมาณ 206.571 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 22.86 และร้อยละ 31.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 6.47 และร้อยละ 7.01 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) มาเลเซีย 396,263 ตัน มูลค่าประมาณ 179.888 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.21 และร้อยละ 44.03 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 6.51 และร้อยละ 6.11 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ)
สิงคโปร์ 81,482 ตัน มูลค่าประมาณ 44.668 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 16.53 และร้อยละ 21.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 1.34 และร้อยละ 1.52 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) ฮ่องกง 58,360 ตัน มูลค่า 33.214 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 12.57 และร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 0.96 และร้อยละ 1.13 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) อินโดนีเซีย 56,851 ตัน มูลค่าประมาณ 27.619 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.81 และร้อยละ 4.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 0.93 และร้อยละ 0.94 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) โมซัมบิก 45,422 ตัน มูลค่า 24.102 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 9.22 และร้อยละ 16.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 0.75 และร้อยละ 0.82
ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ) สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ 36,526 ตัน มูลค่าประมาณ 22.652 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.07 และร้อยละ 1.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (คิดเป็นร้อยละ 0.6 และร้อยละ 0.77 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตามลำดับ)
ออสเตรเลีย 32,129 ตัน มูลค่าประมาณ 21.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.74 และร้อยละ 10.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบีย 26,181 ตัน มูลค่าประมาณ 17.177
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.12 และร้อยละ 22.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ 20,154 ตัน มูลค่าประมาณ 15.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 56.37 และร้อยละ 57.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา บังคลาเทศ 22,338 ตัน มูลค่าประมาณ 11.241 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณลดลงร้อยละ 58.02 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตุรกี 16,416 ตัน มูลค่าประมาณ 8.815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,141.75 และร้อยละ 825.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ไต้หวัน 15,878 ตัน มูลค่าประมาณ 7.756 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.66 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 1.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนเธอร์แลนด์ 10,577 ตัน มูลค่าประมาณ 7.088 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 และร้อยละ 25.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
แทนซาเนีย 9,045 ตัน มูลค่าประมาณ 5.884 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.6 และร้อยละ 26.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โปแลนด์ 5,997 ตัน มูลค่าประมาณ 4.051 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณลดลงร้อยละ 1.19 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แอฟริกาใต้ 5,311 ตัน มูลค่าประมาณ 3.604 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.56 และร้อยละ 8.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รัสเซีย 4,558 ตัน มูลค่าประมาณ 2.729 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 164.08 และร้อยละ 114.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ฝรั่งเศส 3,401 ตัน มูลค่าประมาณ 2.459 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.66 และร้อยละ 9.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เซเนกัล 2,358 ตัน มูลค่าประมาณ 1.391 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 356.98 และร้อยละ 334.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สเปน 1,423 ตัน มูลค่าประมาณ 1.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 191 และร้อยละ 227.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เบลเยี่ยม 1,508 ตัน มูลค่าประมาณ 0.863 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 44.42 และร้อยละ 49.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แองโกล่า 1,092 ตัน มูลค่าประมาณ 0.608 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 31.66 และร้อยละ 26.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา บรูไน 1,300 ตัน มูลค่าประมาณ 0.556 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นต้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กัมพูชา
สํานักข่าว THE PHNOM PENH POST รายงานโดยอ้างผู้นํากลุ่มธุรกิจข้าวของกัมพูชาว่า พันธุ์ข้าวหอมผกาลำดวน (Phka Rumduol) ของกัมพูชาได้รับรางวัลข้าวที่ดีที่สุดในโลก (World’s Best Rice) เป็นครั้งที่ 5 ในการประชุมข้าวโลก TRT World Rice Conference 2022 ซึ่งจัดโดยองค์กร The Rice Trader ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565
สถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรของกัมพูชา (Cambodian Agricultural Research and Development Institute) ระบุว่า ได้แจกจ่ายข้าวพันธุ์นี้ให้เกษตรกรใช้ปลูกในปี 2542 หลังจากพัฒนาและทดลองมากว่า 10 ปี โดยข้าวหอมพันธุ์ผกาลำดวนเป็นข้าวหอมเมล็ดยาวพันธุ์หนึ่งที่กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของผู้ซื้อจากต่างประเทศ และเป็นหนึ่งในพันธุ์ที่ส่งออกภายใต้เครื่องหมายรับรองอังกอร์มะลิ (Angkor Malys)
นาย Song Saran ประธานสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation; CRF) และประธานบริษัท Amru Rice Cambodia จํากัด กล่าวว่า รางวัลนี้ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมข้าวในประเทศ และกล่าวขอบคุณทีมงานสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา ชาวนา สมาชิกโรงสีข้าว ชุมชนเกษตรกรรม และกระทรวงเกษตรและการค้า ที่สนับสนุนการผลิตข้าวที่ดีที่สุด ทำให้กัมพูชามีส่วนร่วมในการแข่งขันและสามารถนํารางวัลชนะเลิศกลับกัมพูชา โดยก่อนหน้านี้ข้าวหอมผกาลำดวนเคยได้รับรางวัลมาแล้ว 4 ครั้ง เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2555-2557 และอีกครั้งในปี 2561 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ข้าวหอมผกาลำดวนครองอันดับสอง 3 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี 2558-2560
นาย Lay Chhun Hour รองประธาน CRF และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท City Rice Import Export Co Ltd ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดพระตะบอง และเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา เป็นบุคคลสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการมีส่วนร่วมของข้าวหอมผกาลำดวนในการแข่งขันปีนี้
นาย Chhun Hour มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งต่อบทบาทของธุรกิจข้าวกัมพูชาที่ได้รับรางวัลในปี 2565 โดยกล่าวว่า รางวัลนี้จะส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้นและเกิดประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายสำหรับชุมชน ซึ่งการสร้างชื่อในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมคุณภาพของข้าวกัมพูชาต่อไปและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น นาย Chhun Hour ยังระบุว่า ข้าวที่ปลูกในประเทศจะต้องผ่านการตรวจสอบด้านกลิ่น รสชาติ ความเหนียวนุ่ม ความชื้น และรูปร่างลักษณะของข้าวจึงจะได้รับรางวัล
ขณะที่ นาย Dith Tina รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (Minister of Agriculture, Forestry and Fisheries) ได้โพสต์ข้อความผ่าน Facebook เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เพื่อแสดงความยินดีอย่างสุดซึ้งที่ข้าวหอมผกาลำดวนได้รับรางวัลครั้งที่ 5 ในฐานะข้าวที่ดีที่สุดในโลก โดยกล่าวว่ารางวัลเกียรติยศนี้จะนําความภาคภูมิใจมาสู่กัมพูชา
นาย Mak Chamroeun ประธานบริษัท AgriBee (Cambodia) Plc. แสดงความชื่นชมยินดีกับผลการประชุมข้าวโลกในปีนี้ โดยกล่าวว่า การได้รับรางวัลนี้จะช่วยให้ภาคการส่งออกข้าวของกัมพูชาสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ดีขึ้น ซึ่งการคว้าชัยครั้งที่ 5 นี้ เป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่สำหรับ CRF และรัฐบาล และเป็นการเสริมชื่อเสียงของข้าวสารกัมพูชาให้เป็นตัวเลือกที่ดี
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงปักกิ่ง รายงานว่า สำนักงานศุลกากรจีนได้รายงาน ปริมาณการนําเข้าข้าวของจีนในเดือนกันยายน 2565 มีจำนวน 488,306 ตัน โดยปริมาณเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2565 จำนวน 6,601 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.37 (ปริมาณนําเข้าข้าวในเดือนสิงหาคม 2565 จำนวน 481,705 ตัน) โดยจีนนําเข้าข้าวจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ 1. อินเดีย จำนวน 263,045 ตัน 2. ปากีสถาน จำนวน 21,065 ตัน และ 3.เวียดนาม จำนวน 71,946 ตัน
ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน 2565 จีนนําเข้าข้าวสาร (พิกัดสินค้า 1006) จากไทยจำนวน 59,418 ตัน มูลค่า ประมาณ 27.744 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 16 และร้อยละ 15 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีการนําเข้าจำนวน 70,627 ตัน มูลค่าประมาณ 32.785 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน 2565) จีนนําเข้าข้าวสาร (พิกัดสินค้า 1006) จากไทยจำนวน 483,072 ตัน มูลค่าประมาณ 261.613 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 และร้อยละ 27 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีการนําเข้าจำนวน 339,177 ตัน มูลค่าประมาณ 206.789 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.60 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.55 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.29 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.36 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 352.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,565.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 349.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,396.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.86 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 169.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 662.00 เซนต์ (9,423.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 665.00 เซนต์ (9,407.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 16.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.113 ล้านไร่ ผลผลิต 34.749 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.436 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.007 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 ร้อยละ 2.18 และร้อยละ 0.26 ตามลำดับ โดยเดือนพฤศจิกายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.95 ล้านตัน (ร้อยละ 5.62 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 20.53 ล้านตัน (ร้อยละ 59.07 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังอาจออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติ เนื่องจากผลกระทบจากฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้หัวมันสำปะหลังเน่าในบางพื้นที่ สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.57 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.18 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.23 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.69
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.23 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.73
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.80 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.30
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 252 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,090 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,980 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.80
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 473 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,030 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,970 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.200 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.216 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.679 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.302 ล้านตันของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 28.53 และร้อยละ 28.48 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.17 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.84 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.47
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.50 บาท ลดลงจาก กก.ละ 35.38 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.97
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายน้ำมันปาล์มล่วงหน้าของมาเลเซียลดลงตามค่าเงินริงกิตที่สูงขึ้นในรอบ 6 ปี โดยราคาซื้อขายน้ำมันปาล์มอ้างอิงเดือนกุมภาพันธ์ของมาเลเซียลดลงร้อยละ 1.44 ไปอยู่ที่ตันละ 4,046 ริงกิต
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,956.24 ริงกิตมาเลเซีย (31.81 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 3,920.41 ริงกิตมาเลเซีย (31.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.91
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,079.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.03 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,060.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.11 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.74
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ในขณะที่ AISTA เห็นด้วยกับ USDA ที่เตือนว่าแนวโน้มจะชัดเจนขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะเดียวกันรัฐกรณาฏกะกำลังมองหาการแบ่งปันรายได้ที่เหมาะสมระหว่างผู้ปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาล
- รัฐบาลอินเดีย กล่าวว่า โรงงานน้ำตาล 28 แห่ง ได้ซื้อโควตาใบอนุญาตส่งออกน้ำตาลสูงขึ้น 238,000 ตัน ซึ่งสูงกว่าโควตาในประเทศ ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่รัฐอุตตรประเทศ กล่าวว่า ในปี 2565/2566 รัฐไม่น่าจะเพิ่ม ราคาอ้อยขั้นต้น เนื่องจากมีราคาที่สูงมากแล้ว อย่างไรก็ตาม เกษตรกรต่างต้องเผชิญกับภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 19.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 26.38 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,434.60 เซนต์ (19.07 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,434.64 เซนต์ (18.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.003
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 409.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 407.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.47
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 74.17 เซนต์ (59.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 74.44 เซนต์ (58.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 19.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.50 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.41
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 26.38 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,434.60 เซนต์ (19.07 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,434.64 เซนต์ (18.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.003
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 409.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 407.72 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.47
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 74.17 เซนต์ (59.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 74.44 เซนต์ (58.97 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.67 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 9.23
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,035.40 ดอลลาร์สหรัฐ (37.00 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,040.50 ดอลลาร์สหรัฐ (36.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 838.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.97 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 842.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,317.00 ดอลลาร์สหรัฐ (47.06 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,323.50 ดอลลาร์สหรัฐ (47.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 866.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 871.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,142.40 ดอลลาร์สหรัฐ (40.82 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,147.50 ดอลลาร์สหรัฐ (40.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.67 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.55
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.49 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.09
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 81.32 เซนต์(กิโลกรัมละ 64.84 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 86.93 เซนต์ (กิโลกรัมละ 68.88 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.45 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.04 บาท)
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,977 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,841 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.39 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,462 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,369 บาทคิดเป็นร้อยละ 6.79 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,019 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 105.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.94 คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.57 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.21 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 109.36 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 104.03 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.25 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.74 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 350 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 348 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 358 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.83 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 392 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 393 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 397 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 366 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 416 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.22 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.44 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.65 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 105.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.94 คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.57 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.21 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 109.36 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 104.03 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 101.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 102.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.25 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.02 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.74 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 350 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 348 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 358 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.83 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 3.92 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 392 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 393 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 397 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 366 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 416 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.22 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.44 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.40 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.76 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 80.65 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 21 – 27 พฤษจิกายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.85 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 58.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.78 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 82.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.59 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 145.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.49 บาท บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 65.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.13 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคาสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 21 – 27 พฤษจิกายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.85 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 58.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.78 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 82.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.49 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.59 บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 145.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.49 บาท บาท ราคาสูงขึ้น จากกิโลกรัมละ 65.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.13 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคาสำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา