- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
- รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร
ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 เมษายน 2566
ข้าว
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,344 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,410 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,782 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,763 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,150 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 848 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,755 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 837 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,452 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 303 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,124 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,656 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.06 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 468 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 511 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,328 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 493 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,758 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.65 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 570 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.9092 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
จีน
ทางการจีนได้เปิดตัวแพลตฟอร์มบิ๊กดาต้าระดับชาติสำหรับห่วงโซ่อุตสาหกรรมข้าวทั้งหมด เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแรกในประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการแปลงเป็นดิจิทัลและการสร้างข้อมูลของภาคส่วนนี้
รายงานระบุว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การสร้าง รวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ และให้บริการข้อมูลอุตสาหกรรมข้าว เพื่อเปิดห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมดตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การตลาด การค้า การบริโภค ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพิ่มการประยุกต์ใช้บิ๊กดาต้าในอุตสาหกรรมข้าวอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น และส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล ตลอดจนการสร้างข้อมูลของอุตสาหกรรมข้าวของจีนอย่างจริงจัง
Xu Chunchun รองผู้อํานวยการศูนย์ข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีข้าว แห่งสถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติจีน
(deputy director of the science and technology information center of the CNRRI (The China National Rice Research Institute)) กล่าวว่า หลังจากเปิดตัวและใช้งานแพลตฟอร์มแล้ว
รายงานดัชนีที่เกี่ยวข้องกับข้าวที่เชื่อถือได้จะถูกเผยแพร่เป็นประจำ เพื่อปรับปรุงระดับการบริการโดยรวม และความสามารถของอุตสาหกรรมโดยรวม นอกจากนี้ Xu ยังคาดหวังว่า ในอนาคตจะมีการยกระดับจากแพลตฟอร์มข้อมูลเป็นแพลตฟอร์มบริการ เพื่อสร้างระบบนิเวศดิจิทัลของข้าวที่มีความครอบคลุมการผลิตดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ การแปลงความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบครบวงจร และการเชื่อมต่อเครือข่ายบริการอย่างเต็มรูปแบบ
รายงานระบุว่า เบื้องต้น แพลตฟอร์มบิ๊กดาต้าของอุตสาหกรรมข้าวจะมีโมเดลการวิเคราะห์ 5 แบบ ระบบ แอปพลิเคชันทางธุรกิจ 10 ระบบ พอร์ทัลที่ครอบคลุม 1 แห่ง และแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 1 รายการ เพื่อให้บรรลุ การวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ของสถานการณ์ทางธุรกิจที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถช่วยแนะนําการผลิตข้าวเพื่อป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช และภัยธรรมชาติ ผ่านการวิเคราะห์ทางสถิต
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อยู่ในระดับทรงตัวหลังจากที่ราคาปรับตัวลดลงติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบแอฟริกาที่เริ่มมีกลับเข้ามา โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ระดับ 380-385 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ราคาทรงตัวเท่ากับระดับ 380-385 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในสัปดาห์ก่อนหน้า
สํานักข่าว Financial Express รายงานว่า การจัดหาข้าวเปลือกโดยหน่วยงานองค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India; FCI) และหน่วยงานของรัฐบาล สำหรับฤดูกาลผลิต 2565/66 (ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2566 ปรากฏว่ามียอดการจัดหาข้าวเปลือกได้แล้วประมาณ 73 ล้านตัน ซึ่งเทียบเท่ากับข้าวสารประมาณ 49 ล้านตัน แม้ว่าปริมาณจัดซื้อข้าวเปลือกทั้งหมดจนถึงขณะนี้จะต่ำกว่าปริมาณที่ซื้อได้ในปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่ก็ช่วยเพิ่มปริมาณสต็อกข้าวขององค์การอาหารแห่งชาติ (FCI) ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยมากขึ้น
โดยองค์การอาหารแห่งชาติ (FCI) มีข้าวสารประมาณ 25.18 ล้านตัน และอีกประมาณ 19 ล้านตัน ที่จะรับเพิ่มมาจากโรงสี ซึ่งมากกว่าความต้องขั้นต่ำที่รัฐบาลกําหนด (buffer stock) ไว้ที่ 13.58 ล้านตันตัน (ระดับสต็อก ณ วันที่
1 เมษายน 2566)
ทั้งนี้ องค์การอาหารแห่งชาติ มีภาระหน้าที่ในการจัดหาข้าวเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้รับผลประโยชน์กว่า 800 ล้านคน ภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติ (National Food Security Act; NFSA) และโครงการสวัสดิการอื่นๆ ซึ่งข้าวที่จัดหาได้จากรัฐมีปริมาณธัญพืชส่วนเกินเพื่อใช้สำหรับการเก็บเป็นสต็อกของประเทศด้วย
จากรายงานการประมาณการล่วงหน้าครั้งที่ 2 ของกระทรวงเกษตร (agriculture ministry’s second advance estimate) การผลิตข้าวในปี 2566 คาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ 130.83 ตัน
ในปีเพาะปลูก 2565/66 (กรกฎาคม 2565-มิถุนายน 2566) เพิ่มขึ้นจากระดับ 129.47 ล้านตัน ในปีเพาะปลูก 2564/65
อย่างไรก็ตาม ทางด้านสถานการณ์ของสต็อกข้าวสาลีนั้น ปรากฏว่า ณ วันที่ 1 เมษายน 2566 สต็อกข้าวสาลี ขององค์การอาหารแห่งชาติ (FCI) มีปริมาณลดลงเหลือเพียง 8.5 ล้านตัน เมื่อเทียบกับความต้องขั้นต่ำที่รัฐบาลกําหนด (buffer stock) ที่ 7.4 ล้านตัน ซึ่งเป็นระดับสต็อกข้าวสาลีที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559
ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะจัดซื้อข้าวสาลีประมาณ 34.15 ล้านตัน ในฤดูกาลนี้ (เมษายน-มิถุนายน 2566)
ซึ่งการจัดซื้อได้ล่าช้าออกไปกว่าสองสัปดาห์ เนื่องจากฝนไม่ตกตามฤดูกาลในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาในรัฐที่มี
การเพาะปลูกข้าวสาลีที่สำคัญ โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวสาลีในรัฐที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ ประมาณร้อยละ 10 ได้รับผลกระทบจากฝนตกและพายุลูกเห็บที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.74 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 386.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,022.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 378.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,849.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.11 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 223.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 652.00 เซนต์ (8,811.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล ละ 651.00 เซนต์ (8,821.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 10.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)
คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนเมษายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.406 ล้านตัน (ร้อยละ 7.35 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว แต่เกษตรกรทยอยขุดหัวมัน และมันเน่าในหลายพื้นที่ทำให้หัวมันสำปะหลังตั้งแต่ช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ผลผลิตในปัจจุบันน้อยกว่าปกติ สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการตามปกติ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.15 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.14 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.32
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.46 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.49 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.40
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.70 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.72 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.23
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.23
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,230 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากเฉลี่ยตันละ 272 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,320 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 0.74
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,450 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 538 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,430 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 0.37
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนเมษายนจะมีประมาณ 1.870 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.337 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.618 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.291 ล้านตันของเดือนมีนาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 15.57 และร้อยละ 15.81 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 6.32 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.30 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 19.25
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.38 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 32.28 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.51
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,189.27 ริงกิตมาเลเซีย (32.95 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 3,997.36 ริงกิตมาเลเซีย (31.47 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.80
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,040.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.70 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,025.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.46
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- Czarnikow คาดการณ์ว่า ผลผลิตน้ำตาลในประเทศจีนจะลดลงเหลือ 9 ล้านตัน ในปี 2565/2566 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี ผลักดันให้มีการนำเข้าน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็น 5.4 ล้านตัน และส่งผลให้มีการลักลอบนำเข้าน้ำตาลมากขึ้น แหล่งข่าวท้องถิ่นกล่าวว่า การนำเข้าน้ำตาลในเดือนมีนาคมจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบปีเนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูง โดยราคาน้ำตาลในประเทศพุ่งสูงขึ้นกว่า 6,300 หยวนจีน/ตัน(914 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน) ในเขตกว่างซี ด้านแหล่งข่าวกล่าวว่า ราคาน้ำตาลที่สูงขึ้นทำให้อุปสงค์ลดลง แต่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ การบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้น และราคาน้ำตาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.65 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 10.99
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,510.70 เซนต์ (19.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,473.36 เซนต์ (18.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.53
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 456.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.68 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 457.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 55.54 เซนต์ (42.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 54.97 เซนต์ (41.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 22.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.65 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 10.99
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,510.70 เซนต์ (19.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,473.36 เซนต์ (18.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.53
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 456.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.68 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 457.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.21
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 55.54 เซนต์ (42.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 54.97 เซนต์ (41.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.04
ยางพารา
ถั่วเขียว
ถั่วลิสง
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,964 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,919 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,386 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,391 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.36 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 950 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 87.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.62 คิดเป็นร้อยละ 1.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 91.88 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.97 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 83.52 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.76 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.26 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.25 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 343 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 340 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 327 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 389 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 388 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 409 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 429 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.51 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 94.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.20 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.89 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 87.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.62 คิดเป็นร้อยละ 1.30 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 91.88 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 85.97 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 83.52 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 84.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.76 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.26 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.25 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.00 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีมากกว่าผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 343 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 340 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 327 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 349 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 389 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 388 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 409 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 399 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 356 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 429 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 95.74 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 96.51 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 94.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.20 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 77.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.89 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 เมษายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.64 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.73 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.85 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 137.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 132.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.40 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.90 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 – 9 เมษายน 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.64 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.73 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 78.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.85 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.92 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 137.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.81 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 132.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท เนื่องจากปริมาณออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.40 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.90 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยไม่มีรายงาน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา