- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 6-12 มีนาคม 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,352 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,966 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,955 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,870 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,750 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.81
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 822 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,544 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 829 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,471 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 73 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 470 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,321 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 474 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,279 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 42 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 478 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,599 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 477 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,382 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 217 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.7249 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย:
ครม.อนุมัติงบ 875 ล้าน ส่งเสริมการลดต้นทุนผลิตข้าว BCG Model
ครม.ไฟเขียวงบประมาณ 875 ล้านบาท อนุมัติโครงการส่งเสริมการลดต้นทุนผลิตข้าวรักษ์โลก BCG Model ยกระดับมาตรฐานข้าวไทย สู่การแข่งขันในตลาดโลก
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า อนุมัติโครงการส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตข้าวรักษ์โลก BCG Model ภายใต้กรอบวงเงิน 874,832,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาปัจจัยการผลิตและเครื่องจักรกลการเกษตร ตามแผนความต้องการของศูนย์ข้าวชุมชน 292 ศูนย์ โดยมีเป้าหมาย พื้นที่ดำเนินการ 58,400 ไร่ และพื้นที่ให้บริการ 60 ล้านไร่ ด้วยการปรับปรุงกระบวนการเพาะปลูกข้าว เน้นการทำนาแบบประณีต คือ การใช้ระบบชีวมวล ชีวภาพ และจุลินทรีย์ที่ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ส่งเสริมการทำนาแบบยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกร
สำหรับพื้นที่และขอบเขตการดำเนินการพื้นที่ผลิต และกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี อยู่ในกลุ่มของศูนย์ข้าวชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว จำนวน 292 ศูนย์ ในพื้นที่ 74 จังหวัด ซึ่งเป็นศูนย์ข้าวชุมชนที่มีความพร้อมในการดำเนินงานตามเงื่อนไขของโครงการฯ โดยดำเนินการศูนย์ละ 200 ไร่ เพื่อปลูกข้าวรักษ์โลก ซึ่งมีรูปแบบการเกษตรแบบยั่งยืน ไม่มีการเผาฟาง ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าว มีการจัดการศัตรูข้าวด้วยการใช้จุลินทรีย์
เพื่อการเกษตรและสารชีวภัณฑ์ มีการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรและเทคโนโลยีนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต ลดความเสียหายอันเกิดจากศัตรูข้าวหรือกิจกรรมการทำนา และเพิ่มศักยภาพในการผลิตข้าวคุณภาพดีปลอดสารพิษ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มผลผลิตต่อไร่ ส่งผลดีต่อสุขภาพและรายได้ของเกษตรกรที่จะเพิ่มขึ้น
ส่วนเงื่อนไขคุณสมบัติของศูนย์ข้าวชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ 1) เป็นศูนย์ข้าวชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรมการข้าว ที่เสนอความต้องการขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามเงื่อนไข 2) เป็นศูนย์ข้าวชุมชนที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล 3) เป็นศูนย์ข้าวชุมชนที่มีความพร้อมในการผลิตข้าวคุณภาพดี ได้มาตรฐาน ลด ละ เลิกการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว และ 4) ศูนย์ข้าวชุมชน ที่ขอรับการสนับสนุนโครงการฯ
ต้องดำเนินโครงการและกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ๆ ภายใต้แผนงาน/โครงการ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ของส่วนราชการอื่น ๆ
“รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการปรับเปลี่ยนการทำการเกษตร โดยต้องให้ความสำคัญตั้งแต่ปัจจัยการผลิต เมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เกิดส่วนต่างระหว่างต้นทุน และราคาขายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการผลิตข้าวรักษ์โลกในหลายพื้นที่แล้ว และได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี” นายอนุชากล่าว
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ส่งออกข้าวไทย เดือนมกราคม พุ่ง 8 แสนตัน หลังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง โกยเงินกว่า 1.4 หมื่นล้าน
กรมการค้าต่างประเทศ เผยว่า การส่งออกข้าวไทย เดือนมกราคม 2566 พุ่งกว่า 8 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.20 มูลค่ากว่า 1.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.76 เป็นผลจากการส่งมอบต่อเนื่องจากปลายปี 2565 ที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และยังมีความต้องการจากผู้ซื้อหลายประเทศ ทำให้มั่นใจปี 2566 ส่งออกได้ตามเป้า 7.5 ล้านตัน ชี้ผู้ส่งออกกังวลค่าบาท เหตุมีผลต่อราคา ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เพราะไม่มีของขายทั้งที่ความต้องการสูง
นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เดือนมกราคม 2566 ไทยส่งออกข้าว
ได้ปริมาณ 805,518 ตัน มูลค่า 14,277.39 ล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.20 และร้อยละ 78.76 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2565 ที่ส่งออกได้ปริมาณ 459,773 ตัน มูลค่า 7,956 ล้านบาท เป็นผลมาจากการส่งมอบที่มีต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2565 ประกอบกับช่วงปลายปีค่าเงินบาทอ่อนค่า ทำให้ราคาข้าวไทยแข่งขันกับข้าวของคู่แข่งได้ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อจำนวนมากในช่วงปลายปี
ทั้งนี้ ยังได้รับผลดีจากอินโดนีเซีย บังคลาเทศ และอิรัก รวมถึงหลายประเทศในตะวันออกกลาง มีความต้องการนำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทั้งปี 2565 ไทยส่งออกข้าวไปตะวันออกกลางได้มากถึง 2.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 จากปี 2564 ที่ส่งออกได้เพียง 630,000 ตัน โดยมีอิรักนำเข้าเป็นอันดับ 1 และในปี 2566 คาดว่าการส่งออกข้าวไทย
ไปตะวันออกกลางยังคงเติบโตได้ ส่วนการส่งออกข้าวไทยไปทั่วโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ยังต้องติดตามค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะค่าเงินบาทเป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกกังวลมาก โดยมีผลกับราคาข้าวของไทยเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
ซึ่งในช่วงปลายปี ค่าเงินบาทอ่อนค่ามากแต่กลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปี 2566 ทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่ง
โดยล่าสุด ราคาข้าวไทย FOB ข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 470 ดอลลาร์สหรัฐฯ เวียดนามตันละ 465 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปากีสถานตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ และอินเดียตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนข้าวหอมมะลิไทยตันละ 825 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอมเวียดนามตันละ 560 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวบาสมาติอินเดียตันละ 1,250 ดอลลาร์สหรัฐฯ และข้าวนึ่งไทยตันละ 475 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปากีสถานตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ และอินเดียตันละ 385 ดอลลาร์สหรัฐฯ
“คาดว่าการส่งออกข้าวไทยทั้งปี 2566 ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7.5 ล้านตัน เพราะกรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าทำตลาดข้าวไทยในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำข้าวไทย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าอาหารนานาชาติที่ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยอรมนี เพื่อแนะนำข้าวไทย รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมประมูลนำเข้าข้าวของประเทศต่างๆ ล่าสุดญี่ปุ่นเพิ่งเปิดประมูลนำเข้าข้าวขาว เกาหลีใต้ เปิดประมูลนำเข้าข้าวกล้อง ส่วนข้าวอินทรีย์ของไทย หลายประเทศให้ความสนใจ มีตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป ฮ่องกง เป็นต้น คาดว่า น่าจะส่งออกข้าวอินทรีย์ได้ใกล้เคียงกับปี 2565 ที่ประมาณ 21,000 ตัน มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท” นายรณรงค์ กล่าว
ที่มา Commerce News Agency (CNA)
อินโดนีเซีย: ราคาขาวอินโดนีเซียพุงสูงตอเนื่อง แตะ 16,000 รูเปยตอกิโลกรัม
ราคาขาวคุณภาพปานกลางในจาการตาพุงสูงถึง 16,000 รูเปยตอกิโลกรัม เกือบสองเทาของราคาขายปลีก สูงสุด (HET) ที่กระทรวงการคากําหนดไวที่ 9,450 รูเปยตอกิโลกรัม จากการตรวจสอบโดย Katadata.co.id ที่ตลาด Pondok Labu ทางใตของจาการตาในวันอังคาร (28/2) ราคาขาวคุณภาพปานกลางอยูที่กิโลกรัมละ 16,000 ราคาขาวพุงสูงขึ้นอยางรวดเร็ว เมื่อเทียบกับสองสัปดาหกอนหนาซึ่งราคาอยูที่ 13,000 รูเปยตอกิโลกรัม ในขณะที่ขาวคุณภาพตํ่าราคา 11,500 รูเปยตอกิโลกรัม ราคาสูงขึ้นจากเดือนกอนซึ่งขายเพียง 8,000 รูเปยตอกิโลกรัม
อยางไรก็ตาม ยังไมสามารถระบุถึงสาเหตุที่ขาวราคาปรับตัวสูงขึ้น “ราคาขาวยังคงแพงและยังไมลดลงจนถึงตอนนี้ แตหวังวาจะลดลงในไมชา” อยางไรก็ตาม การแจกจายขาวยังคงเปนไปอยางราบรื่น คลังสินคาขาวยังเพียงพอสําหรับการจัดจําหนาย และมีการเพิ่มคลังสินคาขาวดวยการนําเขา
Abidzar หวังวารัฐบาลจะจัดการกับราคาขาวที่เพิ่มสูงขึ้นได เนื่องจากลูกคาจํานวนมากคัดคานและแสดงความคิดเห็นเรื่องราคาขาวที่ปรับสูงขึ้นอยางตอเนื่อง ผูขายขาวกลาววา ได้รับกําไรเพียงเล็กนอยประมาณ 800 ถึง 1,000 รูเปยตอกิโลกรัม เพื่อไมใหราคาขาวที่ขายแพงขึ้น เพราะซื้อขาวกับตัวแทนจำหน่ายราคาจะแพง ซึ่งถาบวกกําไรมากราคาก็จะยิ่งแพงขึ้นอีก
ข้าวในคลังสินคาใกลหมดแลว
Zulkifli Rasyid ประธานสหกรณตลาดขาว Cipinang กลาววา ราคาขาวคุณภาพปานกลางในตลาดสูงถึง 15,000 รูเปยตอกิโลกรัม เพราะจํานวนขาวในคลังสินคามีน้อยมาก Zulkifli กลาวกับ Katadata.co.id ที่ตลาดกลางข้าว Cipinang เป็นอีกปจจัยหนึ่งที่ทําใหราคาขาวปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะขาวคุณภาพปานกลาง เนื่องจากอุปทานขาวจาก
ปริมณฑลไมไดรวมอยูในตลาดกลางขาว Cipinang ทําใหผูคารายอื่น ประสบปญหาในการเขาถึงคลังสินคาขาว
นอกจากนี้ ปจจัยทางดานสภาพอากาศที่เลวราย ทําใหชาวนาประสบปญหาในการเก็บเกี่ยว อยางไรก็ตาม ขณะนี้มีชาวนาหลายรายเริ่มเก็บเกี่ยวแลว ทําใหมั่นใจวาราคาขาวโดยรวมทั้งคุณภาพปานกลางถึงคุณภาพเยี่ยม
ในเดือนมีนาคม 2566 จะลดลง
ธนาคารโลก ประเมินวาการที่ราคาขาวของอินโดนีเซียสูงเปนผลจากนโยบายของรัฐบาลที่จํากัดการคาผานภาษีนําเขา การผูกขาดการนําเขาโดยรัฐวิสาหกิจ และการดําเนินการอื่นๆ ที่ไมใชภาษีรวมถึงปจจัยอื่นๆ ไดแก การกําหนดราคาซื้อขั้นตํ่า การขาดการลงทุนระยะยาวเพื่อการวิจัยและพัฒนาภาคการเกษตร ตลอดจนการขาดการพัฒนาทรัพยากรมนุษยดานการเกษตร
วิเคราะหผลกระทบ โอกาส/แนวทางการปรับตัวของภาครัฐ/ ภาคเอกชน/ ผูประกอบการไทย
เมื่อตนเดือนธันวาคม 2565 รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศวา จําเปนตองมีการนําเขาขาวจํานวน 500,000 ตัน
เพื่อรักษาระดับปริมาณขาวสํารองของ Bulog ใหอยูในปริมาณที่เหมาะสม โดยมีการนําเขาขาวในชวงปลายเดือนธันวาคม 2565 ถึงกุมภาพันธ 2566 ทามกลางความกังวลวาจะทําใหราคาขาวในประเทศตกตํ่า เนื่องจากชวงการนําเขาขาว ใกลเคียงกับชวงที่ผลผลิตภายในประเทศกําลังจะเก็บเกี่ยว อยางไรก็ตาม ตั้งแตตนป 2566 ถึงปจจุบัน ราคาขาวภายในประเทศอินโดนีเซียกลับมีแนวโนมสูงขึ้นตอเนื่อง ซึ่งสรางความกังวลแกผูที่เกี่ยวของ เนื่องจากเปนราคาที่สูงเกินปกติ กระทบตอคาครองชีพของประชาชน อยางไรก็ตาม นโยบายการนําเขาขาวของรัฐบาลอินโดนีเซียทําใหขาวเต็มเมล็ดของไทยสามารถสงมายังอินโดนีเซียอีกครั้ง หลังจากกอนหนาอินโดนีเซียนําเขาเฉพาะขาวหัก สําหรับอุตสาหกรรมอาหารเปนหลัก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.54 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.65 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.99 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.67
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 13.12 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.21 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 376.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,028 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 382.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,279 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.57 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 251.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือพฤษภาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 633.00 เซนต์ (8,744.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชล 639.00 เซนต์ (8,840 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.94 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 96.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.734 ล้านไร่ ผลผลิต 33.358 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า
พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.88 ร้อยละ 2.08 และร้อยละ 0.20 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.46 ล้านตัน (ร้อยละ 19.36 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.43 ล้านตัน (รอยละ 58.24 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการผลิต แต่เกษตรกรทยอยขุดหัวมัน และมันเน่าในหลายพื้นที่ทำให้หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยกว่าปกติ สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการตามปกติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.91 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.03
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.61 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.49 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.60
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.56 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.35 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.51
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.34 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.13 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.23
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 275 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,590 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,620 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 519 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,090 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 515 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,020 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 0.78
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.618 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.291 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.732 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.312 ล้านตันของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 คิดเป็นร้อยละ 6.58 และร้อยละ 6.73 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.93 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.51 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.62
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.00 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.76
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
นโยบายเพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลของอินโดนีเซียและปรากฏการณ์เอลนีโญคาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันปาล์มของโลก ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มปรับตัวขึ้น โดยในปี 2566 คาดว่าจะมีการผลิตไบโอดีเซลอยู่ที่ 4.50 ล้านตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,202.76 ริงกิตมาเลเซีย (33.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 4,195.89 ริงกิตมาเลเซีย (33.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 987.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.64 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 988.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.10
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
(819 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) ลดลง 43 หยวนจีน/ตัน (6.2 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในมณฑลยูนนาน (Yunnan) โรงงานน้ำตาล Ruili ได้นำเข้าอ้อยจากประเทศเมียนมาร์สูงเป็นประวัติการณ์ประมาณ 79,000 ตัน และวางแผนที่จะขยายพื้นที่ปลูกอ้อยในประเทศเมียนมาร์สำหรับปีหน้า
- รัฐมนตรีกระทรวงการค้าของประเทศอินโดนีเชีย ได้กล่าวว่า ได้มีการออกใบอนุญาตนำเข้าน้ำตาล และผลิตภัณฑ์อื่นๆเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการรับรองว่าจะมีน้ำตาลเพียงพอในช่วงเดือนรอมฎอน (Ramadan) โดย รัฐมนตรีกระทรวงการค้าได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ราคาน้ำตาลภายในประเทศอินโดนีเชียนั้นได้ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 27.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,525.16 เซนต์ (19.68 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,511.15 เซนต์ (19.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.93
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 501.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.59 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 491.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 57.84 เซนต์ (44.76 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 60.57 เซนต์ (46.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.51
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 27.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,525.16 เซนต์ (19.68 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,511.15 เซนต์ (19.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.93
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 501.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.59 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 491.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.98
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 57.84 เซนต์ (44.76 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 60.57 เซนต์ (46.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.51
ยางพารา
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.38 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.68
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.80 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.17
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.20 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.94
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,010.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,010.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 894.25 ดอลลาร์สหรัฐ (31.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 859.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.03 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.17 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,271.75 ดอลลาร์สหรัฐ (44.12 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,271.60 ดอลลาร์สหรัฐ (44.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 836.25 ดอลลาร์สหรัฐ (29.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 813.00 ดอลลาร์สหรัฐ (28.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.86 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.78 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,149.75 ดอลลาร์สหรัฐ (39.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,149.60 ดอลลาร์สหรัฐ (39.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.01 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.02 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.40 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,058 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,880 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,458 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,383 บาทคิดเป็นร้อยละ 5.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 88.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.69 คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.29 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 84.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 80.84 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.68 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 44.99 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.03 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 331 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 322 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.52 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 389 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 391 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 398 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 414 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.48 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.49 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.87 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.89 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 88.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.69 คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.29 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 84.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 80.84 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.68 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 44.99 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.03 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.33 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 331 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 344 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 322 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.52 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 389 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 391 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.51 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 415 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 398 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 359 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 414 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.19 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 96.91 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.62 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 96.48 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.49 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.87 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 76.89 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 - 12 มีนาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.61 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 58.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.24 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.11 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 149.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.81 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 152.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.19 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.07 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 6 - 12 มีนาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.61 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 58.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.18 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.24 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.11 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 149.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.81 บาท เนื่องจากมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 152.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.00 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.19 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.07 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา